วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2562

นักบุญฟรังซิส เซเวียร์


นักบุญฟรังซิสเซเวียร์ (ค.ศ. 1506 - 1552)

พระญาณเอื้ออาทรของพระเจ้า ทรงจัดให้นักบุญฟรังซิส เซเวียร์ เป็นนักบุญธรรมทูตผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่ง เทียบได้กับนักบุญเปาโล อัครสาวก นักบุญฟรังซิสเป็นชาวบาสก์ (สเปน) มีความฝันอยากเป็นนักวิชาการ อาจารย์ปรัชญา หรือทำงานในราชวังตามบิดา แต่เมื่อไปเรียนที่มหาวิทยาลัยในกรุงปารีส ได้พบกับอิกญาซีโอ โลโยลา 2 ปี ซึ่งนักบุญฟรังซิสท่านถูกถามตลอดว่า “มนุษย์จะได้ประโยชน์ใดในการได้โลกทั้งโลกเป็นกำไร แต่ต้องเสียชีวิต” (มธ 16: 26 ; มก 8:36 ; ลก 9: 25)

ฟรังซิสเกิดวันที่ 7 เมษายน ค.ศ.1506 บิดาชื่อ Don Juan de Jassu มารดาซื่อ Maria de Alpilcueta มีพี่น้อง 7 คน เป็นคนที่ 2 ถวายตัวเป็นสมาชิกเยสุอิต 15 สิงหาคม ค.ศ.1534 (อายุ 28 ปี) รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1537 (อายุ 31 ปี) หลังจากอดอาหารเตรียมจิตใจ 40 วัน จึงถวายมิสซาแรก

ท่านเป็นเลขาอิกญาซีอุสที่กรุงโรม ต่อมากษัตริย์ John III แห่งประเทศโปรตุเกสขอธรรมทูตเยสุอิตไปทำงานที่อินเดียตะวันออก ท่านฟรังซิสถูกส่งไปพร้อมกับทูตโปรตุเกส โดยเดินทางเป็นเวลา 3 เดือน ข้ามภูเขาแอลป์ และสเปน ไปสู่กรุงลิสบอน โดยเดินทางเป็นระยะทางประมาณ 11,000 ไมล์ทางทะเล ใช้เวลา 13 เดือนจนถึงโมแซมบิก พักจอดเรือที่เมืองกัว ตะวันตกของอินเดีย ซึ่งเป็นศูนย์กลางกิจกรรมของโปรตุเกสทางตะวันออก

เมื่อ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1542 ท่านฟรังซิสได้มุมานะเรียนภาษาท้องถิ่น การพยาบาล การให้กำลังใจผู้ป่วย การเทศน์ และการสอนคำสอนจากเมืองกัว (ประเทศอินเดีย) ฟรังซิสได้เดินทางไปสู่ชายฝั่ง Fishery ใช้เวลา 2 ปีท่ามกลาง ชาวประมงหาไข่มุก เรียนภาษา และสอน (คำสอน) พวกเขาอย่างเอาใจใส่ เป็นเวลาหลายสัปดาห์-เป็นเดือน ก่อนยอมให้รับศีลล้างบาป วิธีการใหม่ของท่านซึ่งพบว่าประสพผลดี คือ ต้องไปตามถนน สั่นกระดิ่งเล็กๆ เมื่อเด็กๆ และแม่ของพวกเขามารวมกัน ท่านจะพาไปวัดและอธิบายความเชื่อ ด้วยความเพียรและด้วยความกระตือรือร้น ท่านนักบุญมักจะพูดว่า “พ่อยอมให้พวกเขาเข้าด้วยประตูของเขาเอง แต่พ่อเห็นว่าพวกเขาออกมาด้วยประตูของพ่อ” ต่อมาก็ไปเยี่ยมตามหมู่บ้านอีก เมื่อมีพระสงฆ์พื้นเมือง ได้รับการฝึกอบรมดีแล้วก็จะทำงานนั้นต่อไป

ในปี ค.ศ.1544 นักบุญฟรังซิสอยู่ที่ศรีลังกา จากนั้นไปมาละกา หมู่เกาะเครื่องเทศ โคชิน ไชน่า บางคนเชื่อว่าท่านไปถึงฟิลิปปินส์ และพบคนหนึ่งหนีมาจากประเทศญี่ปุ่น จึงเดินทางไปที่เกาะนั้น ขึ้นบก ที่กาโกชิมา ภาคใต้ของญี่ปุ่น เมื่อ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1549 พยายามเรียนภาษา ทั้งๆ ที่ได้รับการต่อต้าน

ท่านเทศน์สอนพร้อมอัศจรรย์หลายประการ ทำให้มีผู้มารับความเชื่อ จากนั้น 40 ปี มีสัตบุรุษในญี่ปุ่นประมาณ 400,000 คน

สิ่งที่ฟรังซิสเห็นอารยธรรมจีนในประเทศญี่ปุ่น ทำให้ท่านวางแผนไปประกาศข่าวดี แต่ชาวจีนผู้ได้ สัญญาพาท่านไป Canton ไม่มา ท่านได้รอ 3เดือนไร้ผล ในกระท่อมที่เกาะซานเชียน เขต Canton ได้เป็นไข้และสิ้นใจ วันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 1552 ในปี ค.ศ. 1553 มีผู้พบศพท่านไม่เน่าเปื่อย หลังจากฝัง ได้ 2 เดือนแล้ว จึงนำศพไปเมืองกัว ซึ่งท่านได้รับการเคารพใน Bom Jesus Basillica จนทุกวันนี้

อย่างไรก็ดี แขนขวาของท่านถูกนำไปที่กรุงโรม คุณพ่อมหาอธิการ Claudio Acquaviva (น้ำทรงชีวิต) ตั้งไว้ในวัดพระเยซู (Chiesa de Gesu) นักบุญฟรังซิสได้รับการแต่งตั้งเป็นบุญราศี ปี ค.ศ. 1619 และสมเด็จพระสันตะปาปาเกรโกรี่ ที่ 15 ได้แต่งตั้งเป็นนักบุญ วันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1622

นักบุญฟรังซิสทำงานแพร่ธรรม 10 ปี มากกว่า 50 แห่ง ช่วยคนเป็นล้านแด่พระเจ้า และวางรากฐานงานแพร่ธรรมในทวีปเอเชีย 6 แห่ง พระศาสนจักรจึงแต่งตั้งท่านเป็น อัครสาวกแห่ง Indies องค์อุปถัมภ์ของการประกาศความเชื่อ และธรรมทูตแดนมิสซัง

ข้อคิด “คนนับล้านๆคน อาจจะกลับใจได้อย่างง่ายดาย ถ้ามีนักเทศน์ที่สนใจพระเยซูคริสตเจ้าจริงๆ ไม่ใช่สนใจแต่ตนเอง” (นักบุญฟรังซิส เซเวียร์)

พระสังฆราช วีระ อาภรณ์รัตน์ แปลจาก Saint Companions for each Day, หน้า 457 - 459














 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น