วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2563

พระรูปแม่พระฉวีดำ



          เราอาจรู้จักพระรูปแม่พระฉวีดำแห่งเมืองเชสโตโชวา (Czestochowa) ในประเทศโปแลนด์ เป็นพระรูปที่นักบุญลูกาได้วาดไว้ บนไม้ที่เคยเป็นโต๊ะ พระรูปนี้ดึงดูดผู้แสวงบุญหลายล้านคน
 
และเราอาจจะรู้จักพระรูปแม่พระฉวีดำอีกรูปหนึ่ง ซึ่งอยู่ในโบสถ์ที่ตั้งอยู่บนภูเขาด้านนอกของบาร์เซโลนาที่เรียกว่ามอนต์เซอร์รัต (รูปด้านขวา)
         แต่คุณอาจไม่รู้เกี่ยวกับพระรูปแม่พระฉวีดำอย่างหนึ่ง คือมีพระรูปนี้อย่างน้อย 150 รูปในฝรั่งเศสและ 500 รูปทั่วยุโรป ความมหัศจรรย์ของพระรูปแม่พระฉวีดำนั้นเกินกว่าความคาดหมายเสมอ
 
ในประเทศฝรั่งเศส, ใกล้แม่น้ำ Aude เป็นที่ตั้งของโบสถ์ชื่อ Notre Dame de Marceille ใกล้กับ Limoux ข้างในโบสถ์มีไม้แกะสลักของพระแม่มารีย์ประทับนั่งบนเก้าอี้, ทรงอุ้มพระกุมารเยซูไว้บนตัก พระรูปถูกค้นพบในยุคกลางโดยชาวนาที่กำลังไถนาด้วยวัวของเขา แล้วจู่ๆวัวก็หยุดไม่ยอมขยับ
 
        ชาวนามองดูพฤติกรรมแปลกๆของวัว และมองดูที่พื้นดิน, เขาเห็นบางส่วนของพระรูปที่โผล่ออกมาจากดิน มันเป็นพระรูปแม่พระฉวีดำ เขาจึงขุดดินและนำพระรูปกลับไปไว้ที่บ้าน แต่ในเวลากลางคืน, พระรูปนี้ก็หายไป ต่อมาเขาพบว่าพระรูปกลับไปอยู่ในสถานที่ตอนแรกที่เขาได้พบพระรูป ชาวนานำพระรูปกลับไปไว้ที่บ้านของเขาอีกครั้ง แต่พระรูปก็หายไปและกลับมาอยู่ที่เดิมอีก ด้วยเหตุนี้จึงมีการสร้างโบสถ์ขึ้นบนสถานที่นี้เพื่อประดิษฐานพระรูป
 
          ห้าสิบไมล์ทางฝั่งขวาของแม่น้ำ Tarn ใกล้กับ Albi ในประเทศฝรั่งเศสเป็นที่ประดิษฐาน “พระรูปแม่พระฉวีดำแห่งลาเดรเช่”( Black Madonna of La Dreche) คราวนี้พระรูปแม่พระฉวีดำถูกค้นพบอยู่ในกิ่งไม้และมีภาพปรากฏของนักพรตผู้หนึ่งกำลังคุกเข่าอยู่เบื้องหน้าพระรูปนั้น ผู้คนผ่านมาและเห็นในแบบเดียวกัน, จนกระทั่งภาพนิมิตของนักพรตค่อยๆจางลง แต่ยังคงเหลือพระรูปทำด้วยไม้อยู่ แล้วโบสถ์ก็ถูกสร้างขึ้นบริเวณนี้
 
หลายคนได้รับอัศจรรย์หายจากโรค หลายคนกลับใจสำนึกในบาปของตน
 
ผู้เขียนกล่าวว่าในความเป็นจริง “พระรูปแม่พระฉวีดำสามารถพบได้ทุกที่ตั้งแต่รัสเซียไปจนถึงอเมริกา ทำให้พระรูปหาใช่สิ่งแปลกใหม่ แต่เป็นรูปแบบอย่างหนึ่งของศิลปะที่มีมานานแล้ว”
 
พระรูปแม่พระฉวีดำอาจเป็นภาพวาดหรือเป็นรูปปั้นของพระแม่มารีย์ที่มีสีผิวคล้ำดำทรงอุ้มพระกุมารประทับนั่งบนบัลลังก์ พระรูป ส่วนใหญ่จะสร้างขึ้นในยุคกลาง และมักจะมีการอ้างว่ามีพลังมหัศจรรย์
 
    การกำเนิดของพระรูปที่เป็นสีดำนั้น เป็นเรื่องบังเอิญหรือเปล่า? เพราะควันจากไฟที่ไหม้โบสถ์หรือเป็นควันสีดำจากเทียนใช่ไหมที่ทำให้พระรูปกลายเป็นสีคล้ำ? - ธรรมประเพณีดั้งเดิมของพระศาสนจักรมีคำอธิบายไว้หรือไม่?
 
พระรูปเปลี่ยนเป็นสีเข้มจากเขม่าควันที่มาจากเทียนและ / หรือสีที่ระบายไว้เสื่อมสภาพกลายเป็นสีดำ?
 
ความเข้มของสีในพระรูปที่เกิดขึ้นดูเหมือนเป็นสิ่งที่สวรรค์ต้องการจะแสดงให้เรารู้ถึงลักษณะของผู้หญิงในปาเลสไตน์เมื่อ 2,000 ปีก่อนที่มีผิวคล้ำใช่ไหม์? เหมือนกับพระรูปแม่พระแห่งกัวดาลูเปซึ่งมีสีผิวคล้ำเหมือนผิวมะกอก
 
เขม่าจากควันเทียนอาจเป็นคำอธิบายที่พอมีเหตุผลอยู่บ้าง แต่ทำไมจึงเป็นที่สีผิวเท่านั้นไม่ใช่ทุกส่วนของรูปภาพ (ไม่รวมไปถึงเครื่องแต่งกายด้วย) หรือบางครั้งมีแต่สีผิวของแม่พระเท่านั้นที่เป็นสีคล้ำแต่พระกุมารที่ทรงอุ้มอยู่ไม่เป็นสีดำ
 
            เป็นเพราะสวรรค์ต้องการบอกแก่เราว่า พระนางพรหมจารีย์มารีย์ทรงเป็นแม่ของมนุษย์ทุกเชื้อชาติและทุกสัญชาติใช่ไหม?
 
(เราได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมพระรูปแมพระฉวีดำที่ Czestochowa และ Montserrat และความรู้สึกต่อพระรูปแม่พระฉวีดำในสถานที่เหล่านี้เปรียบได้กับความรู้สึกที่กัวดาลูเปหรือที่ลูรดส์เช่นเดียวกัน)
 
เป็นความลึกลับ? เพื่อปลุกสติปัญญาและจิตสำนึกของเรา อย่างเช่นทำไมบางครั้งพระรูปแม่พระจึงถือคทาของกษัตริย์?
 
ถ้าศึกษาประวัติของพระศาสนจักรคาทอลิกในยุโรปแล้ว คุณจะประหลาดใจกับความลึกลับที่ซ่อนอยู่ในวิธีการที่พระนางพรหมจารีย์มารีย์ทรงกระทำในการก่อตั้งพระศาสนจักรคาทอลิกแห่งยุโรปขึ้นมา ซึ่งได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของคริสตศาสนาที่แพร่กระจายไปทั่วโลก

**************************

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น