วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

เห็นแต่ไมเชื่อ

 


เมื่อคุณได้เห็นอัศจรรย์ด้วยตาของคุณเอง,คุณจะเชื่อในพระเจ้าไหม? มีผู้ที่ไม่เชื่อในพระเจ้าคนหนึ่งที่ได้เห็นอัศจรรย์แล้วแต่ก็ยังไม่เชื่อ นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของคนประเภทนี้
 
เอมิล โซลา(Emil Zola) เป็นนักประพันธ์ชาวฝรั่งเศสยุคปลายศตวรรษที่ 19 เขาเป็นหนึ่งในผู้ที่อาจเรียกได้ว่ายึดถือ “ลัทธิวิทยาศาสตร์” อย่างเหนียวแน่น  พระสงฆ์ชั้นสูงบางองค์ในพระศาสนจักรของฝรั่งเศสสมัยศตวรรษที่ 19 ทำให้โซลากลายเป็นศัตรูกับโรมันคาทอลิก ช่วงต้นทศวรรษ 1890 ชื่อเสียงของเขาถึงจุดสูงสุด เขาได้เริ่มเขียนนวนิยายต่อต้านพระสงฆ์อย่างหยาบคายหลายเรื่อง เขาปฏิเสธการดำรงอยู่ของพระเจ้า
 
โซล่าสนใจในเด็กหญิงอายุ 18 ปีชื่อมารี ลามาชาน(Marie Lemarchand) ซึ่งป่วยด้วยโรคสามโรคที่ดูเหมือนจะไม่มีทางรักษาไม่หาย ได้แก่ โรคลูปัสระยะลุกลาม, วัณโรคปอด, และแผลที่ขาขนาดเท่ามือผู้ใหญ่
 
โซล่าบรรยายถึงใบหน้าของหญิงสาวระหว่างทางไปเมืองลูร์ดว่า เธอถูกโรคลูปัสกัดกิน: “ทั้งหมดนี้เป็นมวลสสารที่บิดเบี้ยวจนน่าตกใจและมีเลือดไหลซึม” ที่ลูรดส์,เด็กหญิงเข้าไปในห้องอาบน้ำและหายจากโรคอย่างสมบูรณ์ แพทย์คนหนึ่งที่อยู่ที่นั่นเขียนว่า “เมื่อเธอกลับจากการอาบน้ำ ผมก็ตามเธอไปโรงพยาบาลทันที ผมจำเธอได้ดีแม้ว่าใบหน้าของเธอจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงก็ตาม” แพทย์ที่ตรวจเธอไม่พบสิ่งผิดปกติในปอดทั้งสองข้างของเธอ,ซึ่งเคยติดเชื้อวัณโรค และทำให้ผู้ป่วยไอและถ่มน้ำลายเป็นเลือด สิบหกปีต่อมา เธอยังคงมีสุขภาพที่สมบูรณ์ และได้รับการตรวจสอบว่าหายขาดอย่างเป็นทางการ
 
โซล่าอยู่ที่นั่นตอนที่เธอออกมาจากอ่างอาบน้ำ เขาพูดว่า “ผมแค่อยากเห็นรอยมีดบาดนิ้วจุ่มน้ำแล้วก็หายดีเท่านั้น” ประธานสำนักการแพทย์ ดร.บัวซารี ยืนอยู่ข้างเขา “อา คุณโซลา ดูความฝันของคุณสิ!” “ผมไม่ต้องการที่จะมองเธอ” โซล่าตอบ “สำหรับผมเธอยังน่าเกลียดอยู่” และเขาก็เดินจากไป
 
นี่คือรูปของมารี ลามาชาน(Marie Lamarchand) หลังจากหายจากโรคในหลายปีต่อมา เธอได้รับผิวหนังใหม่และใบหน้าใหม่ซึ่งเป็นปกติ,มีแก้มที่แดงระเรื่อซึ่งคนอื่นเห็นแล้วก็บอกว่ามีสุขภาพดี แต่โซลาบอกว่าสำหรับเขาแล้ว,เธอยังน่าเกลียด
 

ต่อมาโซลาได้เห็นอัศจรรย์การรักษาครั้งที่สองที่ลูร์ด ซึ่งเป็นการรักษาของ Mlle. Lebranchu ซึ่งป่วยเป็นวัณโรคระยะสุดท้าย โซลาบอกดร. บัวซารีว่า “ถึงแม้ผมจะเห็นคนป่วยทั้งหมดที่เมืองลูร์ดหายขาดจากโรค ผมก็ยังคงไม่เชื่อในอัศจรรย์” เขาใส่เรื่องอัศจรรย์การรักษาครั้งที่สองในนวนิยายของเขาที่มีชื่อว่า Lourdes (1894) แต่บรรยายภาพผู้หญิงคนนั้นมีอาการกำเริบและอยู่ในสภาพเดิมระหว่างเดินทางกลับบ้าน ความหมายคือการรักษาไม่ได้เกิดขึ้นถาวรหรือเหนือธรรมชาติ แต่เป็นกรณีของการชี้นำทางจิตในบรรยากาศทางศาสนา.
 
แต่โซลาซึ่งยังคงติดต่อกับผู้หญิงรายนี้เป็นเวลานานหลังจากฟื้นตัว ตระหนักดีว่าไม่มีการกำเริบของโรคอีก เมื่อดร. บัวซารีถามหาความซื่อสัตย์ของเขาในเรื่องอัศจรรย์ โดยชี้ให้เห็นว่าโซลาบอกว่าเขามาที่ลูร์ดเพื่อทำการสอบสวนด้วยใจเป็นกลาง โซลาตอบว่าเขาเป็นศิลปินและสามารถทำทุกอย่างที่เขาชอบด้วยวัสดุเครื่องมือของเขา
 
ความเชื่อเป็นพระพรของพระเจ้า และพระองค์ไม่ทรงประทานให้แก่คนที่มีใจหยิ่งจองหอง
 
ขอพระเจ้าอวยพร
 
********
 
หมายเหตุ - รูปภาพข้างบน ด้านซ้ายแบร์นาแด๊ต ซูบีรุส เด็กน้อยหน้าตาซื่อๆไม่มีความรู้สูงส่ง เป็นคนยากจนและถ่อมตน แต่เธอเป็นผู้ที่พระเจ้าทรงยกย่องให้ได้รับพระพร ได้เห็นแม่พระ  
ส่วนด้านขวาคือ เอมิล โซล่า นักประพันธ์ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้มีความรู้สูง มีชื่อเสียงที่ผู้คนยกย่องชมเชยในความสามารถด้านการประพันธ์ แต่ถึงแม้จะได้เห็นอัศจรรย์ถึงสองครั้งก็ไม่ได้ทำให้จิตใจของเขาเปลี่ยนแปลง เพราะความหยิ่งและการยึดถือในวิทยาศาสตร์  ความรู้ไม่ได้ช่วยอะไรเขาเลย คนเช่นนี้ สู้ไม่มีความรู้ยังจะดีกว่า
 
************************
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น