ชื่อของสมภารปานและวัดพระคริสตหฤทัย(วัดเพลง) เป็นชื่อที่อยู่คู่กันเสมอ เพราะสมภารปานเป็นจุดเริ่มต้นของกลุ่มคริสตชนวัดเพลงในอดีต เรื่องราวการกลับใจของสมภารปานนั้นน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง อะไรหรือที่เป็นแรงบันดาลใจให้สมภารปานสนใจในคริสต์ศาสนา
ทั้งๆที่ท่านเป็นผู้เคร่งครัดในพุทธศาสนามาก และยังเป็นศิษย์ของเจ้าฟ้ามงกุฏิ
ในธรรมยุตินิกายอีกด้วย
ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่ท่านจะทำได้ถึงเพียงนี้ เรื่องราวของท่านสมภารปานได้ถูกจารึกไว้ในหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์พระศาสนจักรในประเทศไทย และลูกหลานชาววัดเพลงคงจะจดจำชื่อของท่านไว้ตลอดไป
สมภารปาน
กลับใจเป็นคริสตัง อยากบวชเป็นพระสงฆ์
ณ สุสานที่เงียบสงบ ท่ามกลางญาติพี่น้อง และบรรพบุรุษที่ล่วงลับไป ชวนให้ระลึกถึงสัจธรรมความจริงของชีวิต
เป็นบทสอนใจ และท้าทายผู้คนมากมาย ประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้ด้วยชีวิตและการกระทำของญาติพี่น้องผู้ล่วงลับแต่ละชุมชน
เรื่องราวการต่อสู้ แพ้ ชนะความสำเร็จ ความล้มเหลว ชวนให้ศึกษาเป็นบทเรียนชีวิตที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
ใ น สุส า น ข อ ง วัดพระคริสตหฤทัย หรือวัดเพลง จังหวัดราชบุรี ท่ามกลาง สัตบุรุษที่ทำมาหากินเป็นชาวสวน
มีแม่น้ำ ลำคลอง และถนนเป็นเส้นทางคมนาคมทุกวันนี้ วัดพระคริสตหฤทัยอายุกว่า 100 ปี สวยเด่นเป็นสง่า เป็นศูนย์กลางของคริสตังในชุมชนแห่งนี้
ติดกับวัด มีบ้านพักพระสงฆ์ โรงเรียนเรืองวิทย์พระหฤทัย
ด้านหลังวัดเป็นสุสานที่มีญาติพี่น้องนอนสงบนิ่งอยู่หลายร้อย แต่มีหลุมศพหนึ่งดูเด่น
คนเฒ่าคนแก่เคยเล่าให้ฟังว่า นี่คือหลุมศพของ “เปาโล ปาน”
เปาโล ปาน มีชีวิตอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 3 (ค.ศ. 1824-1852) และสมัยรัชกาลที่ 4 (ค.ศ.
1852-1868) ตรงกับสมัยปกครองของพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ ค.ศ. 1841-1862 และพระสังฆราชดือปองด์ ค.ศ. 1865-1872
ท่านเกิดเมื่อ ค.ศ.
1795 ที่บ้านห้วย บนเส้นทางจากเมืองเพชรบุรี ไปปากแพรก เป็นลูกคนที่
3 ในจำนวนพี่น้อง 9 คน บวชเป็นเณรครั้งแรกเมื่ออายุ 6 ขวบ บวชได้ 1 ปี ก็กลับไปอยู่บ้าน 4 ปี พออายุ 10 ปี ได้ไป อยู่กับลุงซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดประดู่ อายุ
21 ปี บวชเป็นพระภิกษุที่วัดบางกล้วย อายุ 37 ปี
ไปศึกษาพระธรรมต่อที่วัดกรมทอง และวัดหงส์ กรุงเทพฯ สี่ปีต่อมา ได้กลับไปอยู่วัดบางกล้วย เนื่องจากได้รับแต่งตั้งเป็นสมภารเจ้าอาวาสแทนลุงที่เป็นสมภารและมรณภาพ ท่านมีความร้อนรนเป็นอย่างมาก ชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธา
มาวัดกันมาก เมื่ออายุ 59 ปี ท่านได้ยินข่าวเรื่องธรรมยุตินิกาย จึงเดินทางไปกรุงเทพฯ พร้อมลูกศิษย์เพื่อศึกษธรรมยุตินิกายที่วัดสมอราย
หรือวัดราชาธิวาส อยู่ติดกับวัดคอนเซปชัญ หรือวัดแม่พระปฏิสนธินิรมล สามเสน เป็นเวลา
4 เดือน (ค.ศ.
1840) ท่านต้องบวชเป็นพระภิกษุใหม่อีกครั้ง เพื่อจะเป็นพระภิกษุในนิกายธรรมยุติได้
สมภารปานเป็นคนชอบศึกษาหาความรู้ตลอดเวลา ซื่อสัตย์ต่อมโนธรรมของตนเอง
และกล้า ตัดสินใจ ท่านได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับชุมชนวัดบางนกแขวก
ที่เพิ่งสร้างได้ 18 ปี เป็นวัดที่สวยงาม สาเหตุที่สนใจมากเป็นพิเศษ
เพราะน้องสาวของท่านป่วย และได้ยินว่ามีแม่ชีคริสต์หรือซิสเตอร์ที่นี่มียาดี จึงไปพบกับซิสเตอร์
และขอให้ซิสเตอร์ช่วยไปดูอาการ เมื่อดูแล้วเห็นว่ารักษาไม่ไหวแล้ว ซิสเตอร์จึงบอกให้เตรียมตัว และขออนุญาตโปรดศีลล้างบาปให้
พร้อมทั้งอธิบายความหมายของศีลล้างบาป ที่สุดน้องสาวของท่านได้มรณะเดือนกันยายน ค.ศ. 1862
ค.ศ. 1863 คุณพ่อดือปองด์มาอยู่ที่วัดบางนกแขวก
สมภารปานไปพบคุณพ่อ ตอนนั้นสมภารปานอายุ 68 ปีแล้ว ท่านมาติดต่อกับคุณพ่ออีกเพื่อศึกษาพูดคุย
มาในเวลากลางคืน บางครั้งคุณพ่อก็ไปเยี่ยม
ค.ศ. 1863 คุณพ่อราบาร์แดล
มาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางนกแขวก ได้สนทนาธรรมกับสมภารปานอย่างลึกซึ้ง สมภารปานคิดจะปลงจีวร แต่ยังทำไม่ได้เพราะครองมานานถึง
48 ปีแล้ว คุณพ่อราบาร์แดลได้สอนสมภารปานสวดบท
“โปรดระลึกเถิด” และมอบเหรียญรูปแม่พระให้
ค.ศ. 1863 สมภารปานถูกเรียกไปที่วัดบวรนิเวศวิหารฯ
ที่กรุงเทพฯ ท่านถูกตำหนิอย่างรุนแรง ระหว่างอยู่กรุงเทพฯ
8 วัน ก่อนกลับวัด ท่านได้แวะไปเยี่ยมพระคุณเจ้าดือปองด์ คุณพ่อมาร์แต็ง และคุณพ่อยิบาร์ตา ที่สำนักพระสังฆราช วัดอัสสัมชัญ และกลับไปวัดบางกล้วย
ท่านคงได้ทราบข่าวการมรณภาพของพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์บ้าง (ค.ศ. 1862) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดให้จัดพิธีบรรจุศพของพระคุณเจ้าอย่างสง่าและยิ่งใหญ่เป็นที่ประทับใจสำหรับคริสตังเป็นอย่างมาก
วันที่ 24 มีนาคม ค.ศ.
1864 สมภารปานออกจากวัดเวลา 22.00 น. ไปพบคุณพ่อราบาร์แดล มีหลาน
2-3 คน พายเรือมาส่ง ท่านต้องให้พระลูกวัดที่ขัดขวางไม่ให้ท่านลงเรือ
กลับวัดไป ณ วัดแม่พระบังเกิด บางนกแขวก นี้เอง ท่านได้ถอดจีวรออกและสวมชุดขาว ได้เรียนคำสอนต่อ แต่มีลูกศิษย์มาตามท่านตลอดเวลา เพี่อขอให้ท่านกลับวัด
เรื่องของท่านเป็นข่าวใหญ่กระจายไปถึงพระบรมมหาราชวัง มีการประชุมกันและที่สุดได้อนุญาตให้ท่านเป็นอิสระ
แต่ให้ระมัดระวังพระรูปอื่นๆ พร้อมทั้งมีประกาศอีกครั้งหนึ่ง ห้ามชาวสยามเข้าเป็นคริสตัง
ถ้าขัดขืนมีโทษถึงตาย
สมภารปานรับศีลล้างบาปวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 1864 ต่อหน้าคริสตัง
300 คน ที่วัดบางนกแขวกมีชื่อใหม่ว่า “เปาโล”
คุณพ่อราบาร์แดล เป็นพ่อทูนหัว ศิษย์ของท่านก็รับศีลล้างบาปด้วยเช่นกัน
ต่อมาหลานและศิษย์ของท่านรวม 2 คน ถูกส่งไปเรียนต่อที่บ้านเณรปีนัง
เพื่อเตรียมตัวบวชเป็นพระสงฆ์
ข้อมูล : เรียบเรียงจาก “ประวัติการเผยแพร่คริสตศาสนาในสยามและลาว”
อรสา ชาวจีน แปลและเรียบเรียงจากต้นฉบับภาษาฝรั่งเศส ที่เขียนโดยบาทหลวงโรแบรต์
โกสเต
อุดมศานต์ ปีที่ 93 ฉบับเดือน พฤษภาคม 2013
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น