วันจันทร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2557

El condo pasa

El Condor Pasa เป็นเพลงประกอบละครร้องของประเทศเปรู แต่งโดย Daniel Alomia Robles ในปี ค.ศ. 1913
ถึงแม้ว่าผู้แต่งเพลงจะเป็นชาวเปรู แต่ดนตรีเป็นของวัฒนธรรมพื้นบ้านของเทือกเขาแอนดิส หรือ Quechua
ของภูมิภาคนั้นทั้งหมด ซึ่งรวมประเทศโบลิเวีย เปรู และบางส่วนของเอควาดอร์ด้วย


El Condor Pasa เป็นภาษาสเปน ภาษาอังกฤษคือ "The Condor Passes" ส่วนภาษาไทยคือ "แร้งร่อนไป"
condor คือนกแร้งแห่งเทือกเขาแอนดิส

ชาวโลกรู้จักเพลงนี้ ที่ร้องโดย Simon & Garfunkel (1970) (ปัจจุบันเพลงนี้อายุครบ 100 ปีแล้ว)
วง S&G เอาเพลงของDaniel Alomia Robles มาแต่งใส่เนื้อร้องเป็นภาษาอังกฤษเข้าไป แต่ยังคงใช้ชื่อเพลงเดิม
คือ El Condor Pasa

เนื้อเพลงของ S&G เป็นทำนองเพลงเพื่อชีวิต  มีความหมายให้คนแสวงหาเสรีภาพ  อิสรภาพ จนมีข่าวว่ารัสเซีย
ห้ามเผยแพร่เพลงนี้ เพราะเกรงว่าคนที่ฟังเพลงจะคล้อยตาม:

I'd rather be a sparrow than a snail. (ฉันอยากจะเป็นนกกระจอกมากกว่าจะเป็นหอยทาก)
Yes I would. (ใช่ ฉันอยากจะเป็น)
If I could, (หากฉันเป็นได้)
I surely would. (ฉันก็จะเป็นแน่นอน)
I'd rather be a hammer than a nail. (ฉันอยากจะเป็นฆ้อนมากกว่าจะเป็นตะปู)
Yes I would. (ใช่ ฉันอยากจะเป็น)
If I only could, (หากฉันเป็นได้)
I surely would. (ฉันก็จะเป็นแน่นอน)

CHORUS (ร้องหมู่)
Away, I'd rather sail away (ห่างออกไป ฉันอยากจะบินห่างออกไป)
Like a swan that's here and gone (เหมือนหงส์ซึ่งเคยอยู่ที่นี่และจากไปแล้ว)
A man gets tied up to the ground. (ชายคนหนึ่งถูกมัดติดกับพื้น)
He gives the world (เขาส่งเสียงต่อโลก)
Its saddest sound, (มันเป็นเสียงที่เศร้าที่สุด)
Its saddest sound. (มันเป็นเสียงที่เศร้าที่สุด)

I'd rather be a forest than a street. (ฉันอยากจะเป็นป่ามากกว่าจะเป็นถนน)
Yes I would. (ใช่ ฉันอยากจะเป็น)
If I could, (หากฉันเป็นได้)
I surely would. (ฉันก็จะเป็นแน่นอน)

I'd rather feel the earth beneath my feet, (ฉันอยากจะรู้สึกถึงผืนดินใต้เท้าของฉัน) (หมายถึงเป็นอิสระ)
Yes I would. (ใช่ ฉันอยากจะเป็น)
If I only could, (หากฉันเป็นได้)
I surely would. (ฉันก็จะเป็นแน่นอน)
เนื้อเพลงเดิมของ El Condor Pasa ที่ D.A.R. แต่งไว้ในปี 1913 นั้น เป็นเรื่องการต่อสู้ระหว่างผู้ใช้แรงงานทำเหมืองชาวพื้นเมืองกับเจ้าของเหมืองชาวต่างชาติ (อังกฤษ) ผู้กดขี่ข่มเหง การต่อสู้ดำเนินไปอยู่หลายปี จนเจ้าของเหมืองตาย แต่การต่อสู้ก็ยังไม่สิ้นสุด เพราะเจ้าของเหมืองมีทายาทคือบุตรชายมาสืบทอดแทน การสู้รบจึงดำเนินต่อไป ในตอนท้าย ชาวพื้นเมืองซึ่งนับถือแร้งเป็นพาหนะของเทพเจ้า ได้สวดมนตร์ขอให้แร้งช่วยพากลับบ้านที่ Machu Picchu

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น