วันจันทร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

พบวิธีรักษาโรคมะเร็งแบบใหม่


ฮัสสินี จายาติลากา และศาสตราจารย์ เดนนิส วิร์ทส Hasini Jayatilaka, left, and Denis Wirtz) ทำงานร่วมกันในสถาบัน NanoBioTechnology ในมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอพกินส์

ฮัสสินี Hasini Jayatilaka ขณะที่เป็นนักศึกษาปีที่ 2 ของมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอพกินส์ เธอทำงานในห้องแล็ปที่ศึกษาเกี่ยวกับเซลส์มะเร็ง เธอสังเกตเห็นว่าเมื่อเซลส์มะเร็งในเนื้องอกมีความหนาแน่นมากเกินไป จะมีบางเซลส์ที่แตกออกจากเนื้องอกและเริ่มแพร่กระจายไปตามส่วนอื่นของร่างกายเธอไม่แน่ใจว่าอะไรที่เป็นสาเหตุ  จนกระทั่งเธอได้เข้าร่วมในการประชุมประจำปีและได้ฟังวิทยากรพูดเกี่ยวกับเซลส์แบคทีเรียที่มีพฤติกรรมแบบเดียวกัน  และเมื่อเธอค้นคว้าบทความประจำปีเพื่อหาว่ามีใครที่เคยเขียนเกี่ยวกับพฤติกรรมของเซลส์มะเร็งในลักษณะนี้บ้างหรือไม่ ก็ไม่พบว่ามีใครเคยกล่าวไว้

               เจ็ดปีต่อมา ทฤษฏีของฮัสสินีก็ได้พัฒนาจนค้นพบวิธีรักษามะเร็งที่ได้ผล

ฮัสสินีและทีมงานที่มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอพกินส์ได้ค้นพบกระบวนการทางชีวเคมีที่อธิบายถึงการที่เซลส์มะเร็งแตกออกจากเนื้องอกและแพร่กระจายไปตามร่างกาย  กระบวนการนี้เรียกว่า เมตาสเตสิส metastasis  ผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็ง 90 % เสียชีวิตโดยมีสาเหตุจากการที่เซลส์มะเร็งเกิด เมตาสเตไซส์ metastasizes (เซลส์แตกออกจากเนื้องอก) ทีมงานยังได้พบยาที่ช่วยชะลอการเกิด เมตาสเตไซส์ metastasizes ด้วย

ผลงานการศึกษานี้ถูกตีพิมพ์ทางออนไลน์ในวันที่ 26 พ.ค. ในหนังสือ journal Nature Communications ขั้นต่อไปทางทีมงานจะทดสอบประสิทธิภาพของยานี้ในมนุษย์
 

นักวิจัยด้านมะเร็งและการรักษามะเร็งพยายามหาวิธีทำลายเนื้องอกโดยทำให้มันแตกหรือฉีกขาดด้วยวิธีเคมีบำบัดหรือวิธีการอื่นๆ  แต่ทางทีมงานบอกว่า กระบวนการกำจัด metastasis จะช่วยให้คนไข้มีโอกาสรอดมากกว่า
 

ฮัสสินีเริ่มศึกษาวิธีที่เซลส์มะเร็งสื่อสารกับเซลส์มะเร็งด้วยกันเอง  โดยใช้โมเดลสามมิติเลียนแบบเนื้อเยื่อของมนุษย์  ไม่ใช่วิธีสังเกตเนื้อเยื่อที่เพาะในจานเพาะ  นักวิจัยหลายคนเชื่อว่า metastasis เกิดขึ้นหลังจากที่เนื้องอกเติบโตถึงขนาดหนึ่ง  แต่ฮัสสินีพบว่าความหนาแน่นของเนื้องอกเป็นสิ่งที่จะบ่งบอกถึงการเกิด metastasis
 
เมื่อเนื้องอกเติบโตจนมีความหนาแน่นถึงระดับหนึ่ง  มันจะปลดปล่อยโปรตีนสองตัวที่เรียกว่า Interleukin 6 และ Interleukin 8 ซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าเซลส์มะเร็งได้เติบโตมากเกินไปและถึงเวลาที่มันจะแตกและแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกาย
 
ทีมนักวิจัยกล่าวว่า โปรตีน Interleukin จะเป็นตัวกระตุ้นให้เนื้องอกแตก  ดังนั้นถ้าเราใส่โปรตีนตัวนี้ลงไปในเนื้องอก มันก็จะเริ่มกระบวนการ metastasized
 
ทีมนักวิจัยจึงทดสอบตัวยาสองตัวที่ทำงานในโปรตีนInterleukin เพื่อดูว่ามันจะสามารถบล็อกหรือชะลอ metastasis ในหนูทดลองได้หรือเปล่า  และการทดสอบได้ผลว่าตัวยาสองตัวนี้ถ้าใช้ร่วมกันจะสามารถบล็อกสัญญาณจากโปรตีน Interleukin ไม่ให้ไปบอกเซลส์มะเร็งเพื่อทำให้มันแตกออกได้  แต่นี่เป็นเพียงการชะลอ metastasis ให้ช้าลง  ยังไม่ใช่เป็นการหยุดยั้งอย่างสมบูรณ์
 
ถึงแม้จะยังไม่สามารถหยุดยั้งอย่างสมบูรณ์  แต่หนูทดลองก็รอดชีวิต  ถ้าหากค้นหายาใหม่เพิ่มเติม หรือเพิ่มปริมาณยาก็อาจทำให้ metastasis หยุดลงอย่างสมบูรณ์ก็เป็นได้
 
เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีทางเคมีบำบัดซึ่งก่อให้เกิดผลข้างเคียงแล้วเช่น ผมร่วง อาเจียน  วิธีการใหม่นี้ให้ผลข้างเคียงน้อยมาก
 
ทีมวิจัยกล่าวว่า ในอนาคตเราอาจต่อสู้กับมะเร็งโดยใช้วิธีผสมผสานระหว่างเคมีบำบัดกับการให้ยาสองตัวที่ได้พัฒนาขึ้นใหม่นี้ซึ่งจะสามารถมั่นใจได้ว่าจะหยุดยั้ง metastasize ได้
--------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น