พระรูปสูง 32 ฟุตนี้สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์อุทิศให้กับคนหลายพันคนที่เสียชีวิตในศตวรรษที่ 17 ระหว่างกบฏชิมาบาระ(Shimabara Rebellion)
เออิจิ โอยามัทสึ(Eiji Oyamatsu) ประติมากรนักแกะสลักไม้ชาวญี่ปุ่นวัย 88 ปีได้สร้างรูปปั้นไม้ของพระแม่มารีที่ความสูงเกือบ 10 เมตร (32 ฟุต) เกือบเสร็จแล้ว พระรูปแม่พระอุ้มพระกุมารที่เขาเริ่มแกะสลักเมื่อ 40ปีที่แล้วอุทิศให้กับความทรงจำของคนหลายพันคนที่เสียชีวิตในศตวรรษที่ 17 ระหว่างการการก่อกบฏชิมาบาระ(Shimabara Rebellion) ซึ่งเป็นการต่อสู้ระหว่างฝ่ายพันธมิตรที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มโรนิน(Ronin)ในท้องถิ่นและชาวนาคาทอลิกที่ต่อสู้กับนโยบายที่ไม่เป็นที่นิยมของโชกุนโตกูกาวะ ที่ทำการปราบปรามศาสนาคริสต์,และทำการประหัตประหารคริสตชนนางาซากิ กองกำลังโชกุนยึดนางาซากิได้ซึ่งเวลานั้นเป็นศูนย์กลางหลักของศาสนาคริสต์ในญี่ปุ่น
โปรตุเกสและญี่ปุ่นเริ่มทำการค้าขายกันในปี ค.ศ. 1543 โดยชาวโปรตุเกสเป็นชาวยุโรปกลุ่มแรกที่ไปถึงหมู่เกาะญี่ปุ่น ช่วงเวลาแห่งการค้าขายช่วงแรกนี้มักเรียกกันว่า Nanban Trade Period โดยอาศัยท่าเรือนางาซากิซึ่งได้มาจากความคิดริเริ่มของพระสงฆ์เยซูอิต Jesuit Gaspar Vilela ที่มีชื่อเสียงและไดเมียวญี่ปุ่น (ขุนนางศักดินา) Omura Sumitada (ผู้ซึ่งเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์) ท่าเรือนี้เป็นท่าเรือญี่ปุ่นเพียงแห่งเดียวที่เปิดให้ค้าขายกับต่างประเทศได้ นางาซากิจึงกลายเป็นศูนย์กลางของคริสตศาสนาโรมันคาทอลิกของญี่ปุ่น
กลุ่มกบฏชิมาบาระเป็นฝ่ายพันธมิตรที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มโรนินในท้องถิ่นและชาวนาคาทอลิกที่ต่อสู้กับนโยบายที่ไม่เป็นที่นิยมของโชกุนโตกูกาวะ,ที่ทำการปราบปรามศาสนาคริสต์และมีการกดขี่ข่มเหงคริสตชนนางาซากิตามมา
เมื่อ โตกูกาวะ ต่อสู้กับกลุ่มกบฏชิมาบาระ,พื้นที่อันกว้างใหญ่ของบริเวณที่ปัจจุบันนี้คือนางาซากิและคุมาโมโตะถูกปราบจนเรียบ ชาวคริสต์และชาวนาชาวญี่ปุ่นไม่มีที่อาศัยอื่นนอกจากต้องซ่อนตัวในปราสาทฮาระ เพื่อพยายามเผชิญหน้ากับกองทหารที่โชกุนส่งมา กลุ่มกบฏมากกว่า 30,000 คนถูกสังหารที่นั่น,ตามการประมาณการ ซากปราสาทฮาระอยู่ในมินามิ-ชิมาบาระ,ในนางาซากิ ซึ่งอาสาสมัครตัดสินใจสร้างสถานที่สำหรับประติมากรรมของโอยามัตสึ
โอยามัตสึซึ่งเป็นชาวโรมันคาทอลิกได้ไปเยี่ยมชมซากของปราสาทฮาระราวๆ ปี 1971 ตามรายงานของ The Asahi Shimbun เขา “รู้สึกประหลาดใจที่ไม่มีอนุสรณ์สถานหรือสิ่งอื่นที่คล้ายคลึงกันในสถานที่แห่งนี้” สิบปีต่อมา ขณะที่พระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 เสด็จเยือนญี่ปุ่น (รวมถึงนางาซากิในแผนการเดินทางของพระองค์ด้วย) โอยามัตสึจึงตัดสินใจสร้างรูปปั้นพระแม่มารีย์ขนาดมหึมาเพื่อเป็นอนุสรณ์
โอยามัตสึยืนยันที่จะทำงานเพียงคนเดียวในโครงการนี้ โดยเขาปฏิเสธข้อเสนอความช่วยเหลือหรือเงินทุนทั้งหมด: “ผมต้องการดูว่าผมจะไปได้ไกลแค่ไหนด้วยความสามารถของตัวเอง นักปีนเขาคงไม่สนุกนักหรอกถ้าเขาต้องนั่งเฮลิคอปเตอร์ขึ้นไปบนยอดเขาใช่ไหม”
โอยามัตสึตั้งชื่อรูปแกะสลักไม้ของเขาว่า“พระแม่มารีย์คันนอนแห่งปราสาทฮาระ”(“St. Mary Kannon of Hara Castle,”) โดยอ้างอิงจากภาพพระแม่มารีย์ในสมัยศตวรรษที่ 17 ที่มีลักษณะเหมือนเจ้าแม่กวนอิม,ซึ่งเป็นเทพแห่งความเมตตาของศาสนาพุทธ,ที่คริสตชนนางาซากิเก็บรักษาไว้หลังจากศาสนาคริสต์ถูกสั่งห้าม
************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น