ชาวเขมร
ชาวบ้านเขมรสามเสนสำนักวัดคอนเซ็ปชั่นนี้
ได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณ
ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเฉพาะส่วนที่สำคัญที่ปรากฏเป็นหลักฐานคือ
ครั้งรัชกาลที่ 1
มีพระราชประสงค์จะให้จัดซื้อปืนใหญ่จากต่างประเทศมาไว้ใช้ในราชการให้เพียงพอ
จึงโปรดเกล้าฯ ให้ชาวโปรตุเกสในหมู่บ้านวัดคอนเซ็ปชัญสามเสนนี้
จัดการสั่งซื้อเข้ามาเป็นจำนวนมาก แต่เพราะที่ปืนใหญ่ที่ซื้อมาใหม่นั้น
ต่างจากปืนใหญ่เก่าที่มีอยู่ จึงหาผู้สันทัดยิงปืนใหญ่ชนิดนี้ให้แม่นยำได้ยาก
พระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลก จึงโปรดให้มีการทดลองยิงที่ปากอ่าวแม่น้ำเจ้าพระยา
โดยใช้โอ่งขนาดใหญ่ลอยเป็นเป้า ไม่ปรากฏว่ามีใครยิงถูก
ต่อมามีเขมรผู้หนึ่ง
ชื่อ “แก้ว” เคยได้รับการสั่งสอนในการยินปืน ชนิดนี้มาจากชาวโปรตุเกส
ได้ทำการยิงถวายให้ทอดพระเนตร นายแก้วยิงครั้งแรกถูกโอ่ง เป้านั้นแตกกระจาย
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ยังทรงแคลงพระราชหฤ ทัยว่า
นายแก้วยิงถูกเป้าโดยบังเอิญหรือโดยแม่นยำกันแน่ จึงโปรดให้นายแก้วยิงอีกที
นายแก้วก็ยิงถูกโอ่งเป้าอีกเป็นครั้งที่สอง
ปรากฏชัดต่อพระเนตรว่านายแก้วเป็นผู้ยิงปืนแม่นจริง
จึงทรงพระราชดำริตั้งกรมทหารฝรั่งแม่นปืนใหญ่ขึ้นกรมหนึ่ง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้นายแก้วเป็นที่พระยาวิเศษสงคราม รามภักดี จางวางกรมทหารฝรั่งแม่นปืนใหญ่
และเป็นหัวหน้าดูแลชาวหมู่บ้านคอนเซ็ปชัญด้วย ครั้นเมื่อพระยาวิเศษสงครามรามภักดี
(แก้ว) ถึงแก่อนิจกรรม
ก็ทรงพระกรุณาชุบเลี้ยงบุตรหลานให้ได้รับราชการสืบต่อกันมาเป็นลำดับ และทุกวันนี้ก็ยังมีเชื้อสายสกุลพระยาวิเศษสงครามภักดี
(แก้ว) ปรากฏอยู่ (คือ สกุล “วิเศษรัตน์” และ “วงศ์ภักดี” นามสกุลทั้งสองนี้ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 6)
กรมทหารฝรั่งแม่นปืนใหญ่นี้มีหน้าที่เก็บรักษาปืนใหญ่
ควบคุมปืนประจำป้อมและฝึกซ้อมการยิงเพื่อความชำนาญ ในเว
ลาเสด็จพระราชดำเนินทรงชลมารคเกี่ยวกับการพระราชทานกฐินหลวงเป็นต้น ก็มีหน้าที่ความปืนหัวเรือพระที่นั่ง
ในเมื่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานดำเนินไปท้องถิ่น ก็มีหน้าที่เฝ้าพระบรมมหาราชวังโดยกวดขัน
มาถึงสมัยรัชกาลที่
3 โปรดเกล้าให้ตั้งกรมทหารฝรั่งแม่นปืนใหญ่ขึ้นอีกครั้ง ให้ชื่อว่า “กรมทหารฝรั่งแม่นปืนใหญ่หลัง”
รับบรร จุคนที่อยู่บ้านญวนสามเสนเป็นพื้น
ทรงพระกรุณาตั้งพระยาบันลือสิงหนาทเป็นจางวางส่วนกรมทหารฝรั่งแม่นปืนใหญ่กรมเก่าให้ชื่อว่า
“กรมทหาฝรั่งแม่นปืนใหญ่หน้า” และโปรดให้พระยาวิเศษสงครามรามภักดี
(แก้ว)เป็นจางวางอยู่ตามเดิม
ในระหว่างรัชกาลที่
3 นั้น ได้มีเหตุที่ไทยต้องรบกับญวนอยู่หลายปี พระยาวิเศษสงครามรามภักดี (แก้ว)
ก็ได้ไปในราชการสงครามฉลองพระเดชาพระคุณจนสุดความสามารถ
คราวนั้นปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า มีญวนคลององเจืองและญวนเมืองโจดก
บรรดาที่นับถือศาสนาเดียวกับพระยาวิเศษสงครามรามภักดี (แก้ว)
ขอสวามีภักดีเข้ามาอยู่ในประเทศสยาม พระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ถัดบ้านเขมรไปทางเหนือ
และพระยาวิเศษสงครามรามภักดี (แก้ว) กราบบังคมทูลขอญวนเหล่านั้นให้มาอยู่กับเขมร
ครั้งต่อมาพระยาวิเศษสงครามรามภักดี (แก้ว) ถึงแก่อนิจกรรมลง
ก็ทรงพระกรุณาโปรดตั้งนายจันทร์ผู้น้องเป็นพระยาวิเศษสงครามแทนที่
ภายหลังผู้คนในบ้านเขมรเกิดทบทวีมากขึ้น ที่อยู่แออัดไม่เพียงพอกันแล้ว
พระยาวิเศษสงครามรามภักดี (จันทร์) จึงกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานขยายเขตหมู่บ้านเขมรออกไปอีก
ก็ได้รับพระมหา กรุณาธิคุณตามที่กราบบังคมทูลขอ เขตบ้านจึงขยายกว้างออก
คือทิศเหนือวัดราชผาติการาม (วัดส้มเกลี้ยง) ทิศใต้จดวัดราชาธิวาส (วัดสมอราย)
ทิศตะวันออกติดถนนสามเสน ทิศตะวันตกจดแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนพวกญวนก็ขยับจากที่เดิมไปตั้งเคหะสถานทางด้านเหนือ
และต่อมาก็ได้สร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่ง
คือวัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์หลังปัจจุบันนี้ขึ้น ซึ่งได้ทำการเสกเมื่อ ปี ค.ศ.1867
พระรูปแม่พระประจำวัด
ต่อไปเราจะพูดถึงรูปปั้นแม่พระประจำวัดซึ่งมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า"แม่พระไถ่ทาส"หรือที่ชาวบ้านเรีกกันเล่นๆอย่างติดปากว่า
แม่พระตุ้งติ้ง หรือ แม่ระขนมจีนครับ
วัดคอนเซ็ปชั่นมีวัตถุอันล้ำค่าอยู่สิ่งหนึ่ง
ที่ชาวบ้านต่างเคารพบูชาและหวงแหนอย่างที่สุด วัตถุนั้นคือ
รูปสลักพระรูปพระแม่เจ้าพระนางมหามารีอา พระรูปสลักนี้มีขนาดสูงประมาณ 100 เมตร
แกะสลักด้วยฝีมือประณีตบรรจง และลงรักปิดทองสวยงามหาที่ติมิได้
การได้มาซึ่งพระรูปสลักนี้ มีเรื่องปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ในพ
ระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ว่า เมื่อ พ.ศ.2325 ซึ่งตรงกับ
ค.ศ.1782 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่ได้สร้างกรุงเทพมหานคร
ได้เกิดการจลาจลขึ้นในเมืองเขมร เวลานั้นพระยายมราช(แบน)
ได้ตั้งตัวเป็นที่ฟ้าทละหะปกครองกัมพูชา
ในขณะเดียวกันได้มีขุนนางเขมรบางนายได้คบคิดกับพวกแขกจามเมืองตะโบงคะมุม ยกกองทัพเรือจะไปกำจัดพระยายมราช(แบน)
พระยายมราช (แบน) เห็นว่าจะต่อต้านไม่ไหว
จึงได้เกลี้ยกล่อมพวกเขมรที่นับถือศาสนาคริสตัง และอัญเชิญนักองเมน นักองอี
นักองเภา ซึ่งเป็นพระขนิษฐาของสมเด็จพระนารายณ์ราชากษัตริย์เขมร
และนักองเองราชบุตรของสมเด็จพระนารายณ์ราชา หลบเข้ามาเมืองไทย
ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1
ซึ่งได้ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ
ทะนุบำรุงเจ้านายของเขมรไว้เยี่ยงพระราชโอรสและราชธิดาของพระองค์
ส่วนชาวเขมรที่เข้ามาด้วย 500 คนนั้น ได้โปรดเกล้าฯให้ชาวเขมร 500
คนมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่วัดคอนเซ็ปชัญ
ก็ด้วยทรงเห็นว่าในหมู่บ้านนี้มีชาวโปรตุเกสซึ่งเป็นคริสตังอาศัยอยู่ก่
อนแล้วและชาวเขมรเหล่านั้นก็เป็นคริสตังเช่นเดียวกัน จึงเห็นควรให้อยู่ด้วยกัน
เพื่อจะได้ถือปฏิบัติทางศาสนกิจร่วมกันต่อไป
ชาวเขมรที่อพยพมาคราวนั้น
ได้อัญเชิญพระรูปสลักพระแม่เจ้าพระนางมารีอาดังกล่าวข้างต้นเข้ามาด้วย
และได้ประดิษฐานพระรูปนั้นไว้ในวัดคอนเซ็ปชัญ
เพื่อเป็นที่เคารพสักการะของคนในหมู่บ้านนั้น คือชาวโปรตุเกสซึ่งมาอยู่ก่อน
และชาวเขมรที่ได้มาอยู่ในภายหลังนี้ด้วย ทั้งสองพวกต่างอยู่ด้วยกันอย่างสนิทสนมกลมเกลียวด้วยความผาสุกตลอดมา
ต่อมาเหตุการณ์ในเมืองเขมรสงบราบคาบ
ได้มีชาวเขมรที่อพยพหนีภัยเข้ามาพึ่งโพธิสม
ภารบางหมู่เห็นว่าบ้านเมืองของตนสงบเรียบร้อยดีแล้ว
จึงใคร่จะกลับไปยังภูมิลำเนาเดิม ณ เมืองเขมร ในที่สุดได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
อนุญาตให้ชาวเขมรที่ต้องการกลับ กลับคืนสู่ภูมิลำเนาของตนได้ตามความประสงค์และในการกลับคืนบ้านเกิดเมืองนอนของชาวเขมรเหล่านั้
น ก็ได้อัญเชิญพระรูปสลักพระแม่เจ้าลงเรือเพื่อนำกลับไปเมืองเขมรด้วย
ในตอนนี้ได้มีเรื่องเล่าต่อๆ
กันมาว่า ขณะที่อัญเชิญพระรูปสลักพระแม่เจ้าไปนั้นได้เกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้น คือเรือที่อัญเชิ
ญพระรูปพระแม่เจ้าไปนั้น เมื่อแจวออกไปไม่ไกลนัก เรือก็หยุดอยู่นิ่งกับที่
คนแจวพยายามแจวเท่าไรเรือก็ไม่ยอมเดินหน้า
แม้จะเพิ่มคนแจวเข้าไปอีกเรือก็มิได้แล่นต่อไป เป็นเหตุให้เกิดความพิศวงมาก
มีชาวเขมรบางคนสงสัยว่า อาจจะเป็นเพราะอำนาจปาฏิหาริย์ของพระรูปพระแม่เจ้า
ที่มีพระประสงค์จะประทับอยู่ที่วัดคอนเซ็ปชัญก็อาจเป็นได้
จึงได้ทดลองแจวเรือกลับมาทางวัดคอนเซ็ปชัญ คราวนี้เรือก็ยอมแล่นกลับโดยง่ายดาย
แต่ครั้นทดลองแจวเรือกลับไปทางเก่าอีก เรือก็ไม่ยอมขยับเขยื้อน ได้กระ
ทำอยู่เช่นนี้หลายครั้งหลายหน ก็คงเป็นอยู่ในลักษณะเดิม
ชาวเขมรที่จะกลับเมืองเขมรก็แน่ใจว่า
พระแม่เจ้ามีพระประสงค์จะให้พระรูปสลักนี้ประทับอยู่ที่วัดคอนเซ็ปชัญ
จึงได้อัญเชิญพระรูปกลับมาประดิษฐานไว้ ณ วัดคอนเซ็ปชัญ
แล้วพวกเขาก็เดินทางกลับเมืองเขมรโดยสวัสดิภาพ
และพระรูปสลักรูปพระแม่เจ้าพระนางมหามารีอาก็ได้ประดิษฐานอยู่ที่วัดคอนเซ็ปชัญตราบเท่าทุกวันนี้
ที่มาของชื่อ แม่พระขนมจีน
แม่พระขนมจีน
ก็ได้คำตอบถึงสาเหตุที่เรียกเช่นนี้ เป็นไปได้ว่า เมื่อฉลองแม่พระไถ่ทาส ประจำปี
บรรดาลูกวัดสัตบุรุษที่อยู่ห่างไกล กลับมาเยี่ยมบ้านอีกครั้ง
และแต่ละบ้านก็จะทำขนมจีน เลี้ยงฉลองกันในครอบครัว เกือบทุกครัวเรือน
และเป็นเช่นนี้เสมอมา จึงเป็นสาเหตุให้เรียกว่า “แม่พระขนมจีน” ตามการเรียกขานของสัตบุรุษจนปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันทั่วไป
หรือบ้างว่า วัดติดอยู่ใกล้วัด มีเรือมาขายขนมจีน
แล้วมีผู้หญิงลักษณะคล้ายกับแม่พระ มาขอซื้อขนมจีนแล้วหายไป (
ก็อาจเป็นความเชื่อส่วนบุคคลที่เชื่อต่อ ๆ กันมา )
ส่วนที่มาของชื่อแม่พระตุ้งติ๊งนั้น
ก็เพราะว่าสมัยก่อนแม่พระจะมีต่างหูครับ จึงเป็นที่มาของแม่พระตุ้งติ้ง
บุษบกของแม่พระและความสัมพันธ์ของพระสังฆราชเปอเลอกัวกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้ารัชกาลที่
4
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้ารัชกาลที่ 4
ได้ทรงผนวช
ณ.วัดราชาธิวาสนั้นพระองค์ได้มีโอกาสสนธนาธรรมกับพระสังฆราชเปอเลอกัวกันอยู่บ่อยๆ
โดยมีการแลกเปลี่ยนความรู้กัน โดยที่่ท่านเปอเลอกัวก็ได้สอนภาษาอังกฤษแก่รัชกาลที่
4 และรัชกาลที่ 4 ก็ได้สอนความรู้ด้านภาษาไทยภาษาบาลีกับท่านเปอเลอกัว
ซึ่งท่านก็ได้ศึกษาจนแตกฉาน ทั้งสองท่านนี้สนิทกันมากครับ เล่ากันว่ารัชกาลที่ 4
ได้พระราชทานบุษบกนี้แก่แม่พระ ยังความปราบปลื้มปิติแก่คนในชุมชนแห่งนี้
และด้วยพระมหากรุราธิคุณหลังจากที่ท่านเปอเลอกัวถึงแก่มรณภาพที่โบสถ์อัสสัมชัญ
เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2405 อายุ 57 ปี ศพฝังอยู่ในโบสถ์คอนเซ็ปชัญ
ได้มีขบวนแห่จากหน้าโบสถ์อัสสัมชัญไปยังหน้าโบสถ์คอนเซ็ปชั่น
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ มีพระประสงค์ให้พิธีศพเป็นไปอย่างสง่างามที่สุด
จึงพระราชทานเรือหลวงสองลำเพื่อนำขบวนโดยบรรทุกหีบศพ
ขบวนแห่นั้นประกอบไปด้วยเรือดนตรี (ดนตรีไทยจากค่ายคริสตัง) เรือของคริสตัง ข้าราชการไทย
และทูตต่างประเทศ อีกด้วย
ขบวนเรือแห่ศพได้เคลื่อนตัวออกจากที่เฝ้าแล่นตรงไปยังวัดคอนเซ็ปชัญ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอ
กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส (พระองค์เจ้านพวงศ์) เชิญเครื่องขมาศพเสด็จแทนพระองค์ไปร่วมในพิธีฝังศพจนกระทั่งเสร็จสิ้นพิธีการซึ่งนับว่าเป็นเกียรติยศสูงสุดสำหรับชาวต่างชาติ
ศพของพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ถูกนำมาบรรจุไว้ในกำแพงโบสถ์ด้านทิศเหนือของพระแท่น
โดยมีคำจารึกบอกเล่าประวัติของท่านพระสังฆราชไว้บนหินอ่อนด้วยภาษาละตินวันรุ่งขึ้นคณะมิสซังฝรั่งเศสได้นำจดหมายแสดงความขอบพระทัยในพระมหากรุณาธิคุณมาถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พร้อมทั้งทูลเกล้าฯ
ถวายแหวนตำแหน่งยศของพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์สำหรับเป็นที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประทับพระราชหฤทัยในความกตัญญุตาและมีสัมมาคารวะของพวกบาทหลวงคาทอลิก
จึงมีพระราชหัตถเลขาตอบรับแหวน ลงวันที่ ๙ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๘๖๒ (พ.ศ. ๒๔๐๕)
ความตอนหนึ่งกล่าวถึงสัมพันธภาพครั้งเก่าก่อนระหว่างพระองค์กับพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ว่า
“ท่านที่เคารพ
เราขอตอบรับหนังสือที่ท่านส่งถึงเราเมื่อวานนี้ เพื่อขอบใจในการที่เราได้มีส่วนช่วยเหลือการปลงศพพระสังฆราชที่เคารพยิ่ง
ซึ่งเป็นมิตรที่ดีสนิทสนมและจริงใจของเราเป็นเวลายี่สิบแปดปี...”
ที่มา - เว็ปพันธ์ทิป http://pantip.com/topic/30072704
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น