วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2561

รูปปั้น 3 มิติของพระเยซูเจ้า





 
 
 
 
 
 
 
 
นี่เป็นรูปปั้น 3 มิติ “carbon copy” ของพระเยซูเจ้าที่สร้างขึ้นจากแบบในผ้าห่อพระศพแห่งตูริน

รูปปั้นเป็นขนาดเท่าของจริง สร้่างขึ้นด้วยวิธีการวัดที่แม่นยำ จากรูปในผ้าห่อพระศพซึ่งเป็นพระกายของพระคริสต์ที่ถูกห่อหลังจากทรงถูกตรึงกางเขน” นาย Giulio Fanti ผู้เป็นอาจารย์สอนกลศาสตร์และการวัดอุณหภูมิที่มหาวิทยาลัยแห่งปาดัง กล่าวอธิบาย  เขาได้ศึกษาผ้าห่อพระศพแห่งตูรินและได้สร้าง “carbon copy” ออกมาเป็นรูปปั้น 3 มิติ และเขายืนยันว่ารูปปั้นนี้เป็นลักษณะที่แท้จริงของพระคริสต์

เขากล่าวว่า “ตามที่เราศึกษามา พระเยซูเจ้าทรงมีพระรูปที่งดงามเป็นพิเศษ มีแขนขายาวและแข็งแรง  พระองค์สูงเกือบ 5 ฟุต 11 นิ้ว  โดยค่าเฉลี่ยความสูงของผู้ชายในสมัยนั้นจะอยู่ที่ 5 ฟุต 5 นิ้ว และพระองค์ทรงมีความสง่าผ่าเผยมาก”
 
**************
 
หลังจากใช้เวลาสองปีในการศึกษาผ้าห่อพระศพแห่งตูริน มหาวิทยาลัย University and the Hospital of Padua ก็ได้สร้างรูปปั้นแบบจำลองของบุคคลในรูปภาพของผ้าห่อพระศพนี้ออกมา
 
รูปปั้นมีขนาดส่วนสูง 180 ซม. ศาสตราจารย์ Giulio Fanti ซึ่งอยู่ใน Department of Industrial Engineering เป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานนี้ การสร้างรูปปั้นใช้เทคนิคอันเป็นนวัตกรรมใหม่ที่มีการวัดที่แม่นยำถึง 90%
 
ในปี 1978 Professor Giovanni Tamburelli แห่งมหาวิทยาลัยตูรินได้ใช้คอมพิวเตอร์สร้างภาพจากผ้าห่อพระศพ ความสว่างและมืดของภาพจะแสดงให้เห็นถึงความลึกและมิติของภาพในแต่ละส่วนของร่างกาย ซึ่งด้วยวิธีทำให้รู้ว่า รูปในผ้าห่อพระศพนี้ไม่สามารถสร้างขึ้นได้โดยจิตรกรวาดรูป นักวิทยาศาสตร์ต่างๆก็เห็นด้วยว่า รูปไม่ได้ถูกสร้างขึ้นด้วยการระบายสีด้วยมือของมนุษย์  แต่รูปเกิดจากการพิมพ์ร่างกายของมนุษย์ลงบนผืนผ้าโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ที่มีชีวิต หรือเป็นศพ หรือเป็นรูปปั้นก็ตาม  แต่การพิมพ์รูปลงในผืนผ้านี้มีลักษณะพิเศษมาก  ซึ่งไม่ใช่เป็นการห่อผ้ากับร่างกาย  เพราะถ้าเป็นลักษณะนี้รูปภาพจะบิดเบี้ยวไม่ตรงตามความเป็นจริงของร่างกาย
 
สิ่งที่ได้รู้เพิ่มเติมจากการศึกษาผ้าห่อพระศพ คือเส้นใยของผ้าที่มีรูปภาพติดอยู่จะเป็นสีดำเฉพาะด้านบนผิวของเส้นใยเท่านั้น  ลักษณะแปลกอีกประการหนึ่งคือบนเส้นด้ายเดียวกันเส้นใยสีดำจะขนาบข้างด้วยเส้นใยที่ยังคงเป็นสีขาว  ตามความเห็นของ Prof. Fanti ปรากฏการณ์เช่นนี้จะเป็นไปได้เฉพาะในรูปแบบของการฉายรังสีที่เชื่อมโยงกับสนามไฟฟ้าเท่านั้น การทดลองในห้องแล็บกับผืนผ้าเพื่อให้ออกมามีลักษณะแบบเดียวกับผ้าห่อพระศพ โดยการใช้ความร้อนจากขดลวดโลหะหรือใช้สารละลายกรดเคลือบลงไปบนผ้านั้นไม่ประสบความสำเร็จ  เพราะขดลวดจะไหม้หรือกลายเป็นเขม่าสีดำไปทั้งหมด 
Tamburelli’s Computerized Reconstruction  
นักเคมี Luigi Garlaschelli from Pavia ผู้เป็นสมาชิดของ Cicap (Italian Committee for the Investigation of Claims of the Pseudosciences) พยายามใช้เทคนิคหลายวิธีกับคนที่มีชีวิต โดยใช้ a bas-relief คลุมใบหน้าและพรมสารละลายสีที่เป็นกรดลงไปบนผ้า  ผู้เป็นอาสาสมัครถูกห่อด้วยผ้าลินินเหมือนกับผ้าที่ใช้ห่อพระศพ  และเมื่อนำผ้ามาล้างและตากให้แห้ง  จากนั้นเอาเลือดของมนุษย์ใส่ลงไป ผ้าบริเวณที่สัมผัสกับสารละลายกรดจะมีสีเหลืองคล้ายกับผ้าห่อพระศพแห่งตูริน
 
Fanti แสดงความคิดเห็นว่า “การทดลองของ Garlaschelli ช่วยยืนยันได้มาก  แต่ในระดับของอนุภาค มันไม่ได้ผล  อนุภาคของสีที่ผสมกับกรดนั้นมองเห็นได้ชัดเจน และการล้างด้วยน้ำก็ไม่สามารถล้างออกได้ด้วย  แต่ในผ้าห่อพระศพแห่งตูรินนั้นไม่มีร่องรอยของอนุภาคของสีแบบนั้นติดอยู่เลย  ในการทดลองเส้นด้ายที่สัมผัสกับกรดจะกลายเป็นสีดำไป ซึ่งแตกต่างจากผ้าห่อพระศพแห่งตูรินที่เส้นใยจะถูกออกซิไดซ์อย่างสม่ำเสมอ  การทดลองของ Professor Garlaschelli ไม่ตอบสนองต่อการสังเกตุการณ์ของผมที่รายงานไว้ใน the Journal of Imaging Science and Technology (Vol. 5 No. 2 of 2011)  ผมจึงขอยืนยันว่า แม้แต่เขาก็ไม่สามารถสร้างผ้าในลักษณะเหมือนกับผ้าห่อพระศพแห่งตูรินในทุกมิติได้ และไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยว่า ผ้าห่อพระศพแห่งตูรินเป็นของปลอม”
 
มีข้อสังเกตจากผู้ที่ศึกษาผ้าห่อพระศพแห่งตูรินว่า ใบหน้าของชายในผ้านั้นมีความสงบ ไม่มีลักษณะของการถูกทรมานดังเช่นที่พระคัมภีร์ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับพระมหาทรมานของพระคริสต์  จึงทำให้บางคนสงสัยว่า ผ้าลินินนั้นไม่ได้ห่อพระศพของพระเยซูเจ้าแต่อาจใช้ห่อศพของคนอื่นที่ถูกประหารชีวิตด้วยการตรึงกางเขน  แต่ความคิดนี้ก็ไม่น่าถูกต้องเช่นกัน เพราะถ้าเป็นคนที่ถูกตรึงกางเขนก็ต้องมีใบหน้าที่แสดงถึงความทุกข์ทรมาน 
 
ในเรื่องนี้สำหรับผู้มีความเชื่อย่อมไม่สงสัยว่าเป็นผ้าห่อพระศพของพระเยซูเจ้าหรือไม่?  เพราะเราเชื่อว่าใบหน้าที่สงบเป็นเพราะเวลานั้นพระเยซูเจ้าทรงกลับฟื้นคืนพระชนม์แล้วนั่นเอง
 
ในปี 1988 มีการศึกษาอายุของผ้าห่อพระศพแห่งตูรินด้วยวิธีการตรวจด้วย Carbon 14 และการศึกษาครั้งนั้นพบว่าผ้าห่อพระศพมีอายุอยู่ในระหว่างปีค.ศ. 1260-1390  แต่การทดลองนี้มีข้อสงสัยมากมายในวิธีการตรวจสอบและความแม่นยำหรือความผิดพลาดทางสถิติ  มีความเชื่อว่าผ้าลินินตัวอย่างที่นำไปทดลองนั้นมีการปนเปื้อนจากวัตถุภายนอก ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่มาจากการที่ผ้าถูกไฟไหม้ในปี 1532 ขณะที่เก็บรักษาไว้ที่ Chambery, France ทำให้โลหะเงินบางส่วนปะปนไปบนเนื้อผ้า  หรืออาจเกิดขึ้นในเวลาที่ผ้าถูกเก็บรักษาโดยแม่ชีหลังจากถูกไฟไหม้แล้ว  จึงจำเป็นต้องมีการทดสอบใหม่
 
Prof. Fanti กล่าวต่อไปว่า “เราได้พยายามหาอายุของผ้าห่อพระศพแห่งตูรินด้วยวิธีทางเลือกแทนการใช้ carbon 14 เราได้รวบรวมตัวอย่างผ้าลินินสมัยโบราณจากหลายแหล่งและหลายยุคสมัย  แม้แต่พิพิทภัณฑ์อิยิปต์ในตูรินก็ยังมอบตัวอย่างผ้าให้แก่เราด้วย  เราใช้เครื่องจักรพิเศษดึงเส้นใยจนกระทั่งขาด  และเราก็สามารถหาความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแรงของเส้นใยกับอายุของมันได้  จากการทดสอบนี้ทำให้เราได้อายุของผ้าห่อพระศพแห่งตูรินอยู่ที่ประมาณปี 250 ซึ่งอยู่ในศตวรรณที่หนึ่ง
 
นอกจากนี้ยังมีหลักฐานจากร่องรอยของเหรียญที่จารึกอยู่บนเนื้อผ้าที่บ่งบอกอายุของผ้าด้วย  ร่องรอยนี้แสดงให้เห็นว่ามีการเคารพบูชาผ้าห่อพระศพแห่งตูรินตั้งแต่ในศตวรรษแรกๆแล้ว”
***********************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น