วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

พระเยซูคริสตเจ้า-อีซาอัก

ยัญบูชาของอีซาอัก และ พระมหาทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า
เรื่องราวของอีซาอักปรากฏอยู่ในปฐมกาล 22
“จงถวายบุตรชายคนเดียวของเจ้าเป็นเครื่องบูชา” (ปฐมกาล 22)

ลองจินตนาการว่า เช้าวันหนึ่งคุณตื่นขึ้นมาและพระเป็นเจ้าตรัสกับคุณว่าให้ฆ่าบุตรชายคนเดียวของคุณ
เช้าวันนั้นอับราฮัมได้เริ่มต้นทำกิจการแห่งความเชื่อฟังอันยิ่งใหญ่เท่าที่เคยมีการบันทึกในประวัติศาสตร์
ความเชื่อฟังของท่านในครั้งนี้ได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์และไม่มีการลังเล
บ่อยครั้ง เราต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการเชื่อฟังพระเป็นเจ้า เพราะอาจหมายถึงการที่เราต้องยอมเสียสละบางสิ่งบางอย่างที่เรารักมาก
อย่าคาดหวังว่าเราจะสามารถเชื่อฟังพระเป็นเจ้าได้อย่างง่ายๆหรือเป็นไปตามธรรมชาติทั่วไป

*************
ปฐมกาล 22:2 และพระเป็นเจ้าตรัสว่า
จงนำบุตรชายของเจ้า อีซาอัก บุตรชายคนเดียวที่เจ้ารัก
อีซาอักคือบุตรชายที่พระเป็นเจ้าทรงสัญญาแก่อับราฮัมว่าจะทรงประทานให้แก่นางซาราห์
คำว่า บุตรชายคนเดียว” หมายถึง มีค่าหาที่เปรียบไม่ได้ เป็นที่รักเป็นพิเศษ เพราะฉะนั้น คำเดียวกันนี้ได้ปรากฏในปฐมกาล 22:2 , 12 และ 16 แต่ยังปรากฏคำว่า บุตรชายสุดที่รักในที่อื่นอีกด้วย
คำว่า บุตรชายคนเดียวปรากฏอยู่ 13 ครั้งในพระคัมภีร์พระธรรมเก่า
ส่วนคำว่า บุตรชายสุดที่รักปรากฏเพียง 9 ครั้งในพระคัมภีร์พระธรรมใหม่ และทั้ง 9 ครั้งนี้หมายถึง พระเยซูเจ้า
ความเชื่อมโยงของคำทั้งสองในเรื่องราวของอีซาอักและพระเยซูเจ้านั้นมีความสำคัญอย่างชัดเจน

อับราฮัมเดินทางไปที่ภูเขาโมริยาห์
อับราฮัมและอีซาอักออกเดินทางราว 50 ถึง 60 ไมล์ จากบ้านที่เบียร์เชบา สู่ ภูเขาโมริยาห์ ใช้เวลา 3 วัน ในการเดินทาง
ช่วงเวลานี้เป็นเวลาแห่งความโศกเศร้าของอับราฮัม ด้วยท่านเชื่อว่าท่านกำลังจะต้องบูชายัญอีซาอักบุตรชายสุดที่รักของท่าน


นักบุญออกัสติน
นักบุญออกัสตินบอกกับเราว่า เรื่องราวนี้เป็นเครื่องหมายล่วงหน้าถึงการที่พระเป็นเจ้าจะทรงมอบองค์พระบุตรแต่องค์เดียวของพระองค์เป็นยัญบูชาบนไม้กางเขนที่เนินเขากาวารีโอ (ยน. 3 : 16)


ภูเขาโมริยาห์

 
ตามประวัติศาสตร์ของชาวยิวกล่าวว่า ชื่อ เยรูซาเล็ม มาจากการรวมคำที่อับราฮัมพูดด้วยความวางใจในพระเป็นเจ้าคือคำว่า พระเจ้าจะทรงจัดเตรียมไว้ให้” (ปฐ. 22:8 Hebrew = yir’eh หรือ jira) กับคำว่า ซาเล็ม Salem

ภูเขาโมริยาห์อยู่ที่ไหน?
ปฐ. 22 : 2 พระองค์ตรัสว่า จงนำบุตรชายของเจ้า อีซาอัก บุตรชายคนเดียวของเจ้า ผู้ที่เจ้ารัก และพาไปยังแผ่นดินแห่งโมริยาห์ แล้วจงถวายเขาเป็นเครื่องเผาบูชาบนเนินเขาแห่งหนึ่งของภูเขานั้นซึ่งเราจะบอกแก่เจ้า
2 พงศ์กษัตริย์ 3 :1 แล้วกษัตริย์โซโลมอนก็ทรงเริ่มต้นสร้างเคหะของพระเจ้าใน เยรูซาเล็ม บน ภูเขาโมริยาห์ บริเวณที่พระเป็นเจ้าทรงปรากฏพระองค์แก่ดาวิด พระบิดา ที่ที่กษัตริย์ดาวิดได้รับการเจิมเป็นกษัตริย์ บนลานนวดข้าวแห่งออร์นัน ของเยบูสถาน
ทำไม ต้องเป็นลานนวดข้าวแห่งออร์นัน...?
ดาวิดได้ซื้อลานนวดข้าวนี้ และสร้างพระแท่นขึ้นทรงถวายเครื่องบูชาแด่พระเจ้าเพื่อหยุดยั้งโรคระบาดในอิสราเอล ( 2 ซามูแอล 24 : 48 -25)
พระวิหารจึงถูกสร้างขึ้นบนแผ่นดินที่ดาวิดเป็นเจ้าของ ถึงแม้พระองค์จะไม่ได้รับอนุญาตจากพระเป็นเจ้าให้เป็นผู้สร้างพระวิหารก็ตาม (2 ซามูแอล 7)
เนินเขากาวารีโอ ที่ซึ่งพระเยซูเจ้าทรงถูกตรึงกางเขน ก็เป็นเนินเขาหนึ่งในภูเขาโมริยาห์
 
พระเยซูเจ้าทรงถูกตรึงกางเขนที่ไหน?

สถานที่นั้นบางครั้งถูกเรียกว่าเนินเขาหัวกะโหลก(กอลโกธา)  สถานที่นั้นอยู่นอกกำแพงเมืองเยรูซาเล็มแต่ยังคงอยู่บนภูเขาโมริยาห์  จากบันทึกทางประวัติศาสตร์บอกเราว่า กาวารีโอ หรือ กอลโกทา และถ้ำฝังพระศพของพระเยซูเจ้า อยู่บริเวณโบสถ์แห่งพระคูหาศักดิ์สิทธิ์

ทบทวนกันอีกครั้ง
ทั้งอีซาอักและพระเยซูเจ้าถูกเรียกว่า บุตรชายสุดที่รัก
ทั้งอีซาอักและพระเยซูเจ้าไปที่ภูเขาโมริยาห์เพื่อเป็นเครื่องบูชา
อับราฮัมได้รับคำสั่งจากพระเป็นเจ้าให้นำอีซาอักไปที่ภูเขาโมริยาห์บริเวณสถานที่เป็นที่ตั้งของเมืองแห่งซาเล็ม
ซาเล็มจะถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเยรูซาเล็มเพื่อสะท้อนถึงความเชื่อต่อพระเป็นเจ้าของอับราฮัม พระเจ้าจะทรงเตรียมไว้ให้
และเราได้รับรู้จากนักบุญออกัสติน ผู้ที่บอกเราว่าเรื่องราวทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเครื่องหมายล่วงหน้าถึงการที่พระเป็นเจ้าจะทรงมอบพระบุตรแต่องค์เดียวของพระองค์เป็นเครื่องบูชาบนไม้กางเขนบนเขากาวารีโอ ยน. 3 : 16

ปฐมกาล 22 : 5 นั่งและนมัสการ
เราคงไม่ลืมพระวาจาของพระเยซูเจ้าที่ตรัสกับบรรดาอัครสาวกขณะที่เข้าไปยังสวนเก็ธเซเมนี? (มธ. 26 : 36 ) แล้วพระเยซูเจ้าทรงไปกับพวกเขาบริเวณที่เรียกว่า เก็ธเซเมนี และพระองค์ตรัสกับบรรดาศิษย์ของพระองค์ว่า จงนั่งลงที่นี่ ขณะที่เราไปที่ตรงนั้นเพื่อสวดภาวนา


อับราฮัมกล่าวด้วยคำเดียวกันนี้กับคนรับใช้ของท่านที่ติดตามมาด้วย (ปฐ. 22 : 5) แล้วอับราฮัมพูดกับคนรับใช้ของท่านว่า จงพักอยู่ที่นี่พร้อมกับลา เราและบุตรชายจะไปตรงนั้นและนมัสการพระเจ้า แล้วเราจะกลับมาหาพวกเจ้า
ปฐมกาล 22 : 6 ไม้
อับราฮัมนำไม้ที่จะใช้เผาไปด้วยและวางมันบนบ่าของอีซาอัก
พระเยซูเจ้าทรงทำเช่นเดียวกัน พระองค์ทรงแบกไม้แห่งพระแท่นบูชาไว้บนบ่าของพระองค์
อีซาอักถูกผูกติดกับไม้ด้วยเชือก
พระเยซูเจ้าทรงถูกติดตรึงกับไม้กางเขนด้วยตะปู

 
การแบกไม้
 
คำกล่าวของอับราฮัมต่อคนรับใช้ว่า เราจะไปมนัสการพระเจ้าและจะกลับมาหาพวกเจ้าอาจหมายถึงคำสัญญาแห่งการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูเจ้า (ฮบ. 11 : 17-19)
ยัญบูชาของพระเยซูเจ้าบนเขากาวารีโอเป็นการนมัสการขั้นสูงสุดต่อองค์พระบิดา
อีซาอักต้องรอจนถึง วันที่สาม” (ปฐ. 22 : 4)
พระเยซูเจ้าทรงกลับฟื้นคืนพระชนม์ในวันที่สาม (มก. 16 : 2 , มธ. 28 : 1 , ลก. 24 : 1 , ยน. 20 : 1)


ทำไมต้องกระทำยัญบูชาด้วยมนุษย์?
ชาวต่างศาสนาสมัยนั้นต่างทำยัญบูชาด้วยมนุษย์ แต่พระเป็นเจ้าทรง ประณามการกระทำเช่นนั้นว่าเป็นบาปผิดร้ายแรง (เลวีนิติ 20 : 1-5)
แล้วพระเป็นเจ้าจะทรงทำให้พระสัญญาของพระองค์เป็นจริงได้อย่างไร ใน ปฐ. 12 : 2 “เราจะทำให้เจ้าเป็นชนชาติที่ยิ่งใหญ่
และพิจารณาดูเถิดว่าอับราฮัมจะโศกเศร้าสักเพียงไรถ้าท่านต้องพลีบุตรชายเพียงคนเดียวของท่านเป็นเครื่องบูชา บุตรซึ่งเกิดเมื่อท่านอายุมากแล้ว?
ทั้งหมดที่อับราฮัมรู้คือ
         1) พระเป็นเจ้าทรงวางแผนการณ์ในอนาคตไว้ที่อีซาอัก และ
          2) พระเป็นเจ้าทรงประสงค์ให้ท่านถวายอีซาอักเป็นเครื่องบูชา
อับราฮัมคงไม่สามารถยอมรับทั้งสองประการนี้พร้อมกันได้ แต่ท่านวางใจและเชื่อฟังพระเป็นเจ้าไม่ว่าในเรื่องใด
นี่แหละเป็นเครื่องหมายของความเชือที่แท้จริง

เหตุใดพระเป็นเจ้าจึงทรงขอให้อับราฮัมทำพิธีบูชายัญด้วยมนุษย์?
พระเป็นเจ้าทรงทราบล่วงหน้าแล้วว่าเรื่องทั้งหมดจะจบลงอย่างไร แต่อับราฮัมไม่รู้
อับราฮัมต้องโศกเศร้าเป็นเวลาถึง 3 วันก่อนที่เหตุการณ์จะสิ้นสุดลง เราเองก็จะถูกทดลองใจเช่นเดียวกับอับราฮัม จุดประสงค์ในการทดลองใจของพวกเราก็เพื่อทำให้เราเข้มแข็งมากขึ้นและให้เราพึ่งพาพระเป็นเจ้ามากขึ้น สิ่งนี้เป็นประสบการณ์ที่ยากลำบาก แต่อับราฮัมก็เพิ่มพูนความเชื่อของท่านเพื่อที่จะเชื่อฟังพระเป็นเจ้า ในมธ. 26 : 39 กล่าวสรุปไว้อย่างดีที่สุดด้วยพระวาจาของพระเยซูเจ้า พระบิดาเจ้าข้า ถ้าหากเป็นไปได้ ขอให้ถ้วยนี้พ้นไปจากข้าพเจ้าเถิด แต่ขออย่าให้เป็นไปตามน้ำใจของข้าพเจ้า แต่ให้เป็นไปตามน้ำพระทัยของพระองค์
การยอมจำนนโดยสิ้นเชิงต่อพระเป็นเจ้าก็คือการที่เราต้องเชื่อฟังและมอบตนเองทั้งหมดให้แก่พระองค์

******************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น