การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ : ผู้อาวุโสชาวอินนูอิทบอกว่าขั้วโลกได้เคลื่อนไปจากที่เดิมของมัน นาซ่าได้ออกคำเตือนที่มาจากชาวอินนูอิท
พวกเขาบอกว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศมีสาเหตุจากภาวะโลกร้อน และยิ่งไปกว่านั้น
เป็นเพราะขั้วโลกกำลังหมุนเปลี่ยนตำแหน่ง
พวกเขาพูดว่าขั้วโลกกำลังหมุนทำให้ท้องฟ้าเปลี่ยนไป
ชาวอินนูอิทเป็นชนเผ่าท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ที่ขั้วโลกเหนือทางแถบประเทศคานาดา สหรัฐอเมริกา
และกรีนแลนด์ พวกเขาชำนาญในการทำนายสภาพอากาศเหมือนกับบรรพบุรุษของพวกเขา
****************
ขั้วโลกมีการเคลื่อนหรือ?
คำแปลจากวีดีโอ
การสังเกตของชาวอินนูอิท (คำว่า
เอสกิโม เป็นคำที่ดูถูกชาวอินนูอิท เหมือนที่เราเรียกชาวปากะญอว่า กระเหรี่ยง)
ลูดี้
พุดลัก - เราได้ไปที่ชายขอบแผ่นน้ำแข็งด้วยรถหิมะ เราไปตั้งแต่เช้าตรู่
เราต้องไปให้ถึงในตอนกลางวันเพื่อยิงแมวน้ำ
ปกติเราจะมีเวลาเพียงหนึ่งชั่วโมง แต่วันนี้เรามีเวลาถึงสองชั่วโมงในการยิงแมวน้ำ
ความเปลี่ยนแปลงนี้เป็นที่สังเกตได้ ดวงอาทิตย์อยู่สูงขึ้นมากจากขอบฟ้า
ผมไม่รู้ทุกอย่างหรอก แต่ผมสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในท้องฟ้า ผมอาศัยอยู่ที่นี่ตลอดชีวิตและผมเฝ้าสังเกตดูดวงอาทิตย์
ตำแหน่งที่ดวงอาทิตย์ขึ้นเปลี่ยนไปไม่มากนัก
แต่ตำแหน่งที่ดวงอาทิตย์ตกเปลี่ยนไปมาก บางทีโลกอาจมีมุมเอียงของแกนที่เคลื่อนไปจากตำแหน่งเดิมของมัน
อินนูคี
อะดามี - ผมสงสัยในเรื่องนี้มาตลอด
และผมต้องการบอกให้รู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของดวงอาทิตย์และสิ่งแวดล้อมนี้
เอลีจา
โนวด์แลค – โลกได้เปลี่ยนแปลงตำแหน่งแกนของมัน ผมไม่รู้แน่ชัดว่ามันเกิดขึ้นเมื่อไร
แต่ผมรู้ว่าดวงอาทิตย์เคยตกใกล้กับจุดสูงสุดของยอดเขา หลังจากการเปลี่ยนแปลง
เวลานี้ดวงอาทิตย์ก็ตกเลยจุดสูงสุดของยอดเขานี้ไป
ไจปิตติ
เพาลัก – เรารู้สึกถึงความร้อนจากดวงอาทิตย์หลังจากที่แกนโลกของเราเคลื่อนไปจากตำแหน่งเดิม
ดวงอาทิตย์อยู่สูงขึ้นและรังสีตกกระทบอยู่ในแนวตั้งฉากมากขึ้น
นี่ทำให้รู้สึกอุ่นมากขึ้น
ซามูเอลิ
แอมแมค - ทุกวันนี้ทังก์ดริฟท์(Tongue Drift จุดสังเกตบนพื้นดินแนวหิมะ)หาได้ยาก ทังก์ดริฟท์เป็นเครื่องหมายบอกทิศที่ช่วยในการเดินทาง
มันก่อตัวขึ้นจากลมเหนือที่เปลี่ยนไป ผมเรียนรู้การสังเกตพื้นดินถ้าไม่เห็นดวงดาว ทุกวันนี้ดวงดาวดูจะเปลี่ยนไปด้วย
ซามูเอลิ
แอมแมค - ในตอนกลางคืนเมื่อกลับจากล่าสัตว์โดยอาศัยดวงดาว
เห็นได้ชัดว่าดวงดาวไม่อยู่ในตำแหน่งเดิมของพวกมัน โลกของเราเปลี่ยนแปลงไป แผ่นดิน
ท้องฟ้า และสิ่งแวดล้อม
เฮอร์เว
ปานิแอก - เวลานี้ทังก์ดริฟท์ชี้ไปในทิศอื่น เมื่อเราไปทางทิศตะวันออก เราจะเฉออกไปทางด้านข้าง
ตอนนี้การไปทางตะวันออก เราไปทางทิศที่เปลี่ยนไป
กระแสลมสลับด้านเป็นสาเหตุของเรื่องนี้
ลูดี้
พุดลัก - เราไม่เคยมีลมเหนือเป็นเวลานาน เรามีลมใต้มากกว่า แต่ตอนนี้มีลมตะวันออกเป็นส่วนใหญ่
ในอดีตเราไม่ค่อยมีลมตะวันออก
ลมตะวันออกพัดแรงและนำสภาพอากาศที่ไม่ดีมา
ตอนนี้ลมตะวันออกเหมือนกับลมเหนือแล้ว
-******************************
แกนโลกเอียง
คำตอบนำมาจากอรรถาธิบายของ รศ. ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ว่า แกนของโลกที่หมุนรอบตัวเอง ไม่ได้ตั้งตรงในแนวดิ่ง แต่เอียงตัวอยู่แล้ว โดยทำมุม 23.5 องศากับแนวดิ่ง ซึ่งการเอียงตัวของแกนโลกด้วยมุมนี้ทำให้เกิด 4 ฤดูกาล ได้แก่ ฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาว ฤดูใบไม้ผลิ และฤดูร้อน และยังทำให้ช่วงเวลากลางวัน หรือช่วงเวลาที่มีแสงอาทิตย์ไม่เท่ากันในแต่ละฤดูกาล ปรากฏการณ์เหล่านี้ จะเห็นชัดเมื่อห่างออกไปจากเส้นศูนย์สูตรของโลก
ประเทศไทยตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร 4 ฤดูกาลจึงไม่ชัดเจนมากเหมือนประเทศที่อยู่เหนือขึ้นไป
ความยาวของช่วงเวลาที่มีแสงอาทิตย์ก็แตกต่างกันเพียง 1 ชั่วโมง
ยิ่งเหนือขึ้นไปหรือใต้ลงมาจากเส้นศูนย์สูตร สองปรากฏการณ์นี้จะเห็นชัดมากขึ้น
โลกหมุนรอบตัวเองเป็นปกติอยู่แล้ว
เมื่อใดที่มีการเปลี่ยน แปลงมวลเกิดขึ้นภายในตัวโลก
หรือทำให้การกระจายตัวของมวลภายในโลกเปลี่ยนแปลง
ย่อมส่งผลต่อการเอียงตัวของแกนโลกและการหมุนของโลก ได้แก่ การเกิดแผ่นดินไหว
ทำให้มวลขนาดใหญ่เคลื่อนตัวหรือภาวะโลกร้อนที่ทำให้น้ำแข็งขั้วโลกเกิดการละลายแล้วไหลไปยังส่วนต่างๆของโลก
การเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ทุกๆครั้งจะทำให้แกนโลกและการหมุนตัวเองเปลี่ยนแปลง เช่น แผ่นดินไหวที่ชิลี เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553 ขนาด 8.8 ริกเตอร์ ทำให้แกนโลกเปลี่ยนแปลง 2.7 มิลลิอาร์กวินาที และยังทำให้เวลาสั้นลง 1.26 ไมโครวินาที นั่นคือโลกหมุนเร็วขึ้น ส่วนแผ่นดินไหวที่สุมาตราเมื่อครั้งทำให้เกิดสึนามิถล่มประเทศไทยเมื่อ 26 ธันวาคม 2547 มีขนาดถึง 9.1 ริกเตอร์ ทำให้แกนโลกเปลี่ยนแปลง 2.32 มิลลิอาร์กวินาที และยังทำให้เวลาสั้นลง 6.8 ไมโครวินาที ตามรายงานการศึกษาของ ดร.ริชาร์ด กรอสส์ นักวิจัยองค์การนาซา
การเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ทุกๆครั้งจะทำให้แกนโลกและการหมุนตัวเองเปลี่ยนแปลง เช่น แผ่นดินไหวที่ชิลี เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553 ขนาด 8.8 ริกเตอร์ ทำให้แกนโลกเปลี่ยนแปลง 2.7 มิลลิอาร์กวินาที และยังทำให้เวลาสั้นลง 1.26 ไมโครวินาที นั่นคือโลกหมุนเร็วขึ้น ส่วนแผ่นดินไหวที่สุมาตราเมื่อครั้งทำให้เกิดสึนามิถล่มประเทศไทยเมื่อ 26 ธันวาคม 2547 มีขนาดถึง 9.1 ริกเตอร์ ทำให้แกนโลกเปลี่ยนแปลง 2.32 มิลลิอาร์กวินาที และยังทำให้เวลาสั้นลง 6.8 ไมโครวินาที ตามรายงานการศึกษาของ ดร.ริชาร์ด กรอสส์ นักวิจัยองค์การนาซา
นอกจากแผ่นดินไหวที่ส่งผลให้แกนโลกเอียงแล้ว
ยังมีอีก 2 ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับแกนโลก คือการควงตัวของแกนโลก การควงตัวจะครบรอบทุก
25,730 ปี ลองนึกภาพการควงตัวของลูกข่างรอบแกนดิ่ง
ลูกข่างที่กำลังหมุนรอบตัวเองและแกนหมุนของมันเอียงตัวทำมุมกับแนวดิ่ง
มันจะเกิดการควงตัวรอบแกนดิ่ง
เนื่องจากน้ำหนักและความหนาของลูกข่างแต่ละส่วนไม่เท่ากัน
การควงตัวของแกนโลกก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล
เช่น ในอีก 12,865 ปีข้างหน้า (ครึ่งหนึ่งของรอบการควงตัว) ฤดูกาลจะสลับกันโดยสิ้นเชิง
หน้าหนาวปัจจุบันจะกลายเป็นหน้าร้อน และหน้าร้อนจะกลายเป็นหน้าหนาว
เนื่องจากการเอียงตัวของโลกจะสลับกัน
ในปัจจุบันแกนโลกทางซีกเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์
แต่อีก 12,865 ปีข้างหน้าจะหันออกห่างจากดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์นี้จะเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ
ค่อยเป็นค่อยไป มนุษย์จะปรับตัวได้ในที่สุดเพราะกินเวลาหลายชั่วอายุขัย
ช่วงชีวิตของมนุษย์หนึ่งคนไม่สามารถรับรู้การเปลี่ยนแปลงนี้ได้เพราะว่าสั้นเกิน
อีกปรากฏการณ์หนึ่งคือ ปรากฏการณ์แกนโลกส่ายเข้าหาหรือส่ายออกห่างจากแกนในแนวดิ่ง
จากเดิมที่ห่างอยู่แล้ว 23.5
องศา ซึ่งมีค่าการขยับมากที่สุดคือ 9.21 อาร์กวินาที
(ประมาณ 0.0025 องศา) และมีรอบประมาณ 18.6 ปี ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากอันตรกิริยาระหว่างโลกกับดวงจันทร์เป็นหลัก
แม้ว่าค่าการส่ายนี้จะน้อย
แต่ก็ยังมากกว่าค่าการขยับของแกนโลกเนื่องจากแผ่นดินไหวที่ชิลีหรือที่เกาะสุมาตราหลายเท่า
แต่การส่ายตัวของแกนโลกส่งผลต่อสภาวะโลกร้อนด้วยหรือไม่นั้น
นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาหาความสัมพันธ์อยู่
--------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น