วันศุกร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2564

นักบุญพูดถึงการปรากฏพระองค์ครั้งแรกหลังกลับฟื้นคืนชีพ

 

นักบุญวินเซนต์ เฟอร์เรอร์
 
ในการเทศน์วันอีสเตอร์อันทรงพลังของนักบุญวินเซนต์ เฟอร์เรอร์,ท่านกล่าวว่านักเทววิทยาหลายคนได้พิจารณาว่า "หลังจากการฟื้นคืนพระชนม์,พระเยซูคริสต์ทรงปรากฏต่อพระมารดามารีย์เป็นคนแรก ถึงแม้ว่าพระวรสารจะไม่บอกเราเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็ตาม” ท่านนักบุญได้ให้เหตุผลที่น่าเชื่อสามประการว่าทำไมเราควรเชื่อว่าพระเยซูคริสต์ทรงปรากฏต่อพระมารดาของพระองค์เป็นคนแรก
 
“ประการแรก,เพราะพระมารดาทรงทนทุกข์ทรมานมากกว่าคนอื่นๆในพระมหาทรมานของพระบุตรของพระนาง” นักบุญวินเซนต์กล่าว “โดยสิทธิพิเศษ,พระคริสต์ประสูติจากพระมารดาและมิทรงยอมให้พระมารดาทรงเจ็บปวดในเวลาคลอดบุตร…แต่ความเจ็บปวดทั้งหมดของการคลอดบุตรและการตายนั้นเกิดกับพระนางในพระมหาทรมานของพระบุตรของพระนาง เนื่องจากพระคัมภีร์กล่าวว่า ‘จงให้เกียรติแก่บิดา,และอย่าลืมเสียงคร่ำครวญ (จากการคลอดลูก) ของมารดาของเจ้า” (บุตรสิลา 7:29) พระคริสต์ทรงรักษาพระบัญญัติแห่งการให้เกียรติบิดามารดาอย่างสมบูรณ์แบบที่สุด ดังนั้นพระองค์จึงทรงปรากฏพระองค์ต่อพระมารดาเป็นคนแรก,พระมารดาซึ่งขณะนั้นกำลังเป็นทุกข์โศกเศร้ายิ่งกว่าคนอื่นๆทั้งหมด”
 
ในการเทศน์วันอีสเตอร์อีกครั้ง,นักบุญได้อธิบายถึงเหตุผลประการที่สองโดยให้ภาพพจน์ที่สมเหตุสมผล ท่านพูดว่า:
 
“ถ้ามีใครบางคนอยู่ต่างประเทศ,และแม่ของเขาเข้าใจผิดว่าเขาเสียชีวิตไปแล้ว แต่แล้วเขาก็กลับมามีสุขภาพดี เขาจะไปเยี่ยมเพื่อนฝูงก่อนเป็นอันดับแรกและมาเยี่ยมแม่ของเขาเป็นคนสุดท้ายละหรือ? ถ้าทำเช่นนี้,คนนี้ย่อมจะไม่ใช่ลูกชายที่ดีแน่นอนและเขาไม่ได้ ให้เกียรติแม่ของเขาด้วยไม่ใช่หรือ?”
 
แต่พระเยซูเจ้าทรงเป็นลูกชายที่ดีที่สุด, พระองค์ย่อมไม่ทรงกระทำแบบนั้นอย่างแน่นอน
 
เช่นเดียวกับพระสันตปาปายอห์นปอลที่2,นักบุญวินเซนต์ได้ให้เหตุผลอีกประการหนึ่งถึงความเชื่ออันมั่นคงของพระมารดามารีย์ ท่านกล่าวถึงการที่บรรดาอัครสาวกสูญเสียความเชื่อเมื่อเห็นพระมหาทรมานของพระเยซูคริสต์:
 
“มีเพียงพระมารดามารีย์ผู้เดียวเท่านั้น,ในวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์,ที่ทรงมีความเชื่อมั่นคงเสมอไม่คลอนแคลน ด้วยเหตุนี้,พระศาสนจักรจึงให้วันเสาร์เป็นวันเฉลิมฉลองเพื่อเป็นเกียรติแก่พระมารดา ดังที่มีกล่าวในพระคัมภีร์ว่า ‘พระเจ้าทรงสำแดงพระองค์แก่ผู้ที่มีความเชื่อในพระองค์’ (ปัญญาจารย์ 1: 2) เพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณสำหรับความเชื่อของพระมารดา,พระองค์จึงทรงปรากฏแก่พระมารดาก่อนผู้อื่น”
 
เหตุผลประการที่สามคือ “เพราะความรักอันเหลือล้นของพระมารดา”
 
“ไม่เคยมีแม่คนไหนที่รักลูกชายของเธอมากกว่าที่พระมารดามารีย์ทรงรักพระคริสต์” ตามที่พระวรสารยอห์น 14:21 กล่าวว่า:“ผู้ใดที่รักเรา,พระบิดาของเราจะทรงรักเขาและเราจะรักเขาและจะแสดงตัวของเราแก่เขา”
 
“จากเหตุผลทั้งสามนี้เป็นที่ชัดเจนว่าพระคริสตเจ้าทรงปรากฏพระองค์ต่อพระมารดาก่อนผู้อื่นแน่นอน ถึงแม้ว่าผู้นิพนธ์พระวรสารจะไม่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ก็ตาม”
 
นักบุญวินเซนต์กล่าวอีกว่า วิญญาณผู้ศรัทธาผู้ใดก็ตามที่ครุ่นคิดพิจารณาเรื่องนี้อย่างจริงจัง และโดยพระหรรษทานของพระเจ้า,ในขณะหนึ่งเขาจะได้รับรู้ถึงความสุขจากนิมิตที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ในจิตใจของเขา”
 
“พระมารดามารีย์ทรงมั่นใจยิ่งนักว่าพระบุตรของพระนางจะกลับฟื้นคืนชีพขึ้นมาในวันที่สามตามที่พระองค์ตรัสไว้ล่วงหน้า แต่บางทีพระนางอาจไม่รู้ถึงเวลาที่แน่นอนแห่งการกลับฟื้นคืนชีพของพระองค์ เพราะพระวรสารไม่ได้เขียนไว้ว่าพระคริสต์ได้เปิดเผยชั่วโมงแห่งการกลัลบฟื้นคืนชีพของพระองค์ ดังนั้นในคืนนี้พระมารดามารีย์จึงเฝ้ารอการกลับฟื้นคืนชีพของพระบุตรเป็นเวลานาน และพระนางทรงเริ่มคิดว่าพระบุตรจะทรงกลับฟื้นขึ้นมาในชั่วโมงใดหนอ แต่พระนางไม่ทรงทราบเลย หลังจากเตรียมจิตใจและอ่านบทสดุดีแล้ว พระมารดาทรงมองออกไปนอกหน้าต่างและพระนางก็ทรงเห็นรุ่งอรุณแห่งวันใหม่ พระนางทรงรู้สึกมีความสุขและตรัสว่า“เวลานี้ลูกชายของฉันได้กลับฟื้นคืนชีพแล้ว””
 
นักบุญวินเซนต์กล่าวให้เห็นภาพพจน์ว่า เมื่อเวลาที่ทรงปรากฏมา,พระเยซูเจ้าตรัสทักทายพระมารดาของพระองค์ว่า: 'สันติสุขจงมีแด่คุณแม่' พระแม่มารีย์ทรงคุกเข่าลงและร้องไห้ด้วยความปิติยินดีอย่างล้นเหลือ พระนางจูบพระหัตถ์และพระบาทของพระองค์และตรัสว่า: 'โอ,รอยบาดแผลที่ได้รับพร, ซึ่งทำให้แม่เจ็บปวดที่สุดในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์' พระคริสต์ทรงจูบพระมารดาของพระองค์กล่าวว่า:'คุณแม่,จงยินดีเถิด,เพราะจากนี้ไปคุณแม่จะมีแต่เพียงความสุขและการเฉลิมฉลองเท่านั้น '”
 
นักบุญบริจิตต์แห่งสวีเดน
 
ในการเปิดเผยแก่นักบุญบริดเจ็ตแห่งสวีเดนซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนิมิตที่ท่านได้รับได้กล่าวไว้ว่า: “เมื่อวันที่สามมาถึง,ก็สร้างความสับสนและวิตกกังวลให้กับเหล่าอัครสาวก ผู้หญิงที่ไปที่หลุมฝังศพเพื่อเจิมพระศพของพระเยซูได้ตามหาพวกเขาแต่ไม่พบ เหล่าอัครสาวกได้มารวมตัวกันด้วยความกลัวในห้องชั้นบน พวกเขาเฝ้าประตูห้องด้วยกลัวว่าจะมีทหารมาจับพวกเขา จากนั้น,แม้ว่าเราจะไม่ได้รับการบอกกล่าวถึงเรื่องนี้ในพระวรสาร, พระมารดามารีย์ได้ปลอบใจพวกเขาและพูดกับพวกเขาถึงการกลับฟื้นคืนชีพของพระบุตรของพระนาง พระมารดาบอกกับพวกเขาว่า พระเยซูทรงกลับฟื้นขึ้นมาจากความตายแล้วอย่างแท้จริง พระองค์กลับมามีชีวิตอีกครั้งมาอยู่ในท่ามกลางมนุษยชาติทั้งหมด และจะไม่ต้องตายอีกต่อไป ทรงกลับเป็นขึ้นในพระสิริรุ่งโรจน์นิรันดร จากพระวรสาร,เราอ่านพบว่ามารีย์ชาวมักดาลาและอัครสาวกเป็นคนแรกที่เห็นพระคริสต์ผู้ทรงกลับฟื้นคืนพระชนม์ แต่เราอาจเชื่อได้ว่า พระมารดามารีย์ทรงทราบถึงการกลับฟื้นคืนพระชนม์ก่อนคนอื่นๆทั้งหมดและพระมารดาเป็นคนแรกที่ได้เห็นพระคริสต์ และพระนางมารีย์ด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน,ทรงเป็นบุคคลแรกที่กล่าวสรรเสริญและชื่นชมพระคริสต์ผู้ทรงกลับเป็นขึ้นมาจากความตาย”
 
นักบุญอิกนาเชียส แห่งโลโยลา
 
นักบุญอิกนาเชียส แห่งโลโยลาเชื่อเช่นเดียวกัน ในหนังสือการฝึกฝนจิตของท่าน,ในช่วงเริ่มต้นของการใคร่ครวญเรื่องการฟื้นคืนชีพของพระคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา,ท่านเขียนว่า:
 
“แรกสุด,พระองค์ทรงปรากฏต่อพระมารดามารีย์ สิ่งนี้แม้จะไม่ได้กล่าวไว้ในพระคัมภีร์ แต่ก็มีการพูดโดยรวมว่า พระองค์ทรงปรากฏต่อคนอื่นๆมากมาย เพราะพระคัมภีร์คิดว่าเรามีความเข้าใจแล้ว,ตามที่เขียนไว้ว่า ‘ท่านก็ด้วยหรือ,ยังไม่เข้าใจ?’”
 
คุณพ่อจอห์น ฮาร์ดอน(ผู้รับใช้ของพระเจ้า)
 
ในศตวรรษที่ 20 ผู้รับใช้ของพระเจ้าจอห์น ฮาร์ดอน,ผู้ซึ่งพระสันตปาปาเปาโลที่ 6 ได้ขอให้ท่านเขียนหนังสือคำสอนคาทอลิก (1975), มีความเชื่อเช่นนี้เหมือนกัน “ไม่เพียง แต่เป็นความเชื่อเท่านั้นที่ว่า พระผู้ช่วยให้รอดทรงปรากฏต่อพระมารดามารีย์เป็นคนแรกในวันอาทิตย์อีสเตอร์ นักปราชญ์ของพระศาสนจักรไม่น้อยกว่าหกคนก็เชื่อเช่นนี้ เช่น นักบุญอัมโบรส,นักบุญอังเซล์มและนักบุญอัลเบิร์ตมหาราช, ซึ่งเชื่อว่าพระมารดามารีย์เป็นพยานคนแรกของการกลับฟื้นคืนชีพ”
 
คุณพ่อฮาร์ดอนอธิบายเหตุผลหลายประการในเรื่องนี้ ประการหนึ่งตามที่อาจารย์ทางจิตวิญญาณของพระศาสนจักรกล่าวว่าการกลับฟื้นคืนชีพคือการบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการที่พระนางมารีย์ได้รับการแจ้งสาส์น
 
“ในการแจ้งสาส์นต่อพระนางมารีย์, พระนางทรงยอมรับด้วยความเชื่อต่อพระวจนะของพระเจ้า ในการกลับฟื้นคืนพระชนม์,ความเชื่อของพระนางได้รับการตอบแทนด้วยการได้เห็นและสนทนากับพระบุตรผู้ทรงเกียรติของพระนาง” คุณพ่อฮาร์ดอนอธิบาย “ในการแจ้งสาส์น,พระมารดามารีย์เป็นตัวแทนของเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่ยังคงต้องได้รับการไถ่กู้ให้รอด ในการกลับฟื้นคืนชีพพระนางทรงเป็นตัวแทนของเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่ได้รับการไถ่กู้แล้ว”
 
การเชื่อมต่อนี้ยังคงดำเนินต่อไป “ในการแจ้งสาส์น,พระมารดามารีย์กลายเป็นมารดาของพระผู้ไถ่โดยมอบธรรมชาติมนุษย์แด่พระบุตร ธรรมชาติที่พระบุตรได้ถวายแด่พระบิดาด้วยพระองค์เองบนไม้กางเขน ในการกลับฟื้นคืนชีพ,พระมารดามารีย์ได้รับพระองค์ไว้ในอ้อมแขนของพระนางหลังจากที่พระนางได้รับการเป็นพระมารดาแห่งพระศาสนจักรจากพระองค์ที่ภูเขาโกลโกทา” ยิ่งไปกว่านั้น “ในการแจ้งสาส์น,พระมารดามารีย์ยอมรับการร้องขอให้พระนางทนทุกข์กับพระบุตรของพระนางในพันธกิจการไถ่โลกจากบาปของพระคริสต์ ในวันอาทิตย์อีสเตอร์,พระมารดามารีย์ได้แบ่งปันกับพระองค์ด้วยความชื่นชมยินดีในการกลับฟื้นคืนพระชนม์อันรุ่งโรจน์ของพระองค์”
 
ความเชื่อมโยงระหว่างการแจ้งสาส์นและการกลับฟื้นคืนชีพยิ่งลึกซึ้งยิ่งขึ้น คุณพ่อฮาร์ดอนอธิบายว่า:
 
“ในการแจ้งสาส์น,พระมารดามารีย์ได้กลายเป็นจุดเชื่อมระหว่างธรรมชาติมนุษย์ของพระคริสต์และของเราเอง พระนางทรงจัดเตรียมร่างกายให้กับพระคริสต์ซึ่งจำเป็นต้องถวายแด่พระบิดาของพระองค์เพื่อความรอดของเรา ในการกลับฟื้นคืนพระชนม์,พระมารดามารีย์ทำให้ความเชื่อมโยงนี้เสร็จสมบูรณ์โดยร่วมมือกับพระคริสต์ในฐานะคนกลางแห่งพระหรรษทานที่พระองค์ทรงเริ่มแจกจ่ายให้กับครอบครัวมนุษย์ที่ได้คืนสู่มิตรภาพกับพระเจ้าที่เปี่ยมด้วยความเมตตา
 
“ดังนั้นบทบาทของพระมารดามารีย์,ในการกลับฟื้นคืนชีพของพระคริสต์คือการทำให้ภารกิจของพระนางที่ได้รับการแจ้งสาส์นในนาซาเร็ธนั้นสำเร็จสมบูรณ์ พระมารดาแห่งความเศร้าโศกกลายเป็นเหตุแห่งความปิติยินดีของชาวเราซ้ำสองครั้ง - ครั้งแรกเพราะความสุขที่พระนางทรงได้สัมผัสกับการกลับมาพบกันอีกครั้งกับพระบุตรที่ฟื้นคืนพระชนม์คือสัญญาแห่งความสุขที่เราควรประสบบนโลกเมื่อรู้ว่าเราได้ทำตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า
 
“และอีกครั้งหนึ่ง,เพราะความสุขที่พระมารดามารีย์ทรงได้รับในวันอาทิตย์อีสเตอร์คือบทนำสู่ความสุขอันสมบูรณ์แบบที่เราจะได้สัมผัสกับการได้เห็นพระคริสต์ในจิตวิญญาณเมื่อพระองค์เรียกเราเข้าสู่ชีวิตนิรันดรและในร่างกายและจิตวิญญาณหลังจากการฟื้นคืนชีพครั้งสุดท้ายในวันสิ้นพิภพ”
 
คุณพ่อฮาร์ดอนเตือนเราว่า “ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับความเชื่อของเรา เราจะได้รับพร,ที่จัดเตรียมไว้เช่นเดียวกับพระมารดามารีย์ เราเชื่อเช่นเดียวกันว่าสิ่งที่พระเจ้าทรงสัญญาไว้แก่เราจะสำเร็จไป” ดังที่นักบุญยอห์นปอลที่ 2 เทศน์สอนแก่ผู้คนในวันธรรมดาว่า “ในเทศกาลอีสเตอร์,ชุมชนคริสตชนสวดภาวนาถึงพระมารดาของพระเจ้าและเชื้อเชิญให้พระนางชื่นชมยินดีด้วยบทภาวนา:“ Regina Caeli, laetare Alleluia! '(' ราชินีแห่งสวรรค์จงชื่นชมยินดี Alleluia! ') ด้วยเหตุนี้เราจึงระลึกถึงความปิติยินดีของพระมารดามารีย์ในการกลับฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซู 'ความชื่นชมยินดี 'ที่ทูตสวรรค์แจ้งแก่พระนางว่า พระนางจะเป็นสาเหตุแห่ง 'ความสุขอันยิ่งใหญ่' สำหรับมนุษย์ทุกคน”
 
************************ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น