วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2564

การเต้นรำในพิธีกรรม

 



 
คำถามเกี่ยวกับ “การเต้นรำในพิธีกรรม” ระหว่างพิธีมิสซายังคงเกิดขึ้น คำถามส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับนาฏยศิลป์สมัยใหม่ ซึ่งมักทำโดยนักเต้นที่แต่งกายด้วยชุดต่างๆในบริเวณต่างๆของโบสถ์ (เช่น ทางเข้า หน้าแท่นบูชา)
 
ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ทางสันตะสำนักได้ตอบคำถามเหล่านี้ด้วยวิธีต่างๆ โดบเฉพาะอย่างยิ่งจากข้อความที่นำมาจากสาส์น The Spirit of the Liturgy โดยพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่16 (Cdl Ratzinger) กล่าวถึงแหล่งที่มาและข้อกังวลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว ท่านเขียนไว้ว่า
 
การเต้นรำไม่ใช่รูปแบบของการประกอบพิธีกรรมของคริสตชน ราวๆศตวรรษที่ 3 มีความพยายามในแวดวงกลุ่มน็อสติก(Gnostic-Docetic:การเปลี่ยนแปลงตามความคิดของตนเอง) เพื่อนำสู่พิธีกรรมสำหรับคนเหล่านี้ ซึ่งทำให้การตรึงกางเขนถูกทำให้เป็นเพียงรูปลักษณ์ภายนอก การเต้นรำเข้ามาแทนที่พิธีกรรมที่ไม้กางเขน ตามความคิดของพวกเขาแล้ว ไม้กางเขนเป็นเพียงลักษณะภายนอกที่ปรากฏเท่านั้น การเต้นรำตามลัทธิของศาสนาต่างๆ มีจุดประสงค์ที่แตกต่างกันเช่น เป็นคาถา, มายากลเลียนแบบ, หรือความปีติยินดีลึกลับ - ไม่มีสิ่งใดที่เข้ากันได้กับจุดประสงค์หลักของพิธีกรรมของ "ยัญบูชาของพระคริสต์” ดังนั้นจึงเป็นเรื่องไร้สาระอย่างยิ่งที่จะพยายามทำให้พิธีกรรมดู "น่าดึงดูด" โดยแสดงละครใบ้ (ที่ทำได้โดยคณะนาฏศิลป์มืออาชีพ) ซึ่งบ่อยครั้ง (และเป็นสิ่งที่ถูกต้องจากมุมมองของผู้เชี่ยวชาญ) จบลงด้วยเสียงปรบมือ ที่ใดก็ตามที่เสียงปรบมือดังขึ้นระหว่างพิธีกรรมเนื่องจากความสำเร็จของมนุษย์ นั่นก็เป็นสัญญาณที่แน่ชัดว่าแก่นแท้ของพิธีกรรมได้หายไปโดยสิ้นเชิงและถูกแทนที่ด้วยความบันเทิงทางศาสนา ความน่าดึงดูดใจดังกล่าวจะจางหายไปอย่างรวดเร็ว มันไม่สามารถแข่งขันในตลาดการแสวงหาความบันเทิงได้ ปัจจุบันมีการผสมผสานเข้ากับรูปแบบต่างๆ ของการยั่วยุทางศาสนามากขึ้นเรื่อยๆ ข้าพเจ้าเองเคยประสบกับการเปลี่ยนพิธีกรรมการสำนึกผิดด้วยการแสดงระบำซึ่งได้รับเสียงปรบมือรัวๆ จะมีอะไรที่ห่างไกลจากการสำนึกผิดที่แท้จริงยิ่งไปกว่านี้อีกหรือ? พิธีกรรมสามารถดึงดูดผู้คนได้ก็ต่อเมื่อผู้คนเข้าร่วมเท่านั้น ไม่ใช่เป็นที่ตัวพิธีกรรมเอง แต่สำหรับพระเจ้า เมื่อทรงอนุญาตให้พวกเขาเข้าร่วมพิธีกรรม,สิ่งที่เหนือธรรมชาติก็เกิดขึ้น ซึ่งเหนือกว่าการแข่งขัน และผู้คนที่เข้าร่วมมีความรู้สึกว่าพิธีกรรมนั้นเป็นมากกว่ากิจกรรมสันทนาการ พิธีกรรมของคริสตชนไม่รวมการเต้นรำเอาไว้ด้วย [The Spirit of the Liturgy, (SF, CA: Ignatius, 2000), หน้า. 198]
 
***
 
พระคาร์ดินัลฟรานซิส อารินเซ ประธานของคณะกรรมพิธีกรรมเพื่อการนมัสการศักดิ์สิทธิ์และระเบียบวินัยแห่งศีลศักดิ์สิทธิ์ ได้วิพากษ์วิจารณ์อย่างเปิดเผยต่อการนำการเต้นรำเข้าสู่พิธีกรรมของมิสซาอันศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะเป็นการลดความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมนี้ให้เหลือเพียงการแสดง ตัวอย่างเช่น ในคำปราศรัยในปี 2003, พระคาร์ดินัลฟรานซิสได้ตอบคำถามเรื่อง "การเต้นรำในพิธีกรรม" ว่า "ไม่เคยมีเอกสารใดจากที่ประชุมเพื่อการนมัสการและระเบียบวินัยของศีลศักดิ์สิทธิ์ของเราที่กล่าวว่าการเต้นรำได้รับการอนุมัติให้กระทำได้ในพิธีมิสซา"; ท่านตั้งข้อสังเกตว่า "ธรรมประเพณีของพระศาสนจักรละตินไม่รู้จักการเต้นรำ เป็นสิ่งที่ผู้คนบางคนได้นำเข้ามาในช่วงสิบปีที่ผ่านมาหรือยี่สิบปีที่ผ่านมา" (ดู Cardinal Responds to Questions on Liturgy AB ตุลาคม 2003)
 
ยังไม่มีการพิจารณาอย่างชัดแจ้งจากสันตะสำนักที่ต่อต้านสิ่งที่เรียกว่า"การเต้นรำในพิธีกรรม" ตามข้อสังเกตุของพระคาร์ดินัล ฟรานซิส อารินเซ่ ระบุว่า การเคลื่อนไหวเหมือนการเต้นรำระหว่างพิธีกรรมนั้นเป็นธรรมเนียมนิยมในบางประเทศ และด้วยเหตุนี้จึงอาจเป็นรูปแบบที่ถูกต้องตามกฎหมายของ "การปลูกฝัง" ของพิธีกรรมในภูมิภาคเหล่านี้ การเต้นรำตามพิธีกรรมประเภทนี้ถูกนำมาใช้ในพิธีกรรมของพระสันตะปาปาหลายครั้งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมอัฟริกันหรือเอเชีย อย่างไรก็ตาม,สิ่งเหล่านี้เป็นข้อยกเว้นพิเศษที่จะต้องเห็นในบริบทของบทบาทสากลอันเป็นเอกลักษณ์ของพระสันตะปาปา ไม่ใช่รูปแบบพิธีกรรมที่มีมาก่อน
 
แต่สันตะสำนักได้กล่าวถึงเรื่องการฟ้อนรำ โดยเน้นย้ำอย่างต่อเนื่องถึงความแตกต่างที่เหมาะสมระหว่างการยอมให้ประเพณีวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองและการนำนวัตกรรมมาใช้ในการประกอบพิธีกรรมในโบสถ์
 
อย่างแรกคือคำอธิบายเรื่อง "การเต้นรำทางศาสนา" ในปี 1975 ในบทความจาก Notitiae ซึ่งเป็นการตีพิมพ์อย่างเป็นทางการของ Congregation for Divine Worship and the Discipline of the Sacraments ที่ปรากฏใน Notitiae, 11 (1975) 202-205; และตีพิมพ์เป็นคำแปลภาษาอังกฤษ "The Religious Dance – an Expression of Spiritual Joy" ใน The Canon Law Digest, Vol. VIII, หน้า 78-82.
 
---------------------
 
ในคำแนะนำของสันตะสำนัก ในปี 1994 เรื่อง "การปลูกฝัง" ที่แท้จริงของพิธีกรรมของโรมัน Varietates legitimae มีการอ้างอิงถึงท่าทางการเต้นรำที่มีอยู่ในบางวัฒนธรรมไว้ดังนี้:
 
42. ในหมู่ประชาชนบางคน การร้องเพลงเป็นไปตามสัญชาตญาณด้วยการปรบมือ การโยกตัวตามจังหวะ และการเต้นของผู้เข้าร่วมพิธี รูปแบบของการแสดงออกภายนอกดังกล่าวสามารถมีได้ในพิธีกรรมของชนชาติเหล่านี้โดยมีเงื่อนไขว่าพวกเขาจะแสดงออกถึงการสวดอ้อนวอนและมีส่วนรวมอย่างแท้จริงของการเคารพบูชา การสรรเสริญ การถวายและการวิงวอน ไม่ใช่แค่การแสดงเท่านั้น
 
แรงจูงใจในการกระตุ้นการปฏิบัติที่ต่างไปจากมรดกทางพิธีกรรมคาทอลิกก็ควรค่าแก่การพิจารณาเช่นกัน ใน "พระเยซูคริสต์ผู้ทรงพระชนม์, การไตร่ตรองของคริสตชนเกี่ยวกับ 'ยุคใหม่'" ซึ่งร่วมกันออกโดยสภาพระสังฆราชเพื่อวัฒนธรรมและเพื่อการเสวนาระหว่างศาสนาในปี 2003 เพื่อเตือนคริสตชนเกี่ยวกับการปฏิบัติทางศาสนาที่ผิดๆ การเต้นรำถูกกล่าวถึงว่าเป็นหนึ่งในวิธีการที่ใช้โดยกลุ่มเคลื่อนไหวกึ่งศาสนา"ยุคใหม่" เพื่อให้เกิด "จิตสำนึกแห่งจักรวาล" "การตระหนักรู้ในตนเอง" และ "การรู้แจ้ง" (2.3.4.1) โดยใช้วิธีการของโยคะและท่าทางการเคลื่อนไหวและการออกกำลังกายอื่นๆ เอกสารนี้เตือนว่า "จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูว่าเหตุการณ์เหล่านี้มีความชื่อมโยงกับท่าทีดังกล่าวนี้หรือไม่ ไม่ว่าจะสะท้อนหรือขัดแย้งกับคำสอนของคริสตศาสนาเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของพระเจ้า,ภาพลักษณ์ของมนุษย์ และของโลกไม่ว่าจะเป็นไปอย่างหลวมๆหรือไม่ก็ตาม" (6.2)
 
ในขณะที่ "การเต้นรำในพิธีกรรม" ไม่ได้กล่าวถึงอย่างชัดเจนใน Instruction Redemptionis Sacramentum ค.ศ. 2004 แต่จะรวมไว้ในข้อห้ามทั่วไปในการห้ามนำองค์ประกอบที่ไม่ได้พิจารณาไว้ในหนังสือพิธีกรรม นอกจากนี้,การเปลี่ยนแปลงใดๆในพิธีกรรมที่อาจเสนอโดยการประชุมของพระสังฆราชจะต้องได้รับการอนุมัติจากสันตะสำนักก่อนเสมอ
 
***
 
การเต้นรำทางศาสนา,การแสดงออกของความปิติสุขทางจิตวิญญาณ
 
การเต้นรำสามารถเป็นศิลปะได้: เป็นการสังเคราะห์ศิลปะที่สามารถวัดได้ (ดนตรีและบทกวี) และศิลปะเชิงพื้นที่ (สถาปัตยกรรม, ประติมากรรม, ภาพวาด)
 
เป็นศิลปะที่แสดงออกถึงความรู้สึกของมนุษย์โดยใช้ร่างกาย การเต้นรำจึงถูกดัดแปลงเป็นพิเศษเพื่อแสดงถึงความปิติยินดี
 
ดังนั้น ในบรรดาความลึกลับทั้งหลาย,เราพบว่าการเต้นรำเป็นช่วงๆ เป็นการแสดงออกถึงความบริบูรณ์แห่งความรักที่พวกเขามีต่อพระเจ้า ให้ระลึกถึงกรณีของนักบุญเทเรซาแห่งอาวิลา,นักบุญฟิลิป เนรี,นักบุญเจราร์ด มาเจลลา(Saint Theresa of Avila, Saint Philip Neri, Saint Gerard Majella)
 
เมื่อนักปราชญ์ของพระศาสนจักร(Angelic Doctor) ปรารถนาที่จะแสดงถึงสวรรค์ ท่านกล่าวถึงการเต้นรำของทูตสวรรค์และบรรดานักบุญ
 
การเต้นรำสามารถเปลี่ยนเป็นการอธิษฐานภาวนาซึ่งแสดงออกด้วยการเคลื่อนไหวที่มีส่วนร่วมทั้งร่างกาย จิตวิญญาณ และร่างกาย โดยทั่วไป เมื่อจิตวิญญาณถูกยกขึ้นหาพระเจ้าในการอธิษฐานภาวนา มันก็เกี่ยวข้องกับร่างกายด้วย
 
เราสามารถพูดถึงการอธิษฐานภาวนาของร่างกาย สิ่งนี้สามารถแสดงในการสรรเสริญ,ในการวิงวอนด้วยการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่นเดียวกับคำกล่าวเกี่ยวกับดวงดาวที่กระพริบเพื่อเป็นการสรรเสริญพระผู้สร้างของพวกมัน (เปรียบเทียบ บารุค 3:34)
 
ตัวอย่างของการอธิษฐานภาวนาประเภทนี้มีอยู่ในหนังสือพันธสัญญาเดิม
 
สิ่งนี้ถือเป็นจริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับชนชาติดึกดำบรรพ์ พวกเขาแสดงความรู้สึกทางศาสนาด้วยการเคลื่อนไหวเป็นจังหวะ
 
ในหมู่พวกเขา เมื่อมีคำถามเกี่ยวกับการบูชา, คำพูดจะกลายเป็นบทสวด และท่าทางในการไปหรือเดินไปหาพระเจ้าจะถูกเปลี่ยนให้เป็นขั้นตอนของการเต้นรำ
 
ในบรรดาปิตาจารย์และนักเขียนของพระสงฆ์และในบทความ มีการกล่าวถึงการเต้นรำ ความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อความในพระคัมภีร์ซึ่งมีการพาดพิงถึงการเต้นรำ บ่อยครั้งมีการประณามการเต้นรำที่หยาบคายและความผิดปกติที่การเต้นรำก่อให้เกิด
 
ในบทพิธีกรรม,บางครั้งก็มีการพาดพิงถึงการเต้นรำของเหล่าทูตสวรรค์และบรรดาผู้ที่ได้รับเลือกในสวรรค์ (เปรียบเทียบ "ท่ามกลางดอกลิลลี่ที่พระองค์ทรงเลี้ยง ถูกล้อมรอบด้วยกลุ่มหญิงพรหมจารีที่กำลังเต้นรำ") เพื่อแสดงออกถึง "ความปีติยินดี" ซึ่งจะบ่งบอกถึงความเป็นนิรันดร์
 
การเต้นรำและการนมัสการ
 
การเต้นรำไม่เคยเป็นส่วนสำคัญของการนมัสการอย่างเป็นทางการของพระศาสนจักรจารีตลาติน
 
หากพระศาสนจักรท้องถิ่นยอมรับการเต้นรำในโบสถ์ นั่นก็เพราะเนื่องในโอกาสของงานฉลองเพื่อแสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีและความศรัทธา แต่นั่นมักจะเกิดขึ้นนอกพิธีกรรมของโบสถ์นั้น
 
ทางคณะกรรมการมักจะประณามการเต้นรำทางศาสนา เพราะมันทำให้เกิดการนมัสการเพียงเล็กน้อยและเพราะมันอาจทำให้เกิดความเสื่อมที่นำไปสู่ความผิดปกติ
 
อันที่จริงแล้ว ในเรื่องการเต้นรำในพิธีกรรม การโต้แย้งสามารถดึงมาจากข้อความจากธรรมนูญเกี่ยวกับพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ Sacrosanctum Concilium ซึ่งกำหนดบรรทัดฐานสำหรับการปรับบทสวดให้เข้ากับลักษณะและประเพณีของชนชาติต่างๆ :
 
“ในเรื่องที่ไม่กระทบต่อความเชื่อหรือความเป็นอยู่ที่ดีของทั้งชุมชน พระศาสนจักรไม่ประสงค์จะกำหนดกฏเกณท์ที่เข้มงวด ตรงกันข้าม พระศาสนจักรเคารพและส่งเสริมอัจฉริยภาพและพรสวรรค์ต่างๆของเผ่าพันธุ์และผู้คน ไม่ว่าวิถีชีวิตของพวกเขาจะไม่ถูกผูกมัดด้วยความเชื่อทางไสยศาสตร์และความผิดพลาดอย่างไม่อาจสลายได้ พระศาสนจักรมองดูด้วยความเมตตากรุณาและหากเป็นไปได้ก็รักษาไว้ไม่บุบสลาย และบางครั้งถึงกับยอมรับในพิธีกรรมหากสอดคล้องกับจิตวิญญาณของพิธีกรรมที่แท้จริง." [1]
 
ในทางทฤษฎี สามารถอนุมานได้จากข้อความนั้นว่ารูปแบบการฟ้อนรำบางรูปแบบสามารถนำมาใช้ในการนมัสการของทางคาทอลิกได้ (อย่างเช่นการฟ้อนรำที่อ่อนช้อยของประเทศทางแถบเอเชีย)
 
อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถกระทำได้ตามเงื่อนไขสองประการนี้คือ
 
ประการแรก: ในขอบเขตที่ร่างกายเป็นภาพสะท้อนของจิตวิญญาณ การเต้นรำ จะต้องแสดงความรู้สึกของความเชื่อและความรักเพื่อที่จะกลายเป็นคำอธิษฐานภาวนา
 
เงื่อนไขที่สอง: เช่นเดียวกับท่าทางและการเคลื่อนไหวทั้งหมดที่พบในพิธีกรรมนั้นถูกควบคุมโดยผู้มีอำนาจของคณะสงฆ์ที่มีความสามารถ ดังนั้นการเต้นรำเป็นท่าทางจะต้องอยู่ภายใต้ระเบียบวินัย
 
-------------------------
 
ตราบเท่าที่การเต้นรำยังสะท้อนถึงค่านิยมทางศาสนาและกลายเป็นสิ่งที่แสดงออกอย่างชัดเจน อย่างเช่นกรณีของชาวเอธิโอเปีย ในวัฒนธรรมของพวกเขา แม้กระทั่งทุกวันนี้ มีการร่ายรำตามพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งแตกต่างอย่างชัดเจนจากระบำการต่อสู้และการฟ้อนรำด้วยความรัก พิธีเต้นรำดำเนินการโดยพระสงฆ์และชาวเลวีก่อนที่จะเริ่มพิธี และแสดงในที่โล่งอยู่ด้านหน้าโบสถ์ มีการเต้นรำควบคู่ไปกับบทสดุดีในขบวนแห่ เมื่อขบวนเข้ามาในโบสถ์ การสวดภาวนาก็ดำเนินไปพร้อมกับการเคลื่อนไหวร่างกาย
 
สิ่งเดียวกันนี้พบได้ในพิธีสวดซีเรียโดยการสวดบทสดุดี
 
ในพิธีกรรมของไบเซนไทน์(Byzantine Liturgy)มีการเต้นรำที่เรียบง่ายในงานแต่งงาน เมื่อคู่สมรสที่สวมมงกุฎเต้นรำเป็นวงกลมรอบบริเวณจัดงานพร้อมกับผู้มาร่วมงาน
 
กรณีของชาวอิสราเอล ในธรรมศาลา คำอธิษฐานของพวกเขามาพร้อมกับการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องเพื่อระลึกถึงประเพณีตามที่มีเขียนไว้ว่า:
 
“เมื่อท่านสวดภาวนา จงทำด้วยสุดดวงใจของท่านและด้วยกระดูกทุกชิ้นของท่าน” และสำหรับชนชาติดึกดำบรรพ์ก็สามารถสังเกตได้เช่นเดียวกัน
 
อย่างไรก็ตาม หลักเกณฑ์และวิจารณญาณเดียวกันไม่สามารถนำไปใช้ในวัฒนธรรมตะวันตกได้
 
การเต้นรำของตะวันตกผูกติดอยู่กับความไม่บริสุทธิ์ทางเพศ มันเบี่ยงเบนความสนใจ หยาบคาย ไร้การควบคุมความรู้สึก: โดยทั่วไปแล้วการเต้นรำเช่นนี้ไม่บริสุทธิ์
 
ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงไม่สามารถนำมาใช้ในงานเฉลิมฉลองทางพิธีกรรมใดๆได้ นั่นคือการแทรกเข้าไปในพิธีกรรมของมิสซาอันศักดิ์สิทธิ์ เพราะมันจะเป็นองค์ประกอบที่ทำให้เสื่อมเสียมากที่สุด ดังนั้นจึงเทียบเท่ากับการสร้างบรรยากาศแห่งการดูหมิ่นซึ่งเป็นที่สะดุดแก่ผู้ที่แก่ผู้เข้าร่วมในงานเฉลิมฉลอง
 
จึงไม่สามารถยอมรับข้อเสนอที่จะนำเสนอการเต้นรำที่เรียกว่า บัลเล่ต์ศิลปะ เข้ามามีส่วนร่วมในพิธีกรรมได้ เพราะมันเบี่ยงเบนความสนใจและเป็นที่สะดุดของผู้เข้าร่วมพิธีเป็นอย่างมาก (บางครั้งมีการสวมใส่ชุดแนบเนื้อ และในสหรัฐอเมริกา,ยังเคยมีเหตุการณ์ที่ผู้เต้นรำสวมใส่เสื้อผ้าเพียงเล็กน้อย)
 
ดังนั้นจึงมีความแตกต่างอย่างมากในแต่ละวัฒนธรรม: สิ่งที่ได้รับการตอบรับอย่างดีในวัฒนธรรมหนึ่งอาจไม่สามารถนำไปใช้กับวัฒนธรรมอื่นได้
 
ต้องไม่ลืมการอนุรักษ์ความจริงจังของการนมัสการทางศาสนาแบบดั้งเดิมและการนมัสการแบบละตินโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
 
หากข้อเสนอของนาฏศิลป์ตะวันตกนั้นน่ายินดีจริงๆ ก็จะต้องระมัดระวังไม่ให้กระทำในสถานที่ของโบสถ์ แต่ต้องกระทำนอกสถ ที่ านที่ประกอบพิธีกรรมเท่านั้น ในพื้นที่ชุมนุมซึ่งไม่เคร่งครัดในพิธีกรรม
 
ยิ่งกว่านั้นพระสงฆ์และนักบวชจะต้องถูกกีดกันออกจากงานเต้นรำเสมอ
 
เราจำได้ว่า จากการปรากฏตัวของชาวซามัวที่กรุงโรมสำหรับเทศกาลแพหร่ธรรมในปี 1971 ว่าเราได้รับประสบการณ์มากน้อยเพียงใด เมื่อสิ้นสุดพิธีมิสซา พวกเขาก็เต้นรำกันในจัตุรัสเซนต์ปีเตอร์ และทุกคนต่างก็สนุกสนาน
 
************************
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น