เนื่องจากใส่ปุ๋ยน้ำที่เร่งให้ใบเขียวและเร่งการเจริญเติบโตมาก
คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าผักไฮโครโปนิค ปลอดภัยจากยาฆ่าแมลง เป็น organic แต่แท้จริงแล้วมีปุ๋ยเคมีเร่งใบ สูงมาก
มก.เผยงานวิจัยพบการสะสมไนเตรตใน ผักไฮโดรโปนิก
โดยเฉพาะผักคะน้ามีค่าสูง เกินมาตรฐาน
เตือนผู้บริโภคระวังภัยเงียบที่แฝงในผักอาจก่อโรคมะเร็งโดยไม่รู้ตัว
แนะผู้ปลูกผักอย่าใส่ปุ๋ยมากเกินความจำเป็น
น.ส.พัชราภรณ์
ภู่ไพบูลย์ นักวิจัยจากฝ่ายเครื่องมือและวิจัยทางวิทยาศาสตร์
สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า
ตนและคณะวิจัยประกอบด้วย น.ส.วาสนา บัวงาม และนางศิริวัลย์ สร้อยกล่อม ร่วมกันศึกษาการสะสมไนเตรตในพืชผักที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
เนื่องจากมี
น้อยคนที่จะทราบว่าในพืชผักยังมีธาตุอาหารชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อการเจริญ เติบโต
คือ ไนโตรเจน ซึ่งพืชจะนำไนโตรเจนไปใช้ในรูปของไนเตรต และหากมีไนโตรเจนมาก
เกินความต้องการของพืชอาจทำให้เกิดการสะสมไนเตรตในดินและพืชมากขึ้น
เมื่อรับประทานเข้าไปอาจจะทำให้ไนเตรตไปรวมตัวกับสารเหนี่ยวนำที่ทำให้เกิด มะเร็ง
ดังนั้นผู้บริโภคผักที่มีปริมาณไนเตรตสะสมอยู่สูงจึงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรค มะเร็ง
เช่น มะเร็งลำไส้ นับเป็นภัยเงียบต่อสุขภาพผู้บริโภคโดยตรง
น.ส.พัชราภรณ์ระบุว่า
ผลการศึกษาการสะสมไนเตรตในผักคะน้า ผักกาดหอม และผักบุ้ง
ที่จำหน่ายทั้งในตลาดสดและศูนย์การค้า โดยแบ่งผักออกเป็นประเภทผักไฮโดรโปนิก
ผักอินทรีย์ ผักปลอดสารพิษ และผักที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยเคมี
นำมาวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์พบว่า
ผักที่ปลูกในน้ำยาไฮโดรโปนิกมีแนวโน้มการสะสมไนเตรตสูงสุด
เพราะวิธีปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกมีการเติมน้ำยาให้พืชเจริญเติบโตมากเกินความ
จำเป็นหรือมากเกินความต้องการตามธรรมชาติของผัก โดย ผักคะน้าไฮโดรโปนิก มีค่า
เฉลี่ยของไนเตรตสูงที่สุด 4,529 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัมน้ำหนักสด
รองลงมาคือ ผักบุ้ง
มีปริมาณไนเตรต 3,978 มิลลิกรัม และผักกาดหอม มีปริมาณไนเตรต 1,729 มิลลิกรัม
โดยค่ามาตรฐานที่สหภาพยุโรปกำหนดไว้ในผักรับประทานใบให้มีค่าไนเตรตไม่เกิน 2,500 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม
จะเห็นว่าผักคะน้าและผักบุ้งไฮโดรโปนิกมีปริมาณไนเตรตเกินมาตรฐาน
ส่วนในประเทศไทยยังไม่มีข้อกำหนดมาตรฐานค่าไนเตรตในพืชผัก
ดังนั้นจึงขอให้เกษตรกรและผู้ปลูกผักไฮโดรโปนิกควรลดปริมาณการใส่น้ำยาหรือ
เติมน้ำเปล่าให้มากขึ้น ส่วนการปลูกผักแบบอื่นๆ ก็ไม่ควรใส่ปุ๋ยมากเกินไป
" ผลการศึกษาดังกล่าว เราได้นำเสนอบนเวทีการวิชาการประจำปีของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ และยังได้ศึกษาเพิ่มเติมเพื่อหาแนวทางในการลดไนเตรตในพืชผักก่อนการบริโภค โดยนำผักคะน้าและผักบุ้งไปต้มน้ำเดือดหรือทำการนึ่งเป็นเวลา 10 นาที ซึ่งสามารถช่วยลดค่าไนเตรตในผักบุ้งและผักคะน้าลดลง 47%" น.ส.พัชราภรณ์เผย
นอกจากนี้
การแช่ผักคะน้าและผักบุ้งในน้ำ 1 วัน การแช่ในด่างทับทิม และการแช่ในน้ำเกลือ
ก็มีแนวโน้มที่จะช่วยทำให้ค่าไนเตรต-ไนโตรเจนลดลงด้วยเช่นกัน
จึงขอแนะนำให้ผู้บริโภคควรทำความสะอาดพืชผัก ผลไม้ทุกชนิด ทั้งประเภทพืชที่ปลูกแบบปลอดสารเคมี
ปลูกแบบชีวอินทรีย์ ปลูกแบบไม่ใช้ดิน ก่อนนำมารับประทาน
ก็จะเป็นการลดความเสี่ยงของภัยเงียบจากพิษสะสมที่เกิดจากไนเตรตในพืชได้
ที่มา: ไทยโพสต์ 2 ธันวาคม 2553
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น