วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561

เป็นแสงสว่างให้แก่โลกที่มืดมน

 

เราจะทำอย่างไรเมื่อเผชิญกับความชั่วร้ายในอดีตที่ยังคงติดอยู่ในจิตใต้สำนึกของเรา? อาจเป็นความชั่วร้ายที่ใหญ่โตซึ่งไม่น่าให้อภัยในความคิดของเรา   ความชั่วร้ายนั้นเองที่ตามหลอกหลอนในความอ่อนแอของเรา   และเราควรตอบสนองต่อสิ่งชั่วร้ายนั้นอย่างไร?
 
ชีวิตของชายสองคนต่อไปนี้ที่มีจุดเริ่มต้นของชีวิตที่คล้ายกันอาจให้ข้อคิดแก่เราบางประการ  ข้อคิดนั้นในแง่หนึ่งเพื่อช่วยให้เราหลีกเลี่ยงกับการเผชิญหน้าความชั่วร้าย และอีกแง่หนึ่งเป็นการบอกให้รุ็ว่าสิ่งใดที่ควรกระทำ ชายสองคนนี้คือ จูเลี่ยน ผู้ปฏิเสธความเชื่อ (Julian the Apostate) และ คลาวด์ (Clodoald) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า นักบุญคลาวด์
 
การปฏิเสธความเชื่อ
 
การตายของจักรพรรดิคอนสแตนตินในปีค.ศ. 331 ได้นำไปสู่การขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิของพระโอรส – คอนสแตนตินที่2 จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันองค์ใหม่ผู้น่ากลัวได้ทำการกำจัดบุคคลในครอบครัวซึ่งเป็นคู่แข่งทางการเมืองที่มีอำนาจ  ได้แก่พระปิตุลา และบรรดาลูกพี่ลูกน้องที่เป็นผู้ชาย   แต่มีผู้รอดชีวิตคนหนึ่งคือ จูเลียน ซึ่งในเวลานั้นมีอายุ 6 ขวบ ความตกใจที่ได้เห็นการฆาตกรรมของบุคคลในครอบครัวนี้สร้างรอยแผลเป็นในจิตใจของจูเลียน และถึงแม้ว่าจูเลียนจะได้รับศีลล้างบาป แต่เขาก็ปฏิเสธความเชื่อของคริสต์ศาสนา   ความเชื่อซึ่งฆาตกรผู้ฆ่าคนในครอบครัวของเขานับถืออยู่
 
จูเลียนเองได้ขึ้นเป็นจักรพรรดิในปีค.ศ. 361 ในระยะแรกพระองค์ปิดบังความไม่เชื่อในคริสตศาสนาของพระองค์   แต่ไม่นานการปฏิเสธความเชื่อนี้ก็ได้กลายเป็นแรงผลักดันที่อยู่เบื้องหลังการตัดสินใจของจักรพรรดิ   พระองค์เกลียดชังคริสต์ศาสนา   และเพื่อแก้แค้นพระองค์สนับสนุนส่งเสริมลัทธิเอเรียสที่สั่งสอนความเชื่อที่หลงผิด   แม้ว่าการประชุมสังคายนาที่นีเซียในปี 325 จะประกาศให้ลัทธินี้เป็นความเชื่อผิดหลง    แต่ลัทธินี้ก็ยังคงได้รับการสนับสนุนทางการเมืองอย่างเป็นทางการโดยญาติผู้หนึ่งของจักรพรรดิเองที่เป็นคริสตชนด้วย   จูเลียนได้ถอดถอนการปกป้องทางการเมืองออกและนำ เอรีอุส ผู้เป็นเจ้าของลัทธิเอเรียสกลับมาจากการถูกเนรเทศ    ความตั้งใจที่แอบแฝงของพระองค์ก็คือจะทำให้คริสตชนที่แตกแยกกันทำลายล้างซึ่งกันและกัน ลัทธิเอเรียสนอกรีตสามารถสร้างโบสถ์ใหม่ในจักรวรรดิได้
 
จูเลียนยังพยายามโจมตีคริสตศาสนาโดยการบ่อนทำลายองค์พระคริสต์เองเลยทีเดียว   จักรพรรดิพยายามที่จะพิสูจน์ว่าความเชื่อในพระเยซูเจ้านั้นผิดพลาดไม่ถูกต้อง โดยการสร้างพระวิหารในกรุงเยรูซาเล็มขึ้นมาใหม่   เนื่องจากคริสตชนเชื่อว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นจุดสิ้นสุดของพระวิหารแห่งเยรูซาเล็มด้วยการพลีพระองค์เป็นยัญบูชาที่นั่น (ดูจดหมายถึงชาวฮีบรู) การสร้างพระวิหารขึ้นมาใหม่อย่างน้อยที่สุดในความคิดของจูเลียนแสดงให้เห็นว่ากิจการทั้งหลายของคริสตศาสนจักรนั้นไม่คุ้มค่าที่จะปฏิบัติเพียงเพื่อไม้กางเขน
 
ตั้งแต่เริ่มดำเนินการก่อสร้างก็เกิดภัยพิบัติหลายครั้ง   มีแผ่นดินไหวที่ทำให้งานสะดุด   แต่คนงานของจูเลียนยังคงดำเนินงานต่อไป   มีลูกไฟที่ปะทุออกมาจากฐานของพระวิหารที่ร้อนแรงมากจนเกินกว่าที่พวกคนงานจะทนได้  ในไม่ช้าจูเลียนก็ละทิ้งโครงการนี้ พระคริสต์ทรงอานุภาพทรงเป็นพระผู้มีชัยชนะและฝูงแกะของพระองค์ก็ได้รับกำลังใจจากชัยชนะฝ่ายจิตวิญญาณนี้ พระศาสนจักรมีความแข็งแกร่งในความเชื่อมากขึ้น   เห็นได้อย่างชัดเจนในช่วงการเบียดเบียนต่อคริสตชนในระยะเวลาสั้นๆของจูเลียน  ที่ได้กระทำต่อคริสชน ก่อนที่พระองค์จะสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 363
 
ดังนั้นเราจึงเห็นหนทางแห่งการแก้แค้น   จูเลียนปล่อยให้ความโกรธของเขาครอบงำจิตใจเรื่อยมาตลอดหลายสิบปีจนกระทั่งมันได้เปิดเผยออกมา   คือความโกรธแค้นในพระเยซูเจ้าและพระศาสนจักรของพระองค์   ยิ่งจูเลียนโอบกอดความโกรธนี้เอาไว้แน่นเพียงใด ตัวของจูเลียนเองและภารกิจของเขากลับล้มเหลว
 
 เป็นแสงสว่างให้แก่โลกที่มืดมน
 
ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่ได้รับชื่อว่าเป็น "ลูกสาวคนโตของพระศาสนจักร" เป็นเกียรติสำหรับกษัตริย์โคลวิส (Clovis) และนักบุญ โคลทิดา (St. Clotilda) กษัตริย์องค์แรกที่กลับใจมาเชื่อในพระเยซูคริสต์และภรรยานักบุญของพระองค์   เมื่อกษัตริย์โคลวิสสิ้นพระชนม์ในปีค.ศ. 511 ตามกฎของราชอาณาจักรจะต้องส่งมอบบัลลังก์ให้กับพระโอรสทั้งสามของพระองค์ ในเวลาไม่นาน โอรสองค์แรกคือ Clodomir ได้ถูกสังหารในสงคราม  ภรรยาม่ายของ Clodomir แต่งงานกับน้องชายคนที่สอง Clotair และบุตรชายทั้งสามของ Clodomir ก็ต้องไปอาศัยอยู่กับยายของพวกเขาคือนักบุญโคลทิดา ( St. Clotilda)
 
ด้วยความกลัวว่าลูกของ Clodomir จะมาแย่งชิงบัลลังก์  Clotair ผู้เป็นพระปิตุลาจึงหลอกให้ Clotilda มอบเด็กชายให้กับเขา    Clotair และน้องชายอีกคนจึงได้ฆ่าเด็กชายสองในสามคนนี้ (ยังไม่มีใครอายุมากพอที่จะปกครองได้)
 
พี่ชายคนโตที่รอดตายคือ Clodoald อายุเพียงแต่ 8 ขวบเท่านั้น วิธีการที่ Clodoald หลบหนีรอดจากลุงของเขาได้นั้นไม่เป็นที่รู้กัน   แต่ดูเหมือนว่าจะมีคริสตชนบางคนที่ซื่อสัตย์จะซ่อนตัวเขาและลักลอบนำเขาออกจากศาล (Frankish court)    Clodoald เติบโตขึ้นในความดูแลของโบสถ์แห่งหนึ่งและเมื่อเขามีอายุมากพอ   เขาก็โกนศีรษะของเขา (ผมเป็นสัญลักษณ์ของสถานะของเขาในฐานะทายาทของราชวงศ์)   เขาประกาศอย่างเป็นทางการสละสิทธิ์ของเขาต่อบัลลังก์ฝรั่งเศส   และได้เข้าสู่ชีวิตนักบวช   Clodoald เริ่มต้นชีวิตนักบวชในฐานะนักพรตภายใต้การแนะนำของนักบุญ ซีเวียรินุส (St. Severinus) และได้รับชุดนักบวชจากมือของท่านนักบุญเอง    Clodoald ทิ้งความวุ่นวายของอารามนอกกรุงปารีสเพื่อไปใช้ชีวิตที่เงียบสงบใน โปรวองซ์ (Provence) Clodoald  ตั้งใจจะรับใช้พระคริสตเจ้าโดยผ่านการสวดภาวนาและการศึกษาที่เงียบสงบ
 
การแสวงหา Clodoald
 
ถึงกระนั้นบุคคลผู้ศักดิ์สิทธิ์ก็แทบจะไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ชีวิตอย่างสงบได้ ผู้คนได้รับรู้เรื่องอาศรมของ Clodoald และพากันมาหาท่าน     Clodoald ได้ละทิ้งทรัพย์สมบัติทั้งหมดแล้วเพื่อรักษาสถานะนักพรต     ท่านได้ทำสิ่งอัศจรรย์ช่วยเยียวยารักษาผู้ป่วยและให้คำแนะนำแก่คนที่มาหาท่าน    อยู่มาวันหนึ่งชายขอทานที่ยากจนมาหาและขอทานจากท่าน    และ Clodoald ก็ให้สิ่งที่มีเหลืออยู่เพียงอย่างเดียวแก่เขา    นั่นคือชุดนักบวชที่ท่านสวมอยู่ อย่างไรก็ตามในคืนถัดไปขอทานคนนั้นก็ยังกลับมาพร้อมกับสวมชุดนักบวชของท่านที่ส่องแสงสว่างเรืองรองในเวลากลางคืน   ชาวบ้านในท้องถิ่นได้เห็นเสื้อผ้าที่ส่องแสงสว่างก็ได้กระจายข่าวนี้ออกไป    ทำให้ผู้คนเข้ามาเยี่ยมเยือนนักบุญมากขึ้นอีก
 
ในปี 551, Clodoald ได้รับการบวชเป็นพระสงฆ์ตามคำร้องขอของชาวปารีส ท่านทำงานในหมู่ประชาชนอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ท่านได้คืนดีกับบรรดาลุงของท่านผู้ซึ่งสำนึกผิดกลับใจและหันกลับคืนมาสู่ความเชื่อ   Clodoald หรือคลาวด์ Cloud (ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกกันทั่วไป) ยังคงต้องการความสงบ   ท่านจึงได้ออกจากกรุงปารีสไปยังเมือง Nogent พร้อมกับกลุ่มผู้ชายบางคนที่พยายามจะทำตามแบบอย่างของท่าน ด้วยการหลีกหนีจากความเสื่อมเสียของการคอร์รัปชั่นของศาล Frankish   พวกเขาได้สร้างอารามขึ้นบนดินแดนที่ได้รับบริจาคจากลุงของคลาวด์   ที่นั่นนักบุญคลาวด์ได้พักอาศัยอยู่เป็นเวลาสั้นๆของชีวิตที่เหลือ   ท่านสิ้นชีวิตในอารามที่สร้างขึ้นในปีค.ศ. 560 ด้วยอายุเพียง 38 ปี แต่หมู่คณะของท่านไม่ได้ตายไปกับท่านด้วย   แต่ได้เติบโตเจริญขึ้นทำให้เมืองและอารามอยู่คู่เคียงกันตลอดไป    และเมือง Nogent ได้กลายเป็นเมืองที่ทันสมัยของนักบุญคลาวด์ ในฝรั่งเศส

และเกี่ยวข้องอะไรกับเรา?
 
เราต้องทำอะไรเมื่อต้องเผชิญกับความชั่วร้ายที่ยังคงฝังอยู่ในใจของเรา? เราอาจจะทำการแก้แค้นหรือทำงานร่วมกับพระเจ้าเพื่อนำความดีออกมาจากความชั่วร้าย   ทั้งสองเรื่องที่เราได้รับรู้มานี้ช่วยให้เราสามารถเห็นถึงความงดงามของพระญาณเอื้ออาทรของพระเจ้า
 
ในการฆาตกรรมบุคคลในครอบครัวของเขา จูเลียนเห็นแต่ด้านมืดเพียงอย่างเดียวและมันก็เป็นความมืดที่เขาโอบกอดเอาไว้   อย่างไรก็ตาม จากความชั่วร้ายนี้พระศาสนจักรของพระคริสต์ได้ปรากฏตัวขึ้นจากเงามืดของการกดขี่ และพระเกียรติรุ่งโรจน์ของพระคริสตเจ้าได้รับเกียรติอีกครั้งหนึ่ง
 
ในการฆาตกรรมพี่น้องของเขา Clodoald, นักบุญคลาวด์ (St. Cloud) เห็นความเมตตาของพระเจ้าในการทรงคุ้มครองท่านให้มีชีวิตรอด   ท่านได้ทำตามกระแสเรียกของพระเจ้าในการนำความรักและความเมตตาของพระเจ้าไปสู่โลกที่ป่าเถื่อนของมนุษย์ที่ไม่รู้จักพระองค์   ในชีวิตอันสั้นและต่ำต้อยของนักบุญคลาวด์   ท่านได้มอบพระคริสต์แก่ผู้ที่หิวกระหายหาพระองค์ไม่เพียงแต่ในพระวาจาและศีลศักดิ์สิทธิ์เท่านั้น แต่ด้วยความเสียสละในชีวิตของท่านเองด้วย   เราสามารถมองเห็นแบบอย่างนี้ได้ในเรื่องชุดนักบวชของท่าน   ท่านได้มอบชีวิตของท่านทั้งหมดแก่ฝูงแกะของท่านและไม่ได้หวงแม้แต่เสื้อผ้าที่สวมใส่อยู่   และพระเยซูคริสต์ทรงใช้สิ่งที่ท่านนักบุญมอบให้นี้  ให้กลับกลายมาเป็นความสว่างแห่งความมืดในยุคสมัยของท่าน
 
เราก็เช่นเดียวกัน เราควรจะเดินตามเส้นทางของนักบุญคลาวด์   ซึ่งเป็นเส้นทางเดียวกับของพระองค์ผู้ซึ่งเป็น "หนทางความจริงและชีวิต" (ยอห์น 14: 6) และพระผู้ทรงประกาศว่าพระองค์คือ "แสงสว่างของโลก" (ยอห์น 8:12) พระคริสตเจ้า , ในความรักของพระองค์ พระองค์ได้ทรงแบ่งปันบทบาทของการเป็นความสว่างให้กับเรา (มัทธิว 5: 14-16) เพื่อให้แสงสว่างของพระองค์ส่องเข้าไปแม้ในที่มืดที่สุดของโลกได้ นั่นคือ ในเงามืดของหัวใจของเราเอง
 
เช่นเดียวกับนักบุญคลาวด์ ( St. Cloud) ให้เราหันมาหาพระคริสต์  แม้ในยุคสมัยนี้ที่เป็นยุคสมัยที่มืดมนของโลกและของพระศาสนจักร    ในพระคริสตเจ้าเราจะพบหนทาง แสงสว่าง และสันติสุขสำหรับเราทุกคน

---------------------------------------------------------------------

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น