โดย Msgr.
Charles Pope • October 12, 2016
วัฒนธรรมและอารยธรรมมีพลวัติเป็นวัฏจักรตามกาลเวลา วัฒนธรรมและอารยธรรมหลายแห่งของยุคสมัยมีความเจริญและความเสื่อม เราจึงควรตระหนักถึงความจริงในเรื่องนี้ วัฒนธรรมและอารยธรรมมาแล้วก็ไป มีเพียงพระศาสนจักรและวัฒนธรรมของพระคัมภีร์ที่แท้จริงเท่านั้นที่จะคงอยู่ มีเพลงเก่าแก่เพลงหนึ่งร้องว่า “สิ่งที่เราทำเพื่อพระคริสต์เท่านั้นที่จะคงอยู่ชั่วนิรันดร์” ใช่แล้ว-สิ่งอื่นๆจะผ่านพ้นไป
พระศาสนจักรเป็นเหมือนนาวาแล่นไปบนน้ำแห่งโลกนี้และแล่นไปตามกระแสน้ำท่วมของกาลเวลา
ดูเหมือนว่าพวกเรากำลังอยู่ปลายยุคสมัยของความเจริญรุ่งเรือง และโลกกำลังอยู่ในยุคสมัยของความเสื่อม มนุษย์ตกอยู่ในกระแสของความโลภ โลกียนิยม
การหย่าร้าง ความสำส่อนทางเพศ
และการทำลายพื้นฐานโครงสร้างของอารยธรรมที่ดีงาม นั่นคือ ครอบครัว วัฒนธรรมที่ดีงามกำลังเจ็บป่วย และกำลังอยู่ในขั้นสุดท้ายของโรคร้าย
ความจริงอันเจ็บปวดนี้เป็นสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน
นักสังคมวิทยาและนักมนุษยวิทยาได้อธิบายขั้นตอนของความเจริญและความเสื่อมของอารยธรรมสำคัญของโลก นักปรัชญาชาวสก็อต Alexander Tyler แห่งมหาวิทยาลัย
Edinburg กล่าวถึงลำดับแปดขั้นตอนของพัฒนาการของอารยธรรมที่ปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์ เรื่องนี้ถูกเขียนอยู่ในหนังสือ The Great Transformation โดย Ted Flynn
ลองมาดูว่า 8
ขั้นตอนนี้มีอะไรบ้าง
1. จากความผูกพันกันพัฒนาเป็นความเจริญทางด้านจิตใจ - อารยธรรมสำคัญกำเนิดขึ้นจากเบ้าหลอมของจิตใจ ชาวยิวโบราณถูกเบียดเบียน 400ปีในอิยิปต์ทำให้พวกเขามีความผูกพันใกล้ชิดกัน ความเชื่อคริสตชนและพระศาสนจักรถือกำเนิดขึ้นจากการถูกเบียดเบียนเป็นเวลา
300 ปีจากอาณาจักรโรมัน เมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลายจากการรุกรานของชนเผ่า
“อนารยชน” พระศาสนจักรยุโรปตะวันตกก็ก่อตัวขึ้นมา
วัฒนธรรมของอเมริกันถูกหล่อหลอมขึ้นจากความอยุติธรรมของยุคอาณานิคม
ความทุกข์และความอยุติธรรมส่งผลให้เกิดพัฒนาการทางด้านจิตใจ ทำให้เกิดปัญญาและระเบียบวินัยในจิตใจที่พยายามแสวงหาความยุติธรรมและการแก้ปัญหา
2. จากความเจริญทางด้านจิตใจนำไปสู่ความกล้าหาญ – การถูกหล่อหลอมจิตใจด้วยความทุกข์ยากลำบาก ก่อให้เกิดความกล้าหาญและความอดทน มีความเสียสละ ผู้นำถือกำเนิดขึ้นและประชาชนรวมตัวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน แม้แต่จะต้องยอมพลีชีพเพื่อสร้างสิ่งที่ดีกว่าเดิม ประชาชนที่ไม่มีอะไรจะต้องสูญเสีย พวกเขายินดีที่จะทำบางอย่างซึ่งสำคัญกว่าตัวเองหรือความต้องการของตัวเอง สงความเริ่มต้นขึ้น สงครามต้องการความกล้าหาญ ระเบียบวินัยและคุณธรรมอื่นๆ
3. ความกล้าหาญนำไปสู่เสรีภาพ การต่อสู้อย่างกล้าหาญทำให้ศัตรูต้องพ่ายแพ้ เสรีภาพและความยุติธรรมกำเนิดขึ้นมา และจุดนี้เองที่อารยธรรมก่อตัวขึ้นหยั่งรากลึกเป็นเจตนาคติของสังคม ผู้ที่ร่วมรบในสงครามหลายคนยังคงมีชีวิตอยู่ ความรู้สึกในชัยชนะยังคงสดใส
วีรบุรษและความดีของการนำมาซึ่งเสรีภาพยังมีชีวิตชีวา การดิ้นรนต่อสู้เป็นเวลานานหลายปีในเบ้าหลอมนั้นเป็นสิ่งน่ายินดียิ่ง
4. เสรีภาพนำไปสู่ความอุดมสมบูรณ์ – เสรีภาพทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองอันยิ่งใหญ่ เพราะอารยธรรมยังดำเนินอยู่ด้วยคุณธรรม, ความเสียสละและการทำงานหนัก แต่แล้วอันตรายอย่างแรกก็มาถึง มันคือ
ความอุดมสมบูรณ์ สิ่งที่มีมากเกินไปมีแนวโน้มที่จะทำให้ชีวิตของคนเราตกต่ำลง มันเป็นอันตรายต่อสติปัญญาและขโมยจิตวิญญาณของความมีวินัย พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ชีวิตของมนุษย์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับทรัพย์สมบัติที่เขาเป็นเจ้าของ” เมื่อคนเรามีทรัพย์สมบัติมากขึ้น ความเสียสละก็มีน้อยลงไปเรื่อยๆ ความมีวินัยและความรับผิดชอบก็หย่อนยานลง
5. ความอุดมสมบูรณ์นำไปสู่ความหลง - ความหลงนี้หมายถึงการพึงพอใจในตัวเองและทำให้เกิดความประมาทไม่ระวังตัว ทุกอย่างดูเหมือนดีไปหมด แหล่งวัตถุดิบที่มีมากเหลือล้น โครงสร้างขั้นพื้นฐานที่มั่นคง คุณธรรม, ระเบียบวินัยและความดีงามถูกลดทอนความสำคัญไป ถ้ามีใครสักคนลุกขึ้นมาเตือน เขาก็จะกลายเป็นคนน่ารังเกียจและถูกเยาะเย้ย
6. ความหลงนำไปสู่ความไม่เอื้ออาทรกัน – ความไม่เอื้ออาทรกันหมายถึงการไม่สนใจผู้อื่น ไม่รู้สึกสงสารหรือใส่ใจความรู้สึกของผู้อื่น ผู้คนไม่รู้เรื่องราวการเสียสละของคนในยุคสมัยก่อนและไม่มีจิตวิญญาณที่ต้องการทำงานเพื่อความดีของส่วนรวม “อารยธรรม” ซึ่งเป็นความดีของส่วนรวมสูญสลายไป ความเป็นปัจเจกบุคคลเข้ามาแทนที่และมากขึ้นเรื่อยๆ การทำงานเพื่อส่วนรวมค่อยๆหายไป ความมีวินัยและการเสียสละค่อยๆสึกกร่อนไป
7. ความไม่เอื้ออาทรกันนำไปสู่วิถีต่างคนต่างอยู่ – จำนวนผู้คนที่ขาดจิตสำนึกของการทำงานและมีส่วนร่วมต่อสังคมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ความทุกข์ยากลำบากและความเสียสละของคนในอดีตถูกลบเลือนไปจากความทรงจำของคนรุ่นใหม่
การมีวินัยหรือการทำงานหนักดูจะเป็นเรื่องยากสำหรับคนในรุ่นนี้
วิถีต่างคนต่างอยู่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆสั่งสมเกิดเป็นวัฒนธรรมตัวใครตัวมัน ความทุกข์ของคนอื่นดูเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือช่วยเหลือ ปัญหาหรือความทุกข์ของใคร คนนั้นก็ต้องแก้ไขเอาเอง รัฐบาลจำเป็นต้องใช้มาตราการบังคับประชาชนสำหรับปัญหาที่สั่งสมมากขึ้น
แต่กลับทำให้วิถีตัวใครตัวมันถลำลึกลงไปมากขึ้น เพราะปัญหามาจากการขาดคุณธรรมของปัจเจกบุคคล ซึ่งส่งผลมาสู่ปัญหาของสังคม
8. วิถีตัวใครตัวมันนำกลับไปสู่ความผูกพันกัน – ขณะที่วิถีตัวใครตัวมันมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ทำให้แต่ละคนเกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวและสิ้นหวัง ไม่ทำหน้าที่ของตนเอง
ทำให้ผู้คนพากันแสวงหาผู้ปลดปล่อยที่จะมาช่วยเหลือ พวกเขาแสวงหาผู้นำที่เข้มแข็ง แต่อำนาจส่วนกลางได้รวบอำนาจไว้และทำให้ความอยุติธรรมต่างๆนาๆบังเกิดขึ้น ประชาชนได้รับความยากลำบากและเริ่มรู้สึกว่าจะต้องร่วมมือกัน
ทำให้มีความผูกพันกันเพื่อต่อสู้กับอำนาจส่วนกลางที่รวบอำนาจและคอยกดขี่ควบคุม
อำนาจที่มีมากขึ้นยิ่งทำให้ผู้กุมอำนาจหิวโหยอำนาจมากขึ้น ด้วยเหตุนี้
อารยธรรมก็มาถึงจุดจบ
เพราะประชาชนที่มีจิตใจผูกพันกันไม่มีคุณธรรมที่จำเป็นมากเพียงพอที่จะต่อสู้กับผู้มีอำนาจอีกต่อไป
สิ่งที่เป็นไปได้สำหรับการแก้ไขก็คือประเทศที่มีอำนาจมากกว่าต้องเข้ามารุกรานหรือเข้ามาแทนที่และทำลายอารยธรรมที่เสื่อมนั้นไปเสียและให้อารยธรรมและวัฒนธรรมของตนเองเข้ามาแทนที่
หรืออีกหนทางหนึ่งก็คือ กลับไปสู่เบ้าหลอมอีกครั้ง
จนกระทั่งความทุกข์ยากลำบากและความสับสนจะนำไปสู่สติปัญญา ,
คุณธรรมและความกล้าหาญที่จำเป็นในการเริ่มต้นอารยธรรมใหม่ที่ก่อตัวขึ้นจากกองขึ้เถ้าของอารยธรรมเดิม
นั่นคือวัฏจักรของอารยธรรม
พระศาสนจักรได้เห็นความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มาแล้วในระหว่างสองสหัสวรรษที่ผ่านมา อารยธรรมในหลายประเทศมาแล้วก็จากไป มีเพียงอารยธรรมของไม่กี่ประเทศที่อยู่รอดนานมากกว่า 200
ปี เป็นเรื่องยากที่จะบอกว่าอารยธรรมจะอยู่รอดได้นานเท่าใด ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของพระธรรมใหม่ อาณาจักรโรมันก็ค่อยๆเสื่อมลงแล้ว ทำให้พระศาสนจักรในอนาคตเริ่มบ่มเพาะกล้าฝังรากทางฝั่งตะวันตกและกลายเป็น “อาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์” ซึ่งมีพันธมิตรเช่น สเปน
โปรตุเกส และฝรั่งเศส
เคยมีคำกล่าวว่า “ดวงอาทิตย์ไม่เคยตกดินในสหราชอาณาจักรอังกฤษ” แต่มันก็เริ่มตก เมื่อนโปเลียนเริ่มมีอำนาจ ในยุคต่อมา
ฮิตเล่อร์พยายามสร้างอาณาจักรเยอรมันขึ้น
แต่สหภาพโซเวียตรัสเซียก็ทำลายลงเสียและเถลิงอำนาจขึ้นแทน แม้แต่ในพระคัมภีร์พระธรรมเก่า ชาวอิสราแอลมียุคสมัยที่รุ่งเรืองคือสมัยของกษัตริย์ดาวิด ซึ่งแผ่ขยายอาณาจักรไปกว้างไกล แต่แล้วก็ถูกยึดครองโดย บาบิโลน
, เมโด-เปอร์เซีย , กรีซ และโรม
นาวาอันเที่ยงแท้มีเพียงหนึ่งเดียวคือพระศาสนจักรซึ่งได้รับพระสัญญาจากพระเป็นเจ้า
(มท. 16: 18) แต่พระศาสนจักรก็ต้องการการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกันและจำต้องเผชิญกับความยากลำบากมากทีเดียว พระศาสนจักรจะยังคงอยู่ในโลกที่เปลี่ยนแปลงนี้ต่อไป
เพราะพระศาสนจักรเป็นเจ้าสาวของพระคริสตเจ้าและเป็นพระกายทิพย์ของพระองค์
นี่เป็นช่วงเวลาแห่งความยากลำบาก แต่มุมมองความรู้ที่กล่าวมาแล้วคงช่วยได้บ้าง เราอาจพูดได้ไม่แน่ชัดนักว่า เรากำลังอยู่ในปลายยุคสมัยแห่งความเสื่อมที่นำไปสู่ความตาย แต่ความตายจะนำชีวิตใหม่มาให้
มีเพียงพระเป็นเจ้าเท่านั้นที่ทรงทราบว่าถึงปลายยุคสมัยหรือยัง เราต้องวางใจในพระองค์เท่านั้นผู้ทรงเป็นเจ้าชายแห่งสันติ พระเป็นเจ้าจะทรงรักษาประชากรของพระองค์ไว้เหมือนดังที่พระองค์ทรงกระทำมาแล้วในพระธรรมเก่า
บทสดุดีที่
121 พระเจ้าผู้ปกป้องผองภัย
ยามเมื่อข้าฯทอดสายตา แลดูภูผา
ความอุปถัมภ์มาจากไหน?
จากพระเจ้าผู้ทรงฤทธิไกร สร้างโลกกว้างใหญ่
รวมหล้าทั้งหมดจดสวรรค์
ทั้งทรงคุ้มครองปัองกัน มิเคยเคลิ้มฝัน
หรือทรงเผลอสนิทนิทร์ไป
พระองค์ปกป้องผองภัย อิสราแอลอย่างไร
แก่ท่านก็เช่นเดียวกัน
พระอาทิตย์ไร้พิษกลางวัน ถึงแม้พระจันทร์
ไม่ทำร้ายยามค่ำคืน
ปลอดภัยทั้งหลับและตื่น ท่านจะสดชื่น
ในยามดำเนินไปมา
พระเจ้าทรงพิทักษ์รักษา ด้วยพระทัยเมตตา
บัดนี้ เบื้องหน้า
นิรันดร
------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น