วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560

การล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ 3


อาจกล่าวได้ว่าการล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์มีจุดเริ่มต้นจากการที่พระอัครสังฆราชแห่งกรุงคราคอฟพระคาร์ดินัลคาโรล วอยติวา ของประเทศโปแลนด์ได้รับเลือกให้เป็นพระสันตะปาปาที่ทรงพระนามว่า พระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2  พระองค์ได้เป็นจุดศูนย์รวมจิตใจของประชาชนชาวโปแลนด์ ทำให้ประชาชนมีความหวังขึ้นใหม่ และมีความกล้าหาญไม่กลัวต่ออำนาจของรัฐบาลเผด็จการคอมมิวนิสต์  พระองค์ตรัสแก่ประชาชนขณะที่ทรงเยือนโปแลนด์ว่า “จงอย่ากลัว” 

เป็นพระเป็นเจ้าและพระแม่มารีย์เอง  ที่ทรงหลั่งพระหรรษทานแห่งความกล้าหาญมาให้แก่ประชาชน  โดยทรงเลือกพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2ให้เป็นผู้แทนของพระองค์บนโลกนี้  ดังที่นักบุญโฟสตินาได้บันทึกพระวาจาของพระเยซูเจ้าไว้ว่า “เรามีความรักต่อประเทศโปแลนด์เป็นพิเศษ และถ้าประชาชนเชื่อฟังและทำตามพระประสงค์ของเรา  เราจะยกย่องประเทศนี้ในความศักดิ์สิทธิ์และด้วยอานุภาพ  จากประเทศนี้จะมีแสงสว่างเจิดจ้าส่องมาซึ่งจะเป็นการเตรียมโลกสำหรับการกลับมาครั้งสุดท้ายของเรา" 

 พระสันตปาปายอห์น ปอลที่ 2ในกรุงคาคอฟ Cracow ปี 1979

พระสันตปาปายอห์น ปอลที่ 2

วันที่ 16 ตุลาคม 1978 Karol Wojtyla พระอัครสังฆราชแห่ง Krakow ได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปา  ข่าวคราวการได้รับเลือกครั้งนี้ได้รับความสนใจอย่างมากในโปแลนด์ และถูกมองว่าเป็นรางวัลซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำหรับความอัปยศของชาติและการข่มเหงรังแกคริสตจักรที่ดำเนินมาหลายทศวรรษ ในเดือนมิถุนายน 1979 พระสันตะปาปาได้เดินทางมาเยี่ยมโปแลนด์ด้วยบทบาทใหม่นี้เป็นครั้งแรก มีผู้สนับสนุนชาวโปแลนด์หลายล้านคนเดินทางมาเพื่อเข้าร่วมพิธีทางศาสนาที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นถึงความศรัทธา แต่ยังเป็นโอกาสที่จะแสดงถึงความปรารถนาที่จะดำรงชีวิตในประเทศที่มีอิสรเสรีภาพอีกด้วย

พระสันตปาปายอห์น ปอลที่2ในเมืองเชสโตโชวา  Czestochowa
พระสันตปาปายอห์นปอลที่2 ทรงประกอบพิธีมิสซาที่จัตุรัสในกรุงวอร์ซอร์ของโปแลนด์  สมัยที่ยังอยู่ภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์  พระองค์ตรัสเทศน์เกี่ยวกับพระเป็นเจ้า  เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน   แล้วประชาชนทุกคนที่อยู่ในจัตุรัสต่างพากันร้องตะโกนว่า  เราต้องการพระเจ้า  เราต้องการพระเจ้า ๆ ๆ ๆ ....ภายหลังจากการเสด็จเยือนโปแลนด์ครั้งนั้น อาณาจักรคอมมิวนิสต์ของโซเวียตรัสเซียและโปแลนด์ก็เริ่มต้นส่อเค้าของการล่มสลาย

 

วันที่ 14 สิงหาคม 1980: การประท้วงที่อู่ต่อเรือ V. Lenin ใน Gdansk เริ่มต้นขึ้น

ขบวนการโซลิดาลิตี้Solidarnosc

ในเดือนสิงหาคม 1980 ที่อู่ต่อเรือเลนิน V. Lenin ในเมืองกดังส์ก Gdansk  คนงานของอู่ต่อเรือดังกล่าวทำการประท้วงโดยแสดงสัญลักษณ์ของโซลิดาริตี้พร้อมด้วยเพื่อนร่วมงานสองคนที่ถูกไล่ออกจากงานคือ: Anna Walentynowicz และ Lech Walesa  และทำให้กลุ่มโซลาดิลิตี้ (Solidarnosc) ถือกำเนิดขึ้นจาก การหยุดงานประท้วงทั่วประเทศครั้งนั้น มีนายเล็ก วาเลซ่า Lech Walesa เป็นหัวหน้ากลุ่ม

รัฐบาลโปแลนด์ซี่งมีพลเอก วอยเชค ยารูเซลสกี ผู้นำคอมมิวนิสต์คนสุดท้ายในประวัติศาสตร์ของโปแลนด์ (เขาเป็นผู้นำการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยเมื่อปี 1989 ซึ่งได้ถึงแก่กรรมลงแล้วเมื่อวันอาทิตย์ในวัย 90 ปี หลังล้มป่วยมายาวนาน) เริ่มปฏิบัติการโจมตีกลุ่มโซลาดิลิตี้ในทันที มีการจับกลุ่มแกนนำสำคัญ หนึ่งในนั้นคือคุณพ่อเยอร์ซี่ ปอเปียววูสซ์คอ Bl. Jerzy Popieluszko ท่านเป็นผู้แนะนำด้านจิตวิญญาณของกลุ่มโซลิดาริตี  ท่านถูกทหารลักพาตัวไปทรมานจนเสียชีวิต

การจัดพิธีทางศาสนาเพื่อเฉลิมฉลองที่อู่ต่อเรือที่มีการหยุดงานประท้วง โดยคุณพ่อเยอร์ซี่ ปอเปียววูสซ์คอ เป็นประธาน

Anna Walentynowicz พูดคุยกับ ครอบครัวของผู้ประท้วง Walentynowicz เป็น นักเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิ์ของแรงงานและได้ก่อตั้งสหภาพแรงงานอิสระที่ผิดกฎหมายในปี 1978 (WZZ)



ข้อเรียกร้อง 21 ข้อ

        โรงงานผลิตอื่นๆ ที่เข้าร่วมในการหยุดงานประท้วง มีการจัดตั้งคณะกรรมการจากตัวแทนที่มาจาก Gdansk และเมืองที่อยู่ใกล้เคียง  ผู้ประท้วงต้องการเจรจากับรัฐบาลคอมมิวนิสต์เกี่ยวกับ เงื่อนไขในการหยุดการประท้วง  คณะกรรมการร่างข้อเรียกร้อง 21 ข้อ ซึ่งกำหนดเงื่อนไขทั้งหมดโดยสมบูรณ์ ในที่สุดรัฐบาลก็ยอมรับที่จะเข้าสู่การเจรจากับผู้ประท้วง

ข้อเรียกร้อง 21 ข้อ

ข้อเรียกร้องจำนวน 21 ข้อของคณะกรรมการการหยุดงานประท้วงระหว่างโรงงานของอู่ต่อเรือ Vladimir Lenin ใน Gdańsk (วันที่ 17 สิงหาคม 1980)

1. การยอมรับสหภาพแรงงานที่เป็นอิสระโดยไม่ขึ้นอยู่กับพรรคคอมมิวนิสต์และบริษัทผู้ประกอบการ โดยเป็นไปตามข้อตกลงฉบับที่ 87 ขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิ์ในการก่อตั้งสหภาพแรงงานที่เป็นอิสระ

2. การรับรองสิทธิ์ในการหยุดงานประท้วงและความปลอดภัยของผู้ประท้วงรวมทั้งผู้ที่สนับสนุน

3. การปฏิบัติโดยสอดคล้องกับการรับรองในรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับเสรีภาพในการพูด สื่อและสิ่งพิมพ์ รวมทั้งเสรีภาพของสำนักพิมพ์ที่เป็นอิสระ และความพร้อมใช้งานสื่อขนาดใหญ่เพื่อแสดงถึงความสุจริตใจ

4. การคืนสิทธิ์ตามที่เคยมีในอดีตกลับไปให้:

ก) ผู้คนที่ถูกไล่ออกจากงานหลังการหยุดงานประท้วงในช่วงทศวรรษ 1970 และ 1976 นักศึกษาที่ถูกไล่ออกเนื่องจากทัศนคติของตน (...)

5. ความพร้อมใช้งานสื่อข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อเผยแพร่เกี่ยวกับการจัดตั้งคณะกรรมการการหยุดงานประท้วงระหว่างโรงงานและการเผยแพร่ข้อเรียกร้องของคณะกรรมการดังกล่าว (...)

9. การเพิ่มเงินค่าจ้างโดยอัตโนมัติซึ่งได้รับการรับรองโดยมีหลักการพื้นฐานจากการเพิ่มขึ้นของราคาและการลดลงในรายได้ที่แท้จริง (...)

12. การเลือกบุคลากรด้านการจัดการโดยมีหลักการพื้ันฐานจากคุณสมบัติ ไม่ใช่การเป็นสมาชิกพรรค สิทธิพิเศษของหน่วยตำรวจรักษาความมั่นคง ตำรวจทั่วไป และกลไกต่างๆ ของพรรคการเมืองจะต้องถูกกำจัด

ตัวแทนจากโรงงานที่หยุดงานประท้วงกำลังฟังผู้เจรจาต่อรอง

บันทึกการเจรจา

การลงนามในข้อตกลงเดือนสิงหาคม เป็นเครื่องแสดงถึงการยอมรับข้อเรียกร้องทั้ง 21 ข้อของรัฐบาล

วันที่ 31 สิงหาคม 1980 การหยุดงานประท้วงมาถึงจุดสิ้นสุด

ผู้สนับสนุนของ Lech Walesa ยกตัวของเขาขึ้นด้วยความยินดีในชัยชนะภายหลังการจดทะเบียนสหภาพแรงงานโซลิดาริตี

             อย่างไรก็ตาม  การที่รัฐบาลยอมเจรจาและทำสัญญาด้วย มิได้หมายความว่ารัฐบาลยอมแพ้  นี่เป็นเพียงชัยชนะขั้นแรกของกรรมกรโปแลนด์เท่านั้น  รัฐบาลคอมมิวนิสต์ยังปกครองประเทศและยอมอ่อนข้อให้เพียงชั่วคราวเท่านั้น  ต่อจากนี้ไปรัฐบาลจะปฏิบัติการที่โหดร้ายมากขึ้น

----------------------------------
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น