วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2564

การประจักษ์ที่ลิทูเนีย-“แม่พระแห่งชีลูวา”

 


 
จงหันกลับมาสู่พระศาสนจักรคาทอลิก
 
From Catholic Philly:
 
ท่ามกลางความแตกแยกทางศาสนาและสังคม การประจักษ์ของแม่พระซึ่งเป็นที่รู้จักกันน้อยได้มอบความหวังใหม่ในการเยียวยารักษาโลก
 
โจเซฟ โปคอร์นี(Joseph Pokorny),ขณะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการเพลงของโบสถ์เซนต์จอร์จในฟิลาเดลเฟีย ได้ประพันธ์เพลง “แม่พระแห่งชีลูวา”( Our Lady of Šiluva) เพื่อเป็นการระลึกถึงการประจักษ์ของแม่พระในสมัยศตวรรษที่ 17 ที่หมู่บ้านเล็กๆ ในลิทัวเนีย
 
รูปปั้นพระแม่แห่งชีลูวาที่โบสถ์เซนต์จอร์จ เป็นที่ประทับใจโจเซฟ โปคอร์นี มาก (เขาเป็น “ชาวออสเตรีย-ฮังการี) – นอกเหนือจากเพลงสวดของเขาแล้ว เขายังเขียนเพลง “บทเพลงเกี่ยวกับลิทัวเนีย”( “musical cantata all about Lithuania.”)
 
ที่จริงแล้ว ประเทศนี้เป็นประเทศสุดท้ายในยุโรปที่ยอมรับศาสนาคริสต์ ในอดีตประชาชนในประเทศนี้นับถือบูชาเทพเจ้านอกรีตเช่น แปร์กยูนาส (ผู้ชำระความยุติธรรมด้วยการขว้างสายฟ้า) จนถึงปลายศตวรรษที่ 14 บริเวณ Samogitia ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ชิลูวาตั้งอยู่ ได้กลับใจเป็นคาทอลิกจวบมาจนถึงศตวรรษที่ 15
 
โจเซฟ โปคอร์นีพิจารณาถึง "ความเป็นอิสระของจิตวิญญาณลิทัวเนีย" ในขณะเดียวกันก็ประหลาดใจว่าความเชื่อบังเกิดขึ้นในประเทศนั้นได้อย่างไร
 
ในปี ค.ศ. 1457 นักการทูตชาวลิทัวเนีย Peter Gedgaudas ได้สร้างโบสถ์แห่งแรกในเมืองชิลูวา( Šiluva) และในระหว่างที่เขาเดินทางไปกรุงโรม,เขาได้ซื้อภาพวาดพระนางมารีย์ที่กำลังอุ้มพระกุมารเยซูมารูปหนึ่ง อย่างไรก็ตาม อีก 75 ปีต่อมา การปฏิรูปโปรเตสแตนต์ได้แผ่ขยายไปถึงลิทัวเนีย และผู้ว่าราชการของชิลูวาได้นำหลักคำสอนของนักศาสนศาสตร์ปฏิรูปชาวฝรั่งเศสชื่อจอห์น คาลวิน ซึ่งเน้นย้ำเป็นพิเศษถึงหลักคำสอนเรื่องบั้นปลายชีวิตของมนุษย์
 
ชาวคาทอลิกในพื้นที่นั้นถูกปราบปรามมากขึ้นเรื่อยๆ โบสถ์และที่ดินของพวกเขาถูกยึด—แต่ไม่คุณพ่อจอห์น โฮลุบกา พระสงฆ์เจ้าอาวาสของโบสถ์ได้คาดการณ์ไว้แล้ว?นได้ฝังพระรูปแม่พระและพระกุมารนี้ พร้อมกับเครื่องบูชาและเอกสารที่พิสูจน์ว่าที่ดินนั้นเป็นของพระศาสนจักรคาทอลิกซึ่งบรรจุใน กล่องเหล็ก นานถึงแปดทศวรรษที่คริสตศาสนานิกายโรมันคาทอลิกในชิลูวากลายเป็นความทรงจำที่ห่างไกล โดยมีชาวบ้านสูงอายุเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่จำโบสถ์ได้
 

ความทรงจำเหล่านั้นฟื้นคืนชีพขึ้นมาอย่างมากในปี 1608 เมื่อเด็กๆที่เลี้ยงแกะอยู่นอกหมู่บ้านได้เห็นหญิงสาวสวยคนหนึ่งอุ้มทารก เธอร้องไห้อย่างขมขื่นขณะที่อยู่ในแสงสว่างเจิดจ้า จากนั้นเธอก็หายตัวไป และเด็กๆได้ไปบอกเล่าให้ชาวเมือง รวมทั้งศาสนจารย์คาลวินนิสต์ เขาประณามเหตุการณ์ดังกล่าวว่าเป็น “ไสยศาสตร์ของโรมันคาทอลิก”
 
ขณะที่ศาสนจารย์ผู้นี้พูดจาดุฝูงชนที่มาชุมนุมกันที่สถานที่ประจักษ์ ศาสนจารย์ก็ถูกขัดจังหวะด้วยการสะอื้นไห้,การประจักษ์เกิดขึ้นอีกครั้ง คราวนี้ศาสนจารย์ถามสตรีในนิมิตด้วยความตกใจ เขาถึงสาเหตุที่ทำให้เธอหลั่งน้ำตา และเธอตอบว่า “มีครั้งหนึ่งที่องค์พระบุตรสุดที่รักของเราได้รับการเคารพบูชาจากประชาชนของเรา ณ ที่แห่งนี้ แต่บัดนี้พวกเขาได้มอบแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์นี้ให้แก่ชาวนา, คนไถนา และฝูงสัตว์เพื่อแทะเล็มแล้ว”
 
ด้วยความเชื่อว่าพวกเขาถูกพระเจ้าตำหนิเนื่องจากละทิ้งความเชื่อคาทอลิก,ชาวบ้านของชีลูวาจึงเริ่มหันกลับมาสู่พระศาสนจักรคาทอลิก และชายตาบอดสูงอายุคนหนึ่งได้เล่าถึงกล่องเหล็กที่ถูกฝังไว้ และพระรูปพระแม่มารีย์และพระกุมารเยซู, เสื้อศักดิ์สิทธิ์ของพระสงฆ์ และโฉนดที่ดินก็ถูกค้นพบ เช่นเดียวกับสายตาของชายตาบอดก็ได้รับการเยียวยารักษาอย่างอัศจรรย์ด้วย เมื่อถึงปี ค.ศ. 1624,ก็มีการประกอบพิธีมิสซาในโบสถ์หลังใหม่ที่สร้างขึ้นบนพื้นที่ดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมถึง 11,000 คน และในที่สุดก็มีการสร้างโบสถ์ที่ใหญ่กว่าขึ้นอีก
 

โจเซฟ โปคอร์นี ได้ประพันธ์เพลงสวด “Our Lady of Šiluva” พร้อมกับบทเพลงเกี่ยวกับลิทัวเนีย ขณะที่เขาเป็นผู้กำกับเพลงของโบสถ์ St. George Parish ในฟิลาเดลเฟีย (ศูนย์สวดภาวนาคุณพ่อปีโอ)
 
การประจักษ์เองได้รับการประกาศว่าน่าเชื่อถือในพระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยพระสันตะปาปาปิอุสที่ 6 ในเดือนสิงหาคม 1775 และพระรูปแม่พระ "ผู้ปกป้องคุ้มครองประชาชนชาวโรมัน" (Salus Populi Romani) ได้รับการสวมมงกุฎในปีเดียวกัน
 
(ฟังการบันทึกเสียงเพลงสวดของโจเซฟ โพคอร์นีเรื่อง “Our Lady of Šiluva” ร้องโดยโดนัลด์ โฮลเดน)
 
ในช่วงเวลาอันยากลำบากที่คริสตชนคาทอลิกลิทัวเนียต้องเผชิญกับการปราบปรามภายใต้ระบอบซาร์และคอมมิวนิสต์ ในที่สุด,ประเทศก็ได้รับเอกราชจากสหภาพโซเวียตในปี 1990 และในปี 1993 นักบุญพระสันตปาปายอห์น ปอลที่ 2 เป็นพระสันตปาปาองค์แรกที่เสด็จเยือนลิทัวเนีย
 
ระหว่างการเสด็จเยือนนี้,พระสันตะปาปาทรงแสดงความเคารพต่อแม่พระแห่งชิลูวา ทรงแสดงความขอบคุณสำหรับการปกป้องของพระนาง: “ในช่วงหลายปีแห่งความทุกข์ยากลำบากและการทดลองอันยาวนาน เราไม่เคยหยุดมองไปที่ลิทัวเนีย ดินแดนแห่งไม้กางเขน”
 
นอกจากนี้ พระองค์ยังท้าทายชาวลิทัวเนียไม่ให้ “พอใจกับความสงบเพียงผิวเผิน … ซึ่งจำกัดการรับประกันเสรีภาพและการมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตย” โดยไม่ต้องคำนึงถึง “ค่านิยม จริยธรรม (และ) ความหมายของชีวิต”
 
นักบุญพระสันตปาปายอห์น ปอลที่ 2 ทรงกล่าวยกย่องอิสรภาพที่เพิ่งได้รับของลิทัวเนียว่าเป็น “บริบทของความรับผิดชอบอันน่าตื่นเต้นสำหรับชาวคาทอลิก” ซึ่งพวกเขาสามารถ “(แสดงออก) ด้วยชีวิต แทนที่จะใช้คำพูด ความสงบสุขนั้นมั่นคงและต้องยึดไว้ให้มั่น” และ ไม่ “(จมดิ่ง) ลงไปในบึงแห่งความเฉยเมยทางศาสนาและลัทธิปฏิบัตินิยม”
 
***
 
บทเพลง “แม่พระแห่งชีลูวา”
โดย Joseph F.M. Pokorny
 
วันหนึ่งในฤดูร้อน ขณะดูแลแกะของพวกเขา
เด็กๆกำลังเล่นและได้ยินเสียงใครบางคนร้องไห้
แม่พระที่ยืนอยู่บนโขดหินนั้นอ่อนโยนที่สุด
น้ำตาแห่งความเศร้าโศกร้องไห้ขณะทรงอุ้มพระกุมารเยซู,พระบุตรของพระนาง
แม่พระแห่งชีลูวา,
ลูกมอบหัวใจของลูกแด่พระแม่.
ดุจดังเปลวเทียน
ขอให้มันส่องแสงในความมืด
ด้วยความเชื่อที่ลึกซึ้งและบริสุทธิ์
ด้วยความรักแท้จริงต่อพระบุตร
โปรดพาลูกกลับบ้านเมื่อลูกหลงทาง
พาลูกทุกคนกลับบ้าน
แม่พระแห่งชีลูวา,
พระแม่มารีย์และองค์พระบุตร
ลูกคุกเข่าและวอนขอ
พระแม่ผู้เมตตาและอ่อนโยนที่สุด
ดุจดังดวงดารา, พระแม่จะทรงนำทางลูกไหม
ถ้าลูกตาบอดไปโปรดช่วยทำให้ลูกเห็น!
สมบัติของลูกคือพระเยซูชั่วนิรันดร์, นิรันดร
วันหนึ่งในฤดูร้อน ขณะดูแลแกะของพวกเขา
เด็กๆกำลังเล่นและได้ยินเสียงใครบางคนร้องไห้
แม่พระที่ยืนอยู่บนโขดหินนั้นอ่อนโยนที่สุด
น้ำตาแห่งความเศร้าโศกร้องไห้ขณะทรงอุ้มพระกุมารเยซู,พระบุตรของพระนาง
 


************************ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น