ภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง
สหภาพโซเวียต ได้ก่อตั้งระบอบการปกครองคอมมิวนิสต์ในยุโรปตอนกลาง และยุโรปตะวันออก
การดำเนินชีวิตในสังคม การเมืองและเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศเครืออาณานิคมฝั่งตะวันออกต่างยึดเอาสหภาพโซเวียตเป็นแบบอย่าง
กระบวนการดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นจากการสร้างการผูกขาดทางการเมืองให้กับพรรคคอมมิวนิสต์
การสร้างกองกำลังตำรวจรักษาความมั่นคง การใช้ระบบเซ็นเซอร์ และการควบคุมสื่อทุกประเภท
ซึ่งสำคัญมากสำหรับการใช้โฆษณาชวนเชื่อ
สหภาพโซเวียตได้ทำให้ลัทธิคอมมิวนิสต์แพร่หลายไปยังประเทศต่างๆทั่วโลก
โปสเตอร์โฆษณาชวนเชื่อ มีข้อความที่แปลว่า:
‘Soviet Army, guardian of peace’ โปสเตอร์โฆษณา
ตัวอักษรที่เขียน: 'กองทัพโซเวียตผู้พิทักษ์แห่งสันติภาพ'
การล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์เริ่มต้นที่ประเทศโปแลนด์เป็นประเทศแรก แต่ก่อนหน้านี้รัฐบาลคอมมิวนิสต์ในโปแลนด์ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในด้านการปกครอง
Edward Gierek เลขาธิการอันดับหนึ่งของพรรค
Polish United Workers (คอมมิวนิสต์ PZPR) ตั้งแต่ปี 1970 ถึง 1980 เป็นผู้นำที่แท้จริงของพรรคและรัฐ
ภายใต้การนำของเขา
คนในประเทศมีความสุขกับการบูมของเศรษฐกิจอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่ก็สิ้นสุดลงด้วยวิกฤตที่หนักหนาที่สุดนับตั้งแต่สงคราม
ในโปแลนด์มีการจัดวันแรงงานประจำปีมีจุดประสงค์เพื่อ
แสดงออกถึงการสนับสนุนของมวลชนที่มีต่อพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งปกครองประเทศ
ตัวแทนจากบริษัทต่างๆ และโรงงานผลิต โรงเรียน มหาวิทยาลัย องค์กรทางสังคม
และกองทัพ
รวมทั้งนักแสดงและนักดนตรีที่มีชื่อเสียงได้ร่วมเดินและโบกมือให้กับผู้ที่มีตำแหน่งสูงในพรรคการเมืองซึ่งมองลงมาจากพลับพลา
ขบวนพาเหรดได้รับการออกอากาศทางโทรทัศน์ อย่างไรก็ตาม
บรรยากาศของการเฉลิมฉลองต้องถูกรบกวนด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าบุคคลที่ไม่เข้าร่วมในขบวนพาเหรดจะประสบกับการข่มขู่คุกคามในที่ทำงาน
ขบวนพาเหรดในวันแรงงานภายใต้เงาที่เป็นลางร้ายของพระราชวังแห่งวัฒนธรรมและวิทยาศาสตร์
(Palace of Culture and Science)
วัฒนธรรมและการเซ็นเซอร์
รัฐบาลโปแลนด์ควบคุมเข้มงวดการแสดงความคิดเห็นทุกชนิด
ศิลปินที่ฝ่าฝืนข้อห้ามเกี่ยวกับอุดมการณ์หรือทางการเมืองใดๆ
ก็ตาม จะต้องตระหนักถึงความจริงที่ว่า
ผู้ที่ชมผลงานของพวกเขาก็มีแต่ผู้เซ็นเซอร์เท่านั้นเอง
นักเขียนและนักสร้างภาพยนตร์จำนวนมากต้องอพยพย้ายถิ่นฐานออกไป:
นาย Jerzy Skolimowski ต้องย้ายบ้านไปยังฝั่งตะวันตกเมื่อมีการเซ็นเซอร์ “Hands
Up” และ นาย Ryszard Bugajski ก็ย้ายออกไปเมื่อเจ้าหน้าที่ของทางการปิดกั้นการเผยแพร่
“Interrogation”
เทศกาลเพลงของโซเวียตใน Zielona Góra ถูกจัดขึ้นอย่างเลิศหรู วัตถุประสงค์หลักของการจัดกิจกรรมนี้คือเพื่อให้มิตรภาพระหว่างโปแลนด์และโซเวียตกระชับแนบแน่นขึ้น
นางKrystyna Janda ในภาพยนตร์เรื่อง "Przesuchanie” (“Interrogation”) กำกับโดย Ryszard Bugajski
เทศกาลเพลงของโซเวียตใน Zielona Góra ถูกจัดขึ้นอย่างเลิศหรู วัตถุประสงค์หลักของการจัดกิจกรรมนี้คือเพื่อให้มิตรภาพระหว่างโปแลนด์และโซเวียตกระชับแนบแน่นขึ้น
„Rece
do góry” (“Hands
Up”) ภาพยนตร์สารคดีที่ผลิตโดย Jerzy Skolimowski ในปี
1967 ถูกสั่งห้ามโดยพนักงานเซ็นเซอร์จนกระทั่งปี 1981
ในปี ค.ศ. 1955
หลังการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศมหาอำนาจเหลือเพียง 2 ประเทศ คือ
สหรัฐอเมริกา และ สหภาพโซเวียต โลกแบ่งเป็นสองขั้วอย่างชัดเจนคือ
เสรีประชาธิปไตย และคอมมิวนิสต์
ทั้งสองขั้วไม่มีความไว้วางใจกันเลย
หลังสงครามโลกสหรัฐถอนทหารออกจากประเทศในยุโรปตะวันออก ส่วนโซเวียตยังคงทหารเอาไว้และยังเพิ่มทหารเข้าไปในกรีกและตุรกี
ทำให้โซเวียตยึดครองประเทศในยุโรปตะวันออกได้จำนวนมาก
ยังเกิดเหตุการณ์ที่อาจจะนำไปสู่สงครามนิวเคลียร์ขึ้น ในสมัย ประธานาธิบดีเคนเนดี
อเมริกาพยายามแทรกแซงการเมืองภายในของคิวบาด้วยการพยายามโค่นล้มอำนาจของคาสโตรในการยกพลขึ้นบกที่อ่าวหมู
ซึ่งล้มเหลว เป็นช่องทางให้โซเวียต โดยครุสชอฟ
ใช้ความอ่อนแอของอเมริกาในการไม่ตัดสินใจเด็ดขาดด้วยการ
สร้างฐานยิงขีปนาวุธที่คิวบา และขนส่งขีปนาวุธมาจากโซเวียตทางเรือ
เนื่องจากเชื่อว่า อเมริกาจะต้องขอเจรจา แต่เมื่อ ประธานาธิบดีเคนเนดี
ออกแถลงการณ์ให้โซเวียตถอนเรือกลับโซเวียตและถอนฐานยิงขีปนาวุธออก
ไม่อย่างนั้นอเมริกาจะทำสงครามเต็มรูปแบบกับโซเวียต
ท่ามกลางความตึงเครียดนี้โซเวียตตัดสินใจถอยออกจากการปฏิบัติภารกิจและกลับโซเวียต โลกจึงรอดพ้นจากวิกฤตการณ์ไปได้
เกิดสงครามภายในประเทศต่างๆ
เช่น เกาหลี เวียตนาม ลาว กัมพูชา วิกฤตการณ์คลองสุเอส ลัทธิคอมมิวนิสต์แพร่หลายไปในหลายประเทศ
กลับมาที่โปแลนด์
รัฐบาลโปแลนด์ออกนโยบายให้ประชาชนใช้คูปองสำหรับการปันส่วน
เศรษฐกิจ
เศรษฐกิจที่วางแผนไว้ที่ส่วนกลางได้รับการแนะนำโดย
รัฐบาลคอมมิวนิสต์ซึ่งไม่ยอมให้มีการครอบครองทรัพย์สินส่วนบุคคลในอุตสาหกรรมหรือในส่วนงานบริการ
นโยบายของรัฐบาลทำให้ความสามารถในการทำกำไรและความคิดริเริ่มในอุตสาหกรรมต้องสูญเสียไป
ระดับการบริการลดต่ำลง และมีการปันส่วนอาหาร
คิวที่ด้านหน้าของร้านขายของชำ
การหยุดงานประท้วงและการจลาจลในโปแลนด์
เป็นเวลาหลายทศวรรษที่พรรค
Polish United Workers ปฏิเสธที่จะยอมรับการต่อสู้ทางการเมืองทุกรูปแบบหรือกิจกรรมการเคลื่อนไหวของคนงานที่แท้จริง
ในเดือนมิถุนายน 1956 การหยุดงานประท้วงและการจลาจลของคนงานใน Poznan ถูกปราบปรามอย่างโหดร้ายทารุณ มีคนทั้งสิ้น 73 คนถูกสังหารและหลายร้อยคนได้รับบาดเจ็บ
เดือนมีนาคม
1968 การประท้วงของนักศึกษาเกิดขึ้นในเดือนมีนาคม 1968
ภายหลังการสั่งห้ามการแสดงละครเวทีของกวีแห่งศตวรรษที่ 19 Adam
Mickiewicz เรื่อง “Forefathers’ Eve” เนื่องจากมีองค์ประกอบของ
“โรคกลัวรัสเซีย” ผู้คนราว
1,500 คนถูกจับกุม มีการเปิดตัวแคมเปญต่อต้านภาษาอาหรับ-ฮิบรูเพื่อต่อต้านนักเคลื่อนไหวที่เป็นนักศึกษาและผู้ที่อ้างว่าเป็นผู้สนับสนุน
ชายฝั่งทะเลบอลติกปี
1970 การประท้วงของคนงานที่่เกิดขึ้นจากราคาอาหารที่พุ่งขึ้นสูงแผ่กระจายไปยังเมืองท่าต่างๆ
ในโปแลนด์ทั้ง Gdańsk,
Gdynia และ Szczecin ผู้ประท้วงถูกผลักดันให้กระจัดกระจายออกไปโดยทหารกองหนุนและหน่วยงานของกองทัพ
(เจ้าหน้าที่ทหารและกองทัพรวมทั้งสิ้น 61,000
นายเกี่ยวข้องในเรื่องนี้) มีประชาชนถูกสังหาร 45
คนและบาดเจ็บ 1,165 คน
Poznan เดือนมิถุนายน 1956
Poznan เดือนมิถุนายน 1956
วอร์ซอ เดือนมีนาคม 1968
Gdynia เดือนธันวาคม 1970
เดือนมิถุนายน 1976 ใน Radom
โปแลนด์ - คณะกรรมการว่าด้วยการปกป้องคนงาน (KOR)
การประท้วงในRadom,
Plock และ Ursus ทำให้คนงานหลายพันคนต้องถูกออกจากงาน
คณะกรรมการว่าด้วยการปกป้องคนงาน (KOR) ได้ถูกจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือคนงานเหล่านั้น
องค์กรนี้ดำเนินงานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากทางการ
และสร้างสรรค์ขึ้นโดยกลุ่มคนระดับปัญญาชนในสังคมซึ่งไม่เห็นด้วยกับระบบ
ตัวแทนลับๆ จาก KOR ถูกส่งออกไปหาผู้คนส่วนใหญ่ที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว
โดยให้การสนับสนุนเรื่องการเงิน รวมทั้งความช่วยเหลือด้านกฎหมาย นักเคลื่อนไหวของ KOR
ทำให้ทางการลงมือทำการปราบปราบ: ห้องพักอาศัยของพวกเขาถูกค้นพบ
พวกเขาถูกจับคุมขัง และบางคนถูกทำร้ายโดย ‘ผู้โจมตีที่ไม่รู้จัก’
ซึ่งแท้ที่จริงแล้วเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยสนับสนุนด้านความมั่นคง
ในไม่ช้าองค์กรฝ่ายตรงข้ามหลายองค์กรก็ถูกก่อตั้งขึ้นอย่างเช่น
ขบวนการปกป้องสิทธิมนุษยชนและพลเรือน (ROPCIO) และสหภาพแรงงานอิสระ
(Wolne Zwiazki Zawodowe)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น