วันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2560

พระสงฆ์คาทอลิกและนักวิทยาศาสตร์

                  เมนเดล บิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์

นักวิทยาศาสตร์ยิ่งใหญ่ของโลกหลายคนที่เป็นคาทอลิกและมีความเชื่อในพระเป็นเจ้าอย่างลึกซึ้ง  และที่สำคัญก็คือบางท่านก็เป็นพระสงฆ์คาทอลิกด้วย  ยกตัวอย่างเช่น

Georges Lemaitre
จอร์จ เลมาร์ท

ทฤษฏีบิกแบง ว่าด้วยการกำเนิดจักรวาล ก็มาจากพระสงฆ์คาทอลิกชื่อ Georges Lemaitre ท่านเป็นพระสงฆ์เยซูอิตและเป็นนักดาราศาสตร์ ทฏษฏีบิกแบงนี้ท้าทายความคิดของบรรดานักคิดในยุคสมัยใหม่ของศตวรรษที่ 21 ซึ่งไม่เชื่อในพระเจ้า และเป็นยุคที่ศาสนาและวิทยาศาสตร์มีความขัดแย้งกัน  จอร์จ เลมาร์ทไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในความเชื่อคาทอลิกเพียงคนเดียวเท่านั้น  ยังมีท่านอื่นๆอีก

Gregor Mendel
เกรเกอร์ เมนเดล (ยอห์น เกรโกรี่ เมนเดล)

เมนเดล อยู่ร่วมยุคสมัยกับชาร์ล ดาร์วิน ผู้เสนอทฏษฏีวิวัฒนาการ ที่กล่าวว่าสิ่งมีชีวิตมีวิวัฒนาการทีละน้อยและค่อยๆเปลี่ยนแปลงรูปร่างเพื่อให้มีชีวิตรอดในสิ่งแวดล้อม จนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง  เมื่อเมนเดลรู้ข่าวเกี่ยวกับทฤษฏีใหม่นี้ที่ขัดแย้งกับพระคัมภีร์ที่กล่าวว่าสิ่งมีชีวิตมีกำเนิดมาจากการสร้างของพระเป็นเจ้า"พระเจ้าทรงสร้างสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดตามชนิดของมัน"   เมนเดลไม่เห็นด้วยกับชาร์ล ดาร์วิน และทำการพิสูจน์ว่าสิ่งมีชีวิตมีการถ่ายทอดลักษณะจากพ่อแม่มาสู่รุ่นลูก  ท่านทดลองด้วยการปลูกถั่วลันเตาที่มีลักษณะต่างๆหลายรุ่น และได้ผลลัพท์ที่กลายเป็นกฎมาจนทุกวันนี้ เรียกว่า “กฎพันธุศาสตร์ของเมนเดล” (กฎ เป็นความจริงแท้แน่นอน ส่วนทฤษฏียังไม่ใช่ความจริง) กฎของเมนเดลสรุปได้ว่า

1.        การถ่ายทอดลักษณะหนึ่งลักษณะใดของสิ่งมีชีวิตถูกควบคุมโดยปัจจัย (fector) เป็นคู่ๆ ต่อมาปัจจัยเหล่านั้นถูกเรียกว่า ยีน (gene)

2.        ยีนที่ควบคุมลักษณะต่างๆจะอยู่กันเป็นคู่ๆ และสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไปได้

3.        ลักษณะแต่ละลักษณะจะมียีนควบคุม 1 คู่ โดยมียีนหนึ่งมาจากพ่อและอีกยีนมาจากแม่

4.        เมื่อมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์(gamete) ยีนที่อยู่เป็นคู่ๆจะแยกออกจากกันไปอยู่ในเซลล์สืบพันธุ์ของแต่ละเซลล์และ ยีนเหล่านั้นจะเข้าคู่กันได้ใหม่อีกในไซโกต

5.        ลักษณะที่ไม่ปรากฏในรุ่น F1  ไม่ได้สูญหายไปไหนเพียงแต่ไม่สามารถแสดงออกมาได้

6.        ลักษณะที่ปรากฏออกมาในรุ่น F1   มีเพียงลักษณะเดียวเรียกว่า ลักษณะเด่น ( dominant) ส่วนลักษณะที่ปรากฏในรุ่น F2  และมีโอกาสปรากฏในรุ่นต่อไปได้น้อยกว่า เรียกว่า ลักษณะด้อย (recessive)

7.        ในรุ่น F2 จะได้ลักษณะเด่นและลักษณะด้อยปรากฏออกมาเป็นอัตราส่วน เด่น : ด้อย = 3 : 1

เมนเดลบวชเป็นพระสงฆ์ในคณะออกัสตินในปี 1868 และเป็นเจ้าอาวาสโบสถ์ในเมืองบรูโน ปัจจุบันอยู่ในสาธารณรัฐเช็ค  ผลงานของเมนเดลได้รับการจัดพิมพ์ใน 1866 และมีผู้ทำการทดลองต่อจากเมนเดล ทำให้มีความรู้ในเรื่องพันธุศาสตร์มากยิ่งขึ้น

ชาร์ล ดาร์วินซึ่งเป็นลูกชายของพระในนิกายแองกลิกันของอังกฤษ ได้เสนอทฤษฏีที่ขัดแย้งกับคำสอนในพระคัมภีร์  คนในสมัยนั้นซึ่งไม่เชื่อในพระเจ้าจึงรับเอาทฤษฏีวิวัฒนาการมาประยุกต์ใช้ในทางวิทยาศาสตร์และมีการสอนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยจวบจนถึงปัจจุบันนี้ 

เมนเดลซึ่งเป็นพระสงฆ์คาทอลิก ได้เปิดเผยความจริงของการเนรมิตสร้างของพระเป็นเจ้า ทำให้รู้ถึงวิธีการของพระเป็นเจ้าในการสร้างสิ่งมีชีวิต  ด้วยกฎของเมนเดลซึ่งก้าวล้ำหน้าไปเป็นอันมากจนสามารถนำมาใช้ในทางการแพทย์ด้านพันธุกรรม ชีววิทยาและวิทยาศาสตร์ธรรมชาติอื่นๆ

และนี่จึงเป็นเรื่องราวการต่อสู้ระหว่าางความจริงกับความเท็จในโลกของวิทยาศาสตร์

Mary Kenneth Keller
แมรี่ เคนเนท เคลเลอร์

เมื่อเราคิดถึงผู้บุกเบิกทางด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์  เราคงไม่นึกถึงแม่ชี (ซิสเตอร์) เป็นแน่  แมรี่ เคนเนท เคลเลอร์เข้าสู่คณะนักบวช Sisters of Charity of the Blessed Virgin Mary ที่โอไฮโอ ในปี 1932 และได้ปฏิญาณตนในปี 1940 เธอมีความฉลาดปราดเปรื่องทางด้านคณิตศาสตร์และได้รับปริญญาหลายใบในปีต่อๆมา

ปลายปี 1950 แมรี่ เคลเลอร์ เริ่มต้นทำงานในศูนย์วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่วิทยาลัยดาร์ทเมาท์  และเป็นผู้ร่วมงานคนเดียวที่เป็นสตรี  หลังจากได้รับปริญญาเอก เธอก็ย้ายไปที่วิทยาลัยคาร์กในไอโอวาเพื่อก่อตั้งแผนกวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ขึ้น  แผนกของเธอได้บุกเบิกงานทางด้านนี้มากมายจนเธอมีชื่อเสียงในด้านนี้และวิทยาลัยได้เปลี่ยนชื่อตามชื่อของเธอ  ผลงานของเธอเป็นการปูพื้นฐานให้กับวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์สมัยใหม่

Stephen Barr
สตีเฟน บารร์

บารร์ได้รับรางวัลเหรียญ Benemerenti Meda จากพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ในปี 2007 สำหรับกิจการงานทางด้านศาสนา  วิทยาศาสตร์และงานสาธารณประโยชน์  ท่านสอนวิชาความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์และศาสนา และได้เขียนหนังสือลงในนิตยสาร หนังสือพิมพ์ และแมกกาซีน

บารร์เป็นผู้เคร่งครัดในความเชื่อคาทอลิก บารร์ประสบความสำเร็จทางด้านวิทยาศาสตร์ในการวิจัยทางดาราศาสตร์และฟิสิกซ์อนุภาค ท่านช่วยวิจัยและค้นพบหลายสิ่งในการศึกษาอนุภาคพื้นฐาน

บารร์ได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยปรินซ์ตันในปี 1978 และได้เป็นหัวหน้านักวิจัยที่มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย  มหาวิทยาลัยวอชิงตันและห้องสมุดแห่งชาติบรุ๊คฮาเวน  นอกจากนี้ยังได้รับหน้าที่ในสถาบันต่างๆอีกมากมาย

บารร์ได้เป็นสมาชิกของสมาคมนักฟิสิกซ์อเมริกันดีเด่น  ซึ่งเป็นองค์กรของนักฟิสิกซ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

บารร์เป็นตัวอย่างที่ดีของคาทอลิกที่เชื่อมโยงความเชื่อทางวิทยาศาสตร์และศาสนาเข้าด้วยกันได้เป็นอย่างดี

Giovanni Inghirami
จีโอวานนี่  อินกิรามี

จีโอวานนีเป็นพระสงฆ์คาทอลิก ชื่อของท่านได้รับเกียรติโดยถูกใช้ตั้งชื่อของหุบเขาและเครเตอร์บนดวงจันทร์  ซึ่งทำให้รู้ว่าท่านมีความเชี่ยวชาญทางด้านดาราศาสตร์

เมื่ออายุ 17 ปี จีโอวานนีทำงานกับพระสงฆ์คณะปีเอริสต์ Piarist Fathers โดยเป็นครูสอนหนังสือ ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นศาสตราจารย์คณิตศาสตร์และปรัชญาที่ Pious Schools of Volterra ท่านได้จัดพิมพ์ผลงานทางด้านดาราศาสตร์และตารางดวงดาว และยังมีผลงานอีกเล็กน้อยทางด้านไฮดรอลิกส์และสแตติก

ชีวิตทางด้านศาสนา จีโอวานนีได้เป็นอธิการของคณะที่ท่านอยู่นี้  แต่ต่อมาได้ขอลาออกเนื่องจากสุขภาพที่ไม่สู้ดีและมีสายตาเสื่อม  การลาออกทำให้ท่านมีเวลามากขึ้นในการสอนหนังสือและเขียนผลงานการวิจัย  ท่านเสียชีวิตในปี 1851 ท่านยังมีอิทธิพลต่อพระสันตปาปาในอนาคตซึ่งเป็นลูกศิษย์คนหนึ่งของท่าน คือพระสันตะปาปาปีโอที่ 9

Mariano Artigas
มารีอาโน อาร์ติกาส

มารีอาโนเป็นพระสงฆ์และเป็นสมาชิกของสมาคม โอปุสเดอี  Opus Dei ได้รับการบวชเป็นพระสงฆ์ในปี 1964  และในปี 1995 ท่านได้รับรางวัล Templeton Prize ในผลงานความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์และศาสนา  ผลงานของท่านส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับ apologetics (สาขาของศาสนศาสตร์ที่เกี่ยวกับการปกป้องความเชื่อคริสตศาสนา) ท่านยังเป็นที่ปรึกษาของสันตสำนักสภาเพื่อการเสวนากับผู้ไม่มีความเชื่อ

มารีอาโนมีความสนใจในเรื่องของวิทยาศาสตร์ ปรัชญาและศาสนา ไปพร้อมๆกัน  ทำให้เขาเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มผู้วิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เหตุผลและความเชื่อในมหาวิทยาลัยนาวาร์รา ในปี 2002  ท่านจัดพิมพ์บทความมากกว่า 150 เรื่องและพิมพ์หนังสือในสามสาขานี้

ท่านได้รับปริญญาเอกสาขาปรัชญา ฟิสิกว์และเทววิทยา ท่านเสียชีวิตในปี 2006

            พระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ทรงกล่าวในสมณสาส์น Fides et Ratio ว่า “ความเชื่อและเหตุผลเหมือนกับปีกสองปีกที่ช่วยยกจิตใจของมนุษย์ให้พิจารณาไตร่ตรองความจริง  และพระเป็นเจ้าทรงใส่ลงในหัวใจของมนุษย์ให้ปรารถนาที่จะรู้ความจริง หรือกล่าวได้ว่า ที่จะรู้จักพระองค์  เพื่อที่โดยการรู้และรักพระเจ้า  มนุษย์ชายหญิงจักสามารถมาสู่ความรู้ในความจริงสมบูรณ์เกี่ยวกับตัวเอง”  นักวิทยาศาสตร์ผู้มีความเชื่อคาทอลิกผู้นี้เป็นตัวอย่างแก่ผู้ที่ต้องการแสวงหาและใช้วิทยาศาสตร์เพื่อที่จะเข้าใจความเชื่อ
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น