หลายคนคงลืมเรื่องของการพิทักษ์โลกและสิ่งแวดล้อม
ตามสมณสาส์น Laudato Si ของพระสันตปาปาฟรังซิสไปแล้ว
จึงขอนำข่าวเก่าจากปีที่แล้วมาเสนอเพื่อเตือนความจำกันหน่อย
CNA/EWTN News.- ในวันฉลองของนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี องค์กรคาทอลิก 7 องค์กรจาก 5 ทวีปได้ทำสัตยาบันว่า
พวกเขาจะแยกตัวห่างจากบริษัทค้าพลังงานที่มาจากฟอสซิลเพื่อเป็นความพยายามในการดูแลสิ่งแวดล้อมของโลก
การทำสัตยาบันและการประกาศนี้ตรงกับวันสุดท้ายของการรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อม
ซึ่งเริ่มต้นในวันสวดภาวนาโลกเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมในวันที่ 1 ก.ย. 2016
เมื่อต้นปี 2016 องค์กรคาทอลิก 4 คณะในออสเตรเลียได้ประกาศที่จะพยายามออกห่างจากการใช้พลังงานจากถ่านหิน
น้ำมัน และก๊าซ ตามคำเรียกร้องของพระสันตปาปาฟรังซิสในพระสมณสาส์น “Laudato Si” ของพระองค์
จากจุดนี้ทำให้เกิดขบวนการที่ใหญ่ขึ้นทั่วโลก
ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวอย่างหนึ่งที่ถือว่าใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ มีสถาบันต่างๆเกือบ 600
แห่งที่เข้าร่วมในการนี้ด้วย (ข้อมูลจาก - gofossilfree.org)
หนึ่งในองค์กรคาทอลิกที่เข้าร่วมในครั้งนี้
คือสังฆมณฑล Diocese of the Holy Spirit of Umuarama อยู่ในรัฐปารานา
ในบราซิล เป็นสังฆมณฑลแรกและเป็นสถาบันแรกในลาตินอเมริกันที่ร่วมเคลื่อนไหวในครั้งนี้
พระสังฆราช Dom Frei João Mamede Filho
of Umuarama กล่าวว่า
ท่านรู้สึกว่าจะต้องทำตามเสียงเรียกของพระวรสารและของพระสันตปาปาฟรังซิสในการดูแลเอาใจใส่โลกและสิ่งแวดล้อมเพื่อ
“ปกป้องชีวิตทุกชีวิต”
“เราไม่สามารถยินยอมให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจซึ่งแสวงหาผลกำไรก่อนผลประโยชน์ของประชาชนดำเนินต่อไปได้อีก
มันทำลายความหลากหลายทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา มันแย่งชิงสิ่งเหล่านี้ไปจากเราโดยการขุดและใช้พลังงานที่มาจากฟอสซิล”
“เรารู้ว่าบราซิลมีแหล่งพลังงานอย่างอื่นมากมายที่สะอาดและปลอดภัยต่อบ้านเมืองของเรา
ดังนั้นข้าพเจ้าเชื่อว่าการเคลื่อนไหวเพื่อทำให้สังฆมณฑล Umuarama เป็นเขตคาร์บอนต่ำ low-carbon
นั้นเป็นวิธีที่จะทำให้เกิดผลตาม Laudato Si ซึ่งได้เรียกร้อง”
St. Louis-based SSM Health เป็นหนึ่งใน 7
กลุ่มของสหรัฐที่เข้าร่วมในการประกาศครั้งนี้
กลุ่มนี้จัดตั้งโดยคณะซิสเตอร์ฟรังซิสกันแห่งมารีย์ Franciscan Sisters of Mary
เป็นองค์กรและโรงพยาบาลที่ไม่แสวงหาผลประโยชน์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ
ประธานของกลุ่ม William P. Thompson กล่าวว่า
“ในภารกิจขององค์กรคาทอลิก SSM Health เราตระหนักอยู่เสมอในความสำคัญที่จะต้องดูแลแหล่งธรรมชาติของเรา
ในการเข้าร่วมพิทักษ์สิ่งแวดล้อมนี้เราต้องกระทำด้วยคำพูดและการกระทำจากทุกคนในคณะ
และปฏิบัติตามพระสมณสาส์นของพระสันตปาปาฟรังซิสเกี่ยวกับภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง”
ยังมีกลุ่มอื่นๆอีก
อาทิเช่น Federation of Christian Organisations for the International Voluntary
Service (FOCSIV) ในอิตาลี ; the Presentation Society of Australia and Papua New Guinea; the
Missionary Society of St. Columban, ที่อยู่ในฮ่องกงและประทเศอื่นอีก 14 ประเทศ; the Salesian Sisters of
Don Bosco – Daughters of Mary Help of Christians ที่อยู่ในมิลานและเนเปิล
ของอิตาลี, และเยซูอิตใน English Canada province.
นอกจากนี้ยังมีการเคลื่อนไหวของกลุ่ม
Global Catholic Climate Movement
ซึ่งเป็นองค์กรที่ประกอบด้วยฆราวาส พระสงฆ์ นักบวช พระสังฆราช
และสมาชิกองค์กรที่เชื่อมโยงอยู่ทั่วโลกเพื่อ “ทำงานร่วมกันในวิกฤตการณ์ภาวะอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลงไป”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น