เรื่องต่อไปนี้เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เขียนโดย ซิสเตอร์ เชียลา โอนิล (Sr.Sheila O’Neil) และลงพิมพ์ในแมกกาซีนการาบังดัลในฉบับเดือน ตุลาคม-ธันวาคม 1979 เป็นเรื่องที่พูดถึงพลังอำนาจแห่งสายประคำ
มันเป็นวันที่ยุ่งมากในเดือนมีนาคม ในฐานะครูใหญ่ในยุค 1950 ผมต้องแน่ใจว่าในแต่ละวันจะมีเวลาเพียงพอสำหรับบทบาทที่แยกกันสองบทบาท ในตอนเช้าของวันที่ 4 มีนาคมนั้น มีเหตุการณ์ระหว่างครูกับผู้ปกครองที่ทำให้ผมต้องออกจากชั้นเรียนเกือบชั่วโมง ดังนั้นตลอดทั้งวัน ผมจึงพยายามอย่างมากที่จะชดเชยเวลาเรียนให้กับนักเรียน ดังนั้น เมื่อมีการเคาะประตูห้องตอน 14.00 น.,ผมจึงไม่อยากจะต้อนรับนัก
ด้วยความโล่งใจ, ผมพบว่าผู้ที่เคาะประตูเป็นเพียงพนักงานขายที่ต้องการลายเซ็นของผมและเขายังหยิบปากกาของเขาออกมาด้วย ขณะที่เขาทำเช่นนั้น สายประคำของเขาไปเกี่ยวที่คลิปปากกาและหลุดออกมา ผมเซ็นชื่อในขณะที่พูดอย่างเฉยเมยว่า “คุณเป็นคาทอลิก” “โอ้ เปล่า” เขากล่าว “แต่พวกเราหลายคนเป็นหนี้ชีวิตของเราต่อพระแม่มารีย์ และผมสัญญากับพระแม่มารีย์ว่าผมจะเก็บสายประคำของผมไว้กับตัวและสวดทุกวัน”
ยี่สิบนาทีต่อมา, ผมยังคงอยู่ที่ประตูและฟังเรื่องราวเกี่ยวกับกลุ่มนักบินกลุ่มหนึ่งที่มีประสบการณ์ที่น่ามหัศจรรย์กับพระแม่มารีย์ ผู้มาเยี่ยมของผมลังเลใจที่จะเริ่มเล่า เพราะเขาสังเกตเห็นว่าผมเปิดประตู “อย่างไม่ค่อยเต็มใจนัก” แต่ตอนนี้ผมกลับกระตือรือร้นที่จะฟังเรื่องราวของเขา ผมจึงรับรองกับเขาว่าชั้นเรียนกำลังทำแบบฝึกหัดอยู่ และก็ขอร้องให้เขาเล่าเรื่องต่อไป เขาพูดต่อว่า
เวลานั้นเป็นเดือนพฤษภาคม 1940 และเราเข้าร่วมกองทัพอากาศในช่วงปลายเดือนกันยายน ที่ฮาลิแฟกซ์(Halifax) เราได้รับการฝึกอบรมอย่างเข้มข้น เนื่องจากพวกเขาต้องการให้เราไปต่างประเทศ, และสำหรับพวกเราซึ่งเป็นเด็กหนุ่ม,โปรแกรมทั้งหมดนั้นน่าตื่นเต้นมาก
พวกเราถูกแบ่งกลุ่มเป็นฝูงบิน โดยแต่ละฝูงบินประกอบด้วยเครื่องบิน 6 ถึง 10 ลำ และแต่ละฝูงบินได้รับการฝึกฝนให้เคลื่อนไหวเป็นหนึ่งเดียวกัน ดังนั้นฝูงบินนี้จึงประกอบด้วยทหารประมาณ 30 ถึง 50 นาย พร้อมด้วยหัวหน้าฝูงบินที่ทำหน้าที่ออกคำสั่งและดูแลให้กลุ่มปฏิบัติการเป็นหนึ่งเดียวกัน
ในเดือนพฤษภาคม, ฝูงบินของเราได้รับแจ้งว่าเราจะต้องเดินทางไปต่างประเทศและจะปฏิบัติการทันที เราจะทำภารกิจในตอนกลางคืนเหนือดินแดนของศัตรูจนกว่าสงครามจะสิ้นสุดลง เรากำลังรอหัวหน้าฝูงบินคนใหม่ซึ่งจะมาถึงในอีกสองวันในเที่ยวบินของกองทัพอากาศเวลา 21.00 น. เราคิดว่าในฐานะเจ้าหน้าที่ เขาน่าจะไปที่ที่พักของเจ้าหน้าที่ทันที
เราเฝ้าดูเครื่องบิน แอบมองเห็นเขาจากระยะไกล และยอมจำนนและเลิกรอเขาจนถึงวันรุ่งขึ้นเพื่อ "ประเมินเขา" สองสามชั่วโมงต่อมา, หัวหน้าฝูงบินคนนี้, สแตน ฟุลตัน(Stan Fulton) ในชุดเครื่องแบบเต็มยศ ก็เข้ามาในบ้านพักของเรา เขาทักทายกับพวกเรา
"เอาละทุกคน,พวกเราจะใช้เวลาอันตรายร่วมกันหลายชั่วโมง แต่หวังว่าพวกเราทุกคนจะกลับมาพบกันที่นี่อีกครั้งเมื่อทุกอย่างจบลง มีเตียงว่างอยู่และผมก็เหนื่อยแล้ว! ผมจะพบพวกคุณทุกคนพรุ่งนี้"
เมื่อพูดจบ เขาก็โยนกระเป๋าของเขาไปบนเตียงชั้นบน หัวหน้าฝูงบินของเรา ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ นอนที่นี่กับเรา! เรารู้สึกชอบเขาทันที และความชอบและความชื่นชมของเราก็เพิ่มมากขึ้นทุกวัน
คืนแรกนั้น เขาคุกเข่าลงบนพื้นและสวดสายประคำอย่างเงียบๆ
เราอึ้งจนพูดไม่ออก
เมื่อเขาสวดเสร็จ เขาหันมามองเราด้วยรอยยิ้มเป็นมิตรและพูดว่า “หวังว่าพวกคุณคงไม่รังเกียจที่เห็นผมสวดภาวนา เพราะที่ที่เราจะไป, เราจำเป็นต้องสวดภาวนา”
วันรุ่งขึ้น การฝึกเคลื่อนไหวภายใต้การบังคับบัญชาของเขาทำให้เราแน่ใจได้ว่าฟุลตันไม่ใช่แค่ผู้นำทางทหารของเราเท่านั้น แต่ยังเป็นเพื่อนของเราด้วย เขาเป็นคนหนึ่งในพวกเรา เขาไม่เคยพยายามข่มขู่เราด้วยยศศักดิ์ของเขา
คืนนั้น เขาก็ได้สวดภาวนาอีกครั้ง แม้ว่ากลุ่มของเราจะฝึกกันมาอย่างน้อยหกเดือนแล้ว แต่ผมไม่เคยเห็นใครคุกเข่าสวดภาวนาเลย และไม่รู้เลยว่าคนในกลุ่มของเรามีใครที่เป็นคาทอลิก แต่คืนที่สาม เพื่อนร่วมทางของเราสามคนสวดสายประคำร่วมกับฟุลตัน ส่วนคนอื่นๆที่เหลือไม่เข้าใจ แต่เราก็ยังคงนิ่งเงียบอย่างเคารพ
สองสามคืนต่อมา — เราเรียนรู้ได้เร็ว — เราทุกคนสวดบทภาวนาวันทามารีย์และบทข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย
ฟุลตันดูพอใจ และด้วยเหตุนี้ เราจึงสิ้นสุดแต่ละวันด้วยการสวดภาวนา
ในวันที่ 1 มิถุนายน 1940 เราต้องออกจากฮาลิแฟกซ์เพื่อเริ่มการโจมตีในตอนกลางคืนจากอังกฤษเหนือเยอรมนี
ในตอนเย็นของวันก่อนหน้านั้น ฟุลตันได้ให้สายประคำแก่พวกเราคนละหนึ่งสาย
“เราจะต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบาก แต่หากคุณยินดี, เราจะสวดสายประคำกัน
ถ้าพวกคุณสัญญาว่าจะเก็บสายประคำไว้กับตัวตลอดชีวิตและสวดสายประคำนั้น ผมสัญญากับคุณได้ว่าพระแม่มารีย์จะพาพวกคุณทุกคนกลับแคนาดาอย่างปลอดภัย”
เราตอบว่า “ได้แน่นอน”
เราไม่เคยฝันเลยว่าเราจะได้ลงสนามรบนานถึงสี่ปี หลายครั้งอยู่ในอันตรายร้ายแรงจากไฟที่อยู่รอบตัวเรา
ในช่วงเวลาดังกล่าว เสียงของฟุลตันจะดังก้องไปทั่วทุกเครื่องบิน “วันทามารีย์…” เราตอบรับอย่างเคารพและด้วยความจริงใจ!
เราได้สวดสายประคำไปกี่ร้อยครั้ง
หลังจากผ่านไปสองปี, เป็นที่รู้กันว่าฝูงบินของเราเป็นฝูงบินเดียวที่ไม่สูญเสียเครื่องบินหรือชีวิตแม้แต่คนเดียว
เราไม่ได้พูดอะไรเลย แต่เรารู้ดี
ในที่สุดสงครามอันเลวร้ายก็สิ้นสุดลง
ในช่วงหลายปีนั้น พวกเราสูญเสียความรู้สึกของความตื่นเต้นและการผจญภัยไปทั้งหมด
สิ่งเดียวที่เรากังวลคือความอยู่รอด! และเราก็รอดมาได้ ทุกคนกลับมายังแคนาดาในปี 1945 โดยเชื่อมั่นอย่างเต็มที่ว่าพระแม่มารีย์ทรงดูแลเรา
ดังนั้นผมจึงไม่ลืมที่จะพกสายประคำติดตัวไว้เสมอและสวดทุกวัน แม้ว่าผมจะไม่ใช่คาทอลิกก็ตาม
เมื่อผมเปลี่ยนกางเกง, สิ่งแรกที่ผมจะหยิบคือสายประคำ,ไม่ใช่กระเป๋าสตางค์
************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น