วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2565

มหาพรต,เทศกาลแห่งความเชื่อ

 

ในวันอาทิตย์แรกของเทศกาลมหาพรต เราพบว่าตนเองอยู่ในทะเลทรายกับพระเยซูและปีศาจ ทำไมการเดินทางเข้าสู่มหาพรตจึงต้องเริ่มต้นที่นี่?
 

พระวรสาร ( ลก. 4:1-13) นักบุญลูกาบอกเราว่าหลังจากรับพิธีล้างในแม่น้ำจอร์แดน พระเยซูเจ้าทรงได้รับพระจิตเจ้าและพระจิตเจ้าทรงนำพระองค์ไปยังถิ่นทุรกันดารเป็นเวลาสี่สิบวัน เพื่อให้ปีศาจประจญ” เรารู้สึกได้ทันทีว่าพระเยซูกำลังเริ่มต้นกระทำภารกิจของพระองค์ และภารกิจแรกของพระองค์คือการออกห่างจากสาธารณชนและเผชิญหน้ากับศัตรูดั้งเดิมของพระเจ้าในถิ่นทุรกันดาร ด้วยเหตุผลบางอย่าง?
 
ความรู้เกี่ยวกับประวัติแห่งความรอด,ช่วยให้เราตอบคำถามนี้ 
ในสวนเอเดน สถานที่ซึ่งเต็มไปด้วยความสุข,ศัตรูของพระเจ้าได้รับอนุญาตให้ประจญล่อลวงอาดัมและเอวาเพื่อทดลองพวกเขาว่าความไว้วางใจในความเป็นบิดาของพระเจ้านั้นจะสูญหายไปจากใจของพวกเขาหรือไม่ (ดู CCC397) เมื่อทั้งสองหลงเชื่อคำโกหกของงูมากกว่าเชื่อพระวาจาของพระเจ้า และพวกเขา,ด้วยจิตใจอิสระ,ได้กระทำสิ่งที่แสดงถึงความไม่เชื่อฟังพระองค์ และเราก็ทราบผลที่น่าเศร้าของการไม่เชื่อฟังนั้น
 
เมื่อพระเจ้าทรงทำให้ชาวอิสราเอลเป็นชนชาติสำหรับพระองค์เอง ชาวอิสราเอลประสบช่วงเวลาแห่งการทดสอบเช่นกัน หลังจากที่พวกเขาได้รับการปลดปล่อยจากการเป็นทาสในอียิปต์และเริ่มเดินทางไปยังดินแดนแห่งพระสัญญา พวกเขาต้องรอนแรมอยู่ในทะเลทราย และเผชิญกับการขาดแคลนอาหารและน้ำ,ถูกโจมตีจากศัตรู,และปรารถนาที่จะกลับไปอียิปต์ด้วยการบูชารูปเคารพของชาวอิยิปต์ พระเจ้ากำลังสอนประชากรของพระองค์ให้วางใจพระองค์ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น แต่พวกเขารู้สึกว่าสิ่งนี้ทำได้ยาก! ซ้ำแล้วซ้ำเล่า,พวกเขาปล่อยให้ความไว้วางใจในความเป็นบิดาของพระผู้เป็นเจ้าสูญสลายไปเช่นกัน แม้เมื่อพวกเขาไปถึงคานาอัน,แผ่นดินแห่งพระสัญญาแล้ว,พวกเขาก็ปฏิเสธที่จะเข้าครอบครองดินแดนนั้น โดยเกรงกลัวเจ้าถิ่นผู้อาศัยในดินแดนนั้นมากกว่าเกรงกลัวพระเจ้า การไม่เชื่อฟังครั้งสุดท้ายนี้ส่งผลให้พวกเขาต้องพเนจรอยู่ในทะเลทรายนานถึงสี่สิบปี จนกระทั่งคนรุ่นที่ใจแข็งกกระด้างได้รับสิ่งที่พวกเขาต้องการ,นั่นคือพวกเขาตายไปก่อนที่จะได้เหยียบคานาอัน
 
เมื่อเราเข้าใจประวัติศาสตร์นี้แล้ว ภารกิจของพระเยซูในทะเลทราย,ถิ่นทุรกันดาร,เพื่อเผชิญหน้ากับปีศาจก็มีความหมายมากขึ้น ประการแรก,พระองค์เต็มใจจะอดอาหารสี่สิบวันสี่สิบคืน อาดัมและเอวาตกหลุมรักผลไม้ชิ้นหนึ่งที่ยั่วยวนใจพวกเขา ชาวอิสราเอลกล่าวหาว่าโมเสสพยายามฆ่าพวกเขาด้วยความอดอยาก พระเยซูเต็มใจปฏิเสธอาหาร,เพื่อให้โอกาสศัตรูมาประจญพระองค์ เมื่อปีศาจบอกพระองค์ให้ “สั่งให้หินก้อนนี้กลายเป็นขนมปังเถิด” พระองค์ทรงทราบว่าในถิ่นทุรกันดารซีนาย พระเจ้าบอกให้โมเสสพูดกับก้อนหินและทำให้มันผลิตน้ำ (ดู กดว 20:8) คำแนะนำที่ละเมียดละมัยของปีศาจคือ “ในเมื่อโมเสสทำสิ่งนี้ ท่านก็ย่อมจะทำได้” อย่างไรก็ตาม พระเยซูทรงทราบเหตุผลที่พระเจ้าทรงยอมให้ประชากรของพระองค์ประสบความกระหายและความหิวโหย พระองค์ตรัสว่า “มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่ามนุษย์มิได้ดำรงชีวิตด้วยอาหารเท่านั้น” จงวางใจในพระเจ้าผู้ทรงทำให้มนุษย์มีชีวิต
 
ปีศาจได้ลองวิธีอื่น โดยรู้ว่าชาวอิสราเอลต้องการแทนที่พระเจ้าที่มองไม่เห็น,ด้วยพระเจ้าที่มองเห็นได้เสมอ มันจึงล่อลวงพระเยซูด้วย “ฤทธิ์อำนาจและความรุ่งโรจน์” ที่มองเห็นได้ทางโลก,หากพระองค์ยอมแลกเปลี่ยนการนมัสการพระเจ้าด้วยการนมัสการมันแทน พระเยซูทรงทราบเหตุผลที่พระเจ้าห้ามไม่ให้มีรูปเคารพ โดยอ้างพระวาจาที่ถูกต้องในพระคัมภีร์: “จงกราบนมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าของท่าน และรับใช้พระองค์แต่ผู้เดียวเท่านั้น” การกราบนมัสการปีศาจแทนพระเจ้าไม่สามารถให้ชีวิตได้
 
ในที่สุด ปีศาจโจมตีแก่นแท้ของสิ่งที่ทำให้มนุษย์วางใจในพระเจ้า: “ถ้าท่านเป็นบุตรของพระเจ้า จงกระโจนลงไปเบื้องล่างเถิด” ปีศาจได้อ้างพระคัมภีร์ว่า “พระเจ้าจะทรงสั่งทูตสวรรค์ให้พิทักษ์รักษาท่าน’ และยังมีเขียนอีกว่า ‘ทูตสวรรค์จะคอยพยุงท่านไว้มิให้เท้ากระทบหิน” กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ “ให้พระเจ้าอวดฤทธิ์อำนาจสักหน่อยเถิด แน่นอน,พระองค์จะไม่มีวันปล่อยให้เจ้าต้องทนทุกข์” อาดัมและเอวาถูกล่อลวงให้อยากได้ความรู้ซึ่งผลไม้ต้องห้ามอาจมอบให้พวกเขา ชาวอิสราเอลไม่ต้องการทนทุกข์เพราะความวางใจในพระเจ้าที่พวกเขามองไม่เห็น ปีศาจเล่นกับความเชื่อมั่นของมนุษย์ว่าความทุกข์ไม่สามารถเป็นส่วนหนึ่งของแผนการณ์ของพระเจ้าสำหรับพวกเขา
 
คำตอบของพระเยซูทำให้ปีศาจเงียบอีกครั้ง โดยใช้ถ้อยคำในพระคัมภีร์ว่า “มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า “อย่าทดลององค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าของท่านเลย” พระเยซูรู้ว่ามนุษย์ไม่สามารถใช้ความทุกข์ของตัวเองเพื่อบังคับพระเจ้าให้ทำในสิ่งที่พวกเขาต้องการได้ และนั่นไม่อาจกลายเป็นข้ออ้างที่จะปล่อยให้ความวางใจในความเป็นบิดาของพระผู้เป็นเจ้าสูญสลายไปได้
 
ตอนนี้เรารู้แล้วว่าเหตุใดพระจิตเจ้าจึงทรงนำพระเยซูเข้าไปในทะเลทราย ในที่เปลี่ยวร้างแห่งนี้ พระองค์ทรงเผชิญกับการโจมตีจากศัตรูของพระเจ้า,ซึ่งมนุษย์จำนวนมากยอมจำนนให้กับการประจญล่อลวงของมัน แต่พระเยซูเจ้าทรงคลี่คลายประวัติศาสตร์อันโศกเศร้าของเรา สิ่งใหม่ได้เริ่มต้นขึ้นในเรื่องราวของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม มันเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น “เมื่อปีศาจทดลองพระองค์ทุกวิถีทางแล้ว จึงแยกไปจากพระองค์ เพื่อรอเวลาที่เหมาะสม” 
การเข้าสู่เทศกาลมหาพรตจะทำให้เราสนใจในสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในพระวรสาร 
พระเยซูเจ้า ข้าพเจ้าขอบพระคุณพระองค์ที่ทรงเข้ามาแทรกแซงช่วยเหลือปราบปีศาจแทนข้าพเจ้า
 
บทอ่านที่หนึ่ง(ฉธบ. 26:4-10) 
ก่อนที่ชาวอิสราเอลจะเข้าสู่ดินแดนแห่งพระสัญญา,หลังจากที่ต้องรอนแรมอยู่ในทะเลทรายสี่สิบปี โมเสสได้ให้คำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการรักษาพันธสัญญากับพระเจ้า สิ่งหนึ่งที่ท่านกลัวก็คือเมื่อชาวอิสราแอลได้ครอบครอง “ดินแดนที่มีน้ำนมและน้ำผึ้งไหลบริบูรณ์” ซึ่งเป็นดินแดนที่พวกเขาเองไม่ได้เพาะปลูก พวกเขาจะลืมพระเจ้าผู้ทรงช่วยพวกเขาให้รอดและพระผู้ทรงทำให้พวกเขาได้รับชีวิตใหม่ (ดู ฉธบ. 6 :10-12). ดังนั้น โมเสสจึงตั้งเครื่องบูชาถวาย “ผลแรก” เพื่อต้องการให้ชาวอิสราแอล ประกาศความเชื่อในพระเจ้าของพวกเขาต่อหน้าแท่นบูชา พวกเขาต้องจดจำประวัติศาสตร์และยอมรับการพึ่งพาพระเจ้าอย่างเต็มที่ คำพูดของพวกเขาต้องมาพร้อมกับการกระทำที่จริงใจ พวกเขาต้องถวายคืน “ผลผลิตจากดิน"ซึ่งพวกเขาประกาศว่ามาจากพระองค์จริงๆ จากนั้นพวกเขาต้องแสดงความอ่อนน้อมถ่อมตนและความกตัญญูโดยก้มลงกราบนมัสการ “เบื้องพระพักตร์พระเจ้า”
 
เราเห็นในที่นี้แล้วว่า,เมื่อ1500 ปีก่อนพระเยซูประสูติ,ในพระคัมภีร์,มีการเรียกร้องให้มนุษย์ไว้วางใจพระเจ้า, ซึ่งสิ่งนี้เป็นรากฐานของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้าเสมอมา พิธีนมัสการของชาวอิสราเอลถูกจัดขึ้นเพื่อยึดเหนี่ยวพวกเขาไว้ด้วยความถ่อมใจและพึ่งพาพระเจ้า เช่นเดียวกับที่พวกเรากระทำ เราได้ถวายเครื่องบูชาในพิธีมิสซาอันได้แก่: เงินทำบุญของเรา,ผลผลิตแห่งชีวิต คือขนมปังและเหล้าองุ่น,และตัวเราเอง การนมัสการของเรามีขึ้นเพื่อช่วยให้เราต้านทานการล่อลวงของปีศาจได้ เพราะในเทศกาลมหาพรตนี้,เราเผชิญหน้ากับสิ่งเหล่านั้นในพระเยซู
 
หากเราไม่ตระหนักถึงมุมมองนี้,หากเรายอมจำนนต่อคำโกหกของศัตรู,เทศกาลมหาพรตก็จะเป็นเวลาที่เราจะละทิ้งชีวิตเก่าและสวมใส่ชีวิตใหม่ หากเราลืมพระเจ้าผู้ทรงช่วยเราให้รอด,เทศกาลมหาพรตก็จะเป็นเวลาที่เราจะต้องกลับมาจดจำพระเจ้าเสียใหม่ 
ข้าแต่พระบิดาบนสวรรค์ โปรดทรงช่วยข้าพเจ้าให้ได้ยินการเรียกของพระองค์ เพื่อที่ข้าพเจ้าจะได้ตรวจสอบมโนธรรมของตนเองและฟื้นฟูความไว้วางใจในพระองค์ในเทศกาลมหาพรตนี้
 
บทสดุดี (อ่าน สดุดี 91:1-2, 10-15) 
นี่คือบทเพลงสดุดีที่ปีศาจนำมาอ้างถึงในบางส่วนขณะที่มันทดลองพระองค์ในทะเลทราย เป็นเพลงแห่งพระสัญญาของพระเจ้าที่จะปกป้องพวกเราด้วยความช่วยเหลือจากทูตสวรรค์ผู้รักพระองค์ อย่างไรก็ตาม ปีศาจไม่ได้อ้างคำเริ่มต้นของบทสดุดีซึ่งกล่าวว่า: “...จงทูลพระยาห์เวห์ว่า 'พระองค์ทรงเป็นแหล่งลี้ภัยของข้าพเจ้า และทรงเป็นป้อมปราการของข้าพเจ้า พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าวางใจในพระองค์'” 
บทสดุดีนี้สัญญาว่าพระเจ้าจะช่วยเหลือผู้ที่ร้องทูลพระเจ้า ผู้ที่ “ยึด” พระองค์, ผู้ “ยอมรับพระนามของพระองค์” อันดับแรกมาจากความวางใจในความเป็นบิดาของพระผู้เป็นเจ้า จากนั้นก็คือการที่พระเจ้าทรงช่วยให้เป็นอิสระ ("พระเจ้าข้า โปรดทรงช่วยข้าพเจ้า แล้วข้าพเจ้าจะวางใจในพระองค์") ซึ่งเป็นสิ่งที่ปีศาจนำมาใช้ล่อลวงพระเยซู เราสามารถร้องเพลงนี้พร้อมกับผู้ประพันธ์เพลงสดุดีว่า “พระองค์เจ้าข้า เมื่อข้าพระองค์เป็นทุกข์เดือดร้อน” 
บทสดุดีนี้เป็นการตอบสนองต่อบทอ่านอื่นๆของเรา อ่านอีกครั้งด้วยการสวดภาวนา
 
บทอ่านที่สอง (โรม 10:8-13) 
ในสาส์นที่ส่งถึงชาวโรมัน นักบุญเปาโลเน้นว่าความรอดมีให้แก่ทุกคนที่ร้องทูลพระนามของพระเจ้า ไม่ว่าจะเป็นชาวยิวหรือคนต่างชาติ “เพราะทุกคนที่เรียกขานพระนามขององค์พระผู้เป็นเจ้า ก็จะรอดพ้น” หมายความว่าอย่างไร นักบุญเปาโลกล่าวว่า คือการเชื่อด้วยหัวใจว่าพระเจ้าได้ทรงบันดาลให้พระเยซูกลับฟื้นขึ้นมาจากความตาย และ “สารภาพด้วยปากว่าพระเยซูทรงเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า” มีองค์ประกอบที่มองเห็นได้และมองไม่เห็นในความเชื่อนี้ กล่าวอีกนัยหนึ่ง เราดำเนินชีวิตตามที่เราเชื่อ เช่นเดียวกับที่โมเสสสอนให้ชาวอิสราแอลทำในการถวายผลแรกและเฉกเช่นพระเยซูทรงกระทำเมื่อถูกปีศาจประจญล่อลวงในทะเลทราย
 
ให้เราดำเนินชีวิตตามความเชื่อ—เทศกาลมหาพรตเปิดโอกาสให้เราได้ตรวจสอบตนเอง ในความเชื่อของเราทั้งมองเห็นได้และมองไม่เห็น
 
พระเยซูเจ้าข้า,ข้าพเจ้าต้องการพระหรรษทานของพระองค์ในช่วงเทศกาลมหาพรตนี้เพื่อที่จะดำเนินชีวติในความเชื่อย่างแท้จริง
 
************************
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น