วันเสาร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2566

การทรมานกายเพื่อเอาชนะตนเอง

 

โดย Father John Bartunek
 
คุณพ่อจอห์นที่รัก "การทรมานกายเพื่อเอาชนะตนเอง" คืออะไร และเกี่ยวข้องกับการเทศกาลมหาพรตอย่างไรคะ? นักบุญเปาโลหมายถึงอะไรใน 1 โครินธ์ 9:27 ที่ท่านกล่าวว่า “ข้าพเจ้าเคร่งครัดต่อร่างกายเพื่อบังคับให้ร่างกายอยู่ใต้อำนาจของข้าพเจ้า…” เขากำลังพูดถึงการทรมานร่างกายเพื่อเอาชนะตัวเองใช่ไหม?
 

รากศัพท์ของคำว่า “mortification”(การทรมานกายเพื่อเอาชนะตนเอง) มาจากภาษาละติน mors และ mortis ซึ่งแปลว่า “ความตาย” ดังนั้น ในชีวิตฝ่ายวิญญาณ การเอาชนะตนเองจึงหมายถึงการกระทำโดยสมัครใจซึ่งเราค่อยๆ “ประหาร” ความชั่วร้ายทั้งหมดของเราซึ่งคือนิสัยที่ชอบทำบาป นักเขียนแนวชีวิตจิตใช้คำต่างๆ เช่น การปฏิเสธ การสละตนเอง การละทิ้งตนเอง และการปฏิเสธตนเอง เพื่อพูดถึงสิ่งเดียวกัน
 
พระเยซูตรัสเกี่ยวกับการทรมานกายเพื่อเอาชนะตนเองว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเติบโตมีวัยวุฒิของคริสตชน นี่คือข้อความที่เป็นที่รู้จักกันดี: 
“ถ้าผู้ใดอยากติดตามเรา ก็จงเลิกนึกถึงตนเอง จงแบกไม้กางเขนของตนทุกวันและติดตามเรามา” (ลูกา 9:23) 
“เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าเมล็ดข้าวไม่ได้ตกลงในดินและตายไป มันก็จะเป็นเพียงเมล็ดเดียวเท่านั้น แต่ถ้ามันตาย มันก็จะบังเกิดผลมากมาย” (ยอห์น 12:24) 
“ผู้ใดใคร่รักษาชีวิตของตนให้รอดพ้น จะต้องสูญเสียชีวิตนั้น แต่ถ้าผู้ใดเสียชีวิตของตนเพราะเห็นแก่เราและเพื่อข่าวดี ก็จะรักษาชีวิตได้” (มาระโก 8:35)
 
นักบุญเปาโลเน้นย้ำอยู่เสมอถึง “แนวปฏิบัติที่ดีที่สุด” ของชีวิตฝ่ายวิญญาณ นอกจากข้อความที่คุณพูดถึงในคำถามของคุณแล้ว ยังมีคำกล่าวอื่นๆอีกบางส่วน: 
“…ดังนั้น ท่านทั้งหลายก็เช่นกัน ต้องถือว่าท่านตายจากบาปแล้ว แต่มีชีวิตอยู่เพื่อพระเจ้าในพระคริสตเยซู” (โรม 6:11) 
“ท่านจงถอดสภาพมนุษย์เก่า [เราอาจพูดว่า “ประหารชีวิต] เลิกประพฤติเลวทรามตามราคตัณหาที่หลอกให้หลงไป จงมีจิตใจและความรู้สึกนึกคิดอย่างใหม่ จงสวมใส่สภาพมนุษย์ใหม่ซึ่งพระเจ้าทรงเนรมิตให้เหมือนพระองค์ มีความชอบธรรมและความศักดิ์สิทธิ์ที่มาจากความจริง” (เอเฟซัส 4:22-24) 
“…พวกเราก็เช่นเดียวกัน เมื่อมีพยานจำนวนมากห้อมล้อมอยู่ เราจงละทิ้งทุกสิ่งที่ถ่วงอยู่และบาปที่เกาะแน่น เราจงมีมานะวิ่งต่อไปในการแข่งขันซึ่งกำหนดไว้สำหรับเรา” (ฮีบรู 12:1 – หมายเหตุ: นักวิชาการหลายคน มั่นใจว่าหนังสือฮีบรูไม่ได้เขียนโดยนักบุญเปาโล แต่พ่อได้รวมข้อความอ้างอิงนี้ไว้ด้วยเพื่อความสะดวก)
 
อาจดูเหมือนเกินความจำเป็นในการระบุข้อความอ้างอิงจำนวนมาก (และมีอีกมากมาย) แต่พ่อทำเช่นนั้นเพราะนี่เป็นแนวคิดที่ยากสำหรับเราที่จะยอมรับ วัฒนธรรมฆราวาสตามคำนิยามแสวงหาสวรรค์บนแผ่นดิน ตามกรอบความคิดนั้น ความทุกข์ทรมานใดๆก็ตามเป็นสิ่งไร้ค่าและเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงนั้น เป็นความคิดที่ห่างไกลจากแบบแผนแห่งนิยามความตายต่อบาปของคริสตชน (โดยการปฏิเสธตนเองด้วยความสมัครใจ) ซึ่งเป็นหนทางสู่ชีวิตที่แท้จริง
 
ในสาส์นหนึ่งของพระสันตะปาปาเบเนดิกต์สำหรับเทศกาลมหาพรต พระองค์อธิบายเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังเสาหลักแห่งจิตวิญญาณของคริสตชนว่า: "การเลือกด้วยจิตใจอิสระ ละทิ้งจากความเพลิดเพลินในอาหารและสิ่งของทางวัตถุอื่นๆช่วยให้สาวกของพระคริสต์ควบคุมความอยากตามธรรมชาติซึ่งอ่อนแอเพราะบาปกำเนิด บาปซึ่งมีผลในทางลบต่อมนุษย์ทั้งมวล”
 
กล่าวอีกนัยหนึ่ง เนื่องจากพระเจ้าทรงเลือกที่จะไถ่กู้ธรรมชาติของมนุษย์ที่ตกต่ำสู่บาปของเรา และให้พระหรรษทานของพระองค์ได้เข้าสู่วิญญาณที่บอบช้ำ,เอาแต่ใจตัวเอง,และทำบาป และค่อยๆเปลี่ยนแปลงพวกเรา (ระลึกถึงคำอุปมาของพระเยซูเรื่องเชื้อแป้ง). แต่เนื่องจากเรามีจิตใจอิสระ,เป็นสิ่งสร้างฝ่ายจิต(ไม่ใช่แค่กระรอกที่ขับเคลื่อนกรงตามสัญชาติญาณ) เราจึงต้องร่วมมือกับพระองค์ด้วยจิตใจอิสระในเรื่องคุณธรรมแห่งการทรมานกายเพื่อเอาชนะตนเองเพื่อให้ชีวิตฝ่ายจิตพัฒนาอย่างเต็มที่ วิธีหนึ่งที่เราทำเช่นนี้คือการปฏิเสธความสุขบางอย่างที่ไม่เป็นบาปในตัวเองอย่างเสรี เช่น ไม่ฟังวิทยุในช่วงสามนาทีแรกของการเดินทางครึ่งชั่วโมง ถวายความเงียบเป็นการใช้โทษบาป และอาจใช้เวลานั้นเพื่อสวดภาวนา เมื่อเราทำเช่นนั้น เราเรียนรู้ที่จะควบคุมความโน้มเอียงของเราที่จะแสวงหาความสุขและแสวงหาตนเอง เราฝึกจิตใจให้เชื่องเพื่อให้เกิดผลดีมากมาย เหมือนม้าที่ถูกฝึกจนเชื่องซึ่งตรงข้ามกับม้าป่า การควบคุมตนเองนี้ช่วยสร้างระเบียบและสร้างความสงบสุขภายในจิตใจ เพื่อให้เราสามารถได้ยินและตอบสนองต่อการกระทำของพระเจ้าในชีวิตของเราได้ดีขึ้น การปฏิเสธตนเองนั้นไม่มีวันสิ้นสุดในตัวมันเอง แต่เป็นวิธีที่ทำให้เราเป็นผู้ติดตามพระคริสต์ได้ดีขึ้น
 
นักเขียนแนวชีวิตจิตได้ใช้ภาพพจน์มากมายเพื่ออธิบายคุณค่าของการปฏิเสธตนเอง ลองนึกภาพเหยือกที่เต็มไปด้วยน้ำส้มสายชูที่เปรี้ยวมากๆ คุณต้องการที่จะเติมมันด้วยน้ำผึ้งหวาน ขั้นแรก คุณต้องเทน้ำส้มสายชูออก จากนั้นจึงขัดถูด้านในขวด แล้วจึงใส่น้ำผึ้งลงไป เพื่อจะได้รับพระหรรษทานมากมายที่พระเจ้าประสงค์จะประทานแก่เรา เราต้องเทน้ำออกและขัดถูจิตใจและความคิดของเราทุกซอกทุกมุม มิฉะนั้น พระหรรษทานจะเข้าไม่ถึง ลองนึกถึงสวน (เหมือนในคำอุปมาของพระเยซู เรื่องผู้หว่าน) ดินคือธรรมชาติของมนุษย์ที่ตกต่ำ เต็มไปด้วยหญ้าพิษ (ความชั่วร้าย ความโน้มเอียงที่เห็นแก่ตัว บาดแผลทางจิตใจและอารมณ์…) พระเจ้าเสด็จมาและปลูกเมล็ดพันธุ์แห่งพระหรรษทาน เมล็ดพันธุ์แห่งคุณธรรมทั้งหมดของคริสตชน เรารดน้ำเมล็ดพันธุ์เหล่านั้นโดยการสวดภาวนาและการรับศีลมหาสนิท แต่เราต้องถอนวัชพืชด้วย (และบางต้นก็มีรากที่ลึกมาก) มิฉะนั้นพวกมันจะขัดขวางการเจริญเติบโตของพระหรรษทาน และท้ายที่สุด,คุณธรรมของเราจะดูเหมือนต้นคริสต์มาสของชาร์ลี บราวน์
 
ตอนนี้มาปฏิบัติกัน สิ่งนี้เกี่ยวข้องกับเทศกาลมหาพรตหรือไม่? พระศาสนจักรเป็นแม่ที่ฉลาด เธอรู้ว่าเราชอบกินมากกว่าอดอาหาร ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ แต่เธอก็รู้เช่นกันว่าหากเราไม่อดอาหาร (ฝึกการปฏิเสธตนเอง) เราจะสูญเสียรูปร่างฝ่ายวิญญาณอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเธอจึงสร้างฤดูกาลบางอย่างในปีพิธีกรรมเมื่อเราให้ความสำคัญกับชีวิตฝ่ายวิญญาณของเรามากกว่าปกติเล็กน้อย - วันและฤดูกาลสำนึกผิดเช่นเทศกาลมหาพรตนี้ ดังนั้น การจำศีลอดอาหาร (การทรมานกายในรูปแบบหนึ่ง การปฏิเสธตนเองโดยสมัครใจ) ถือเป็นเรื่องปกติของการจำศีลอดอาหารของชาวคาทอลิกทุกคน มันทำให้เรามีรูปร่างที่ดีสำหรับวันที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของปี - วันพฤหัสบดีศักดิ์สิทธิ์ถึงวันอาทิตย์อีสเตอร์
 
เราแต่ละคนควรเลือกรูปแบบของการปฏิเสธและเอาชนะตนเอง (บางสิ่งที่เราทำได้ แต่ไม่ใช่สิ่งที่หนักเกินไปหรือสร้างความว้าวุ่นใจให้กับเรา – ควรเป็นสิ่งที่มีความสมดุลและสมจริงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับชีวิตทางวิญญาณที่แข็งแรง) ด้วยวิธีนี้ เราสามารถรวมความพยายามฝ่ายจิตที่เพิ่มขึ้นของเรากับพี่น้องคาทอลิกของเราทั่วโลก ทำให้เทศกาลนี้เป็นกิจกรรมของครอบครัวอย่างแท้จริง ให้เราเดินไปด้วยกันกับพระเยซูในทะเลทราย ที่ซึ่งพระองค์ใช้เวลา 40 วันในการจำศีลอดอาหาร เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจสาธารณะของพระองค์...
 
ในพระคริสต์
 
คุณพ่อจอห์น บาร์ทูเนค 
Father John Bartunek
 
****
 
รูปภาพนักบุญSan Francisco meditando de rodillas(นักบุญฟรังซิสกำลังคุกเข่าพินิจใคร่ครวญ) วาดโดย El Greco, ca 1586-1592
 
************************
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น