พระสันตปาปาฟรังซิสทรงช่วยให้ประเทศเวเนซูเอล่ารอดพ้นจากหายนะได้อย่างไร?
โดยการทำตามคำแนะนำของพระสันตปาปาฟรังซิส ทีละขั้นทีละตอน ก็ทำให้เวเนซูเอล่ารอดพ้นจากวิกฤตการณ์ไปได้ โดยมีอดีตประธานาธิบดีของสเปน นาย Zapatero เป็นคนกลาง
พระอัครสังฆราช Claudio Maria Celli และนายมาดูโร
ROME, November 7, 2016 – จากรายงานของหนังสือพิมพ์ “L'Osservatore
Romano” ซึ่งรายงานเหตุการณ์ทั่วโลกทุกวันของวาติกัน พระสันตปาปาฟรังซิสทรงพบกับนาย Nicolás
Maduro Moros ประธานาธิบดีของเวเนซูเอล่า
ที่ห้องโถงซานตามาร์ทาเมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2016
แต่ผู้อ่านต้องรอถึงวันที่ 3 พ.ย.
จึงได้รับรู้จากวาจาของพระสันตะปาปาเองซึ่งตรัสระหว่างบินกลับจากสวีเดนมายังโรม และข่าวได้ลงในหนังสือพิมพ์
L'Osservatore”
ในฐานะที่เป็นหนังสือพิมพ์อย่างเป็นทางการของสันตะสำนัก
ยังคงเก็บเงียบในข่าวบทบาทของวาติกันในการนัดให้มีการเจรจาระหว่างนายมาดูโรกับฝ่ายตรงข้ามของเขา และเมื่อนายมาดูโรได้พบกับพระสันตะปาปาแล้ว ทางหนังสือพิมพ์จึงได้ลงเรื่องนี้
ดังนั้นมาดูเรื่องราวที่เกิดขึ้นว่าเริ่มต้นอย่างไร
ความพยายามครั้งแรกในการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายตรงข้าม โดยมี nuncio Aldo Giordano ผู้แทนของศาสนจักรในเวเนซูเอลา เริ่มในเดือนเมษายน
2014 และพระสันตะปาปาทรงสนับสนุนในเรื่องนี้โดยพระองค์ทรงมีจดหมายไปถึงประธานาธิบดีมาดูโร
ถึงบรรดาสมาชิกรัฐบาล ถึงตัวแทนฝ่ายตรงข้ามและสมาชิกของสหภาพประเทศในอเมริกาใต้
ก่อนที่จะเริ่มต้นเจรจากัน
การเจรจาครั้งแรกไม่ประสพผลสำเร็จ ในเดือนกันยายน ปี 2014
พระสันตปาปาทรงส่งสาส์นขอร้องให้เปิดการเจรจาเป็นครั้งที่สอง
โดยผู้แทนสันตสำนัก nuncio Giordano เป็นผู้อ่านสาส์นระหว่างการประชุมสันติภาพที่จัดขึ้นที่กรุงคาราคัสโดยสภาแห่งฆราวาสของเวเนซูเอล่า
ต้องใช้เวลานานถึงสองปีจึงทำให้เสก็ดไฟปะทุขึ้นได้ ขณะที่เวเนซูเอล่ากำลังประสบภัยจากวิกฤตการณ์ความขาดแคลนสินค้าต่างๆ
(ประเทศเวเนซูเอล่าพึ่งพารายได้จากแหล่งน้ำมันเป็นหลัก และรัฐบาลใช้นโยบายประชานิยม แต่เมื่อน้ำมันราคาตกจึงทำให้รัฐบาลขาดรายได้ที่จะมาดูแลประชาชน
รัฐบาลต้องตัดงบรายจ่ายหลายอย่าง ไม่มีเงินพอซื้อสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้เกิดการขาดแคลนสินค้าขึ้นภายในประเทศ แม้แต่พระสังฆราชยังต้องขอความช่วยเหลือให้ส่งสิ่งของอุปโภคบริโภคจากนานาประเทศ)
วันที่ 25 ก.ค. 2016 เลขาธิการของ UNASUR อดีตประธานาธิบดีของโคลัมเบีย
นาย Ernesto Samper Pizano ได้เขียนจดหมายถึงพระสันตะปาปาในนามของอดีตประธานาธิบดีสามคนคือ
José Luis Rodríguez Zapatero แห่งสเปน , Martín
Torrijos แห่งปานามา, และ Leonel
Fernándezแห่งสาธารณรัฐโดมินิกัน.
ในจดหมาย
ทั้งสี่ท่านขอร้องให้พระสันตะปาปาเข้าร่วมในกลุ่ม “facilitadores” เพื่อจัดให้มีการเจรจาระหว่างรัฐบาลและฝ่ายตรงข้ามในเวเนซูเอล่า
การตอบสนองต่อจดหมายมิได้มาจากพระสันตปาปาฟรังซิสเท่านั้น แต่ยังมาจากเลขาธิการรัฐของพระสันตะปาปาด้วย เพราะท่านรู้จักประเทศเวเนซูเอล่าเป็นอย่างดี
ท่านเคยเป็นผู้แทนสันตสำนักอยู่ที่นั่นระหว่างปี 2009 -2013
วันที่ 12 ส.ค. พระคาร์ดินัลพาโรลิน Cardinal Pietro Parolin แจ้งว่าทางสันตสำนักยินดีที่จะเข้าร่วมในการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายตรงข้าม
พระสังฆราชหลายองค์ในเวเนซูเอล่าไม่ค่อยเห็นด้วย พระสังฆราช Cumaná archbishop Diego Padrón
Sanchez ผู้เป็นประธานพระสังฆราชกล่าวว่า
“รัฐบาลที่ไม่ดูแลจัดเตรียมอาหารและยาให้แก่ประชาชนและปฏิเสธไม่อนุญาตให้นักบวชและฝ่ายสังคมสงเคราะห์เข้ามาทำงานช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่ประชาชน
ไม่มีสิทธิที่จะไปเจรจาและดำเนินงานด้านสันติภาพ”
สถานการณ์ยุ่งยากมากขึ้นสำหรับมาดูโร เมื่อพระสังฆราช Baltazar Enrique Porras Cardozo ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสังฆราชองค์ใหม่จากพระสันตปาปาฟรังซิสในวันที่
9 ต.ค.
เย็นวันที่ 24 ต.ค. นายมาดูโร
แวะที่กรุงโรมในเที่ยวบินกลับจากตะวันออกกลางและได้พบกับพระสันตปาปาฟรังซิสที่ห้องโถงซานตามาร์ทา เป็นการพบส่วนตัว
ไม่มีการถ่ายรูปหรือออกแถลงการณ์
แต่ทางสำนักพิมพ์และแห่ง รวมทั้ง Vatican Radio และ the quasi-Vatican blog “Il
Sismografo” ได้ลงข่าวพร้อมรูปภาพการเข้าพบของนายมาดูโรเมื่อปี 2013
แทน เพราะรูปนี้เป็นเพียงรูปเดียวที่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการให้เผยแพร่ได้
ในเวเนซูเอล่า
การตอบสนองครั้งแรกต่อการเจรจานั้นน่าผิดหวัง และเมื่อผู้แทนของพระสันตะปาปา Emil Paul Tscherrig มาถึงกรุงคาราคัสในวันที่
25 ต.ค. เพื่อเริ่มต้นการเจรจาระหว่างสองฝ่ายคือนายมาดูโรและฝ่ายตรงข้ามซึ่งเวลานั้นก็เป็นช่วงที่ถึงจุดวิกฤตของประเทศชาติแล้ว
เกิดภาวะชะงักงันระหว่างนายมาดูโรกับฝ่ายตรงข้าม
พระคาร์ดินัลที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งใหม่
Baltazar
Porras กล่าวว่าท่านไม่ทราบว่าผู้แทนของพระสันตปาปาได้มาที่นั่นด้วย ขณะที่ผู้แทนสันตสำนักประจำกรุงคาราคัส nuncio
in Caracas, Giordano มีท่าทีเงียบสงบ และดูเหมือนจะประหลาดใจต่อท่าทีของพระสังฆราชองค์ใหม่นี้ต่อคำสั่งของพระสันตปาปา
ผู้แทนของพระสันตะปาปา Emil Paul Tscherrig ได้แยกเจรจากับตัวแทนของรัฐบาลและฝ่ายตรงข้าม
และถึงแม้จะได้รับคำปฏิเสธจากตัวแทนของฝ่ายตรงข้าม การเจรจายกแรกจะจัดให้มีขึ้นที่เกาะมาการิตา
ความตรึงเครียดถึงขีดสุดในวันศุกร์ 28 ต.ค. มีการประท้วงทั่วไปทำให้ประเทศเป็นอัมพาต
สถานการณ์เลวร้ายดูเหมือนมาอยู่ที่ขอบเหวแล้ว
แต่แล้ว อย่างค่อยเป็นค่อยไป
ความเห็นพ้องกันก็ค่อยปรากฏขึ้นมา
ผู้แทนพระสันตปาปาออกจากเวทีการประชุมและให้ทูตที่แท้จริงของพระสันตปาปาพระอัครสังฆราช
Claudio
Maria Celli มาดำเนินการแทน (ดูในรูป)
ท่านเป็นอดีตประธานของการประชุมการ social communications และมีประสบการณ์เป็นเวลานานในกิจการระหว่างประเทศ ตั้งแต่ประเทศจีนไปจนถึงอเมริกาใต้
ท่านอัครสังฆราช Celli มาถึงกรุงคาราคัสพร้อมด้วยจดหมายของพระสันตะปาปา
“en nombre del Papa Francisco,” ถึงทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ในจดหมาย ท่านอัครสังฆราช Celli ขอร้องว่าอย่าเรียกผู้ใดว่าเป็น
“ศัตรูที่เที่ยงแท้ถาวร” เพราะ “แม้แต่ศัตรูที่ร้ายกาจที่สุดในปัจจุบันนี้ก็สามารถกลับมาเป็นมิตรกันได้ในระหว่างการเดินทางสู่อนาคตด้วยกัน”
และ “ในนามของพระสันตปาปาฟรังซิส”
ท่านขอร้องว่า “จงมีการประนีประนอมต่อกันและกัน” ในระยะเริ่มต้นของกระบวนการนี้ “จงลดท่าที่ที่แข็งกร้าวลงและแสดงให้เห็นน้ำใจที่ดีของทั้งสองฝ่าย”
ด้วยคำขอร้องนี้ทำให้ พรรค Mesa de la Unidad Democrática ซึ่งเป็นฝ่ายต่อต้านรัฐบาลและมีที่นั่งส่วนใหญ่ในสภา ได้ระงับแผนการถอดถอนนายมาดูโรจากตำแหน่งประธานธิบดีและยกเลิกการจัดชุมนุมประท้วงที่จะเดินไปยังบ้านพักของประธานาธิบดีที่กำหนดให้มีในวันที่
3 พ.ย.
และนายมาดูโรได้ยอมปล่อยตัวนักโทษการเมืองฝ่ายตรงข้ามจำนวนหนึ่งร้อยคนออกจากคุก
ดังนั้นในวันอาทิตย์ 30 ต.ค.
ทั้งสองฝ่ายก็มาพบกันเป็นครั้งแรก
ไม่ใช่ที่เกาะมาการิต้าซึ่งกำหนดไว้ครั้งแรกเพื่อความปลอดภัย แต่เป็นที่กรุงคาราคัสที่พิพิธภัณฑ์ Alejandro Otero museum มีตัวแทนห้าคนจากฝ่ายตรงข้าม
รวมทั้งนาย Jesus Torrealba ประธานพรรค Mesa de la Unidad
Democrática แต่ไม่ปรากฏตัวแทนของกลุ่ม
Voluntad Popular ที่มีนาย Leopoldo López เป็นหัวหน้าและเขาเป็นนักโทษการเมืองที่มีชื่อเสียงที่สุด
ทุกฝ่ายที่ประชุมตกลงให้มีการพบกันอีกครั้งในวันที่
11 พ.ย. เพื่อหารือใน 4 หัวข้อคือ การเคารพต่อกฎหมาย การฟื้นฟูดูแลผู้ตกเป็นเหยื่อ หมายกำหนดการเลือกตั้ง และสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของประเทศ
การพบปะครั้งแรกและครั้งต่อๆไปเกิดขึ้นได้ด้วยบทบาทของกลุ่ม “facilitadores,” อันประกอบด้วยอดีตประธานาธิบดีสี่คนคือ
Samper, Zapatero, Torrijos, และ Fernández พร้อมด้วยผู้แทนของวาติกันพระอัครสังฆราช Celli และเหนือสิ่งใดคือการให้คำแนะนำของพระสันตปาปาฟรังซิส
ดังที่พระอัครสังฆราชได้ให้สัมภาษณ์กับทางวาติกันเรดิโอว่า
“ความเข้าใจทั่วไปในเรื่องนี้ซึ่งย้ำเตือนกับผมหลายครั้งก็คือ
เรามาอยู่ที่นี่ก็เพราะพวกคุณอยู่ที่นี่
หมายความว่า บทบาทของพระสันตปาปาฟรังซิสที่ตรัสในจดหมายนั้นเป็นรากฐาน
อดีตประธานาธิบดีทั้งสี่ท่านได้ย้ำว่าถ้าหากทางสันตสำนักไม่ร่วมทำงานนี้ การประชุมเจรจาก็จะไม่มีทางเกิดขึ้น ท่าน Zapatero อดีตนายกรัฐมนตรีของสเปนระบุไว้อย่างชัดเจนต่อสาธารณชนว่า
สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นดังที่เห็นนั้นสืบเนื่องมาจากการที่พระสันตปาปาฟรังซิสทรงเข้ามาช่วยเหลือจึงทำให้การเจรจาประสบความสำเร็จ”
พระสันตปาปาฟรังซิสตรัสถึงเรื่องนี้ในวันที่ 1 พ.ย.
ขณะที่เดินทางกลับจากสวีเดนไปยังกรุงโรม
ที่สวีเดนพระองค์เสด็จไปร่วมพิธีการฉลองครบรอบ 500
ปีของการก่อตั้งนิกายลูเทอร์
เมื่อนักข่าวสเปน Eva Fernández ทูลถามเกี่ยวกับการสนทนากับนายมาดูโรและการเริ่มต้นของการเจรจาสองฝ่าย พระสันตปาปาตอบว่า
“ประธานาธิบดีแห่งเวเนซูเอล่า
ขอร้องให้มีการพบกันเพราะเขาเพิ่งมาจากกาตาร์ในตะวันออกกลางและแวะกรุงโรม เขาเคยขอร้องให้มีการพบกันมาก่อนหน้านี้แล้วในปี
2013 แต่ครั้งนั้นเขาป่วยไม่สามารถมาได้
ข้าพเจ้าสนทนากับเขาเป็นเวลาครึ่งชั่วโมง ข้าพเจ้าฟังเขา
ถามคำถามบางอย่าง
และฟังความคิดเห็นของเขา
เป็นการดีที่จะฟังทุกความเห็น
“เกี่ยวกับการเจรจาสองฝ่ายเพื่อยุติความขัดแย้งกันในทุกเรื่อง แต่ละฝ่ายมักจะพูดหรือไม่ก็ร้องตะโกน แต่ไม่ยอมฟังความเห็นของคนอื่น ข้าพเจ้าพยายามให้ทุกฝ่ายเจรจากันด้วยดี ข้าพเจ้าเชื่อว่านี่เป็นวิถีที่ต้องดำเนินไป
ข้าพเจ้าไม่รู้ว่ามันจะจบลงอย่างไร
เพราะมันซับซ้อนมาก
แต่ผู้ที่มีส่วนร่วมในการเจรจาเป็นคนสำคัญในด้านการเมือง ท่าน Zapatero เป็นประธานาธิบดีของสเปนสองครั้ง และท่าน Restrepo
ได้ขอให้ทางสันตสำนักเข้ามามีบทบาทในการเจรจาด้วย
ทางสันตสำนักได้ส่ง nuncio
in Argentina, Archbishop Tscherrig ไปที่โต๊ะเจรจาประนีประนอม การเจรจาเพื่อให้เกิดการประนีประนอมนั้นเป็นวิถีทางเดียวที่ทำให้ออกจากความขัดแย้งกัน ไม่มีทางอื่น
ถ้าประเทศทางตะวันออกกลางจะทำเช่นนี้
ประชาชนมากมายคงไม่ต้องเสียชีวิต”
ที่พระสันตะปาปาตรัสเช่นนั้น พระองค์คงยังไม่รู้ว่า พระอัครสังฆราช Celli ได้เข้ามาแทนที่
พระอัครสังฆราช Tscherrig เรียบร้อยแล้ว องค์หลังนี้เป็นเพื่อนของพระสันตะปาปา เมื่อครั้งที่พระองค์ยังเป็น Jorge Mario
Bergoglio และเป็นพระอัครสังฆราชแห่งบูเอโน ไอเส ขณะที่เขาเป็น nuncio in Argentina
ความสำเร็จในการจัดให้มีการเจรจาเพื่อประนีประนอมกันนี้
เกิดขึ้นเพราะพระสันตปาปาฟรังซิสและทางสันตสำนักเข้ามาเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยให้ทั้งสองฝ่ายที่ขัดแย้งกันในเวเนซูเอล่าประนีประนอมกัน หลังจากที่เกิดภาวะชะงักงันเป็นเวลานาน
----------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น