ความตายของพระนางมารีย์
มิใช่เป็นความตายเพื่อการไถ่บาปมนุษย์เหมือนเช่นความตายของพระคริสต์
และมิใช่ความตายที่เป็นโทษของบาปเหมือนมนุษย์ทั่วไปที่กำเนิดมาในบาปกำเนิด แต่ความตายของพระนางมารีย์เป็นรูปแบบพิเศษที่มาจากอำนาจเหนือธรรมชาติแห่งความรักอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นความตายอันเนื่องมาจากการเพ่งพิศความรักอันเหลือล้นของพระเป็นเจ้า
พระบิดา พระบุตร และพระจิตที่ทรงมีต่อพระนาง
จิตวิญญาณของพระนางแยกจากร่างกายด้วยความรักอันเหลือล้นของพระนางต่อพระเป็นเจ้าที่บังเกิดขึ้นในการพิศเพ่งนี้ และด้วยความรักของพระเป็นเจ้าที่ทรงมีต่อพระนางมารีย์
พระองค์จึงไม่ทรงยอมให้ร่างกายของพระนางคงอยู่ในโลกนี้แต่ให้กลับไปสนิทกับจิตวิญญาณของพระนางและประทับอยู่ในสวรรค์
เฉกเช่นเดียวกับพระบุตรของพระนางเอง
เมื่อมนุษยชาติยุติการมองพระเป็นเจ้าเป็นเพียงนามธรรม และมองพระเป็นเจ้าเป็นพระบุคคลที่ทรงมีรูปร่างและทรงมีพระนาม
มนุษย์ก็จะได้พบกับพระคริสต์และมีส่วนแบ่งในพระธรรมชาติอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์
มนุษย์จะได้เดินไปในทางที่พระคริสต์ทรงดำเนิน
หรือได้ยืนในห้องที่พระองค์เคยประกอบพิธีมิสซาครั้งแรก มนุษย์จะปรารถนาที่จะรู้ชีวประวัติของพระมารดาของพระองค์ เมื่อเราเพ่งมองไปยังผ้าห่อพระศพแห่งตูรินและผีนผ้าศักดิ์สิทธิ์ของแม่พระแห่งกัวดาลูเป เรารู้สึกประหลาดใจและรู้สึกชื่นชมยินดีเหมือนกับการที่เราได้มองดูรูปของมิตรสนิทของเรา
และเมืองใดเล่าที่เป็นสถานที่ซึ่งพระมารดาของพระเจ้าทรงบรรทมหลับไปในวาระสุดท้ายแห่งชีวิตของพระนางบนโลกนี้?
ก่อนที่พระนางจะได้รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ
มีสองเมืองที่อาจได้รับเกียรตินี้ และมีหลักฐานที่ทำให้เราต้องฉงนใจ เมืองทั้งสองคือ เยรูซาเล็ม และ เอเฟซัส ซึ่งเป็นบ้านของพระนางมารีย์หลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระบุตรของพระนาง
ในหนังสือโคเด็ค วาติกันนุส เลขที่ 1982 Codex Vaticanus No. 1982
ซึ่งเขียนเป็นภาษากรีก ระบุว่า พระเยซูเจ้าทรงแนะนำสถานที่ฝังพระศพของพระนางมารีย์แก่
น.เปโตร “ท่านจงออกไปนอกเมือง ไปทางซ้ายมือ และท่านจะพบคูหาใหม่
ที่นั่นแหละคือที่ที่ท่านจะฝังพระศพ” นั่นคือที่เมืองเยรูซาเล็ม
และบ่งชี้ไปที่เก็ธเซเมนี
ในหนังสือประวัติแม่พระ
The Book of the Most Holy Virgin, the Mother of God (c. 6th century) กล่าวถึงการฝังพระศพแม่พระดังนี้ -
บรรดาอัครสาวกได้นำร่างของพระนางมารีย์ไปยังหุบเขาโจซาฟัต
ตามที่พระเยซูเจ้าทรงบอกแก่พวกเขา
และพวกเขาได้ฝังพระศพของพระนางไว้ในคูหาใหม่และได้ปิดประตูคูหา
เราได้รู้ว่าบรรดาอัครสาวกได้มารวมกันเพื่อเฝ้าพระนางมารีย์เป็นครั้งสุดท้ายและเพื่อมาร่วมในพิธีฝังพระศพของพระนาง
หนังสือได้บอกรายละเอียดบางอย่างในเรื่องนี้
เช่น มีการเดินขบวน
มีเสียงเพลงจากสวรรค์ขับร้องประสาน
และการค้นพบว่าพระคูหาของพระนางว่างเปล่า
หนังสือเก่าแก่ในศตวรรษที่ 5 ชื่อ The Obsequies of the Holy Virgin กล่าวว่า
นักบุญอัครเทวดามีคาแอลได้รับคำสั่งจากพระเป็นเจ้าให้นำร่างของพระนางมารีย์เข้ามาในกลุ่มเมฆ
และ “พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาอัครสาวกว่าพวกเขาก็ควรเข้ามาใกล้กลุ่มเมฆนี้ด้วย”
ในหนังสือศตวรรษที่ 6 ชื่อ In The Falling Asleep of Mary กล่าวว่า
พระเยซูเจ้าทรงเชื้อเชิญทุกคนให้กลับมาที่พระคูหาของพระนางมารีย์ “พวกท่านจะได้เห็นพระมารดาพรหมจารีย์ ขณะที่เรานำพระนางเข้าสู่สวรรค์พร้อมกับเรา
จิตวิญญาณของพระนางสนิทกับร่างกายของพระนาง
และมีชีวิตเหมือนเช่นที่พระนางเคยมีชีวิตอยู่บนโลกนี้กับพวกท่าน”
พระนางมารีย์ทรงประทับอยู่ที่กรุงเยรูซาเล็มจนถึงเวลาที่มีการเบียดเบียนคริสตชนอย่างรุนแรงในปี
ค.ศ. 44 ทำให้พระนางต้องหลบหนีไปกับบรรดาอัครสาวาก
และนักบุญยอห์นซึ่งรับพระนางมารีย์เป็นมารดาของตนได้นำพระนางไปอาศัยอยู่ที่เอเฟซัส
(ปัจจุบันอยู่ในตุรกี) และอาจมี น.มารีย์ มักดาเลนติดตามไปด้วย (แต่บางแห่งบอกว่า
มารีย์ มักดาเลนไปที่ฝรั่งเศสพร้อมกับลาซารัสและมาร์ธา)
หนังสือชีวประวัติของพระนางมารีย์ เขียนโดย Rev. B. Rohner, กล่าวว่า
หนังสือหลายเล่มที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับคริสต์ศาสนาในยุคแรกบอกเราว่า
“พระมารดาของพระเจ้าทรงประทับอยู่เอเฟซัสเป็นระยะเวลาหนึ่ง พร้อมกับนักบุญยอห์น
อัครสาวก ผู้ซึ่งพระนางทรงรับเป็นบุตรของพระนางด้วย
และน.ยอห์นเป็นพระสังฆราชของที่นั้น...ต่อมาพระนางมารีย์ทรงปรารถนาที่จะได้เห็นเมืองของพระนางก่อนที่พระนางจะจากโลกนี้ไป”
(Life of the Blessed Virgin)
ในหนังสือ The Mystical City of God ของ Ven. Mary of Agreda
(+1665)กล่าวว่า “พระนางมารีย์ทรงประทับอยู่ที่เอเฟซัสเป็นเวลาสองปีครึ่ง และในปลายปีสุดท้ายนั้น น.ยอห์นได้เตรียมที่จะเดินทางไปที่ปาเลสไตน์ พระนางมารีย์ทรงเรียกบรรดาสตรีที่อยู่ช่วยเหลือพระนางและบรรดาศิษย์ในเอเฟซัสให้มารวมกัน เพื่อกล่าวอำลาพวกเขาและให้คำแนะนำแก่พวกเขาให้รักษาความเชื่อไว้ให้มั่นคง”
----------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น