นี่เป็นหนึ่งในเรื่องราวที่สร้างแรงบันดาลใจมากที่สุดเกี่ยวกับการเป็นมรณะสักขีระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส
มีนักบวชหญิงถูกตัดสินประหารชีวิตเนื่องจากซื่อสัตย์ภักดีต่อพระแท่นบูชาและราชบัลลังก์ พวกเขาเดินเป็นขบวนขึ้นไปบนแท่นสำหรับประหารชีวิต,และร้องเพลงเพื่อรับมงกุฎแห่งความรุ่งโรจน์ ซิสเตอร์แต่ละคนคุกเข่าต่อหน้าคุณแม่อธิการของพวกเขา,ขออนุญาตเป็นมรณสักขี
การปฏิวัติฝรั่งเศสไม่สามารถล้างมือสำหรับอาชญากรรมนี้และอาชญากรรมอื่นๆอีกมากมายที่ได้ก่อขึ้นจากน้ำมือของมัน และไม่อาจหยุดยั้งแสงสว่างแห่งความรุ่งโรจน์ของเหล่าซิสเตอร์เหล่านี้ไม่ให้ส่องแสงไปทั่วโลก
มรณสักขีแห่งแคมเพนจ์มีทั้งหมด 16 คน เป็นผู้ที่อยู่ในคณะคาร์เมลไลท์แห่งแคมเพนจ์,ประเทศฝรั่งเศส: แบ่งเป็นซิสเตอร์คาร์เมไลต์ 11 คน ซิสเตอร์ฆราวาส 3 คน และซิสเตอร์ที่อยู่ภายนอก อาราม 2 คน พวกเขาถูกตัดสินให้ประหารชีวิตด้วยกิโยติน,ในช่วงปลายยุคสมัยแห่งความหวาดกลัว ในกรุงปารีสเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 1794 และได้รับความเคารพนับถือในฐานะมรณสักขีของพระศาสนจักรคาทอลิก สิบวันหลังจากการประหารชีวิตของพวกเขา,แมกซีมีเลียน โรเบสปีแอร์เองก็ถูกประหารชีวิตด้วย เป็นการสิ้นสุดยุคสมัยแห่งความหวาดกลัว เรื่องราวของซิสเตอร์เหล่านี้เป็นแรงบันดาลใจให้กับนักเขียนนวนิยาย,การสร้างภาพยนตร์โทรทัศน์ และการแสดงบนเวทีโอเปร่า โดยนำมาจากบทประพันธ์ชื่อ Dialogues of the Carmelites เขียนโดย นักแต่งเพลงชาวฝรั่งเศส Francis Poulenc
ตามที่นักเขียนวิลเลียม บุช,จำนวนของมรณสักขีในคริสต์ศาสนาเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงปีแรกๆ ของการปฏิวัติฝรั่งเศส คริสตชนหลายพันคนถูกสังหารด้วยกิโยติน หรือไม่ก็ถูกเนรเทศออกนอกประเทศ,ถูกฆ่าด้วยการจมน้ำ,ถูกจำคุก,ถูกยิง ในปี ค.ศ. 1790 รัฐบาลปฏิวัติฝรั่งเศสได้ผ่านรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับคณะสงฆ์ซึ่งทำให้การดำเนินชีวิตทางศาสนาเป็นสิ่งผิดกฏหมาย
คณะนักบวชหญิงคาร์เมไลท์แห่งแคมเพนจ์ อยู่ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส ห่างจากปารีสไปทางเหนือ 72 กม. ก่อตั้งขึ้นในปี 1641 เป็นอารามในเมืองอาเมียง คณะเติบโตอย่างรวดเร็ว และ "มีชื่อเสียงในด้านความเชื่อและความจงรักภักดี" คณะได้รับการสนับสนุนจากศาลฝรั่งเศสตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งถูกขัดขวางโดยการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อพระศาสนจักรคาทอลิกไม่นานหลังจากวันแห่งการพังคุกบาสติลในวันที่ 4 สิงหาคม 1790 เจ้าหน้าที่ของรัฐพร้อมทหาร ได้บุกเข้ามาในคอนแวนต์ในแคมเพนจ์ และบังคับให้พวกเขาเลือกระหว่างการฝ่าฝืนคำสาบานหรือเสี่ยงต่อการลงโทษ พวกเขาทั้งหมดปฏิเสธที่จะละทิ้งชีวิตแห่งการนบนอบเชื่อฟัง,การถือพรหมจรรย์,และความยากจน พวกเขาได้รับอนุญาตให้พักที่คอนแวนต์ ซึ่งได้กลายเป็นสถานพยาบาลของรัฐ และมีสิทธิได้รับเงินอัดหนุนจากรัฐบาล รัฐบาลปฏิวัติในปลายปี 1791 กำหนดให้พระสงฆ์ทุกคนสาบานตนว่าจะสนับสนุนรัฐธรรมนูญมิฉะนั้นก็เสี่ยงต่อการสูญเสียเงินอุดหนุนและกลายเป็นคนยากจน ในวันอีสเตอร์ในปี ค.ศ. 1792 รัฐบาลได้ปล้นโบสถ์และขัดขวางการปฏิบัติศาสนกิจ มันเป็นเทศกาลอีสเตอร์ครั้งสุดท้ายที่บรรดาซิสเตอร์ได้เฉลิมฉลองที่แคมเพนจ์ คุณแม่เทเรซาแห่งเซนต์ออกัสติน คุณแม่อธิการของคอนแวนต์ แนะนำให้พวกเขายอมรับการประหารชีวิต และถวายตัวเป็นยัญบูชาเพื่อฝรั่งเศสและพระศาสนจักรในฝรั่งเศส ตัวคุณแม่อธิการเองเกือบพลาดการมีส่วนร่วมในการสละชีวิตที่ท่านเป็นผู้เสนอ เพราะท่านต้องกลับไปที่บ้านของครอบครัวของท่านในปารีสเพื่อดูแลแม่ที่แก่ชราและเป็นม่าย ท่านกลับมาที่แคมเพนจ์ สี่วันก่อนที่พวกเขาจะถูกประหารชีวิตและท่านถูกจับพร้อมกับซิสเตอร์คนอื่นๆ
ในเดือนสิงหาคม 1792 รัฐบาลได้สั่งปิดอารามนักบวชหญิงทั้งหมด วันที่ 12 กันยายน,ทางการทำการยึดและรื้อถอนเครื่องเรือนของคอนแวนต์แคมเพนจ์ และซิสเตอร์ทั้งหมดถูกบังคับให้ออกจากคอนแวนต์และกลับบ้านเข้าสู่ชีวิตในโลกอีกครั้ง ในวันที่ 14 กันยายน ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของอารามที่กักขังของพวกเขา คุณแม่เทเรซาเตรียมการสำหรับซิสเตอร์ 20 คนที่อาศัยอยู่ในคอนแวนต์ในเวลานั้นเพื่อซ่อนตัวอยู่ในเมือง,ในอพาร์ตเมนต์สี่ห้องแยกกันและหาเสื้อผ้าพลเรือนให้พวกเขาสวมใส่ เนื่องจากการแต่งกายตามเครื่องแบบทางศาสนาเป็นสิ่งผิดกฎหมาย พวกเขาพึ่งพาความช่วยเหลือของเพื่อนๆและ "ยังคงสวดภาวนาตามกฏของคณะอย่างกล้าหาญ" แม้จะมีคำสั่งห้ามจากรัฐบาลก็ตาม
ในปี ค.ศ. 1794 หลังจากที่ความหวาดกลัวเริ่มต้นขึ้น รัฐบาลได้ตรวจค้นห้ององซิสเตอร์เป็นเวลาสองวัน พวกเขาพบจดหมายที่เปิดเผย "การต่อต้าน" ของพวกเขาต่อการปฏิวัติ ซึ่งรวมถึงความเป็นศัตรูต่อการปฏิวัติ ความเห็นอกเห็นใจอย่างแรงกล้าต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และหลักฐานว่าพวกเขายังคงดำเนินชีวิตในฐานะนักบวชหญิง พวกเขายังพบจดหมายสองฉบับที่เขียนโดย Mulot de la Ménardière ถึงลูกพี่ลูกน้องของเขา,ซิสเตอร์ยูเฟรเซียแห่งแม่พระปฏิสนธินิรมล ซึ่งมีคำวิจารณ์ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการปฏิวัติ Mulot ถูกกล่าวหาว่าช่วยเหลือซิสเตอร์ เขาถูกจับกุมคุมขังพร้อมกับบรรดาซิสเตอร์ วันที่ 22 มิถุนายน ซิสเตอร์สองท่านและ Mulot ถูกจับกุมและขังไว้ในอดีตคอนแวนต์ของคณะเยี่ยมเยือน(Visitation) ซึ่งเป็นคุกชั่วคราวสำหรับนักโทษการเมืองในแคมเพนจ์ วันที่ 10 กรกฎาคม 1794 พวกเขาถูกย้ายไปที่เรือนจำ Conciergerie ในปารีสเพื่อรอการพิจารณาคดี ซิสเตอร์ถอดชุดพลเรือนและสวมใส่ชุดของคณะขณะอยู่ในคุก
เรือนจำ Conciergerie ในปารีส
ในระหว่างการพิจารณาคดีเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 1794 ซึ่งพวกเขาไม่ขอรับที่ปรึกษาทางกฎหมาย ซิสเตอร์แมรี-เฮนเรียตตา,เรียกร้องอัยการให้นิยามคำว่า "คลั่งไคล้" ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อหาที่พวกเขากล่าวหา เธออ้างว่าเธอไม่รู้ว่าคำนั้นหมายถึงอะไร พวกเขายอมรับคำนิยามของคำว่า”ความคลั่งไคล้”ของพวกเขาเนื่องมาจากศาสนาของพวกเขา ซึ่งทำให้พวกเขาตกเป็น"อาชญากรและผู้ทำลายล้างเสรีภาพสาธารณะ" คุณแม่เทเรซาอ้างความรับผิดชอบอย่างเต็มที่ในข้อหาเป็นนักปฏิวัติและคลั่งศาสนา พร้อมปกป้องและยืนกรานในความบริสุทธิ์ของผู้อื่น ซิสเตอร์ทั้ง 16 คน พร้อมด้วยมูโลต์ ถูกตัดสินประหารชีวิต มีอยู่ช่วงหนึ่ง ระหว่างรอรถรับ-ส่งจากคอนเซียร์เชอรีไปยังที่เกิดเหตุ ซิสเตอร์เซนต์หลุยส์ หนึ่งในซิสเตอร์,หลังจากปรึกษากับคุณแม่เทเรซาแล้ว,เธอแลกห่อขนสัตว์ที่เธอเป็นเจ้าของสำหรับช็อกโกแลตหนึ่งถ้วยให้บรรดาซิสเตอร์ได้ดื่มเพื่อให้มีแรงขึ้นหลังจากที่ไม่ได้กินอะไรมาทั้งวัน พวกเขาถูกจับกุมคุมขังอยู่ 26 วันระหว่างรอการประหารชีวิต
การประหารชีวิต
ในคืนวันที่ 17 กรกฎาคม 1794 ซิสเตอร์ถูกขนส่งไปตามถนนในกรุงปารีสด้วยเกวียนแบบเปิด ซึ่งเป็นการเดินทางที่ใช้เวลาสองชั่วโมง ในช่วงเวลานั้น พวกเขาร้องเพลง "สดุดี" รวมทั้งเพลง Miserere, Salve Regina, บทสวดเวลาเย็น และ Compline แหล่งข้อมูลอื่นระบุว่าพวกเขาร้องเพลง Office of the Dead, Vespers, Compline ประชาชนที่มาดูตะโกนด่า,ดูถูกและขว้างปาสิ่งของใส่พวกเขา ระหว่างรอการประหาร ผู้หญิงคนหนึ่งจากฝูงชนยื่นน้ำให้ซิสเตอร์คนหนึ่ง แต่ซิสเตอร์แมรี-เฮนเรียตตาห้ามไม่ให้ซิสเตอร์คนนั้นรับ โดยกล่าวว่าจะทำลายความเป็นหนึ่งเดียวกันและสัญญาว่าจะดื่มเมื่ออยู่ในสวรรค์ ฝูงชนมาชุมนุมกันตามปกติที่ Place du Trône Renversé (ปัจจุบันเรียกว่า Place de la Nation) สถานที่ประหารชีวิต,เพื่อดู แต่บรรดาซิสเตอร์ไม่แสดงความกลัวและให้อภัยผู้ประหารพวกเขา เพลงสุดท้ายที่ซิสเตอร์ร้องคือเพลงสดุดี 116 " Laudate Dominum " ซิสเตอร์คอนสแตนผู้เป็นซิสเตอร์สุดท้องของกลุ่มและเป็นคนแรกที่เสียชีวิต เธอเริ่มสวด,และถูกตัดศีรษะโดยใบมีดกิโยติน ซิสเตอร์แต่ละคนเข้าร่วมกับเธอและถูกสังหารในลักษณะเดียวกัน
ฝูงชนเริ่มเงียบเมื่อซิสเตอร์แต่ละคนคุกเข่าต่อหน้าคุณแม่เทเรซา,จูบรูปปั้นของพระแม่มารีย์ที่ท่านถืออยู่ในมือ,และขออนุญาตจากท่านเพื่อเป็นมรณสักขี หลังจากดูบรรดาซิสเตอร์เสียชีวิต,ท่านก็เป็นคนสุดท้ายที่จะเอาศีรษะไปวางไว้ใต้กิโยติน ซิสเตอร์แต่ละคนคุกเข่าและสวดภาวนาบท "Veni Creator Spiritus" ก่อนการประหารชีวิต "ตามประเพณี" แต่ละคนจะประกาศทบทวนคำสาบานของศีลล้างบาปและคำปฏิญาณของนักบวช ซิสเตอร์ชาร์ล็อตต์ ซึ่งเป็นซิสเตอร์คนโตอายุ 78 ปี เดินด้วยไม้ยันรักแร้และไม่สามารถยืนขึ้นและออกจากเกวียนได้เพราะมือของเธอถูกมัดไว้และซิสเตอร์คนอื่นๆไม่สามารถช่วยเธอได้ ในที่สุด,ทหารยามก็จับเธอไว้ในอ้อมแขนของเขาแล้วโยนเธอลงที่ถนน เธอนอนคว่ำหน้าลงบนหินทางเท้า,เธอนิ่งเงียบไป ขณะที่ฝูงชนประท้วงการที่ทหารกระทำต่อเธอ เธอขยับตัว,เงยหน้าที่เปื้อนเลือด และขอบคุณทหารอย่างอบอุ่นที่ไม่ฆ่าเธอ "ด้วยเหตุนี้ เธอจึงไม่ได้รับส่วนแบ่งในการเป็นพยานอันรุ่งโรจน์ของบรรดาซิสเตอร์ในคณะเบื้องพระพักตร์พระเยซูคริสต์" ซิสเตอร์แมรี-เฮนเรียตตายืนเคียงข้างคุณแม่อธิการของเธอจนกระทั่งถึงคราวที่เธอจะตาย โดยช่วยพยุงซิสเตอร์อีก 14 คนปีนบันไดแท่นประหารก่อนที่เธอจะเป็นผู้ปีนขึ้นเอง และเป็นคนสุดท้ายของกลุ่มนี้ที่เสียชีวิต คุณแม่เทเรซาเสียชีวิตเป็นคนสุดท้าย
ไม่มีซากศพของมรณสักขีแห่งแคมเพนจ์,เพราะศีรษะและร่างกายของพวกเขาถูกฝัง พร้อมกับเหยื่ออีก 128 คนที่ถูกประหารชีวิตในวันนั้น ในหลุมทรายลึก 30 ฟุตในสุสานปิกปัส สถานที่ฝังศพของพวกเขา ตั้งอยู่ที่ด้านหลังของสุสาน มีสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดใหญ่สองแห่งที่ปกคลุมไปด้วยกรวด ศีรษะและลำตัวของคน 1,306 คนที่ถูกกิโยตินที่ Place de la Nation ระหว่างวันที่ 13 มิถุนายนถึง 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2337 ถูกฝังไว้ที่นั่น ชื่อของพวกเขา รวมทั้ง มรณสักขีแห่งแคมเพนจ์ทั้ง 16 คนและ Mulot de la Ménardière ถูกจารึกไว้บนแผ่นหินอ่อนที่ปกคลุมผนังของโบสถ์ใกล้เคียง
หน้าต่างกระจกสีในโบสถ์ Saint-Honoré d'Eylau Church ในปารัส
รูปภาพซิสเตอร์คาร์เมลไลท์แห่งแคมเพนจ์กำลังถูกตัดศีรษะด้วยกิโยติน รูปนำมาจาก Louis David, O.S.B., 1906
************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น