นิวยอร์กเป็นเมืองแห่งวัฒนธรรมที่หลากหลายเสมอ ตอนต้นปี 1600
มีผู้พูดภาษาต่างๆที่ใช้กันอยู่ถึง 24 ภาษาในเมืองนี้
ชาวอัฟริกัน-อเมริกันก็ใช้ชีวิตอยู่ในนิวยอร์กตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเมือง แต่ไม่ใช่ทุกคนที่มาอยู่ด้วยความตั้งใจของตนเอง ตอนปลายปี 1800 มีทาสอยู่ประมาณ 2,500 คน
(มีการประกาศเลิกทาสในนิวยอร์กในปี 1827) ทาสหลายคนมาจากไฮติ
เมืองที่เกิดการปฏิวัติตั้งแต่ปี 1790 ชาวพื้นเมืองผิวขาวของเกาะไฮติได้อพยพมาอยู่ที่อเมริกา ในบรรดาผู้อพยพมีนาย แจ๊ค บีราร์ด Jacques Berard
และภรรยาซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินรวมอยู่ด้วย
เขาได้นำทาส 5 คนติดตามมา หนึ่งในนั้นเป็นทาสรับใช้ในบ้านชื่อ ปีแอร์
เทาส์เซนต์
ตอนแรกแจ๊คคิดจะมาอยู่ที่นิวยอร์กเป็นการชั่วคราว แต่เหตุการณ์ที่เกาะไฮติยับยั้งพวกเขาไม่ให้กลับไป
ไฮติเป็นตลาดค้าทาสที่ใหญ่ที่สุดของยุโรป
นักประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่าที่นี่ ”มีแต่ความป่าเถื่อน” คนที่มาที่นี่จะได้เห็นทาสผู้ชายที่ไม่สวมเสื้อทั้งแก่และหนุ่ม
ทำงานภายใต้แสงแดดและถูกควบคุมอย่างโหดร้าย
ด้วยภาวะการณ์เช่นนี้จึงทำให้ทาสผู้ชายเกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมดต้องเสียชีวิตก่อนอายุครบ
40 เพราะฉะนั้นสภาวะการณ์เช่นนี้จึงเป็นเหมือนภูเขาไฟ”ที่รอการระเบิด” ซึ่งในที่สุดมันก็ระเบิดขึ้นในปี 1791 เกิด “สงครามเลิกทาส”
ปีแอร์เกิดในไร่ของบีราร์ด เขาโชคดีที่ไม่ต้องไปเป็นทาสทำงานในไร่
เขาทำงานเป็นทาสรับใช้ในบ้านจึงมีชีวิตที่สบายกว่า เขายังได้รับอนุญาตให้เข้าไปอ่านหนังสือในห้องสมุดของครอบครัวได้ด้วย และที่นั้นเขาได้อ่านหนังสือคาทอลิก
อาทิเช่น จำลองแบบพระคริสต์
หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่เขาชอบมากที่สุด เขาพูดถึงหนังสือนี้ในเวลาที่เขาอายุมากแล้ว
ที่นิวยอร์ก
นายบีราร์ดแนะนำปีแอร์ให้เรียนการทำผมเพื่อช่วยในเรื่องการเงินของครอบครัว
และปีแอร์ก็เรียนรู้การทำผมจากผู้เชี่ยวชาญได้อย่างรวดเร็ว จนเขากลายเป็น“the fashionable coiffeur
of the day.” ผู้ชำนาญการออกแบบแต่งทรงผม”
ปีแอร์มีความซื่อสัตย์ต่อครอบครัวบีราร์ดมาก
หลังจากที่แจ็คเสียชีวิตโดยไม่มีเงินเหลืออยู่เลย
ปีแอร์ดูแลภรรยาหม้ายจนกระทั่งเธอเสียชีวิต แต่ก่อนที่เธอจะเสียชีวิตไม่นาน เธอได้ปลดปล่อยปีแอร์ให้เป็นอิสระจากการเป็นทาส
ลูกค้าของปีแอร์เพิ่มมากขึ้น
เขากลายเป็นผู้ดำเนินธุรกิจผิวดำที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งในนิวยอร์ก เขาซื้อบ้านในเขตแมนฮัตตัน
และลงทุนทำธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์และธนาคาร
ถึงแม้จะมีชีวิตที่สุขสบายแล้ว
เขาก็ยังคงทำงานจนถึงวัยชรา เขาพูดว่า
“ผมมีทุกสิ่งเพียงพอสำหรับตัวเองแล้ว
แต่ยังไม่เพียงพอสำหรับคนอื่น”
เขาได้ช่วยเหลือคนอื่นเสมอโดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ เขาเป็นคาทอลิกที่ศรัทธา ปีแอร์ร่วมพิธีมิสซาเวลาเช้าเสมอนานถึง 60
ปีที่โบสถ์เซนต์ปีเตอร์ บนถนนบาร์คเลย์ (โบสถ์นี้เป็นโบสถ์แห่งแรกในนิวยอร์ก
สร้างเมื่อปี 1785) เขายังเป็นผู้สนับสนุนของสมาคมวินเซนต์เดอปอลด้วย
ปีแอร์เป็นผู้อุปถัมภ์บ้านเด็กกำพร้าคาทอลิก
เขาและภรรยาช่วยเหลือเด็กไร้บ้านที่เป็นอัฟริกัน-อเมริกันหลายคนให้เติบโตขึ้น และหลายครั้งที่เขาซื้ออิสรภาพให้แก่ทาส
(รวมทั้งญาติของเขาด้วย) ในระหว่างที่เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ในเมือง ผู้เขียนประวัติของเขาบันทึกไว้ว่า
...เมื่อโรคไข้เหลืองระบาดในนิวยอร์ก
ถนนเมเดนเกือบจะร้างผู้คน
บ้านทุกหลังปิดตาย
มีผู้หญิงยากจนคนหนึ่งนอนเจ็บป่วยอย่างหนักอยู่คนเดียวในบ้านร้างโดยไม่มีคนดูแล
จนกระทั่งเทาเซนต์ยอมฝ่าอันตรายเข้าไปในบ้านนั้นทุกวัน และคอยดูแลเอาใจใส่เธอโดยไม่เกรงกลัวว่าจะติดโรคจากเธอเลย
ปีแอร์ เทาเซนต์เป็นพลเมืองที่น่านับถือที่สุดของนิวยอร์ก
และได้รับการจดจำในฐานะ “ผู้มีจิตสำนึกถึงศักดิ์ศรีของมนุษย์” ,
“มีความเมตตากรุณาและการเอาใจใส่ต่อผู้อื่น” และ “มีความอ่อนโยนต่อทุกคน” หญิงคนหนึ่งกล่าวถึงเขาว่า
ฉันเห็นความไม่ธรรมดาในตัวของเขา ความมีจิตใจสูงเป็นลักษณะของเขา
นั่นเป็นความรู้สึกประทับใจของฉันเมื่อคิดถึงเขา เขาเป็นคริสตชนที่สมบูรณ์แบบ
เขาทำความดีในทุกๆวันไม่ใช่เพียงแค่พูดเท่านั้น เขากระทำด้วยความเชื่อ ความรัก
ความเมตตากรุณา รู้จักกาลเทศะและด้วยความรู้สึกที่ละเอียดอ่อน เขาทำให้คนที่อยู่รอบข้างมีความพึงพอใจ
เขามีรสนิยมดีในการแต่งกาย
เขาไม่ใช่คนฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย แต่มีความเข้าใจสิ่งต่างๆอย่างเหมาะสม
แม้จะอยู่ในวัยชราแล้ว
เทาเซนต์ก็ยังเดินไปบ้านของลูกค้า
เพราะกฎหมายห้ามคนผิวดำขี่ม้า โบสถ์เองก็ไม่อาจต้านทานความอยุติธรรมนี้ได้ มีครั้งหนึ่ง
เขาถูกไล่ไม่ให้นั่งบนม้านั่งของโบสถ์เซนต์แพททริก คาทอลิกผิวขาวที่นั่นจึงพูดยกย่องเขาโดยเรียกเขาว่า
“ลุงทอมคาทอลิก” “Catholic Uncle Tom.”
ในปัญหาเกี่ยวกับทาสนั้น อาเธอร์
โจนส์นักเขียนอัตชีวประวัติได้เขียนว่า “ปีแอร์ไม่เคยมีความคิดที่จะพูดถึงปัญหาเรื่องทาสเลย”
ในเวลานั้นคาทอลิกหลายคนพยายามหลีกเลี่ยงปัญหานี้
เพราะกลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านการค้าทาสส่วนใหญ่เป็นพวกแอนตี้คาทอลิกด้วย ปีแอร์เคยพูดไว้ครั้งหนึ่งเกี่ยวกับปัญหานี้ว่า
“พวกเขาไม่เคยเห็นการหลั่งเลือดเหมือนที่ผมเห็น”
ปีแอร์
เทาเซนต์เสียชีวิตในวันที่ 30 มิ.ย. 1853 เมื่ออายุ 87 ปี
มีพิธีศพที่โบสถ์เซนต์แพททริก เป็นฆราวาสเพียงคนเดียวที่ได้รับเกียรติให้ฝังศพในโบสถ์แห่งนี้
ผู้คนจำนวนมากมาร่วมพิธี ในพิธีนั้นคุณพ่อวิลเลียม ควินน์กล่าวว่า
“ถึงแม้เขาจะไม่มีญาติพี่น้องมาร้องไห้คร่ำครวญให้เขา แต่พวกเราที่อยู่ที่นี่ก็รู้สึกได้ว่า
เราได้สูญเสียบุคคลผู้หนึ่งซึ่งคอยเป็นที่ปรึกษาให้แก่ผู้มีฐานะและให้คำปลอบประโลมแก่ผู้ยากจนเสมอ
เราทุกคนรู้สึกยินดีที่ได้รู้จักเขา...มีเพียงไม่กี่คนในเวลานี้ที่มีความศรัทธาและยึดมั่นในพระศาสนจักรและมีชีวิตเพื่อพระเกียรติของพระเจ้าเช่นเดียวกับเขา
ไม่ว่าจะเป็นพระสงฆ์ผู้ใหญ่หรือฆราวาสก็ตาม
ไม่มีใครที่เหมือนเขาเลย”
ในปี 1991 พระคาร์ดินัล
จอห์น เจ
โอคอนเนอร์ได้นำเรื่องของปีแอร์ขึ้นเสนอเพื่อสถาปนาเป็นบุญราศีและนักบุญ
พระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2
ในระหว่างที่เสด็จเยือนสหรัฐอเมริกาได้ประกาศให้ปีแอร์เป็น”ผู้น่าเคารพ”
พระคาร์ดินัลโอคอนเนอร์เมื่อเสียชีวิต
ศพของท่านถูกฝังไว้ข้างๆปีแอร์ และท่านถือว่าเป็น “เกียรติอันสูงสุด”ของท่าน
จากทาสกลายเป็นเจ้าของกิจการ
เป็นผู้อุปถัมภ์และเป็นมิตรของคนยากจน พระคาร์ดินัลโอคอนเนอร์กล่าวไว้ว่า “ถ้ามีมนุษย์ที่เป็นอิสระอย่างแท้จริงแล้ว
คนนั้นก็คือปีแอร์ เทาเซนต์ นั่นเอง”
***********
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น