ในภาษาลาตินคำว่า
"hostis" มีความหมายว่าเหยื่อผู้เคราะห์ร้าย (victim) คำนี้เป็นคำแรกที่ใช้เรียกศีลมหาสนิทในยุคต้นของคริสตศาสนา
ทำไมจึงเรียกศีลมหาสนิทว่า host?
เมื่อตรวจค้นในพจนานุกรมหลายเล่มก็พบว่าคำในภาษาลาตินนี้มีความเชื่อมโยงกับประวัติความหมายของคำว่า
“เหยื่อผู้เคราะห์ร้าย”(victim)
อาณาจักรโรมันยุคเรืองอำนาจ เมื่อชาวโรมันพิชิตศัตรูได้ พวกเขาจะเรียกศัตรูผู้พ่ายแพ้และถูกนำไปเป็นยัญบูชาแด่พระเจ้าว่า
hostis
คำนี้กลายเป็นคำสามัญในคริสตศาสนาฝั่งตะวันตกเพราะมันถูกใช้ในพระคัมภีร์ไบเบิล
(คัมภีร์ไบเบิลที่แปลเป็นภาษาลาตินโดย น.เจโรม) ตัวอย่างเช่นใน เอเฟซัส 5:2 และในเอเฟซัส 4:18
ดังนั้นคำว่า “hostis”
จึงบ่งบอกถึงเหยื่อผู้ยิ่งใหญ่ที่รับเคราะห์จากความก้าวร้าวของมนุษย์ ซึ่งนั่นหมายถึง
“พระเจ้าผู้ทรงลงมาเป็นมนุษย์” ทรงถูกตรึงกางเขนและกลับคืนพระชนม์ชีพ และคำนี้ในภาษาอังกฤษเขียนว่า "host"
คริสตชนได้ประยุกต์ใช้คำว่า
“host” เพื่อหมายถึง แกะยัญบูชา
ผู้ทรงกลับคืนพระชนม์ชีพและปรากฏอยู่ในศีลมหาสนิท
ตามพระวาจาของพระคริสต์ที่ตรัสในการเลี้ยงอาหารค่ำมื้อสุดท้ายว่า
“นี่คือกายของเรา....นี่คือโลหิตของเราที่หลั่งลงมาเพื่อท่านทั้งหลาย”
ปังที่เสกแล้วจึงเป็น “host” (เหยื่อผู้เคราะห์ร้าย)
และเป็นเหยื่อที่แท้จริง
เป็นพระกายของพระองค์ผู้ทรงกลับคืนพระชนม์ชีพ
ซึ่งครั้งหนึ่งถูกทำร้ายโดยความชั่วร้ายของมนุษย์
แต่บัดนี้กลับมีชีวิตและประทับอยู่ท่ามกลางเรา ทรงยอมเป็นอาหารและเครื่องดื่มเลี้ยงพวกเรา – “จงรับไปกินให้ทั่วกันเถิด”
น่าเสียดายที่
ความหมายสำคัญของคำว่า “host”
ได้สูญหายไป และมีความหมายแต่เพียงแค่เศษขนมปังไร้เชื้อที่แบ่งให้กันกิน เป็นขนมปังก่อนเสกหรือหลังเสกก็ได้ แต่ในวันนี้เรากำลังพูดถึง “host” ยัญบูชาแห่งปาสกา
พูดถึงความตายและการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระคริสตเจ้า และพูดถึงพระธรรมล้ำลึกแห่งปาสกา
ในพิธีมิสซาทุกมิสซา เราได้รับเชิญให้มองดูศีลมหาสนิท เราก้มศีรษะนมัสการ เราคุกเข่า และรำพึงภาวนา “มอบถวายกายใจของเราให้เป็นพลีบูชาที่มีชีวิต ศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่พอพระทัยของพระเป็นเจ้า”
(โรม 12:11)
การเคารพสักการะ “host” นี้ เราต้องมอบกายใจของเราต่อพระธรรมล้ำลึกของพระเป็นเจ้าในทุกขณะจิต และการเข้าไปเป็นหนึ่งเดียวกับ “host” นี้
เราต้องซึมซับพระธรรมล้ำลึกเข้าไปในทุกส่วนของชีวิตของเราเพื่อที่เราจะได้ละม้ายคล้ายกับพระคริสตเจ้าผู้ทรงเป็น
--- เหยื่อผู้เคราะห์ร้ายที่ทรงประทานพระองค์เองในการรับใช้เพื่อนพี่น้อง
สังคายนาวาติกันครั้งที่สองได้แสดงความปรารถนาให้ผู้มีความเชื่อทุกคนมีส่วนร่วมในพิธีมิสซาด้วยท่าทีซึ่ง
“มีความเข้าใจที่ดีต่อพิธีกรรมและบทภาวนา”
เพื่อที่ทุกคนจะได้ “มีส่วนร่วมในพิธีกรรมและกิจการอันศักดิ์สิทธิ์ที่พวกเขากำลังทำด้วยความศรัทธาและร่วมจิตใจกับพระสงฆ์ในการประกอบพิธีกรรม”
“โดยการถวายเหยื่ออันบริสุทธิ์นี้ซึ่งไม่ใช่โดยผ่านทางมือของพระสงฆ์เท่านั้น แต่โดยที่ทุกคนมีส่วนร่วมด้วย
แต่ละคนจะได้เรียนรู้ที่จะมอบตนเองผ่านทางพระคริสต์ผู้ทรงเป็นคนกลาง แต่ละคนจะได้เป็นหนึ่งเดียวกับพระเป็นเจ้าและเป็นหนึ่งเดียวกับผู้อื่นอย่างสมบูรณ์ เพื่อที่ในที่สุด
พระเป็นเจ้าจะได้เป็นทุกอย่างสำหรับทุกคน” (Sacrosanctum Concilium, 48).
หมายเหตุ – มีบางคนสับสนเกี่ยวกับคำลาติน “hostis” ที่มีความหมายว่า “ศัตรู” (“enemy”)
แต่ความหมายดั้งเดิมที่ย้อนไปไกลนั้น คำว่า hostia หมายถึง “เหยื่อผู้เคราะห์ร้าย” (“victim”),
ซี่งในแง่นี้ก็คือศัตรูที่พ่ายแพ้และถูกจับกุมให้ไปเป็นยัญบูชาแด่พระเจ้า ยังมีคำลาตินอีกคำหนึ่งที่แยกออกมาต่างหาก
คือคำว่า victima ที่หมายถึงศัตรู
แต่ก็ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด
รากศัพท์ของคำว่า host นั้นมีความหมายหลายอย่าง
เช่น หมายถึง “คนแปลกหน้า” และ “แขก” (“stranger” and “guest”)
ซึ่งคุณอาจเห็นคำหลายคำที่เกี่ยวเนื่องกันกับคำๆนี้ - host, guest, hospitality, hostel, hospital, hostile
ดังนั้นจะเห็นได้ถึงความร่ำรวยของภาษาในคำ hosts, และทำให้เราพอจะมีจินตนาการเกี่ยวกับศีลมหาสนิท
ซึ่งเป็นการปรากฏของพระคริสต์ ผู้ทรงเป็นคนแปลกหน้า เป็นแขก
เป็นเหยื่อผู้เคราะห์ร้าย และ ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น