วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2562

อัศจรรย์มงกุฎหนาม

 

เดือนธันวาคม 2010 ทีมงานโทรทัศน์จากทั่วละตินอเมริกามาถึงเมืองโอคอทลัน(Ocotlán)ในรัฐจาลิสโกของเม็กซิโก หนึ่งในกลุ่มนั้นคือ Univisión สถานียักษ์ใหญ่ที่ใช้ภาษาสเปนซึ่งส่งทีมงานภาพยนตร์จากรายการ “Primer Impacto” เพื่อมาทำรายการที่ผู้คนทั่วทั้งภูมิภาคกำลังให้ความสนใจโดยพิจารณาว่าเป็นอัศจรรย์ ในอาสนวิหารพระเยซูเจ้าแห่งพระเมตตา มีบางอย่างที่ไม่ธรรมดาเกิดขึ้นที่ไม้กางเขนหลักด้านหลังพระแท่นบูชา, มงกุฎหนามบนพระเศียรของพระเยซูเจ้าเริ่มผลิดอกไม้

มงกุฎหนามซึ่งทำจากพืชหนามทะเลทรายถูกบิดม้วนเป็นวงกลมได้ถูกนำออกจากพระเศียรพระเยซู เมื่อคุณพ่อมิเกล แองเจิล กอนซาเลซ สังเกตเห็นดอกไม้ผลิขึ้นที่ด้านหลังของมงกุฎในต้นเดือนพฤศจิกายน 2010 ในเวลาถ่ายทำของรายการ “Primer Impacto” เกี่ยวกับเหตุการณ์นี้, มงกุฎหนามถูกถอดออกจากพระเศียรพระเยซูและวางไว้ในกระจกและถูกตรวจจับด้วยกล้องรักษาความปลอดภัย

เมื่อทีมงานโทรทัศน์ถ่ายวีดีโอสิ่งศักดิ์สิทธิ์นี้, มงกุฏมีดอกไม้สีชมพูผลิออกมาหลายดอก รูปร่างเหมือนแตรทรัมเป็ต, ดอกผลิออกมาจากมงกุฏและมีใบสีเขียวอีกสองใบ
ผู้มีความเชื่อจากเมือง Ocotlán และพื้นที่โดยรอบเข้าแถวยาวเพื่อมาดูมงกุฎ, และดอกไม้ดูมีสีสันเป็นพิเศษเพราะเป็นสัปดาห์ก่อนวันคริสต์มาส

พระสงฆ์ประจำโบสถ์ได้พูดคุยสั้นๆเกี่ยวกับประวัติของมงกุฎหนาม มงกุฏถูกมอบให้กับโบสถ์เป็นของขวัญในปี 1994 โดยเจ้าสาวผู้หนึ่งที่มอบให้โบสถ์หลังจากงานแต่งงาน ตอนแรกมงกุฎถูกวางไว้ที่เชิงกางเขนและจากนั้นก็ย้ายไปวางไว้บนมือที่ภาวนาของรูปปั้นแม่พระมหาทุกข์(Virgin of Dolores) ต่อจากนั้นมงกุฎก็ถูกย้ายไปวางบนพระเศียรของพระเยซูเจ้าบนไม้กางเขนหลักในมหาวิหาร

คุณพ่อมิเกล แองเจิล ยืนยันกับสาธารณชนว่าทางโบสถ์กำลังพยายามอย่างเต็มที่ในการตรวจสอบปรากฏการณ์และสัญญาว่าจะเก็บมงกุฎไว้ในกระจกครอบด้วยการเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมงโดยกล้องรักษาความปลอดภัยเพื่อพิสูจน์ว่ามงกุฎไม่ได้ถูกดัดแปลง

รายการ "Primer Impacto" จบลงด้วยการบอกผู้ชมว่ามหาวิทยาลัย Guadalajara กำลังจะทำการสอบสวนทางวิทยาศาสตร์อย่างละเอียดเกี่ยวกับมงกุฎและจะเปิดเผยให้สาธารณชนทราบ การตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ในสิ่งที่เป็นความเชื่อของประชาชน ทำให้ผู้คนจำนวนมากไม่เห็นด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มาดูอัศจรรย์ที่อาสนวิหารแห่งนี้ พวกเขาถือว่านี่เป็นอัศจรรย์ครั้งที่สองที่เกิดที่Octotlán อัศจรรย์แรกเกิดขึ้นที่จุดเดียวกันนี้เมื่อประมาณ 153 ปีก่อน

ชื่อ "Ocotlán" มาจากภาษาของชาวแอสเทคส์( Aztecs, Nahuatl ) เป็นการรวมกันของสองคำคือ "ocotl" หรือ "ต้นสน" ในภาษาอังกฤษและ "tlan" ซึ่งหมายถึง "สถานที่" ในภาษาอังกฤษ เมื่อรวมกันก็แปลได้ว่า " สถานที่ของต้นสน” เมืองตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลสาบชาปาลา(Chapala) ที่ซึ่งแม่น้ำซูมาและซานติเอโกไหลลงสู่ทะเลสาบ ภูมิอากาศเย็นสดชื่นและดินอุดมสมบูรณ์ ชนพื้นเมืองตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นั่นเมื่อชาวสเปนมาถึงครั้งแรกในปีค. ศ. 1530 และพื้นที่ก็ถูกครอบครองโดยชนหลายเผ่า ได้แก่ Otancas, Texuexes, Tepehuanes และ Coanos เป็นเวลานาน

การต่อสู้ครั้งใหญ่ที่เรียกว่า conquistador Nuño de Guzmán เกิดขึ้นที่ Ocotlán และเมื่อชนพื้นเมืองท้องถิ่นพ่ายแพ้ต่อสเปน ชาวสเปนได้สร้างโรงพยาบาลและโบสถ์ที่อุทิศให้แก่พระมารดาพรหมจารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล ภายใต้การดูแลของนักบวชฟรังซิสกัน พระนางพรหมจารีย์แห่งOcotlan กลายเป็นที่รู้จักในนาม “องค์อุปถัมภ์ของชาวอินเดียน”(The Patroness of the Indians) อย่างรวดเร็วและโบสถ์ที่สร้างถวายแด่พระนางก็กลายเป็นสถานที่แสวงบุญระดับภูมิภาค บางส่วนของโบสถ์แห่งนี้ยังคงมีอยู่ในปัจจุบันและถือเป็นอาคารที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในรัฐจาลิสโกของเม็กซิโก

ในช่วงกลางปี 1840 เมืองนี้เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นสถานที่แห่งความชั่วร้ายและแหล่งเสื่อมโทรม สถานการณ์เหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างกะทันหันในวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1847 เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ขึ้นที่เมืองทำให้อาคารส่วนใหญ่พังทลาย ผู้คนไม่มีที่อยู่อาศัย มีความทุกข์ยากและคนที่เสียชีวิต ผู้ที่รอดชีวิตในเมืองนี้ 1,500 คนตกอยู่ในภาวะตกใจเสียขวัญ ในวันรุ่งขึ้นหลังจากเกิดแผ่นดินไหวนายกเทศมนตรีเมืองOcotlán นาย ฮวน อันโตนิโอ ไซเมนเนส (Juan Antonio Ximénez) เขียนจดหมายถึงผู้ว่าการรัฐจาลิสโก เขาเขียนว่า:

“เมื่อวานนี้ ตรงกับวันเสาร์ที่ 2 เวลาเจ็ดโมงสามสิบในตอนเช้าเกิดแผ่นดินไหวที่รุนแรงซึ่งกินเวลานานกว่าห้านาทีรู้สึกได้ในเมืองนี้ อย่างไรก็ตามมันไม่ได้สร้างความเสียหายใดๆ และเกิดซ้ำๆอีก ระหว่างเก้าโมงเช้าถึงสิบโมงเช้า และหนักมาก ในไม่ช้าอาคารของเมืองบางแห่งก็พังทลายลงและอาคารอื่นๆก็พังยับเยินหรือมีอันตรายที่จะถล่มลงมา

เมื่อวานนี้พบว่ามีผู้เสียชีวิตทั้งชายและหญิงจำนวน 46 คนและตอนนี้เป็นไปไม่ได้ที่จะรู้จำนวนผู้บาดเจ็บที่แน่ชัด และจำนวนของผู้ที่รอดชีวิตอย่างน่าอัศจรรย์จากการทำลาย

ไม่เพียงแต่ในเมืองเท่านั้นที่ได้รับความเสียหาย สิ่งเดียวกันนี้เกิดขึ้นในที่อื่นๆในเขตเทศบาลด้วย มีความตกใจและความหวาดกลัวทุกที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อก้อนหินแตกแยกออกจากเนินเขาและสัตว์ป่าต่างก็ตกใจกลัว”

ย่อหน้าสุดท้ายของนายกเทศมนตรีในจดหมายฉบับนี้ทำให้ผู้ว่าการรัฐฮาลิสโกประหลาดใจเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน นายกเทศมนตรี Ximénez กล่าวต่อ:

“พณฯท่านครับ , เช้าวันนี้ หลังจากเวลาผ่านไป 24 ชั่วโมงจากเหตุการณ์ที่น่าเวทนา ภาพที่ชัดเจนสมบูรณ์แบบขององค์พระเยซูคริสต์บนไม้กางเขนปรากฏขึ้นบนท้องฟ้าระหว่างทิศตะวันตกและทิศเหนือ ภาพปรากฏขึ้นระหว่างเมฆสองก้อนและยาวนานถึงครึ่งชั่วโมง มีคนมากกว่า 1,500 คน ที่อยู่ในพลาซ่าต่างก้มศีรษะคุกเข่า, สำนึกผิดกลับใจและร้องทูลต่อพระเยซูเจ้าเพื่อให้ทรงมีพระเมตตา”

ในภายหลัง, การปรากฎของพระเยซูเจ้าบนท้องฟ้าเหนือเมืองโอคอทลันนี้จะถูกเรียกว่ารูปลักษณ์อันน่าอัศจรรย์ของ El Señor de la Misericordia หรือในภาษาอังกฤษคือ “พระคริสตเจ้าแห่งพระเมตตาของชาวเรา” ผู้รอดชีวิตในเมืองทุกคนมารวมตัวกันที่ Plaza de Armas แห่งOcotlán ในวันรุ่งขึ้นหลังจากแผ่นดินไหว ซึ่งเป็นวันอาทิตย์เพื่อร่วมพิธีมิสซากลางแจ้งเพราะโบสถ์ที่ถูกทำลายไม่เหมาะสำหรับการประกอบพิธี

เมื่อเวลาผ่านไป มีการตรวจสอบเหตุการณ์อย่างเป็นทางการมากขึ้นและจัดทำเป็นเอกสาร ในปี 1897 สำหรับการฉลองครบรอบ 50 ปีของอัครสังฆราชแห่งกวาดาลาฮารา Pedro Loza y Pardavéรู้สึกว่าจำเป็นที่จะต้องเขียนคำให้การของคนที่เหลืออีก 30 คนที่เห็นเหตุการณ์ในปี 1847

เจ้าหน้าที่โบสถ์ท้องถิ่นพยายามจัดทำเอกสารพิธีการและทำให้ถูกต้องตามกฎหมายมากขึ้น ในวันที่ 29 กันยายน 1911 พระคาร์ดินัลJosé de Jesús Ortiz y Rodríguezอัครสังฆราชแห่งกวาดาลาฮาราลงนามในเอกสารรับรองของปี1897 ที่เขียนคำให้การและประกาศเหตุการณ์ปี1847 พระคาร์ดินัลเขียนว่า:

“เราต้องยอมรับว่าเป็นความจริงทางประวัติศาสตร์ ที่ผ่านการพิสูจน์อย่างสมบูรณ์แบบการปรากฎภาพแห่งพระพรของพระเยซูคริสต์ที่ถูกตรึงกางเขน…และไม่อาจเป็นงานของการเห็นภาพหลอนหรือการหลอกลวง เนื่องจากเกิดขึ้นในเวลากลางวันในมุมกว้าง และต่อหน้าคนมากกว่า 2,000 คน”

นอกจากนี้ Cardinal Ortíz y Rodríguezได้จัดงานฉลองอย่างเป็นทางการเพื่อระลึกถึงพระเยซูเจ้าแห่งพระเมตตาของชาวเราขึ้นด้วย งานฉลองอย่างเป็นทางการของพระเยซูเจ้าแห่งพระเมตตาจะเริ่มขึ้นทุกวันที่ 20 กันยายนและสิ้นสุดลงในวันที่เกิดเหตุการณ์คือวันที่ 3 ตุลาคม เต็มไปด้วยการเฉลิมฉลอง 13 วันของการไตร่ตรองและการสำนึกผิดกลับใจ

กลับมาที่ มงกุฎหนามที่ผลิดอกออกมา ทางมหาวิทยาลัย Guadalajara ได้ออกคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์สำหรับอัศจรรย์ของมงกุฎผลิดอกในต้นปี 2011 ดังนี้

ในรายงานฉบับเต็มนักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยระบุว่าพืชที่ใช้ทำเป็นมงกุฎนั้นเป็นที่รู้จักกันในชื่อวิทยาศาสตร์ euphorbia milii - เป็นพืชทะเลทรายที่แข็งแกร่งซึ่งสามารถอยู่ได้เป็นปีโดยไม่ต้องใช้น้ำ เมล็ดอาจอยู่เฉยๆเป็นเวลาหลายสิบปีและสามารถกระตุ้นโดยการให้ความชื้นเพียงเล็กน้อย ดังนั้นหลังจาก 15 + ปีของการ "ไม่ใช้งาน" มงกุฎที่ำจากพืชหนามก็ "กลับมามีชีวิต" สันนิษฐานว่าเป็นเพราะความชื้นในห้องหรือการรวมตัวกันของหยดน้ำที่ด้านหลังของพระเศียรของรูปปั้นที่มงกุฏวางอยู่ สำหรับผู้มีความเชื่อถึงแม้ว่า เหตุการณ์อาจดูเหมือนจะอธิบายทางวิทยาศาสตร์ได้และมีเจตนาดี แต่มงกุฎหนามที่ผลิดอกก็ยังคงเป็นสิ่งมหัศจรรย์

********************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น