วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

จดหมายถึงไดออกเนตัส

 

The Letter (or Epistle) to Diognetus
 
จดหมายถึงไดออกเนตัส เป็นงานเขียนในศตวรรษที่สองหรือสามที่ปกป้องหลักคำสอนของคริสตศาสนา การเขียนประเภทนี้เรียกอีกอย่างว่าจดหมายบรรยาย(apologetics letter or an apology) แม้ว่าจะไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้เขียนหรือผู้รับ แต่จดหมายถึงไดออกเนตัสอ้างว่าเขียนโดยศิษย์ของอัครสาวกที่เรียกตัวเองว่ามาเทเทส(Mathetes) ซึ่งในภาษากรีกแปลว่า “สาวก” ตัวตนของไดออกเนตัสที่กล่าวถึงในจดหมายฉบับนี้ไม่แน่ชัด แม้ว่าเขาอาจจะเป็นบุคคลที่มีตำแหน่งสูงก็ตาม เนื่องจากคำทักทายกล่าวถึงเขาว่า “ท่านผู้มีเกียรติ”( His Excellency)
 
จดหมายฉบับนี้มี 12 บทที่บรรยายถึงความหมายและผลลัพธ์ของความรอดโดยความเชื่อในพระคริสต์ แม้ว่าจะไม่เคยกล่าวถึงพระนามพระเยซูเลยก็ตาม โดยอ้างถึง “พระบุตร” หรือ “พระวจนาตถ์” แทนที่พระนามพระเยซูคริสต์ ต้นฉบับจดหมายถึงไดออกเนตัสที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่ทราบ มีอายุตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 หรือ 14 พบพร้อมกับงานเขียนของมรณะสักขีจัสติน(Justin Martyr) น่าเสียดายที่ต้นฉบับดังกล่าวถูกทำลายในกองไฟในปี 1870 มีช่วงหนึ่งเชื่อกันว่าจดหมายถึงไดออกเนตัสแต่งโดยมรณะสักขีจัสตินแต่ทฤษฎีดังกล่าวถูกทิ้งไปแล้ว
 
ในจดหมายถึงไดออกเนตัสฉบับนี้ ผู้เขียนบรรยายถึงความแตกต่างระหว่างคริสตชนและคนนอกคริสต์ศาสนา นอกจากนี้ เขายังเปรียบเทียบศาสนายิวกับความสมบูรณ์แบบของศาสนาในศาสนาคริสต์ และเรียกชาวยิวว่า “คนโง่” ที่ยังคงยึดมั่นในตัวอักษรแห่งธรรมบัญญัติแทนที่จะใช้ชีวิตอย่างอิสระที่พระบุตรของพระเจ้าทรงไถ่ด้วยราคาแพง ตอนท้ายของบทที่ 5 มีคำอธิบายที่เหมาะสมเกี่ยวกับชีวิตที่พระเยซูทรงเรียกสาวกของพระองค์ให้ดำเนินชีวิต:
 
“พวกเขาดำรงอยู่ในเนื้อหนังแต่ไม่ได้ดำรงชีวิตโดยเนื้อหนัง พวกเขาใช้ชีวิตบนโลกแต่เป็นพลเมืองของสวรรค์ พวกเขาเชื่อฟังกฎหมายที่กำหนดไว้ ขณะเดียวกันก็สูงส่งกว่ากฎหมายด้วยการดำเนินชีวิตของพวกเขา
 
“พวกเขารักมนุษย์ทุกคนและถูกข่มเหงโดยทุกคน พวกเขาไม่เป็นที่รู้จักและถูกประณาม พวกเขาถูกประหารชีวิตและฟื้นคืนชีวิต
 
“พวกเขายากจนแต่ทำให้หลายคนร่ำรวย พวกเขาขาดแคลนทุกอย่าง แต่พวกเขาล้นเหลือในทุกสิ่ง
 
“พวกเขาถูกดูหมิ่น แต่ในความดูหมิ่นของพวกเขาเอง พวกเขาได้รับเกียรติ พวกเขาถูกใส่ร้ายแต่กลับได้รับความชอบธรรม พวกเขาถูกด่าว่าแต่ก็ได้รับพระพร พวกเขาถูกดูหมิ่นและได้รับตอบแทนการถูกดูหมิ่นด้วยเกียรติยศ พวกเขาทำดีแต่กลับถูกลงโทษในฐานะผู้กระทำชั่ว เมื่อถูกลงโทษ พวกเขาก็ชื่นชมยินดีราวกับว่าถูกชุบชีวิตขึ้นจากความตาย พวกเขาถูกชาวยิวโจมตีว่าเป็นพวกป่าเถื่อน พวกเขาถูกชาวกรีกข่มเหง แต่ผู้ที่เกลียดชังพวกเขาไม่สามารถหาเหตุผลใดๆได้เลยว่าทำไมถึงเกลียดชังพวกเขา”
 
ความจริงประการหนึ่งที่ขยายความในจดหมายถึง Diognetus คือ วิถีชีวิตที่พระเยซูทรงเรียกให้คริสตชนทุกคนดำเนินชีวิตนั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป การข่มเหงที่ไม่สมควรเกิดขึ้นตั้งแต่พระเยซูเสด็จมาบนโลกและจะยังคงเกิดขึ้นต่อไปจนกว่าพระองค์จะเสด็จกลับมาอีกครั้ง (มัทธิว 5:10–12; ยอห์น 15:18–19) จดหมายถึง Diognetus เป็นคำอธิบายที่ชัดเจนและกระชับเกี่ยวกับความหมายของการติดตามพระเยซู และไม่มีชีวิตแบบอื่นที่คุ้มค่าที่จะมีชีวิตอยู่ (ดู ลูกา 9:23; ยอห์น 6:68)
 
************************
 

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

คริสตชนเป็นอย่างไร

 


คริสตชนในโลก
 
“คริสตชนไม่มีความแตกต่างจากคนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสัญชาติ ภาษา หรือประเพณี พวกเขาไม่ได้อาศัยแยกจากกันในเมืองของเขา หรือพูดภาษาถิ่นแปลกๆ หรือดำเนินชีวิตแบบแปลกประหลาด คำสอนของพวกเขาไม่ได้ขึ้นอยู่กับความฝันลมๆแล้งๆที่ได้รับแรงบันดาลใจจากความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ ไม่เหมือนคนอื่นๆ,พวกเขาไม่ได้สนับสนุนหลักคำสอนของมนุษย์ล้วนๆ ในแง่ของการแต่งกาย อาหาร และวิถีชีวิตโดยทั่วไป พวกเขาปฏิบัติตามประเพณีของเมืองที่พวกเขาอาศัยอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเมืองกรีกหรือเมืองต่างชาติ
 
แต่ยังมีบางสิ่งที่พิเศษเกี่ยวกับชีวิตของพวกเขา พวกเขาอาศัยอยู่ในประเทศของตัวเองราวกับว่าพวกเขาแค่ผ่านไปมา พวกเขาทำหน้าที่อย่างเต็มที่ในฐานะพลเมือง แต่ต้องทำงานภายใต้ความยากลำบากเฉกเช่นคนต่างด้าว ประเทศใดๆก็สามารถเป็นบ้านเกิดของพวกเขาได้ แต่สำหรับพวกเขา,บ้านเกิดของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นที่ใดก็ตาม ก็คือประเทศต่างถิ่น เช่นเดียวกับคนอื่นๆ พวกเขาแต่งงานและมีลูก แต่พวกเขาไม่ได้ละเลยการอบรมสั่งสอน พวกเขารับประทานอาหารร่วมกัน
 
พวกเขาใช้ชีวิตในเนื้อหนัง แต่พวกเขาไม่ได้ถูกควบคุมโดยความปรารถนาของเนื้อหนัง พวกเขาใช้ชีวิตบนโลก แต่พวกเขาเป็นพลเมืองของสวรรค์ พวกเขาเชื่อฟังกฎหมาย แต่ยังคงดำเนินชีวิตในระดับที่เหนือกว่ากฎหมาย คริสตชนรักมนุษย์ทุกคน แต่ทุกคนข่มเหงพวกเขา พวกเขาถูกตัดสินลงโทษเพราะไม่มีใครเข้าใจ พวกเขาถูกประหารชีวิต แต่กลับฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง พวกเขาใช้ชีวิตในความยากจนแต่ทำให้คนมากมายร่ำรวย พวกเขาขัดสนอย่างสิ้นเชิงแต่มีทุกสิ่งอย่างเหลือเฟือ พวกเขาต้องทนทุกข์กับการถูกดูหมิ่น แต่นั่นคือความรุ่งโรจน์ของพวกเขา พวกเขาถูกใส่ร้าย แต่ได้รับการไถ่บาป  การอวยพรคือคำตอบสำหรับการถูกล่วงละเมิด ความเคารพเป็นการตอบสนองต่อการถูกดูหมิ่นของพวกเขา,สำหรับความดีที่พวกเขาทำ พวกเขาได้รับการลงโทษจากผู้ที่กระทำผิดต่อพวกเขา แต่ถึงอย่างนั้น พวกเขาก็ยังชื่นชมยินดีราวกับว่าได้รับของขวัญแห่งชีวิต พวกเขาถูกชาวยิวโจมตีเหมือนเป็นคนต่างด้าว พวกเขาถูกชาวกรีกข่มเหง แต่ไม่มีใครสามารถอธิบายสาเหตุของความเกลียดชังนี้ได้
 
หากจะพูดให้เข้าใจโดยทั่วไป เราอาจกล่าวได้ว่าคริสตชนอาศัยอยู่ในโลกเช่นเดียวกับที่วิญญาณอาศัยอยู่ในร่างกาย วิญญาณมีอยู่ในทุกส่วนของร่างกาย,แต่ก็แยกจากร่างกาย คริสตชนจึงพบเห็นได้ในเมืองต่างๆของโลก แต่โลกไม่สามารถระบุตัวตนพวกเขา ร่างกายที่มองเห็นได้มีวิญญาณที่มองไม่เห็นอาศัยอยู่ คริสตชนจึงถูกมองว่ามีชีวิตอยู่ในโลก แต่ชีวิตทางศาสนาของพวกเขายังคงมองไม่เห็น ร่างกายเกลียดวิญญาณและต่อสู้กับวิญญาณ ไม่ใช่เพราะวิญญาณทำร้ายร่างกาย แต่เพราะวิญญาณจำกัดความสุขไว้กับตน ในทำนองเดียวกัน โลกเกลียดคริสตชน ไม่ใช่เพราะพวกเขาทำผิด แต่เพราะพวกเขาต่อต้านความสุขที่โลกให้
 
คริสตชนรักผู้ที่เกลียดพวกเขา เช่นเดียวกับที่วิญญาณรักร่างกายและอวัยวะทั้งหมดของร่างกาย แม้ว่าร่างกายจะเกลียดวิญญาณก็ตาม ร่างกายถูกยึดรวมไว้ด้วยวิญญาณซึ่งอยู่ภายในร่างกาย และในทำนองเดียวกัน โลกก็ถูกยึดรวมไว้ด้วยคริสตชนซึ่งถูกกักขังอยู่ในโลกเหมือนกับถูกขังอยู่ในคุก แม้ว่าวิญญาณจะเป็นอมตะ แต่ที่อยู่อาศัยของวิญญาณเป็นอนิจจัง และคริสตชนก็ใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางสิ่งที่เน่าเปื่อยได้อยู่ชั่วขณะหนึ่ง ขณะรอคอยอิสรภาพจากการเปลี่ยนแปลงและการเสื่อมสลาย,ซึ่งที่อยู่ตลอดกาลจะเป็นของพวกเขาบนสวรรค์ จิตวิญญาณได้รับประโยชน์จากการอดอาหารและเครื่องดื่มเช่นเดียวกัน คริสตชนก็เจริญรุ่งเรืองภายใต้การถูกเบียดเบียนข่มเหง นี่คือหน้าที่อันสูงส่งและพระเจ้าทรงกำหนดไว้สำหรับคริสตชน ซึ่งคริสตชนไม่สามารถละจากหน้าที่นั้นได้
 
จากจดหมายถึงไดออกเนตัส
 
From a letter to Diognetus (Nn. 5-6; Funk, 397-401)
 
************************
 

วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

พระวาจาวันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2024 สมโภชพระเยซูจะกษัตริย์แห่งสากลจักรวาล

 
โดยคุณพ่อยอห์นชัยยะ กิจสวัสดิ์  
ยอห์น 18:33ข-37 
(33)ปีลาตกลับเข้าไปในจวน และเรียกพระเยซูเจ้ามาถามว่า “ท่านเป็นกษัตริย์ของชาวยิวหรือ” (34)พระเยซูเจ้าตรัสตอบว่า “ท่านถามดังนี้ด้วยตนเอง หรือผู้อื่นบอกท่านถึงเรื่องของเรา” (35)ปีลาตตอบว่า “ข้าพเจ้าเป็นชาวยิวหรือ ชนชาติของท่าน และบรรดาหัวหน้าสมณะมอบท่านให้ข้าพเจ้า ท่านทำผิดสิ่งใด” (36)พระเยซูเจ้าตรัสตอบว่า “อาณาจักรของเรามิได้มาจากโลกนี้ ถ้าอาณาจักรของเรามาจากโลกนี้ ผู้รับใช้ของเราก็คงจะต่อสู้เพื่อมิให้เราถูกมอบให้ชาวยิว แต่อาณาจักรของเราไม่ได้เป็นของโลกนี้” (37)ปีลาตจึงถามพระองค์ว่า “ถ้าเช่นนั้น ท่านเป็นกษัตริย์ใช่ไหม” พระเยซูเจ้าตรัสตอบว่า “ท่านพูดว่าเราเป็นกษัตริย์นั้นถูกต้องแล้ว เราเกิดมาเพื่อเป็นกษัตริย์ เรามาในโลกนี้เพื่อเป็นพยานถึงความจริง ผู้ใดอยู่ฝ่ายความจริงก็ฟังเรา”
******************
 
 
 
เมื่อปี 1925 พระสันตะปาปาปีโอที่ 11 ได้ทรงตั้งวันสมโภชพระเยซูเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาลขึ้นมา แรกเริ่มวันสมโภชนี้ ไม่ได้ตรงกับวันอาทิตย์สุดท้ายของปีพิธีกรรมอย่างในปัจจุบัน แต่ตรงกับวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนตุลาคม เพื่อจะได้เชื่อมต่อกับวันที่ 1 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย เพื่อจะบอกว่านักบุญทั้งหลายก็คือบรรดาชาย หญิง และเด็กที่ได้ดำเนินชีวิตเป็นพยานถึงพระเยซูเจ้าผู้ทรงเป็นกษัตริย์แห่งสากลจักรวาลด้วยความกล้าหาญ ทั้งแบบส่วนตัวเงียบๆ และแบบเปิดเผย แม้มันจะนำอันตรายมาสู่ตนเองก็ตาม
 
ตัวอย่างที่เด่นชัดคนหนึ่งก็คือนักบุญโทมัส โมร์ ซึ่งพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 พึ่งจะประกาศให้เป็นองค์อุปถัมภ์ของบรรดารัฐบุรุษและนักการเมืองเมื่อปี 2000 ที่ผ่านมานี้เอง โทมัส โมร์เป็นนักกฎหมายและนักการทูตที่หลักแหลม รักชาติและจงรักภักดีต่อราชบัลลังก์ จนกษัตริย์เฮนรี่ที่ 8 ของอังกฤษทรงแต่งตั้งท่านให้เป็นอัครมหาเสนาบดี นับเป็นสามัญชนคนแรกที่ได้รับเกียรติให้ดำรงตำแหน่งนี้ แต่สิ่งหนึ่งที่กษัตริย์เฮนรี่ไม่รู้ก็คือโทมัส โมร์นอกจากจะจงรักภักดีต่อราชบัลลังก์แล้ว เหนืออื่นใด ท่านยังจงรักภักดีต่อพระเยซูเจ้า ผู้ทรงเป็นกษัตริย์แห่งบรรดากษัตริย์ทั้งมวลอีกด้วย
 
ด้วยเหตุนี้ เมื่อกษัตริย์เฮนรี่ที่ 8 ตัดสินใจหย่าขาดจากแคทเธอรีนแห่งอารากอนซึ่งเป็นพระมเหสี เพื่อจะไปแต่งงานใหม่กับแอนน์ บุลิน และตั้งตนเป็นประมุขของคริสตจักรแห่งอังกฤษ โทมัส โมร์ จึงคัดค้านเพราะเห็นว่ามันขัดกับพระประสงค์ของพระเจ้า ไม่เพียงเท่านั้น ท่านยังลาออกจากตำแหน่งอันทรงเกียรติ แล้วไปดำเนินชีวิตเป็นสามัญชนยากจน และด้วยเหตุที่ไม่สนับสนุนกษัตริย์ท่านจึงถูกจับกุมข้อหากบฏ และถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะ ระหว่างเดินไปสู่ที่ประหาร ท่านกระตุ้นประชาชนให้ยึดมั่นในความเชื่อและกล่าวก่อนตายว่า “ข้าพเจ้ายอมตายเพราะพระเจ้าต้องมาก่อน”
 
สำหรับโทมัส โมร์ มันไม่เป็นการเพียงพอที่จะยืนอยู่ข้างพระเยซูเจ้าเงียบๆ ในใจ แต่จำเป็นต้องประกาศพระองค์อย่างเปิดเผยด้วย
 
แต่ทั้งนี้ มิได้หมายความว่าความเป็นกษัตริย์ของพระเยซูเจ้าจะทำให้อาณาจักรของโลกนี้ถูกคุกคามหรือถูกด้อยค่า เพราะเมื่อปอนทิอัส ปีลาต ถามพระเยซูเจ้าว่า “ท่านเป็นกษัตริย์ของชาวยิวหรือ” แม้พระองค์จะตอบว่า “ใช่” แต่ก็ไม่ได้เป็นแบบที่ปีลาตคิด เพราะพระองค์ตรัสว่า “อาณาจักรของเรามิได้มาจากโลกนี้ ถ้าอาณาจักรของเรามาจากโลกนี้ ผู้รับใช้ของเราก็คงจะต่อสู้เพื่อมิให้เราถูกมอบให้ชาวยิว แต่อาณาจักรของเราไม่ได้เป็นของโลกนี้” (ยน 18:36)
 
แล้วอาณาจักรของพระองค์กับอาณาจักรของโลกนี้ต่างกันอย่างไร?
 
เราอาจแยกความแตกต่างได้ 3 ประการด้วยกันคือ
 
ประการแรก อาณาจักรของโลกนี้มีเขตแดน มีขอบเขตที่แน่นอน แต่อาณาจักรของพระเยซูเจ้าเป็นสากล ไม่มีขอบเขต
 
ประการที่สอง อาณาจักรของโลกนี้มาแล้วก็ไป คือเกิดขึ้นแล้วก็ร่วงโรยดับสูญไป แต่พระอาณาจักรและความเป็นกษัตริย์ของพระเยซูเจ้านั้นคงอยู่ตลอดนิรันดร ดังที่ประกาศกดาเนียลบอกไว้ในบทอ่านที่หนึ่งว่า “อำนาจปกครองของพระองค์เป็นอำนาจที่คงอยู่ตลอดไปไม่มีวันสิ้นสุด และอาณาจักรของพระองค์จะไม่มีวันถูกทำลายเลย”
 
ประการที่สาม อาณาจักรของโลกนี้ดำรงอยู่ได้ก็ด้วยอำนาจทางทหารและเศรษฐกิจ แต่พระอาณาจักรและความเป็นกษัตริย์ของพระเยซูเจ้าดำรงอยู่ได้ด้วยความจริง พระองค์ตรัสว่า “เราเกิดมาเพื่อเป็นกษัตริย์ เรามาในโลกนี้เพื่อเป็นพยานถึงความจริง ผู้ใดอยู่ฝ่ายความจริงก็ฟังเรา” เพราะฉะนั้นทุกคนในอาณาจักรของพระองค์จึงต้องพร้อมจะยืนอยู่เคียงข้างความจริง แม้มันจะทำร้ายเรา หรือทำให้เราอึดอัดบ้างก็ตาม
 
บางคนอาจถามว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ เราต้องรักบ้านเกิดเมืองนอนและต้องจงรักภักดีต่อประเทศชาติของเราหรือไม่? คำตอบคือ แน่นอน เราต้องรักและต้องจงรักภักดีต่อประเทศชาติของเรา เพียงแต่ว่าความจงรักภักดีต่อพระเจ้าต้องมาก่อน
 
คือเราจะอ้างว่าจงรักภักดีต่อประเทศชาติ แล้วก็ปล่อยให้มโนธรรมของตนคล้อยตามบ้านเมืองไปทั้งหมดไม่ได้ เช่น ถ้ากฎหมายบ้านเมืองบอกว่าทำแท้งได้ เราก็คิดว่ามันถูกต้องและทำได้ หรือถ้ากฎหมายบอกว่าการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัยทำไม่ได้ เราก็คิดว่ามันผิดและทำไม่ได้ ดังนี้เป็นต้น
 
บทอ่านจากหนังสือวิวรณ์วันนี้บอกว่า “พระเยซูคริสตเจ้าทรงเป็นประมุขของบรรดากษัตริย์บนแผ่นดิน” ซึ่งเท่ากับว่าพระองค์มิได้เป็นเพียงกษัตริย์ธรรมดาๆ แต่ทรงเป็นประมุขของบรรดากษัตริย์ และเหนือกษัตริย์ทั้งหลายทั้งปวงบนแผ่นดินนี้
 
หนังสือวิวรณ์ยังบอกอีกว่า “ดูเถิด พระองค์กำลังเสด็จมา ทุกคนแม้ผู้ที่เคยแทงพระองค์จะแลเห็นพระองค์ ชนทุกชาติบนแผ่นดินจะข้อนอกร่ำไห้ถึงพระองค์” ก็แปลว่าพระเยซูเจ้าจะเสด็จมาในฐานะกษัตริย์เพื่อทรงพิพากษาทุกคน ทุกชาติบนแผ่นดินนี้ แม้แต่ผู้ที่เคยแทง เคยประหารพระองค์ ก็จะได้เห็นและร่ำไห้ถึงสิ่งที่ได้กระทำต่อพระองค์
 
เพราะฉะนั้น โอกาสสมโภชพระเยซูเจ้า กษัตริย์แห่งสากลจักรวาลนี้ ขอให้เรารักชาติด้วยการนำประเทศชาติของเราให้กลับมาหาพระเยซูเจ้า จงช่วยกันประกาศพระเยซูเจ้า และจงช่วยกันทำให้ประเทศชาติของเราดียิ่งขึ้น นี่คือหนทางทำให้พระเยซูเจ้าเป็นกษัตริย์ไม่ใช่เพียงในจิตใจของเรา แต่เป็นกษัตริย์ของประเทศไทยของเราและของโลกของเราอีกด้วย
 
***************************


วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

นักบุญนิโคลัสกับวิญญาณในไฟชำระ

 


“นิโคลัส ผู้รับใช้ของพระเจ้า มองดูข้าพเจ้าเถิด” วิญญาณดวงหนึ่งร้องเรียกนิโคลัสแห่งโตเลนติโน (Nicholas of Tolentino)พระสงฆ์หนุ่มในคณะนักบุญออกัสติน เขาเพิ่งจะหลับไป เสียงนั้นทำให้เขาประหลาดใจและตกใจตื่น วิญญาณดวงนั้นระบุว่าตนเองคือนักพรตเปลเลกริโนแห่งโอซิโม(Friar Pellegrino of Osimo) ซึ่งนิโคลัสรู้จักในขณะที่นักพรตผู้นั้นยังมีชีวิตอยู่
 
“ข้าพเจ้าถูกทรมานในเปลวเพลิงเหล่านี้” เปลเลกริโนคร่ำครวญ “พระเจ้ามิได้ทรงปฏิเสธความสำนึกผิดของข้าพเจ้า และทรงพระกรุณาไม่ให้ข้าพเจ้าต้องรับโทษชั่วนิรันดร์ ซึ่งข้าพเจ้าสมควรได้รับเนื่องจากความอ่อนแอของข้าพเจ้า แต่ทรงให้ข้าพเจ้ารับโทษในไฟชำระแทน,ด้วยพระเมตตาของพระองค์”
 
จากนั้นเขาขอร้องนิโคลัสให้ “ประกอบพิธีมิสซาเพื่อผู้ตายอุทิศแก่ข้าพเจ้า เพื่อข้าพเจ้าจะได้พ้นจากความทุกข์ทรมาน” แต่ นิโคลัสทำไม่ได้เพราะเขาได้รับมอบหมายให้ประกอบพิธีมิสซาสำหรับชุมชนในอารามเท่านั้น
 
“ถ้าอย่างนั้น อย่างน้อยก็มากับข้าพเจ้า…มาดูความทุกข์ทรมานของพวกเรา…โปรดสงสารผู้เคราะห์ร้ายเหล่านี้ที่รอความช่วยเหลือจากท่าน…ถ้าท่านประกอบพิธีมิสซาเพื่อพวกเรา คนเหล่านี้ส่วนใหญ่จะได้รับการปลดปล่อย” เปลเลกริโนอ้อนวอนอีกครั้ง จากนั้น นิโคลัสก็ได้เห็นทะเลแห่งวิญญาณมากมายหลากหลายวัย ทุกเพศ และทุกสภาพ ทอดยาวไปทั่วทั้งแผ่นดิน
 
นิโคลัสสวดภาวนาตลอดทั้งคืน ในตอนเช้า เมื่อท่านอธิการของอารามได้ยินเรื่องราวของเขา ท่านก็อนุญาตให้ นิโคลัสประกอบพิธีมิสซาเพื่อผู้ตายได้ทันที เจ็ดวันต่อมา เปลเลกริโนก็ปรากฏตัวอีกครั้ง คราวนี้มีผู้คนมากมายที่ได้รับชัยชนะและได้รับการปลดปล่อยเช่นกัน
 
หลังจากเหตุการณ์นั้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 13 นิโคลัสใช้เวลาหลายปีในการสวดภาวนาและประกอบพิธีมิสซาอุทิศให้แก่วิญญาณในไฟชำระ เขาปลดปล่อยวิญญาณในไฟชำระจำนวนนับไม่ถ้วน ในระหว่างพิธีมิสซาครั้งหนึ่ง พระเยซูทรงประจักษ์มา ทรงขอบคุณเขา และแสดงให้เขาเห็นวิญญาณที่การประกอบพิธีมิสซาของเขาได้ปลดปล่อยวิญญาณเหล่านี้
 
ในปี 1884 พระสันตปาปาลีโอที่ 13 ทรงประกาศให้นักบุญนิโคลัสแห่งโตเลนติโนเป็นองค์อุปถัมภ์วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ในไฟชำระ
 
ประสบการณ์ของนักบุญนิโคลัสไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว เช่นเดียวกับนักบุญองค์อื่นๆ ตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา เพราะพวกเขาก็ได้ยินหรือเห็นดวงวิญญาณในไฟชำระมาร้องขอความช่วยเหลือเช่นกัน
 

************************
 

วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

คุณพ่อปีโอในพิธีขับไล่ปีศาจ

 

คุณพ่อปิเอโร (Piero Catalan) เป็นศิษย์ฝ่ายวิญญาณของคุณพ่อกาเบรียล เอม็อท(Gabriele Amorth) ท่านเล่าว่าระหว่างการขับไล่ปีศาจ ปีศาจจะเรียกคุณพ่อปีโอว่า “ชายมีเครา” หรือ “Francesco Forgione”
 
คุณพ่อปิเอโร ได้รับความสนใจจากสื่อเนื่องจากคุณพ่อเป็นผู้นำในการประชุมเมื่อวันที่ 4 ธันวาคมที่โรงเรียน Telesio Grammar School ในเมือง Reggio Calabria ประเทศอิตาลี เพื่อหารือเกี่ยวกับ “เกมสยองขวัญ” ที่ได้รับความนิยมทางออนไลน์มาช้านาน นั่นก็คือเกม “Charlie Charlie Challenge”
 
การประชุมกับกลุ่มโฟโคลาเร( Focolarini)
 
คุณพ่อปิเอโร (Piero Catalan) ศิษย์ของคุณพ่อ Gabriele Amorth พระสงฆ์ขับไล่ปีศาจผู้มีชื่อเสียงแห่งสังฆมณฑลโรมซึ่งเสียชีวิตในปี 2016 คุณพ่อปิเอโรเป็นพระสงฆ์และผู้ขับไล่ปีศาจแห่งเมือง Reggio Calabria คุณพ่อได้อธิบายว่าเหตุใดท่านจึงใช้พระธาตุของนักบุญคุณพ่อปีโอในการขับไล่ปีศาจ และอัญเชิญนักบุญ คุณพ่อปีโอให้มาช่วยในการต่อสู้กับปีศาจจนได้ผลดี
 
หลังจากอุทิศชีวิตให้กับงานอาสาสมัครกับ Gen Movement (ซึ่งเชื่อมโยงกับกลุ่มโฟโคลาเร Focolari Movement ที่ก่อตั้งโดยเคียร่า ลูบิก Chiara Lubich) ในวันที่ 8 ธันวาคม 1988 ท่านได้อุทิศตนให้กับพระเจ้าในฐานะพระสงฆ์ ท่านดำรงตำแหน่ง pastor ของเมืองสองแห่งบนชายฝั่ง Jonica ของ Reggio Calabria ได้แก่ Roccaforte del Greco และ Saint Pantaleone และปัจจุบันดำรงตำแหน่ง pastor ของตำบล Saint John Nepomucene และ Saint Philip Neri ใน Arangea
 
ปีศาจกลัวแม้แต่จะเอ่ยชื่อของคุณพ่อปีโอ!
 
คุณพ่อปิเอโร ศึกษาเป็นเวลานานหลายปีเพื่อที่จะเป็นพระสงฆ์ผู้ขับไล่ปีศาจและเป็นบุตรฝ่ายวิญญาณของคุณพ่อเอมอร์ธ ท่านเริ่มฝึกสวดบทภาวนาเพื่อการปลดปล่อยเมื่ออายุ 18 ปี และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระสงฆ์ผู้ขับไล่ปีศาจเมื่อสามปีก่อน
 
ในสำนักงานของท่าน ท่านมีพระธาตุของนักบุญมากมาย “ผมใช้พระธาตุเหล่านี้ในการขับไล่ปีศาจ” ท่านอธิบายกับหนังสือพิมพ์ Corriere della Sera ของอิตาลี (19 ธันวาคมที่ผ่านมา) “ผมมักจะเรียกนักบุญองค์ไหนบ่อยที่สุดน่ะหรือ? ผมรักนักบุญคุณพ่อปีโอแห่งปิเอเตรลชินาเป็นพิเศษ ซึ่งคุณพ่อปีโอมักจะปรากฏตัวในระหว่างการขับไล่ปีศาจบ่อยๆ คนที่ถูกสิงจะกลัว เขาจะพูดว่า ‘คนที่มีเคราอยู่ที่นี่!’ และผมตอบว่า ‘เขามีชื่อนักบุญปิโอแห่งปิเอเตรลชินาหรือเปล่า?’ ปีศาจจะตอบว่า ‘เปล่า ชื่อของเขาคือฟรานเชสโก ฟอร์จิโอเน’ ปีศาจกลัวจนไม่กล้าแม้แต่จะเอ่ยชื่อคุณพ่อปีโอ”
 
จากอาการคลื่นไส้ไปจนถึงอาการหนาวสั่น
 
คุณพ่อปิเอโร บอกว่าท่านเริ่มรู้สึกถึงการปรากฏของปีศาจ, การถูกสิง, หรือความรำคาญใจ, ผ่านปฏิกิริยาปกติของปีศาจ “ตัวอย่างเช่น ทันทีที่ผมวางมือบนศีรษะของบุคคลนั้น เขาหรือเธอก็จะถอยหนี รู้สึกหนาวเย็น รู้สึกเหมือนกำลังหายใจไม่ออก หรือรู้สึกคลื่นไส้ เป็นต้น” หากไม่ใช่กรณีของการปรากฏของปีศาจ พระสงฆ์ผู้ขับไล่ปีศาจก็จะทำเพียงแต่สวดบทภาวนาขอการปลดปล่อย
 
“แกอยากมาอยู่ข้างข้าไหม”
 
คุณพ่อปิเอโร สังเกตว่า “ปีศาจพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อล่อลวงพวกเราที่เป็นผู้ขับไล่ปีศาจ ครั้งหนึ่งมันถามผมว่า ‘แกอยากได้เงินเท่าไรเพื่อมาอยู่กับข้า?’ ผมเริ่มหัวเราะ เพราะผมได้ปฏิญาณความยากจน ผมไม่มีเงินแม้แต่จ่ายค่าจัดงานศพของตัวเองถ้าผมตาย และผมแบ่งปันทุกอย่างกับคนยากจน และปีศาจก็พูดว่า ‘ถ้าข้าทำได้ ข้าจะฆ่าแกทันที’ จากนั้นผมก็ตอบว่า ‘แต่เจ้าทำไม่ได้เพราะฉันเป็นของพระเยซู!’”
 
************************
 

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

มาเป็นนักบุญกันเถอะ

 


เราจะเป็นนักบุญได้อย่างไร? จงเป็นผู้มีใจยากจน จงมีใจอ่อนโยนและถ่อมตน จงเป็นผู้สร้างสันติ กล่าวโดยย่อ จงดำเนินชีวิตตาม ”พระธรรมเทศนาบนภูเขา” หรือ “มหาบุญลาภแปดประการ”
 
วิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการดำเนินชีวิตตาม ”มหาบุญลาภแปดประการ” คือการสังเกตดูบุคคลที่ได้ปฏิบัติตามคุณธรรมนี้ บุคคลศักดิ์สิทธิ์ที่เราพบเห็นเขา,ชีวิตที่ดำเนินตามคำสอนแห่ง”มหาบุญลาภ”  เขาเหล่านั้นได้ดำเนินชีวิตเช่นนี้โดยแสดงออกด้วยเครื่องหมายแห่งความเชื่อ การได้อยู่ต่อหน้าคริสตชนคาทอลิกผู้มีความศรัทธาเหล่านี้ คุณจะรู้สึก/สัมผัสด้วยตนเองถึงความเคารพต่อพิธีกรรมและความรักที่มีต่อพระเยซู ทำให้เราเชื่อมั่นในพลังของศีลมหาสนิท เพราะพวกเขาถือเอาศีลมหาสนิทเป็นศูนย์กลางของชีวิตของพวกเขา เวลานี้พวกเขาบางคนที่เสียชีวิตไปและได้รับการประกาศเป็นนักบุญ  พวกเขาสวดภาวนาจากสวรรค์เพื่อเราอย่างต่อเนื่องและด้วยความร้อนรน
 
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทางวาติกันประกาศให้บุคคลผู้ที่ได้รับพระพรให้เป็นนักบุญ หลายคนหรือเกือบทั้งหมดเป็นพระสงฆ์,นักบวช เป็นมรณสักขี เป็นสังฆานุกร ครู และผู้ศักดิ์สิทธิ์ทั้งชายและหญิงจากทุกยุคทุกสมัย แต่พวกเขายังเป็นแม่ พ่อ ลูกๆ เป็นคนโสด แต่งงานแล้ว และเป็นหม้าย ทุกคนล้วนเลือกที่จะยึดมั่นในพระวาจาแห่งมหาบุญลาภ และในขณะเดียวกันก็อุทิศชีวิตให้กับพระคริสต์โดยรับใช้พระศาสนจักรของพระองค์
 
เราทุกคนรู้จักนักบุญเทเรซาแห่งลิซีเออร์ “ดอกไม้น้อย” พ่อแม่ของเธอคือหลุยส์และเซลี มาร์ติน ทั้งสองก็เป็นผู้ดำเนินชีวิตศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับการประกาศเป็นนักบุญเช่นกัน หลุยส์ประกอบอาชีพเป็นช่างนาฬิกา ส่วนเซลีดูแลลูกๆและบ้านของพวกเขา พวกเขาใช้ชีวิตอย่างสงบสุข,ชีวิตที่ธรรมดาและปกติสุขด้วยความชอบธรรมซึ่งสอดแทรกด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของการดำเนินชีวิตตามพระวาจาแห่งมหาบุญลาภ
 
แพทย์หญิงชาวอิตาลีชื่อ Gianna Beretta Molla ได้รับแจ้งในปี 1962 ว่าการคลอดบุตรสาวของเธอจะเป็นเรื่องยาก และเสี่ยงที่จะต้องเสียชีวิต เธอได้คำแนะนำให้ทำแท้ง เนื่องจากมีความเสี่ยง เธอจึงต้องเลือกระหว่างชีวิตของเธอเองหรือชีวิตของทารก เธอบอกกับ Pietro สามีของเธอว่า “ถ้าคุณต้องเลือกระหว่างฉันกับลูก อย่าลังเลใจ ขอให้เลือกลูก ฉันยืนกรานที่จะเลือกเช่นนี้” เธอเสียชีวิตด้วยโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบในเช้าวันอาทิตย์อีสเตอร์ โดยพูดซ้ำๆ ว่า “พระเยซูเจ้า ลูกรักพระองค์” เธอเสียชีวิตเพียง 8 วันหลังจากที่ทารกหญิงได้คลอดออกมาอย่างแข็งแรง ปัจจุบัน Gianna Emanuela Molla ลูกสาวของเธอได้ประกอบอาชีพแพทย์ในอิตาลีเช่นเดียวกับแม่ของเธอ เนื่องจากแม่ของเธอซึ่งเป็นนักบุญ Gianna เลือกที่จะทำตาม มหาบุญลาภแห่งความมีใจเมตตากรุณา การไม่เห็นแก่ตัว เสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น
 
นักบุญคือคนบาปที่กลับใจซ้ำแล้วซ้ำอีกและแสวงหาการคืนดีกับพระเจ้า นักบุญออกัสตินเคยละทิ้งคำสอนคาทอลิกที่เขาเติบโตมาและปล่อยตัวปล่อยใจตามกิเลสตัณหาเป็นเวลาหลายปีก่อนที่จะกลับใจ นักบุญโอลกา เจ้าหญิงแห่งเคียฟ(St. Olga, Princess of Kiev) เป็นนักการเมืองที่ไร้ความปรานีซึ่งยืนกรานที่จะสังหารศัตรูอย่างไม่ปรานีในสนามรบและขายผู้รอดชีวิตเป็นทาส หลานชายของเธอ, นักบุญวลาดิเมียร์(St. Vladimir) เป็นคนนอกศาสนา, เจ้าชู้, และเป็นฆาตกร หัวใจของพวกเขาที่เคยแบกรับความมืดมนของบาปและเงาแห่งความตาย ได้ถูกเปลี่ยนให้เป็นหัวใจของผู้ที่ได้รับพร กลายเป็นผู้มีจิตใจบริสุทธิ์ เมื่อเขาได้มารู้จักพระคริสต์ และเปิดใจยอมรับพระหรรษทานของพระองค์
 
นักบุญส่วนใหญ่ในสวรรค์ไม่มีวันฉลองในปฏิทินของพระศาสนจักร เพราะพวกเขาไม่เคยได้รับการสถาปนาเป็นนักบุญและจะไม่มีวันได้รับการสถาปนาเป็นนักบุญ ดูเหมือนว่าพวกเขาจะไม่มีใครรู้จักและถูกลืม พวกเขามาจากทุกสาขาอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นคนงานและช่างฝีมือ มีการศึกษาและไม่มีการศึกษา เป็นผู้มีใจอ่อนโยน ถ่อมตัว ร่ำรวยและยากจน เป็นปู่ย่าตายายของเรา เพื่อนบ้านที่ใจดี ครู อาจารย์ สมาชิกในครอบครัว และเพื่อนๆที่เสียชีวิตไปแล้ว พวกเขาอาจเป็นนักบุญในสวรรค์ก็ได้
 
ผู้ดำเนินชีวิตที่ศักดิ์สิทธิ์,เขาไม่จำเป็นต้องได้รับการประกาศให้เป็นนักบุญ การเป็นนักบุญหมายถึงการดำเนินชีวิตตามคำสอนแห่งมหาบุญลาภและเสียชีวิตในสถานะพระหรรษทาน ในฐานะคนบาปที่กลับใจ เป็นเพื่อน และเป็นบุตรของพระเจ้า แม้ว่าจะต้องอ้อมไปอยู่ในไฟชำระระหว่างทาง แต่เมื่อวิญญาณเหล่านั้นได้รับความรุ่งโรจน์นิรันดร์ของพระเจ้าในสวรรค์แล้ว พวกเขาก็กลายเป็นนักบุญ
 
ดังนั้น ให้เราดำเนินชีวิตตามคำสอนแห่งมหาบุญลาภและกลายเป็นนักบุญกันเถอะ เพราะเมื่อเป็นนักบุญแล้ว สิ่งอื่นก็ไม่สำคัญอีกแล้ว
 
************************
 

วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

ความช่วยเหลือจากวิญญาณในไฟชำระ

 

สถาปนิกชาวไอริชแพท เมอร์นาฮาน(Pat Murnahan) กำลังประสบความสำเร็จในอาชีพอย่างมากและโชคดี ในช่วงใกล้วัย 90 เขากำลังบินกลับบ้านที่ไอร์แลนด์หลังจากเดินทางไปทำธุรกิจที่นิวยอร์กซึ่งประสบความสำเร็จด้วยดี เครื่องบินมีเสียงดังมากเนื่องจากผู้โดยสารพูดคุยและเก็บสัมภาระ แต่แพทก็สามารถนอนหลับได้ แต่ทันใดนั้นเขาก็ตื่นขึ้นมาและพบว่าทั้งห้องโดยสารเงียบสงัด แพทพบว่าความเงียบนั้นน่าประหลาดใจ อย่างไรก็ตาม ทันใดนั้นเขาก็เห็นนักบุญผู้สงบเสงี่ยมผู้หนึ่งซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดความเงียบขึ้น นั่นคือ คุณแม่เทเรซา แห่งกัลกัตตา, ท่านเดินไปตามทางเดินพร้อมกับซิสเตอร์อีกคนที่เดินไปด้วย ทั้งสองคนสวมผ้าส่าหรีสีขาวที่มีแถบสีน้ำเงิน และการปรากฏตัวของพวกเขาทำให้ทั้งเครื่องบินเงียบสงบลงเพื่อแสดงความเคารพ
 
ดูเถอะ,คุณแม่เทเรซานั่งลงข้างๆแพท และเขารู้สึกได้ถึงความอ่อนน้อมถ่อมตนของท่าน พระผู้เป็นเจ้าทรงนำพวกเขาให้นั่งเคียงข้างกันบนเครื่องบินที่กำลังบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก จากนั้นเขาก็เห็นคุณแม่นำสายประคำที่แปลกประหลาดดังภาพด้านล่างออกมา ซึ่งมีสีที่แตกต่างกันไปในแต่ละทศของสายประคำ นี่เป็นสายประคำสำหรับวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ในไฟชำระ เฉดสีเหล่านี้เป็นสิ่งเตือนใจเชิงเปรียบเทียบว่า เฉดสีเหล่านี้ได้เคลื่อนตัวจากความมืดมิดไปสู่แสงสว่างของพระเจ้า คุณแม่เทเรซาสวดสายประคำ 3 ทศแล้วจึงถามแพทว่าเขาเป็นคนไอริชใช่ไหม? แพทตอบว่าใช่ทันที และคุณแม่เทเรซาก็รู้สึกคุ้นเคยกับเขา คุณแม่เทเรซาเคยไปดับลินเมื่อตอนอายุ 18 ปีในปี 1928 ท่านเต็มไปด้วยความทรงจำดีๆ ในช่วงเวลาที่เป็นโปส์ตูลันและเมื่อเป็นแม่ชีในดับลิน
 
คุณแม่เทเรซามีมิตรภาพกับไอร์แลนด์มาตลอดชีวิต ฉันยังจำได้ด้วยว่าตอนที่ฉันเติบโตขึ้นในไอร์แลนด์ แม้ว่าไอร์แลนด์จะไม่ใช่สถานที่ที่มีคุณธรรมและเป็นสถานที่สวดภาวนามากที่สุด แต่ก็มีชาวไอร์แลนด์ที่ไปกัลกัตตาเป็นประจำเพื่อช่วยเหลือคุณแม่เทเรซาและทำทุกวิถีทางเพื่อคุณแม่เทเรซาโดยไม่ขอเงินสักเพนนีหรือรูปีตอบแทน นอกจากนี้ยังมีบุคคลบางคนที่ดูเหมือนอิจฉาชื่อเสียงของคุณแม่เทเรซาและวิพากษ์วิจารณ์ท่านอย่างไม่เป็นธรรม
 
แต่คุณแม่เทเรซาไม่ยอมให้คนใจร้ายบางคนมายุยงท่านให้ต่อต้านชาวไอริช คุณแม่พูดกับแพทว่า "คุณเป็นคนไอริช คุณคงเป็นคาทอลิกและชอบสวดภาวนามาก" สิ่งนี้ทำให้แพทรู้สึกอาย เขาละทิ้งความเชื่อไประยะหนึ่ง แต่เขาไม่ได้บอกคุณแม่ว่าเขาไม่ได้เป็นอย่างที่ท่านคิด แพทหน้าแดง คุณแม่เทเรซาจึงเชิญเขาให้สวดสายประคำพร้อมกับท่าน,เพื่อความตั้งใจของเขา และคุณแม่ถามว่า "มีใครเป็นพิเศษไหมที่คุณอยากสวดสายประคำให้" แพทบอกว่าคุณยายของเขากำลังป่วยหนัก พวกเขาจึงสวดบทวันทามารีย์ด้วยน้ำเสียงอ่อนโยนเพื่อเธอ คุณแม่อธิบายถึงประสิทธิภาพอันยิ่งใหญ่ของการสวดสายประคำเพื่อผู้ล่วงลับที่อยู่ในไฟชำระ "เมื่อคุณสวดสายประคำเพื่อวิญญาณในไฟชำระ พระเจ้าจะพอพระทัยกับการสวดสายประคำที่ไม่เห็นแก่ตัวของคุณสำหรับคนที่คุณไม่รู้จัก พระองค์จะประทานความปรารถนาอันสูงสุดของคุณให้คุณ" จากนั้นคุณแม่ก็มอบสายประคำเป็นของขวัญให้กับเขา
 
แพทอาจจะประหลาดใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น วันรุ่งขึ้นคุณยายของเขาก็หายเป็นปกติและลุกจากเตียงได้ อัศจรรย์อีกอย่างเกิดขึ้นเมื่อเพื่อนสนิทของเขาถูกพบว่าเป็นมะเร็งร้ายและมีเวลาเหลือเพียงเล็กน้อย แพทมอบสายประคำที่คุณแม่เทเรซามอบให้เขาให้เธอและเชิญเธอสวดภาวนาให้วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ในไฟชำระ เธอไม่ใช่คาทอลิก แต่พวกเขาต่างสวดภาวนาเพื่อขอให้เนื้องอกของเธอหายไป เมื่อเธอขอให้วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ช่วยวิงวอนให้ เนื้องอกก็หายไปอย่างอธิบายไม่ได้ จากนั้นผู้หญิงคนนั้นก็กลับใจมาเป็นคาทอลิก
 
มีอัศจรรย์ในการเยียวยารักษาที่เกิดขึ้นผ่านการขอร้องของวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ในไฟชำระ การเยียวยารักษาโรคทางร่างกายและจิตใจทุกประเภทสามารถทำได้หากเราสวดภาวนาอุทิศให้วิญญาณศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้นและถ้าหากพวกเขาสวดภาวนาวิงวอนพระเจ้าให้ เป็นเรื่องที่ควรพูดซ้ำว่าวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ในไฟชำระนั้นไม่สามารถสวดภาวนาให้ตนเองได้ การกุศลที่พวกเขาทำในชีวิตนี้ในขณะที่พวกเขายังเป็นเนื้อหนังและเลือดเนื้อ,เป็นประหนึ่งหนังสือเดินทางของพวกเขาไปสู่ไฟชำระ ถ้าไม่มีความรัก เราก็ไม่สามารถได้รับความรอดได้ และพวกเขามีใจที่เมตตาต่อเราผู้ซึ่งยังมีชีวิตอยู่บนโลก แต่เราก็ไม่ตระหนักในเรื่องนี้ เพราะว่าเราต่างจากพวกเขาตรงที่เราไม่เห็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังม่านบังตา แต่พวกเขามองเห็น
 
-------------
 
โพสต์นี้ได้รับข้อมูลจาก In the Friendship of God ของ Val Conlon Divine Mercy Publications, Dublin, 2009, หน้า 131 - 141 แพท(Pat Murnahan) เป็นเพื่อนของ Val และเล่าเรื่องราวของเขาให้เธอฟัง สายประคำสามารถซื้อได้ที่นี่ https://divinemercy.org/bookshop/holy-souls-rosary-beads-detail.html
 
Gustave Doré เป็นผู้วาดภาพ Purgatorio ของ Dante และภาพวาดดังกล่าวอยู่ในโดเมนสาธารณะ
 
************************