รหัสลับ
DNA ผู้พิชิตทฤษฎีวิวัฒนาการ
ขณะที่นักวิทยาศาสตร์เข้าไปสำรวจจักรวาลจิ๋วภายในเซลส์
เขาได้พบกับกลไกระบบข้อมูลที่สลับซับซ้อนซ่อนเงื่อนยิ่งกว่าสิ่งประดิษฐ์ทุกประเภททึ่มนุษย์เคยสร้างขึ้นมา
นี่มีผลอะไรต่อทฤษฎีวิวัฒนาการ ?
ความสำเร็จ
2 ประการที่ยิ่งใหญ่ของมนุษย์ในปี
1953
ประการแรกคือการพิชิตยอดเขา เอเวอร์เรสต์
ยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก โดย เซอร์ เอดมุนด์ ฮิลราลี่ และผู้นำทาง นาย เทนซิง
นอร์เก เป็นชัยชนะของนักไต่เขา นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา,มีนักไต่เขาจำนวนนับพันที่ทำตาม และมีผู้ที่สามารถพิชิตยอดเขาได้อีกนับร้อยคน
ความสำเร็จประการที่สองในปี 1953
คือการที่ เจมส์ วัตสัน และ ฟรานซิส คริก ได้ค้นพบโครงสร้างพันธุกรรมที่ฝังอยู่ในนิวเคลียสของเซลส์มนุษย์
และเรียกสารพันธุกรรมนั้นว่า DNA ย่อมาจาก Deoxyribonucleicacid
(ดีออกซี่ริโบนิวคลีกเอซิด)
การค้นพบโครงสร้างเกลียวคู่ขนานของ โมเลกุล DNA เปิดทางให้นักวิทยาศาสตร์พยายามถอดรหัสลับที่ซ่อนอยู่ภายใน
และหลังจากใช้เวลานานมากกว่าครึ่งศตวรรษ, รหัสลับของ DNA
ก็ถูกแปลออกมาได้สำเร็จเป็นบางส่วน ถึงแม้ว่ายังมีรหัสจำนวนมากที่ยังไม่สามารถทำความเข้าใจได้
สิ่งที่ถูกค้นพบนี้ส่งผลกระทบต่อทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วิน ซึ่งถูกสั่งสอนในโรงเรียนว่าธรรมชาติทำให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายเกิดการวิวัฒนาการโดยผ่านกรรมวิธีการผ่าเหล่าและการเลือกสรรทางธรรมชาติ
การค้นพบอันน่าพิศวงเกี่ยวกับ
DNA
นักวิทยาศาสตร์เริ่มต้นถอดรหัสพันธุกรรม(DNA) มนุษย์และได้พบกับบางสิ่งที่ไม่ได้คาดฝัน
- "ภาษา"
จำนวนข้อมูลใน
พันธุกรรมมนุษย์นั้นสามารถเทียบได้โดยคร่าวๆกับชุดสารานุกรม เอ็นไซโครบิเดียบริตันนีกา
จำนวน 12 ชุด หรือ 384
เล่ม ซึ่งอาจบรรจุได้เต็มในชั้นวางหนังสือของห้องสมุดยาว 48
ฟุต
เมื่อมองดูถึงขนาดของพันธุกรรมซึ่งเล็กเพียงแค่ สองล้านส่วนในหนึ่งมิลลิเมตรแล้ว
ทำให้พันธุกรรมDNA 1 ช้อนชา สามารถบรรจุข้อมูลทั้งหมดที่จำเป็นในการสร้างโปรตีนของอวัยวะทุกส่วนของสิ่งมีชีวิตทุกสปีชี่
Species ที่อาศัยอยู่ในโลกใบนี้ได้เลย
นี่เป็นคำพูดของนักจุลชีววิทยา ไม่เคิล เดนตัน (อ้างอิงจาก "Evolution:
A Theory in Crisis,1996, p. 334)
ใครหรืออะไรที่สามารถย่อส่วนข้อมูลและจัดวาง"ตัวอักษร"จำนวนมากมายมหาศาลให้เป็นลำดับที่เหมาะสมถูกต้องแน่นอนราวกับเป็นคู่มือคำสั่งทางพันธุกรรมได้เช่นนี้? วิวัฒนาการสามารถทำให้เกิดระบบกลไกเช่นนี้ได้หรือ?
DNA
บรรจุภาษาพันธุกรรม
ลองมาพิจารณาถึงแบบแผนของ"ภาษา"พันธุกรรมสักหน่อย.
เราเรียกมันว่า "ภาษา" เพราะมันประกอบด้วยพื้นฐานหลักของ ตัวอักษร
หรือ กลไกการเข้ารหัส, ไวยากรณ์ (การจัดวางตำแหน่งที่แน่นอนของคำ) , ความหมาย (
สัญลักษณ์) และจุดประสงค์ที่จำเพาะเจาะจง
นักวิทยาศาสตร์พบว่ารหัสพันธุกรรมมีสิ่งที่เป็นพื้นฐานเหล่านี้ครบถ้วน
ดร.สตีเฟน เมเยอร์ ให้อรรถธีบายว่า รหัสที่อยู่ใน DNA มีคุณสมบัติเหมือนกับรหัสหรือภาษาของคอมพิวเตอร์ทุกประการ"
(อ้างอิงจาก Emphasis in Original หน้า 237, โดย Lee Strobel)
รหัสที่เป็นภาษาอย่างแท้จริงนั้นพบว่ามีแต่ในมนุษย์เท่านั้น รหัสของสิ่งมีชีวิตอื่นยังไม่อาจนับเข้าเป็นภาษาได้
ถึงแม้ว่าเราจะเห็นสุนัขเห่าเวลาที่รู้สึกถึงอันตราย, ผึ้งเต้นรำเพื่อบอกเพื่อนของมันให้รู้ทิศทางของอาหาร
และปลาวาฬส่งเสียงร้อง นี่เป็นการสื่อสารของสิ่งมีชีวิตในสปีชี่อื่น แต่มันมีโครงสร้างส่วนประกอบของการสื่อสารที่ไม่ใช่ภาษา
แต่เป็นเพียงการส่งสัญญาณการสื่อสารในระดับต่ำเท่านั้น.
การสื่อสารประเภทเดียวเท่านั้นที่ถือได้ว่าเป็นภาษาขั้นสูง
คือภาษาของมนุษย์, ภาษาของคอมพิวเตอร์,รหัสมอร์ส และรหัสพันธุกรรม. ยังไม่พบว่ามีการสื่อสารระบบอื่นนอกจากนี้ที่มีพื้นฐานหลักของการเป็นภาษาดังกล่าว.
บิล เกท เจ้าพ่อวงการคอมพิวเตอร์ผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์
กล่าวว่า " DNA ก็เหมือนโปรแกรมซอฟท์แวร์
เพียงแต่มีความสลับซับซ้อนมากกว่าสิ่งประดิษฐ์ใดๆที่เราคิดค้นขึ้นมา"
ลองจินตนาการถึงอะไรที่สลับซับซ้อนยิ่งกว่าการทำงานของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ซึ่งเกิดขึ้นมาโดยบังเอิญอาศัยการวิวัฒนาการดูซิ - จะต้องใช้ระยะเวลานานเพียงใด , ต้องเกิดการผ่าเหล่าสักกี่ครั้งและต้องผ่านการเลือกสรรทางธรรมชาติเป็นจำนวนสักเท่าใดจึงจะเกิดสิ่งนั้นขึ้นมาได้?
ภาษา
DNA กับ โมเลกุล DNA
เป็นคนละอย่างกัน
จากการศึกษาในเรื่องทฤษฎีข้อมูล ทำให้สามารถสรุปสาระบางอย่างที่ยังความประหลาดใจ
นั่นคือ, ข้อมูล ไม่สามารถจัดเป็นเรื่องเดียวกับ
สสารและพลังงาน. ถูกต้องที่สสารและพลังงาน สามารถนำพาข้อมูลไปได้
แต่มันก็เป็นคนละสิ่งกับ ตัวข้อมูลเอง
ยกตัวอย่าง, หนังสือนิยาย "อิเลียด" ของโฮเมอร์ มีข้อมูลบรรจุอยู่ แต่ตัวหนังสือเองเป็นข้อมูลหรือ?
ไม่ใช่, สสารของหนังสือ - กระดาษ, หมึกและกาวประกอบกันเป็นเล่มหนังสือ, แต่มันเป็นเพียงเครื่องมือและวิธีการที่จะสื่อสารเท่านั้น
แต่เมื่อข้อมูลในหนังสือถูกอ่านดังๆ , ถูกเขียนด้วยชอล์ก หรือพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์
ตัวข้อมูลไม่ถูกทำให้เปลี่ยนแปลงหรือถูกรบกวนให้คุณภาพเสียหายไปด้วยวิธีการส่งผ่านข้อมูลแต่อย่างใด.
ศาสตราจารย์ ฟิลิป จอห์นสัน กล่าวว่า " อันที่จริงเนื้อหาของสาส์น เป็นอิสระเอกเทศจากสิ่งที่เป็นกายภาพของสื่อ"
(อ้างอิง: Defeating Darwinism by opening Minds,1997, p. 71 )
หลักการอันเดียวกันนี้ก็ปรากฏอยู่ในรหัสพันธุกรรมด้วยเช่นกัน
โมเลกุล DNA เป็นตัวนำภาษาพันธุกรรม
แต่ภาษาพันธุกรรมเป็นอิสระเอกเทศจากสื่อตัวนำของมัน ข้อมูลพันธุกรรมอันเดียวกันนี้สามารถเขียนลงในหนังสือ,
บรรจุไว้ในแผ่นดิสก์ หรือส่งไปทางอินเตอร์เนท, โดยที่คุณภาพหรือเนื้อหาสาระของสาส์นข้อมูลนั้ไม่เปลี่ยนแปลงด้วยวิธีการส่งข้อมูล
ตามความคิดของ จอร์จ วิลเลี่ยม, พันธุกรรมเป็นที่สำหรับบรรจุข้อมูล, ตัวมันเองไม่ใช่ข้อมูล รูปแบบของการจับคู่เบสใน โมเลกุล DNA ระบุถึงลักษณะพันธุกรรม แต่โมเลกุล DNA เป็นแต่เพียงสื่อตัวนำเท่านั้น,
ไม่ใช่สาส์นข้อมูลโดยตรง (อ้างอิง: Johnson,
p' 70 )
ข้อมูลพันธุกรรมกำเนิดมาจากสติปัญญาที่ปรีชาฉลาด
ข้อมูลขั้นสูงนี้ย่อมมีแหล่งกำเนิดมาจากสติปํญญาที่ชาญฉลาดเท่านั้น
ลี สโตรเบลให้อรรถธิบายว่า "ข้อมูลของรหัสแห่งชีวิตนี้
มิได้ไร้ระเบียบแบบแผน มันไม่ได้อยู่ในรูปแบบที่ง่ายๆเหมือนกับผลึกของเกลือ แต่มิความสลับซับซ้อนและข้อมูลที่จำเพาะเจาะจง
ที่สามารถทำให้ผลงานอันน่ามหัศจรรย์สำเร็จสมประสงค์ได้ การสร้างสรรค์เครื่องจักรชีวะนั้นเป็นสิ่งที่นอกเหนือความสามารถของมนุษย์ที่จะทำได้" (p. 244)
ยกตัวอย่าง : ความแม่นยำของภาษาพันธุกรรมมีความผิดพลาดในอัตราเฉลี่ยน้อยกว่า
1 ใน 10 พันล้านตัวอักษร. ถ้าเกิดความผิดพลาดขึ้นในส่วนที่สำคัญที่สุดของรหัสซึ่งอยู่ในพันธุกรรม,
อาจเป็นเหตุทำให้เกิดโรคโลหิตจางขึ้นได้. นักพิมพ์ดีดมือดีที่สุดในโลกก็ยังไม่สามารถทำได้ใกล้เคียงกับความผิดพลาดเพียง
หนึ่งใน 10 พันล้านตัวอักษร นี้ได้เลย ยังห่างไกลมาก.
ดังนั้นความเชื่อที่ว่า รหัสพันธุกรรมได้รับการวิวัฒนาการอย่างช้าๆตามทฤษฎีของดาร์วินนั้น
เป็นการแหกกฎทุกอย่างของธรรมชาติ,สสารและพลังงาน อันที่จริง,ยังไม่เคยมีตัวอย่างที่ระบบกลไกข้อมูลหนึ่งภายในเซลส์ที่ค่อยๆวิวัฒนาการกลายเป็นระบบข้อมูลที่ทำหน้าที่อื่นได้เลย.
ไมเคิล เบเฮ
ศาสตราจารย์และนักชีวะวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ได้บรรยายเรื่องข้อมูลพันธุกรรมเป็นพื้นฐานหลักของคำสั่งพันธุกรรมและได้ให้ตัวอย่างเอาไว้ดังนี้.
เขาเขียนไว้ว่า : "ลองพิจารณาทีละขั้นตอนของคำสั่งทางพันธุกรรม.
การผ่าเหล่าเป็นการเปลี่ยนเฉพาะบรรทัดเดียวในจำนวนหลายบรรทัดของคำสั่งพันธุกรรมนั้น
ดังนั้นแทนที่จะพูดว่า , "จงเป็นลูกนัทขนาด
1/4 นิ้ว" , การผ่าเหล่าจะบอกว่า
"จงเป็นลูกนัทขนาด 3/4 นิ้ว"
หรือแทนที่จะบอกว่า "จงวางลูกกลมลงในรูกลม" ก็จะกลายเป็น
"จงวางลูกกลมลงในรูเหลี่ยม" ... สิ่งที่การผ่าเหล่าไม่สามารถทำได้ก็คือการเปลี่ยนคำสั่งทั้งหมดในขั้นตอนเดียว
- เช่น, (คำสั่ง) จงสร้างเครื่องFAX แทนที่จะเป็น
วิทยุ" (อ้างอิง : Darwin's Black Box, 1996, p. 41)
เพราะฉะนั้นเราจึงมีรหัสพันธุกรรมที่มีคำสั่งที่สลับซับซ้อนมหาศาลที่ถูกออกแบบโดยสติปัญญาอันปรีชาฉลาดมากกว่ามนุษย์
แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบรหัสพันธุกรรมผู้หนึ่งคือ
ฟรานซิส คริก ซึ่งไม่เชื่อเรื่องพระเป็นเจ้าและได้เสียชีวิตไปเมื่อเร็วๆนี้ หลังจากได้ศึกษาเพื่อถอดรหัสนี้เป็นเวลานับสิบปี, ก็ยอมรับว่า "คนที่ซื่อสัตย์ซึ่งมีความรู้ทุกอย่างเท่าที่จะหาได้ในปัจจุบัน
ก็ต้องพูดในทำนองนี้ว่า , จุดกำเนิดของชีวิต
นับเป็นเรื่องที่เกือบเป็นการอัศจรรย์, ต้องมีสภาวะหลายสิ่งหลายอย่างเหลือเกินที่อำนวยให้สิ่งนี้เกิดขึ้นได้"(Life
Itself, 1984, p. 88 )
ทฤษฎีวิวัฒนาการไม่สามารถตอบคำถามได้
เป็นเรื่องน่าคิดว่า นักวิทยาศาสตร์,ถึงแม้จะใช้ความพยายามนับแรมปีในห้องทดลองทั่วโลก
ก็ยังไม่สามารถสร้างได้แม้แต่เส้นผมของมนุษย์เพียงเส้นเดียว. แล้วการที่จะสร้างร่างกายมนุษย์ที่ประกอบด้วย
100 ล้านล้านเซลส์ จะยิ่งยากลำบากนักหนาสักเพียงไร
จนกระทั่งบัดนี้ ทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วินก็ยังพยายามหาคำอธิบายเท่าที่จะเป็นไปได้สำหรับความสลับซับซ้อนของชีวิต.
แต่พวกเขาต้องเผชิญกับปัญหาที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก: นั่นคือ ความบังเอิญจะทำให้เกิดข้อมูลจำเพาะเจาะจงที่แม่นยำขึ้นมาได้อย่างไร
- โดยการผ่าเหล่าและการเลือกสรรทางธรรมชาติหรือ?
เพราะสิ่งเหล่านั้นไม่มีกลไกอัจฉริยะที่จำเป็นสำหรับการสร้างข้อมูลที่สลับซับซ้อน
ที่เทียบได้กับรหัสพันธุกรรม.
ทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วินยังคงถูกสอนในโรงเรียนราวกับว่ามันเป็นความจริง.
แต่มีนักวิทยาศาสตร์จำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆที่เริ่มต้องการให้มีปรับปรุงเสียใหม่ แพทริก
กลีน ผู้ที่เคยเชื่อว่าไม่มีพระเป็นเจ้าได้กล่าวว่า "เหมือนเมื่อ 25 ปีก่อน, นักคิดได้วิเคราะห์หลักฐานทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้เหตุผลในเรื่องที่ยังเคลือบแคลงสงสัยอยู่
(เกี่ยวการเนรมิตสร้าง) แต่นั่นไม่เป็นปัญหาต่อไปแล้ว ปัจจุบันนี้มีข้อมูลที่หนักแน่นที่ชี้ชัดไปยังสมมุติฐานเรื่องพระเป็นเจ้า.
มันเป็นผลลัพท์ที่ง่ายและแจ่มชัดที่สุด...."(God : The Evidence,
1997, pp. 54 - 55,53)
คุณภาพของข้อมูลพันธุกรรมคงเดิมเสมอ
ทฤษฎีวิวัฒนาการบอกเราว่าสิ่งมีชีวิตมีวิวัฒนาการโดยผ่านการผ่าเหล่าและการเลือกสรรทางธรรมชาติ.
การวิวัฒนาการหมายถึงการค่อยๆเปลี่ยนแปลงรูปแบบบางอย่างของสิ่งมีชีวิตบางชนิดจนกระทั่งกลับกลายเป็นสิ่งมีชีวิตอีกประเภทหนึ่ง
และสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลพันธุกรรม.
แล้วเราพบอะไรในรหัสพันธุกรรม?
เราพบว่าคุณภาพพื้นฐานของข้อมูลในแบคทีเรียหรือพืชนั้นเทียบเท่ากับมนุษย์.
แบคทีเรียมีรหัสพันธุกรรมที่สั้นกว่า, แต่มีคุณภาพของคำสั่งแม่นยำและถูกต้องเท่าเทียมกับของมนุษย์.
มีความถูกต้องของภาษา,ไวยากรณ์และสัญลักษณ์ในแบคทีเรีย,แอลจีเช่นเดียวกับมนุษย์.
นักชีวะวิทยา ไมเคิล เดนตันได้พูดว่า
"ข้อมูลพันธุกรรมในแต่ละเซลส์,
จากแบคทีเรียมาถึงมนุษย์,ประกอบด้วยภาษาและระบบกลไกการเข้ารหัส,ธนาคารความจำสำหรับเก็บข้อมูลและส่งข้อมูล,ระบบควบคุมที่น่าทึ่งในการประกอบชิ้นส่วนต่างๆ,ระบบควบคุมคุณภาพที่แก้ไขข้อบกพร่องและตรวจสอบการอ่านรหัสที่มีคุณภาพสูง,
ขบวนการประกอบชิ้นส่วนที่มีหลักการของการขี้นรูปโครงสร้างและการจำลองรูปแบบ....
(และ)
ความสามารถที่เครื่องมือทันสมัยของมนุษย์ไม่สามารถแข่งขันได้, เพราะมันสามารถจะจำลองและผลิตโครงสร้างใหม่ทั้งหมดได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง"
(Denton, p. 329)
แล้วรหัสพันธุกรรมของ DNA
จะค่อยๆวิวัฒนาการไปเป็นข้อมูลของสิ่งมีชีวิตอื่นได้อย่างไร ในเมื่อถ้าหากมีความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยในล้านตัวอักษรของ
DNA อาจทำให้แบคทีเรียนั้นตายได้?
นักวิวัฒนาการวิทยากลับนิ่งเฉยในเรื่องนี้. พวกเขาไม่มีความคิดที่จะหาสมมุติฐานมาอธิบาย
ลี สโตรเบลเขียนไว้ว่า : "ขด DNA
ยาว 6 ฟุตภายในเซลส์มนุษย์จำนวน
ร้อยล้านล้านเซลส์ประกอบด้วยตัวอักษรรหัสเคมีเพียง 4 ตัวที่ประกอบกันและสะกดออกมาเป็นคำสั่งอันแม่นยำสำหรับรูปแบบของโปรตีนทั้งหมดของร่างกายมนุษย์...ยังไม่สมมุติฐานใดที่จะอธิบายถึงวิธีการที่จะรับและส่งข้อมูลไปสู่สารชีวะภาพเพื่อก่อกำเนิดรูปแบบทางชีวะโดยวิธีทางธรรมชาติ"
(Strobel, p. 282 )
โปรเฟสเซอร์ด้านระบบข้อมูล,
เวอร์เนอร์ กิท, สรุปว่า : "ข้อบกพร่องพื้นฐานของทฤษฎีวิวัฒนาการคือ"จุดกำเนิดของข้อมูลในสิ่งมีชีวิต"
ยังไม่เคยมีการพิสูจน์ให้เห็นเลยว่าระบบการเข้ารหัสและข้อมูลสัญลักษณ์จะก่อกำเนิดขึ้นมาได้ด้วยตัวของมันเอง(โดยอาศัยสสาร)....โดยทฤษฎีแล้วสิ่งนี้เป็นไปไม่ได้.
สารบริสุทธิ์ที่เป็นจุดกำเนิดของชีวิตไม่สามารถทำได้" (Gitt, p.
124)
ผู้ที่ยังยึดติดทฤษฎีอยู่
นอกเหนือจากหลักฐานที่แสดงว่าสติปํญญาที่ปรีชาฉลาดเป็นผู้ออกแบบข้อมูลของ
DNA แล้ว, ยังมีความจริงที่น่าประหลาดใจอีกประการหนึ่ง - นั่นคือเรื่องของ"จำนวนตัวอักษรที่เหมาะสม"ใน
รหัสพันธุกรรมที่เก็บและส่งข้อมูล
กลไกการทำสำเนาของ DNA
เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด จำเป็นต้องมีจำนวนตัวอักษรในแต่ละคำเป็นเลขคู่.
ด้วยความเป็นไปได้ทางคณิตสัมพันธ์, จำนวนตัวอักษรที่เหมาะสมสำหรับเก็บและส่งข้อมูลเหมือนถูกคำนวณไว้เรียบร้อยแล้วว่า
เท่ากับ 4 ตัวอักษร
สิ่งน่าทึ่งนี้ถูกพบในสิ่งมีชีวิตถูกชนิดที่อาศัยอยู่บนโลก---
รหัสดิจิตอล 4 ตัวอักษร. ตามที่
เวอร์เนอร์ กิท กล่าวไว้ : "ระบบการเข้ารหัสสำหรับสิ่งมีชีวิตมีความพอดีตามหลักวิศวกรรม.
ความจริงประการนี้เป็นการยืนยันหนักแน่นในเรื่องที่ว่า การออกแบบนั้นมีจุดประสงค์ที่แน่นอนไม่ใช่เป็นการบังเอิญ"
(Gitt, p. 95 )
หลักฐานพยานอีกมากมาย
ถอยกลับไปในสมัยของดาร์วิน,
เมื่อเขาเขียนหนังสือ จุดกำเนิดของสิ่งมีชีวิต
"Origin of Species" และตีพิมพ์ในปี 1859 นั้น ชิวิตดูจะเป็นเรื่องง่ายๆเมื่อมองผ่านกล้องจุลทรรศน์รุ่นแรก เซลส์เป็นเหมือนวุ้นที่มีลักษณะง่ายๆและโครงสร้างที่ไม่สลับซับซ้อน
ปัจจุบันนี้,อีก 150 ปีต่อมา,
ภาพดังกล่าวได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงเมื่อวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบความจริงที่อยู่ในจักรวาลจิ๋วของเซลส์
ศาสตราจารย์ เบเฮ เขียนว่า
"เคยคิดกันว่าพื้นฐานของชีวิตนั้นคงจะเป็นสิ่งง่ายๆ แต่ความคิดนั้นถูกทำลายไปแล้ว
การคิดว่า การมองเห็น,การเคลื่อนไหวและการทำหน้าที่อื่นๆของอวัยวะ
จะมีการทำงานที่เหมือนกับทีวิ, กล้องถ่ายรูปหรือรถยนต์นั้นเป็นความคิดที่ผิด
วิทยาศาสตร์ได้ก้าวหน้าไปอย่างมากในการทำความเข้าใจการทำงานทางเคมีของชีวิต,
แต่ความงดงามและความสลับซับซ้อนของระบบชีวะวิทยาระดับโมเลกุลทำให้ความพยายามของวิทยาศาสตร์ที่จะอธิบายจุดกำเนิดของชีวิตต้องเป็นอัมพาตไป"
ZBehe, p. x)
ดร. เมเยอร์ ให้ความเห็นว่าการค้นพบเกี่ยวกับ DNA แสดงให้เห็นจุดอ่อนของทฤษฎีวิวัฒนาการ
: "นักวิวัฒนาการวิทยายังคงพยายามนำทฤษฎีของดาร์วินสมัยศตวรรษที่
19 มาใช้กับความเป็นจริงในสมัยศตวรรษที่ 20 ซึ่งไม่ประสพผลสำเร็จ....ผมคิดว่าการปฏิรูปทางข้อมูลชีวะวิทยาดูเหมือนจะเป็นจุดสิ้นสุดของผู้นิยมทฤษฎีดาร์วินและทฤษฎีวิวัฒนาการทางเคมี"
(ibid., p. 77 )
ดร.เมเยอร์ สรุปว่า
"ผมเชื่อว่าข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนความเชื่อในพระเป็นเจ้า.
ขณะที่ความขัดแย้งยังคงมีอยู่เสมอในบางจุดที่ยังไม่มีการพิสูจน์ พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เมื่อห้าสิบปีก่อนอยู่ในแนวทางตามความเชื่อในพระเป็นเจ้า"
(ibid., p. 77 )
นักชีวะวิทยา ,ดีน เคนยัน, ได้เขียนหนังสือที่ปฏิเสธทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วิน
- ซึ่งสืบเนื่องมาจากมีข้อพิสูจน์จากหลักฐานการค้นพบข้อมูลใน DNA
- ได้กล่าวว่า : "ขอบเขตใหม่ของโมเลกุลพันธุกรรมวิทยา
ทำให้เราได้เห็นหลักฐานที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าโลกนี้มีการออกแบบ" (ibid.,
p. 221)
ไม่นานมานี้เอง
ผู้มีชื่อเสียงท่านหนึ่งซึ่งไม่เชื่อว่ามีพระเป็นเจ้า, ศาสตราจารย์ แอนโทนี่ ฟลิว, ได้ยอมรับว่าเขาไม่สามารถอธิบายโดยอาศัยหลักการวิวัฒนาการได้ว่า DNA
ถูกสร้างและมีพัฒนาการขึ้นมาได้อย่างไร. เวลานี้เขายอมรับว่าจำเป็นต้องมีสติปัญญาที่ปรีชาฉลาดเกี่ยวข้องในการให้กำเนิดรหัส
DNA
"ผมคิดว่ารูปแบบของสาร DNA นั้นแสดงว่าต้องมีสติปัญญาที่ปรีชาฉลาดในการทำให้สารพื้นฐานที่พิเศษนี้มารวมกันได้"
(อ้างอิงจาก "Leading Atheist Now Believes in GodW,
Associated Press report, Dec. 9 ,2004)
|
วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557
รหัสลับDNA
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น