ประมาณ 80 ปีที่แล้ว
ชายคนหนึ่งหยิบหนังสือพิมพ์ขึ้นมาอ่าน
และได้พบว่ามีข่าวการตายของตัวเขาเองปรากฏอยู่ในนั้น ซึ่งทำให้เขาตกใจมาก เพราะคงเป็นการเข้าใจผิดและลงข่าวผิดพลาด
แต่เขาก็อยากรู้ว่าผู้คนพูดถึงเขาอย่างไรหลังจากที่เขาตายไป หัวข่าวพูดว่า Dynamite King Dies “เจ้าพ่อระเบิดไดนาไมก์ตายแล้ว” เขาอ่านต่อไปอีก
ผู้คนเรียกเขาว่า “พ่อค้าแห่งความตาย” Merchant of Death เขาเป็นผู้คิดค้นระเบิดและทำให้เกิดการผลิตอาวุธแห่งการทำลายล้างข้นมาในโลกนี้
ข้อความนี้ทำให้เขารู้สึกผิด เขาไม่ต้องการเป็นที่รู้จักในนามของพ่อค้าแห่งความตาย
ตอนนั้นเองพลังแห่งการเยียวยารักษาที่อยู่ในใจเขาก็มีอำนาจเหนือกว่าพลังแห่งการทำลายล้างของระเบิด
ตั้งแต่นั้นเขาทุ่มเททุกอย่างทั้งเงินและการทำงานเพื่อสร้างสันติภาพและการกินดีอยู่ดีของผู้คน ปัจจุบันนี้เขาเป็นที่รู้จักกันดีในโลก ไม่ใช่ในนามของพ่อค้าแห่งความตาย
แต่ในชื่อของรางวัลโนเบล ชายคนนี้คือ Alfred
Nobel ครับ เมื่อเราตายไปจริงๆราจะบอกพระไดมั้ยครับว่า
เราได้ช่วยชีวิตใครไว้บ้าง สงเคราะห์ใครไว้บ้าง
เมื่อเราตายไปจะมีใครถามหาคุณหรือไม่
เราภูมิใจกับเงินทองที่เรามีหรือเรามีความสุขกับการช่วยเหลือและให้ความสุขเพื่อนมนุษย์ของเรา
เมื่อมีสุขก็อย่าสุขอยู่คนเดียวนะครับ
----------------------------ที่มา – หนังสือ My Facebook 4 โดย คุณพ่อสุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์
----------------------------
รางวัลโนเบลมีทั้งหมด 6 สาขา สำหรับปี 2017 มีผู้ได้รับดังนี้
1 รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปีนี้
ตกเป็นของนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน 3 คน
ผู้บุกเบิกสร้างองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่นำไปสู่การตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วง (Gravitational wave) ได้สำเร็จ
ซึ่งเป็นการพิสูจน์ว่าคลื่นดังกล่าวมีอยู่จริงตามการทำนายด้วยหลักทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของอัลเบิร์ต
ไอน์สไตน์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ทั้ง
3 ได้แก่ นายไรเนอร์ ไวส์ นายแบร์รี บาริช และนายคิป ธอร์น
ซึ่งต่างก็เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการก่อตั้งและดำเนินงานหอสังเกตการณ์คลื่นความโน้มถ่วงไลโก
(LIGO) ในสหรัฐฯ โดยนายไวส์เป็นผู้คิดค้นเทคนิคพื้นฐานที่ใช้ในการตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วง
ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่มีความละเอียดอ่อนและไม่เคยมีผู้ใดสามารถตรวจจับได้มาก่อน
ทำให้เขาได้รับเงินรางวัลครึ่งหนึ่งจากทั้งหมด 9 ล้านโครนสวีเดน (ราว 37 ล้านบาท)
ในครั้งนี้
5. รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมได้แก่ คาซูโอะ อิชิกูโร นักเขียนสัญชาติอังกฤษ เชื้อสายญี่ปุ่น โดยนิยายที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขามากที่สุดได้แก่เรื่อง "The Remains of the Day" (ตรงกับงานแปลไทยในชื่อ "เถ้าถ่านแห่งวารวัน") และ "Never Let Me Go" (ตรงกับงานแปลไทยในชื่อ "แผลลึก หัวใจสลาย")
6. รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ดร.ริชาร์ด เอช. เธเลอร์ อายุ 72 ปี นักวิชาการและอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐอเมริกา ในผลงานสำคัญที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นสะพานเชื่อมเศรษฐศาสตร์กับจิตวิทยา เขาศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจขององค์กรและบุคคลที่มีผลต่อตลาด ผ่านการรวบรวมสมมติฐานทางจิตใจที่ตั้งอยู่บนหลักแห่งความเป็นจริงประกอบเข้ากับการวิเคราะห์การตัดสินใจทางเศรษฐกิจ ด้วยการสำรวจผลกระทบที่มาจากความสมเหตุสมผลแบบจำกัด ความต้องการทางสังคม และการขาดการควบคุมตนเอง ซึ่งลักษณะเหล่านี้ของมนุษย์ล้วนมีผลต่อระบบการตัดสินใจของแต่ละบุคคล เช่นเดียวกับผลลัพธ์ที่มีต่อตลาด
รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ เป็นรางวัลที่ตั้งขึ้นเพื่อระลึกถึงการจากไปของอัลเฟรด โนเบล ไม่ได้ตั้งตามพินัยกรรมที่ระบุไว้แค่ 5 สาขา
รางวัลโนเบลไม่ให้ย้อนหลัง คนที่จะรับรางวัลต้องยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น เว้นแต่ประกาศชื่อแล้วเสียชีวิตก่อนรับรางวัล ถือว่ามอบย้อนหลังได้ เช่น ในปี 1961 ที่เลขายูเอ็น นาย ดอก ฮัมมาร์เควน เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเครื่องบินตกในแอฟริกาหลังการประกาศรางวัล
และเนื่องจากรางวัลโนเบลจะเสนอชื่อใครก็ได้หากยังมีชีวิตอยู่ ทั้งอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เบนิโต มุสโสลินี และโจเซฟ สตาลิน ต่างก็ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
----------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น