บาห์เรนตั้งอยู่ทางตอนเหนือของคาบสมุทรอาราเบียซึ่งประกอบด้วย 4 ประเทศคือ คูเวต บาห์เรน กาตาร์ และซาดุดิอาราเบีย เป็นประเทศมุสลิมที่ทันสมัยแบบตะวันตก แต่ก็อาจทำให้บางคนประหลาดใจเมื่อมาท่องเที่ยวที่นี่เพราะคิดว่าไม่น่าจะมีคริสตชนอยู่ในประเทศนี้เลย แต่ที่นี่มีชุมชนคาทอลิกเล็กๆอยู่แห่งหนึ่ง ประเทศนี้มีผู้คนมาทำงานจากหลากหลายประเทศ จึงทำให้เกิดการรวมตัวของวัฒนธรรมจากประเทศต่างๆที่ผู้คนเหล่านั้นจากมา ตั้งแต่ปี 1919 จำนวนคาทอลิกได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงมีความจำเป็นที่ต้องดูแลคนงานที่เป็นคริสตชนอย่างเร่งด่วน พวกเขามาทำงานในอุตสาหกรรมน้ำมัน
“เราไม่ทราบจำนวนที่แน่นอนของคาทอลิกที่นี่
แต่พอจะประมาณได้ว่าที่บาห์เรนมีคาทอลิก 140,000 คนและมีโบสถ์ 2 แห่ง ที่กาตาร์มี
350,000 คนและมีโบสถ์ 1 แห่ง ในคูเวตมีคาทอลิก 400,000 คนมีโบสถ์ 2 แห่ง
ในซาอุดิอาราเบียมีคาทอลิก 1,500,000 คนแต่ไม่มีโบสถ์เลย “พระสังฆราช คามิลโล ไบติน
โบสถ์ทั้ง 5
แห่งนี้มีคาทอลิกจากหลายชุมชนมารวมกัน และเกิดการชุมนุมประกอบพิธีที่เป็นส่วนตัวขึ้นเหมือนกับพระศาสนจักรในยุคแรก
มีคนงานจากประเทศต่างมากกว่า 100 ประเทศ ส่วนใหญ่มาจากฟิลิปปินส์และอินเดีย ประมาณ
90 เปอร์เซ็นต์ของคนเหล่านี้ล้วนแต่ร่วมพิธีมิสซาจารีตลาตินในประเทศของเขา
ส่วนที่เหลือเป็นจารีตตะวันออก
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ปัจจุบันเราไม่อาจแยกคริสตศาสนาออกจากคาบสมุทรอาราเบียได้
ทุกวันนี้ในวันที่มีมิสซาและในโอกาสวันสำคัญอื่นๆ
โบสถ์จะมีศาสนิกชนมาเต็มจนล้น
การเพิ่มจำนวนคาทอลิกอย่างรวดเร็วนี้ถือว่าเป็นพระพรอย่างหนึ่งของการเป็นพยานถึงชีวิตจิตอันลึกซึ้งของพวกเขา
ตัวอย่างเช่นโบสถ์ครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ในคูเวต ทุกสัปดาห์มีการประกอบพิธีมิสซา
32 ครั้งด้วยภาษา 15 ภาษา และจารีตที่แตกต่างกัน 5 จารีต
ทางโบสถ์มีอาสาสมัครนับพันคนที่คอยช่วยเหลือสนับสนุนกิจการของโบสถ์
และการสอนคำสอนแก่เด็กๆ ทั้งด้านการศึกษา การเยี่ยมนักโทษ และโรงพยาบาล
รวมทั้งงานสังคมสงเคราะห์ด้วย
บาห์เรนเป็นประเทศแรกในอ่าวอาราเบียที่อนุญาตให้สร้างโบสถ์คาทอลิกคือโบสถ์แห่งดวงพระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า
มีการประกอบพิธีมิสซาเที่ยงคืนในวันคริสต์มาสปี 1939 เป็นครั้งแรก
“ตอนนั้นผมคิดว่าคงมีคาทอลิกราว
5-6 หมื่นคนเท่านั้น แต่ในตอนนี้เรามีคาทอลิกประมาณ 140,000 คน
ดังนั้นนี่จึงเป็นปัญหาใหญ่ เรามีห้องประชุมใหญ่ชื่อ“พระมารดาแห่งอาราเบีย”สำหรับจุดประสงค์ต่างๆใกล้กับโบสถ์
ที่ซึ่งเราสวดภาวนา แต่ก็ยังไม่เพียงพอ เพราะห้องประชุมนี้จุคนได้เพียง 5-6
ร้อยคนเท่านั้น เราจึงต้องการสถานที่อื่นอีก
และพระมหากษัตริย์แห่งบาห์เรนก็ทรงประทานพื้นที่แห่งใหม่สำหรับก่อสร้างโบสถ์ใหม่”
พระสังฆราชกล่าว
พระมหากษัตริย์ทรงเผชิญกับการท้าทายที่ใหญ่มากในประวัติศาสตร์ของชาติในการก่อสร้างอาสนวิหารที่อุทิศแด่แม่พระแห่งอาราเบีย
ซึ่งจะเป็นองค์อุปถัมภ์ทุกประเทศในคาบสมุทรนี้
นี่จะเป็นอาสนวิหารแห่งความหวังของคาทอลิกทุกคนที่นี่เพราะเป็นเครื่องค้ำประกันว่าความเชื่อจะได้หยั่งรากลึกลงในสถานที่นี้อย่างมั่นคง
“อาสนวิหารใหม่จะจุคนได้สองพันคน
นอกจากนี้เรายังต้องการสถานที่สำหรับการประชุมกิจกรรมต่างๆด้วย เพราะถ้าเรารับคนเพื่อร่วมพิธีมิสซาเท่านั้น
จะไม่เพียงพอที่จะรวบรวมคริสตชนให้มารวมตัวกัน
คริสตชนที่นี่มีความยากลำบากมากเพราะรัฐบาลควบคุมเข้มงวด
พวกเขาจากประเทศบ้านเกิดมา จากครอบครัวของพวกเขามาอยู่เพียงลำพังที่นี่
พวกเขาจึงต้องการการดูแลฝ่ายจิตวิญญาณเป็นพิเศษและความช่วยเหลือต่างๆที่จะทำให้พวกเขาดำรงชีวิตอยู่ได้
มิฉะนั้นพวกเขาก็จะต้องกลับไป” พระสังฆราชกล่าว
อาสนวิหารสามารถจุคนได้
2,300 คน มีที่จอดรถใต้ดิน 480 คัน และมีหอพักสำหรับคนที่มาจากที่ต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มาจากที่ห่างไกลมาก
มีคริสตชนจำนวนมากที่ข้ามพรมแดนซาอุดิอาราเบียซึ่งไม่มีโบสถ์เลย
เพื่อมาร่วมพิธีมิสซาที่บาห์เรน
“ผู้คนมากมายจากซาอุดิอาราเบียมาที่บาห์เรน
พวกเขาเป็นคาทอลิก พวกเขามาร่วมพิธีมิสซา รับศีลศักดิ์สิทธิ์ และสวดภาวนา เพื่อที่แสดงถึงความเชื่อของพวกเขา
ทุกวันศุกร์พวกเขาจะทยอยกันมาอย่างต่อเนื่อง” คุณพ่อ จอย
เมนาเซรี
การอภิบาลเป็นกิจการที่มีความสำคัญเป็นพิเศษ
เพราะเป็นการทำให้ศาสนิกรวมกลุ่มกันได้
และมีอาสาสมัครที่เข้ามาร่วมงานการอภิบาลสำหรับชุมชนขนาดใหญ่นี้
“วิสัยทัศน์ของผมคือการทำให้อาสนวิหารเป็นสถานที่ให้ความช่วยเหลือดูแลสัตบุรุษทุกคน
ดังนั้นเราจึงเชื้อเชิญบางคนให้มาร่วมงานนี้ด้วย อาจไม่ใช่คาทอลิกก็ได้
เราไม่ได้ต้องการทำให้พวกเขาเปลี่ยนศาสนา
เราเพียงต้องการให้สถานที่นี้เป็นที่สำหรับพบปะกัน
และไม่จำเป็นต้องพูดคุยเรื่องศาสนา” พระสังฆราชอธิบาย
ปี 2014 มีการเริ่มต้นจัดหาทุนก่อสร้างอาสนวิหาร
และต้องใช้เวลา 3- 4 ปีกว่าจะแล้วเสร็จซึ่งขึ้นกับแหล่งเงินทุนที่หามาได้ ถึงแม้ชาวมุสลิมสายกลางให้การต้อนรับคริสตชนอย่างดี
แต่ก็มีมุสลิมหัวรุนแรงบางกลุ่มที่ต่อต้านการมอบที่ดินของพระมหากษัตริย์นี้ สิ่งนี้เป็นอุปสรรคใหญ่และท้าทายต่อความเชื่อของคริสตชนชายหญิงทุกคน
พวกเขาจำเป็นต้องแสดงออกถึงความรักต่อเพื่อนมนุษย์
“เรากำลังสร้างสังคมที่เป็นเอกเทศหรือสังคมที่แบ่งแยก...อย่างใดอย่างหนึ่งหรือ?
สถานที่นี้ไม่ใช่สำหรับสังคมของมนุษย์ มันไม่ใช่ประเทศ มันเป็นสถานที่สำหรับการงาน
เพื่อหาเงินและสิ่งของต่างๆหรือ? นี่ไม่ใช่พระประสงค์ของพระเจ้าสำหรับพวกเรา
พระประสงค์ของพระองค์คือการเป็นพยานยืนยันถึงความรักของพระองค์ที่มีต่อมนุษย์ทุกคน
เราเป็นพยานเมื่อเรารักทุกคนและรักประเทศ
ทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา” พระสังฆราชกล่าว
ความปรารถนของบรรดาเพื่อนพี่น้องชายหญิงของเราที่จะดำรงชีวิตในความเชื่อนั้น
เป็นกระแสเรียกของพวกเราทุกคน
เราจะรวมตัวกันในสถานที่นี้เพื่อนมัสการพระเจ้าและรับใช้ซึ่งกันและกัน
พวกเขาถูกเรียกให้มาเป็นพยานยืนยันความเชื่อในพระเจ้าของพวกเขา
เราถูกเรียกให้มารักด้วยความใจกว้าง
*****************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น