วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

พันธุศาสตร์หรือวิวัฒนาการ


 
พันธุศาสตร์หรือวิวัฒนาการ
 
 
 


ยังมีหลายคนที่สับสนระหว่างวิทยาการของพันธุศาสตร์ และ ทฤษฏีวิวัฒนาการ เพราะคิดว่าทั้งสองเรื่องนี้มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน แต่ความเป็นจริงแล้ว ทั้งสองเรื่องนี้ไม่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเลย นอกจากนี้มันยังขัดแย้งกันอีกด้วย
เรารู้ว่าสัตว์มีการเปลี่ยนแปลงทางรูปร่างลักษณะ การเปลี่ยนแปลงเป็นพลวัติทางธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นก็เพื่อการเอาชีวิตรอด สิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเพื่อความอยู่รอดของมัน เรื่องนี้เป็นความจริงที่รู้กันมานานแล้ว และทฤษฏีวิวัฒนาการถือว่าสิ่งนี้เป็นสาเหตุหลักของวิวัฒนาการที่ทำให้เกิดสัตว์พันธุ์ใหม่ๆขึ้นมา วิวัฒนาการจึงกล่าวว่า จากสัตว์พวกฟันแทะตัวเล็กๆ มันได้มีวิวัฒนาการเป็นเวลายาวนานทีละเล็กทีละน้อยโดยความบังเอิญหรือการ Random (ก็คือการสุ่มหรือมั่วนั่นเอง) จนรูปลักษณะเปลี่ยนแปลงไปกลายเป็นม้า สุนัข แมว หรือ แม้แต่มนุษย์ก็ได้ สัตว์บกบางชนิดอาจลงไปอยู่ในน้ำและนานเข้าก็กลายเป็นโลมา , วาฬ หรือ พยูน เป็นต้น (นักวิวัฒนาการกล่าวว่า พยูน มีวิวัฒนาการ่วมกันกับบรรพบุรุษของช้าง) อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการวิวัฒนาการจริง การเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะเหล่านี้จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลใน DNA และจะต้องมีข้อมูลใหม่ๆซึ่งไม่เหมือนเดิมบรรจุลงใน DNA แต่ในทางพันธุศาสตร์พบว่าเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลง DNA ของสัตว์ประเภทหนึ่งให้กลายเป็น DNAของสัตว์อีกประเภทหนึ่งได้ เพราะถ้าข้อมูลใน DNA มีความผิดพลาดเพียงเล็กน้อย ก็จะทำให้สิ่งมีชีวิตนั้นตายหรืออ่อนแอและสูญพันธ์ไป ยิ่งการเปลี่ยนแปลงของ DNA โดยการเดาสุ่มหรือบังเอิญแล้ว โอกาสที่จะเป็นไปได้คือ เป็นไปไม่ได้เลย
แล้วการเปลี่ยนแปลงในสัตว์เกิดขึ้นได้อย่างไรล่ะ? ขอยกตัวอย่างเรื่องของ สุนัข ถ้าสุนัขเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะ มันจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นอะไร? คำตอบก็คือ สุนัขก็เปลี่ยนแปลงไปเป็นสุนัข จากรูปข้างล่างเราจะเห็นว่าสุนัขมีหลากหลายพันธุ์ พวกมันเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะมาจากสุนัขในยุคแรกเริ่ม

 
 

 



สรุปได้ว่า ข้อมูลจาก เพศผู้ และข้อมูลจากเพศเมีย ได้มารวมกัน และการรวมตัวกันของยีนส์ในรูปแบบต่างกันทำให้เกิดความหลากหลายของข้อมูลในรุ่นถัดมา แต่ทุกข้อมูลนั้นล้วนแต่เป็นข้อมูลของพ่อแม่ ในที่นี้ก็คือสุนัข และนี่เป็นสาเหตุทำให้เกิดความหลากหลายของสุนัขและทำให้เรามีสุนัขพันธุ์ต่างๆ
ในทางด้านสถิติของทางด้านพันธุกรรม จำนวนรุ่นลูกที่ได้มาจากรุ่นพ่อแม่นั้นมีจำนวนเท่ากับ 102017 จำนวนอันมหาศาลนี้ แสดงให้เห็นว่าการจัดคู่ของยีนส์สามารถจับคู่กันอย่างหลากหลายได้เป็นจำนวนมหาศาลที่ไม่ซ้ำกันเลย

ให้เรามาพิจารณาเรื่องของสุนัขต่อไป ในตอนแรกที่โลกยังว่างเปล่า สุนัขมีจำนวนมากขึ้น พวกมันได้กระจัดกระจายกันไปคนละทิศละทาง ไปอยู่ที่ต่างๆของโลก และต่อมาเกิดอะไรขึ้น? สมมุติเรามีสุนัขสองตัวซึ่งมียีนส์ LS
L หมายถึง ขนยาว
S หมายถึง ขนสั้น
ยีนส์
LS รวมกันก็จะได้เป็นสุนัขที่มีขนยาวปานกลาง

เมื่อผสมพันธุ์กันก็จะได้รุ่นลูก ดังในรูป คือ
SS ลูกที่มีขนสั้น
LS ขนยาวปานกลาง
LL ขนยาว
LL ขนยาว
สมมุติว่า ลูกที่มีขนสั้น และขนยาวปานกลางตายไปหมด เหลือแต่พวกที่มีขนยาวและรุ่นลูกที่ขนยาวผสมพันธ์กันจะได้รุ่นถัดมาที่เป็นขนยาวทั้งหมด

 
            เมื่อสุนัขเป็นกลุ่มๆออกเดินทางกระจายไปตามที่ต่างๆ บางกลุ่มขึ้นไปทางทิศเหนือซึ่งมีอากาศหนาวเย็น พวกมันต้องปรับตัวเองเพื่อเอาชีวิตรอด เป็นไปตามกฎการคัดเลือกทางธรรมชาติ สุนัขที่มียีนส์ขนยาวสามารถอยู่รอดได้ ส่วนสุนัขที่มียีนส์ขนสั้นไม่สามารถมีชีวิตรอดได้ สุนัขที่มียีนส์ขนยาวได้ผสมพันธ์กันเกิดรุ่นลูกที่มีแต่ขนยาว ดังนั้นเราจึงเห็นสุนัขในแถบขั้วโลกมีแต่ขนยาว และเช่นเดียวกันกลุ่มที่ไปอยู่ในสถานที่มีอากาศร้อนก็จะมีแต่สุนัขที่มียีนส์ขนสั้นเท่านั้นที่เหลืออยู่
เห็นไหม ไม่มีเรื่องของวิวัฒนาการมาเกี่ยวข้องเลย มันเป็นเรื่องของยีนส์เท่านั้น ข้อมูลเหล่านี้ถูกบรรจุไว้ในยีนส์ ข้อมูลทั้งหมดอยู่ในนั้นเรียบร้อยแล้ว
            นอกจากนี้ยังมีการเลือกสรรในธรรมชาติอีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า Artificial selection ซึ่งเป็นการเลือกสรรโดยฝีมือของมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตด้วยกันเอง ตัวอย่างเช่น การที่มนุษย์เลือกสัตว์เลี้ยงที่มีลักษณะที่ต้องการเก็บเอาไว้ ส่วนตัวที่มีลักษณะที่ไม่ต้องการก็แยกออกไป ทำให้มีแต่สัตว์ลักษณะที่คนเราต้องการเท่านั้นที่มีชีวิตรอด

จากตัวอย่างที่กล่าวมาแล้วทำให้เราเกิดความเข้าใจในตอนนี้ก็คือ ขบวนการที่กล่าวมานั้น เป็นขบวนการของการสูญเสียข้อมูลบางอย่างในยีนส์ (การแลกเปลี่ยนยีนส์ทำให้ข้อมูลบางอย่างลดลง) ไม่ใช่ขบวนการที่ทำให้เกิดข้อมูลใหม่ๆเพิ่มขึ้นมาในยีนส์ ตั้งแต่สุนัขตัวแรกจนมาถึงพูเดิ้ล ไม่มีวิวัฒนาการเข้ามาเกี่ยวข้องเลย ทฤษฏีวิวัฒนาการกล่าวว่าอย่างไร? ทฤษฏีวิวัฒนาการเป็นขบวนการของการได้รับข้อมูลใหม่ๆเข้ามา แต่สิ่งที่เรารับรู้ในเรื่องนี้มันเป็นขบวนการที่ข้อมูลลดลง
         สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะของสิ่งมีชีวิตอีกอย่างหนึ่งคือการผ่าเหล่า ซึ่งทฤษฏีวิวัฒนาการมีการอ้างถึงว่าเป็นสาเหตุของการวิวัฒนาการด้วยเช่นกัน แต่การผ่าเหล่าคืออะไรล่ะ? ดอกเตอร์ ลี ฮอฟแมน แห่งมหาวิทยาลัย จอห์น ฮอปกินส์ กล่าวว่า


"All point mutations that have been studied on the molecular level turn out to reduce the genetic information and not increase it"

"การศึกษาในระดับโมเลกุลในเรื่องของการผ่าเหล่า ทำให้ได้ข้อสรุปว่า การผ่าเหล่าเป็นการลดลงของข้อมูลในพันธุกรรม ไม่ใช่การเพิ่มขึ้นของข้อมูล"

พันธุศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาหน่วยพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ( DNA) และในปัจจุบันนี้ ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยทำให้เราสามารถมองเห็นหน่วยพันธุกรรมได้ถึงระดับโมเลกุลและอะตอม ทำให้เรารู้ถึงองค์ประกอบ โครงสร้าง และการทำงานของหน่วยพันธุกรรม เรายังสามารถทำการทดลองซ้ำเพื่อยืนยันความจริงได้อีกด้วย ผู้ที่เริ่มต้นศึกษาด้านพันธุศาสตร์คนแรกเป็นพระสงฆ์คาทอลิกชาวออสเตรียชื่อว่า Gregor Johan Mendel และท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์
          แน่นอนว่า ชาร์ล ดาร์วิน ไม่เคยมีความรู้เรื่องพันธุศาสตร์มาก่อนเลย หนังสือของเขาคือ กำเนิดของสิ่งมีชีวิต (Origin of Species) ทำให้ Fr. Gregor Johan Mendel รู้สึกไม่พอใจและไม่เห็นด้วยกับทฤษฏีของดาร์วิน ท่านเชื่อว่าลักษณะที่มีการเปลี่ยนแปลงในรุ่นลูกมีสาเหตุมาจากการถ่ายทอดลักษณะมาจากพ่อแม่ ดังนั้นท่านจึงทำการทดลองด้วยการผสมพันธุ์พืชโดยใช้ถั่วลันเตาเป็นตัวทดลองเพื่อดูรูปลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละรุ่น หลังจากทดลองเป็นเวลานาน ท่านก็ได้สรุปผลทดลองว่ามีสิ่งหนึ่งที่เรียกว่าหน่วยพันธุกรรมเป็นตัวถ่ายทอดลักษณะของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย และในปี 1866 Fr. Gregor Johan Mendel ได้นำเสนอต่อสมาคมวิทยาศาสตร์ในการค้นพบของท่านเรื่อง"หน่วยพันธุกรรม" ท่านให้ชื่อมันว่า "factors" ซึ่งเป็นตัวถ่ายทอดลักษณะต่างๆจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลาน ต่อมาหน่วยพันธุกรรมนี้ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "genes." นักวิทยาศาสตร์ในเวลาต่อมาได้ศึกษาเพิ่มเติมจนพบว่า ใน genes ประกอบด้วย DNA

ชาร์ล ดาร์วิน นำเสนอทฤษฏีวิวัฒนาการ โดยอาศัยกระบวนการการเก็บรวบรวมฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตต่างๆ และจับมาเข้าคู่ เรียงลำดับ พิจารณาจากความคล้ายคลึงกัน เขาพิจารณาจากองค์ประกอบภายนอกเป็นหลัก เช่นลักษณะของโครงกระดูก รูปร่าง เป็นต้น แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน หลังจากนั้นจึงมาสรุปเป็นความเห็น โดยไม่มีหลักฐานยืนยันที่แน่ชัด และไม่สามารถทำการทดลองเพื่อพิสูจน์ ทฤษฏีวิวัฒนาการจึงไม่สามารถถือว่าเป็นวิทยาศาสตร์ที่แท้จริงได้
            ปัจจุบันนี้นักวิทยาศาสตร์ที่ยึดติดกับทฤษฏีวิวัฒนาการพยายามเชื่อมโยงทฤษฏีวิวัฒนาการให้เข้ากับวิชาพันธุศาสตร์ หรือแม้แต่พยายามปรับแต่งทฤษฏีวิวัฒนาการให้เข้ากับพระคัมภีร์ เพื่อทำให้ทฤษฏีวิวัฒนาการที่ล้มเหลวดูดีขึ้นและเป็นที่ยอมรับ
 
ความรู้ในวิชาพันธุศาสตร์ทำให้เรารู้ว่า
ทฤษฏีวิวัฒนาการของดาร์วินนั้นผิดพลาด






ไมเคิล เดนตัน นักชีววิทยาชาวอเมริกันได้เขียนในหนังสือของเขาว่า
"กล่าวโดยสรุป ทฤษฏีวิวัฒนาการของดาร์วิน
เป็นเพียงนิยายวิทยาศาสตร์ของศตวรรษที่ 20 เท่านั้น" 


 



"ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะเข้าใจเรื่องของสรรพสิ่งในโลก เพียงเพื่อเรียนรู้สิ่งที่อยู่ใกล้แค่เอื้อม เราก็ยังทำได้ยาก แล้วเราจะล่วงรู้เรื่องของสวรรค์ได้อย่างไร ถ้าพระเป็นเจ้าไม่ทรงประทานพระปรีชาญาณให้ ผู้ที่ทำตามน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้า พระองค์จะทรงส่งพระจิตศักดิ์สิทธิ์มาจากเบื้องบน และจะทรงแก้ไขวิถีทางของเขาให้ถูกต้อง พระองค์ทรงช่วยเหลือผู้ที่ทำตามน้ำพระทัยของพระองค์ ด้วยพระปรีชาญาณ ตั้งแต่ปฐมกาลแล้ว" (ปรีชาญาณ 9: 16-19 )
พระเจ้าทรงสร้างสรรพสิ่งเพื่อ "ประกาศ" และ "เผยแสดง"พระคุณลักษณะของพระองค์ให้ประจักษ์แก่สายตาของมนุษย์ พระองค์ทรงทำให้สิ่งสร้างทั้งหลายเป็นประจักษ์พยานอันชัดเจนของพระอานุภาพของพระองค์ ซึ่งเรามนุษย์สามารถเข้าใจได้ แต่ถ้าหากเรายังไม่ยอมรับหรือทำเป็นไม่เข้าใจนั่นก็เท่ากับเราเป็นปฏิปักษ์ต่อความจริง (โรม 1:21-25).

1 ความคิดเห็น:

  1. อ่านหลายบทความแล้ว มีแต่สาระดีๆ ขอขอบคุณผู้จัดทำ และขอเป็นกำลังใจด้วยค่ะ ขอพระเจ้าอวยพร ^^

    ตอบลบ