คำแปล
มีหลายคนทั้งที่เป็นคริสตชนและไม่ใช่คริสตชนที่ไม่เชื่อว่าพระเยซูเจ้ามีชีวิตอยู่จริง
เรื่องหนึ่งที่ทำให้พวกเขาเชื่อเช่นนั้นก็คือการที่ไม่รู้วันเดือนปีและเวลาที่แน่นอนของการตรึงกางเขนของพระเยซูเจ้า
เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับพวกเราที่เป็นคริสตชนและเป็นคาทอลิก
เพราะความตายและการกลับคืนชีพของพระเยซูเจ้าเป็นค่าไถ่ชีวิตนิรันดรของมนุษย์ทุกคน
จุดนี้จึงเป็นจุดที่สำคัญของทุกเรื่อง
พวกเราที่เป็นคาทอลิกมีความสนใจในประวัติศาสตร์และธรรมประเพณีของพระศาสนจักรเป็นอย่างมาก
เพราะเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงเราเข้ากับพระคริสตเจ้า เราต้องการมีความสัมพันธ์ส่วนตัวกับพระเยซูคริสต์และเราต้องการมีความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์กับพระเยซูคริสต์ด้วย
เราได้พูดไปในตอนที่แล้วว่า ศีลล้างบาปนำเราไปสู่ห้วงเวลาในอดีตของการสิ้นพระชนม์และการคืนชีพของพระเยซูเจ้า ศีลสง่า(confirmation)นำเราไปสู่วันที่พระจิตเจ้าเสด็จลงมาเหนือพระมารดามารีย์และอัตรสาวก
และพระจิตเสด็จมาเหนือพวกเราเป็นส่วนบุคคลด้วยเช่นกันในพิธีมิสซาศักดิ์สิทธิ์และในเทศกาลมหาพรตที่เพิ่งผ่านพ้นไป
ในวันนี้เรากำลังจะใช้วิธีการทางดาราศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์
พร้อมด้วยประวัติศาสตร์โลก ประวัติศาสตร์พระศาสนจักร
และพระคัมภีร์มาประกอบกันเพื่อสืบค้นหาวัน เดือน ปี
และเวลาที่แน่นอนของการสิ้นพระชนม์บนกางเขนขององค์พระบุตรของพระเจ้า พระบุคคลที่สองในพระตรีเอกภาพนิรันดร โดยมีจุดที่สามารถสืบค้นได้ทั้งหมด
9 จุดดังนี้
จุดที่
1 จากพระคัมภีร์ลูกา 3:1 กล่าวว่า ยอห์น
บัพติสเริ่มภารกิจของท่านในปีที่ 15 ของรัชสมัยไทบีเรียส ซีซาร์เป็นจักรพรรดิของอาณาจักรโรมัน
จุดที่
2 นักประวัติศาสตร์โรมันบันทึกไว้ว่า
ไทบีเรียส ซีซาร์ครองราชย์ต่อจากจักรพรรดิออกัสตัส
และได้รับการรับรองจากรัฐสภาโรมันในวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 14 ได้ปกครองจนถึงปี
ค.ศ. 37 ดังนั้นในเมื่อยอห์น บัพติสเริ่มภารกิจในปีที่ 15 ของรัชสมัยของไทบีเรียส ซีซาร์ นั่นคือในราวปี ค.ศ. 28 – 29 เวลานั้นยอห์น
เริ่มประกอบพิธีล้างด้วยน้ำให้แก่ประชาชนที่แม่น้ำจอร์แดน
และสั่งสอนประชาชนให้กลับใจเพราะอาณาจักรสวรรค์ใกล้เข้ามาแล้ว
จุดที่
3
พระเยซูเจ้าทรงรับศีลล้างจากท่านนักบุญยอห์นตามที่ปรากฏในพระวาสาร
ก็จะตกอยู่ในเวลาประมาณ ปี ค.ศ. 29-30 เพราะเรารู้จากพระวรสารว่า
พระเยซูเจ้าทรงปรากฏพระองค์หลังจากที่ยอห์นได้ประกอบพิธีล้างและสั่งสอนประชาชนมาระยะหนึ่งแล้ว
จุดที่
4 ตามพระวรสารนักบุญยอห์น
กล่าวว่าพระเยซูเจ้าทรงเริ่มภารกิจของพระองค์เป็นเวลา 3 – 3.5 ปี
นักบุญยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสารนี้ได้บันทึกภารกิจของพระเยซูเจ้าโดยแบ่งตามช่วงเวลาของเทศกาลปัสกาในแต่ละปีของชาวยิว
เป็นสามปัสกา (3ปี) ในขณะที่พระเยซูเจ้าทรงประทับอยู่ที่กรุงเยรูซาเล็ม พระวรสารนักบุญยอห์นจึงบันทึกเป็นสามวงรอบของการปฏิบัติภารกิจในการสั่งสอนประชาชนของพระเยซูเจ้าหลังจากได้รับศีลล้างจากท่านยอห์น บัพติสแล้ว
(3 ANNUAL CYCLE) ซึ่งปรากฏอยู่ในพระวรสารยอห์น 2:13-23 ยอห์น6:4 และยอห์น11:55 ,ยน. 12:1
เยรูซาเล็มเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นจุดสุดท้ายของพระภารกิจของพระเยซูเจ้า ในพระวรสารยอห์น3:12-23
เป็นปัสกาครั้งแรก ปัสกาครั้งที่ 2 ปรากฏในยอห์น 6 :4 ครั้งนี้พระเยซูเจ้าอยู่ระหว่างทางที่กาลิลีและตรัสถึงศีลมหาสนิทเป็นครั้งแรก นั่นคือปังซึ่งเป็นพระกายของพระองค์ซึ่งเป็นอาหารแท้และพระโลหิตของพระองค์เป็นเครื่องดื่มแท้
และนั่นนำไปสู่ปัสกาครั้งสุดท้ายที่กรุงเยรูซาเล็ม
สถานที่พระเยซูเจ้าทรงปฏิบัติภารกิจสุดท้ายของพระองค์ เป็นเวลาแห่งการทรงถูกตรึงกางเขน
ดังที่เราอ่านพบความเชื่อมโยงของปัสกากับพระมหาทรมานของพระเยซูเจ้าในยอห์น11:55
และในยอห์น 12:1 ดูเหมือนจะกล่าวถึงปัสกาอีกครั้งหนึ่ง แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่เราจะพูดถึงในวันนี้
จุดที่
5 พระเยซูเจ้าทรงปฏิบัติภารกิจในการสั่งสอนประชาชนเป็นเวลา
3 – 3.5 ปี (ไม่ถึง 4
ปีตามประเด็นที่ว่าอาจมีปัสกาอีกครั้งหนึ่ง)
เมื่อนำจำนวนตัวเลขเหล่านี้มาประกอบเข้าด้วยกัน นั่นคือ
พระเยซูเจ้าทรงเริ่มภารกิจประมาณปี ค.ศ. 29 – 30 และใช้เวลาในการปฏิบัติภารกิจประมาณ
3 ปีกว่า ดังนั้นพระองค์จึงทรงสิ้นพระชนม์ในราวปี ค.ศ. 33 หรือ ค.ศ. 34
จุดที่
6 พระวรสารทั้งสี่ มัทธิว
มาร์โก ลูกา และยอห์นกล่าวตรงกันว่าการตรึงกางเขนพระเยซูเจ้าเกิดขึ้นก่อนวันสัปบาโตของชาวยิวจะเริ่มต้นเพียงไม่กี่ชั่วโมง
นั่นคือเกิดในตอนเย็นหรือก่อนค่ำของวันศุกร์ภายในเทศกาลปัสกาซึ่งจะฉลองกันในวันพระจันทร์เต็มดวงเสมอ
ซอฟท์แวร์ทางคอมพิวเตอร์มีประโยชน์ในตอนนี้ เพราะเราสามารถย้อนเวลากลับไปในสถานที่ใดก็ได้ในโลกเพื่อหาปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์และวิถีดวงดาวบนท้องฟ้า
ณ.เวลาที่ระบุ และผลลัพท์ที่ได้มีความถูกต้อง 100 %
ดังนั้นเราจึงใช้ซอฟท์แวร์ดาราศาสตร์นี้ย้อนกลับไปที่ท้องฟ้าของกรุงเยรูซาเล็มในอดีต
ในช่วงเวลาเทศกาลปัสกา เป็นวันที่มีพระจันทร์เต็มดวง และตรงกับวันศุกร์
เมื่อเราทำเช่นนี้เราพบว่าวันที่พระจันทร์เต็มดวงของเทศกาลปัสกาในวันของชาวยิวที่เรียกว่าวันที่
14 ของนิซาน Nisan
ปรากฏว่ามีเพียงสองครั้งเท่านั้น คือ
วันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 30 และ วันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 33 การที่รู้ช่วงเวลารัชสมัยของไทบีเรียส ซีซาร์จากบันทึกของนักประวัติศาสตร์โรมัน การรู้ช่วงเวลาภารกิจของยอห์น บัพติส
ทำให้เรารู้ว่า เทศกาลปัสกาครั้งนั้นไม่ตรงกับวันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 30
เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น เพราะจากลูกา 3:1 ยอห์นเริ่มภารกิจในปีที่ 15 ของรัชสมัยของไทบีเรียส ซีซาร์ นั่นคือ ค.ศ.
28 หรือ ค.ศ. 29 ดังนั้นถ้าพระเยซูเจ้าถูกตรึงกางเขนในปี ค.ศ. 30
พระองค์ก็ปฏิบัติภารกิจเพียงไม่กี่เดือนเท่านั้นซึ่งไม่ตรงกับบันทึกในพระวรสารที่ระบุว่าพระเยซูเจ้าทรงปฏิบัติภารกิจในวงรอบสามปัสกา
(3ปี) ดังนั้นจึงเหลือเพียงวันที่อันเดียวที่เป็นจริงได้
นั่นก็คือ
วันที่
3 เมษายน ค.ศ. 33
พวกเราคริสตชนคาทอลิกจึงมั่นใจได้
100% ว่า บาปของพวกเราได้รับการอภัยจากพระเป็นเจ้าในวันที่
3 เมษายน ค.ศ. 33
นอกจากนี้เราสามารถรู้ได้ด้วยว่า
พระเยซูเจ้าได้รับศีลล้างจากท่านนักบุญยอห์นตอนต้นปีค.ศ. 30 ซึ่งก็มีเหตุผล
เพราะเราฉลองวันที่พระเยซูเจ้าทรงรับศีลล้างในวันที่ 6 มกราคม
เรารู้และมั่นใจแล้วว่า
พระเยซูเจ้าทรงถูกตรึงกางเขนในวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 33
ดังนั้นวันที่พระองค์ทรงกลับฟื้นคืนพระชนม์จึงเป็นวันที่ 5 เมษายน ค.ศ.
33
สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญของพวกเราชาวคาทอลิกเพราะเราเชื่อในศีลมหาสนิท เราเชื่อในพิธีมิสซาศักดิ์สิทธิ์
เมื่อเราร่วมในพิธีมิสซาเราได้เข้าสู่ความลึกลับแห่งการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูคริสตเจ้า เมื่อเราศึกษาประวัติศาสตร์ เรารู้ว่าศีลมหาสนิทเป็นส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์
การสิ้นพระชนม์ของพระคริสต์ก็เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์
กางเขนของพระคริสต์อยู่ในเรื่องราวนี้
เราได้รู้ถึงวัน เดือน
ปีและเวลาที่แน่นอนของเหตุการณ์นี้โดยใช้วิทยาศาสตร์ ธรรมประเพณี
และประวัติศาสตร์ในการย้อนเวลาไปสืบค้นเหตุการณ์นี้ได้
แต่ยังมีบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับศีลมหาสนิทที่เราจะสืบค้นในวันนี้ด้วย นั่นคือมีหลายคนทีเดียวที่พูดว่า “รู้ไหมว่าพระคริสต์ทรงฉลองปัสกาในวันพฤหัสหรือวันศุกร์กันแน่?”
เพราะพระวรสารนักบุญยอห์นหรือพระวรสารอื่นๆดูเหมือนจะไม่ได้ระบุไว้แน่ชัดว่าเป็นวันศุกร์ปัสกาหรือวันพฤหัสปัสกา
จากการศึกษาข้อเขียนของบรรดาปิตาจารย์ จากหนังสือของบุคคลหลายท่านในอดีต
และจากข้อเขียนของนักบุญโทมัส อไควนัส ทำให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
จุดที่
9 ข้อสรุปก็คือวันศุกร์ เป็นวันปัสกาอย่างแน่นอน ซึ่งทุกวันนี้เราทำการฉลองเทศกาลปัสกากันในเดือนเมษายน
จึงมีคำถามตามมาว่า “ถ้าเช่นนั้นแล้วทำไมพระเยซูเจ้าจึงฉลองปัสกาในคืนวันพฤหัสในเมื่อวันปัสกาคือวันศุกร์เล่า?” เราต้องจำไว้ว่า ชาวยิวในสมัยก่อนและในทุกวันนี้นับจุดเริ่มต้นของวันในตอนพระอาทิตย์ตกดิน
ไม่ใช่ตอนเที่ยงคืน12:00น. และไม่ใช่ตอนพระอาทิตย์ขึ้น
เพราะฉะนั้นหลังจากพระอาทิตย์ตกดินของคืนวันพฤหัส
นั่นก็เป็นวันปัสกาเรียบร้อยแล้ว
และนี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่พวกเราคาทอลิกสามารถร่วมพิธีมิสซาได้ในตอนเย็นวันเสาร์โดยถือว่าเป็นมิสซาวันอาทิตย์ ก็เพราะพระศาสนจักรใช้วิธีการนับวันของชาวยิว
ซึ่งมีที่มาจากพระคัมภีร์บทปฐมกาลที่กล่าวว่ามีเวลาเย็นและเวลาเช้าเป็นวันที่หนึ่ง เวลาเย็นและเวลาเช้าเป็นวันที่สอง เวลาเย็นและเวลาเช้าเป็นวันที่สาม.....ดังนั้นเมื่อพระคริสต์ทรงรวบรวมอัครสาวกและนำพวกเขาเข้าสู่ความลึกลับแห่งปัสกา พวกเขาก็ระลึกได้ถึงลูกแกะที่ถูกบูชายัญในสมัยของโมเสส
และชาวอิสราแอลได้รับการปลดปล่อยจากการเป็นทาสของชวอิยิปต์โดยเดินผ่านทะเลแดงและถูกนำไปยังดินแดนแห่งพันธสัญญา พระคริสต์ได้ทรงเข้าสู่ความลึกลับของพิธีกรรมในพระธรรมเก่า
ทรงเชื่อมโยงเหตุการณ์ในพระธรรมเก่าเข้ากับพระมหาทรมาน
การถูกตรึงกางเขนและการสิ้นพระชนม์ของพระองค์
นี่เป็นความงดงามทางเทววิทยาที่รวมเอาเหตุการณ์เลี้ยงอาหารค่ำมื้อสุดท้าย และปัสกาในศีลมหาสนิท
พระมหาทรมาน
และการสิ้นพระชนม์ของพระคริสตเจ้ามารวมกันกลายเป็นความจริงหนึ่งเดียว เราชาวคาทอลิกจึงเชื่อมั่นว่าศีลมหาสนิทและพิธีมิสซาเป็นยัญบูชาของพระคริสตเจ้า
ผู้ทรงสิ้นพระชนม์เพียงครั้งเดียว เป็นยัญบูชาอันประเสริฐสุดของมนุษย์-พระเจ้า
เพื่อไถ่บาปของมนุษย์ทุกคน นี่คือความงดงาม
เมื่อเราไปร่วมพิธีมิสซา เราไปสารภาพบาปกับพระสงฆ์
เราได้เชื่อมโยงเป็นการส่วนตัวและอย่างศักดิ์สิทธิ์กับพระเยซูคริสตเจ้า
บาปของเราทั้งหมดได้รับการอภัยในพระคริสต์
เรารู้ว่าเราได้เป็นหนึ่งเดียวกับพระกายและพระโลหิตของพระเยซูคริสต์ พระองค์ได้เข้ามาในร่างกายของเรา
ในจิตวิญญาณของเรา
นี่เป็นความจริงในประวัติศาสตร์ที่นำมาซึ่งความจริงอันงดงามทางเทววิทยาซึ่งผมต้องการแบ่งปันให้กับคุณในวันนี้และขอให้คุณนำไปสิ่งนี้ไปแบ่งปันให้กับคนอื่นๆด้วย
---------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น