วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Bless ในบทเทศน์บนภูเขา


คำว่า Bless ถ้าใช้เป็นกริยา จะหมายความว่า “อวยพร”  แต่เมื่อใช้กับพระเจ้า จะมีความหมายว่า “สรรเสริญ” ตัวอย่างเช่น “Blessed be the name of the Lord from this time on and forevermore (Psalm 113:2).”  จงสรรเสริญพระนามของพระเจ้า  บัดนี้และตลอดกาล”
เมื่อใช้เป็นคำวิเศษณ์ คำว่า Bless จะมีสองพยางค์  โดยออกเสียงว่า bless-ed  หมายความว่า ศักดิ์สิทธิ์  อย่างเช่นคำว่า  Bless-ed Virgin Mary  พระนางพรหมจารีย์มารีย์ผู้ศักดิ์สิทธิ์
ปัญหาเกิดกับผู้อ่านพระคัมภีร์ตอนมหาบุญลาภ หรือ ความสุขแท้แปดประการ  เพราะคำที่ใช้คือ “Bless-ed” ซึ่งเป็นคำวิเศษณ์  เมื่อก่อนทางไทยแปลว่า “เป็นบุญของ”  แต่ปัจจุบันแปลว่า “มีความสุข”  “Bless-ed” are the poor in spirit, the meek, mourners, seekers of justice, the merciful, the clean of heart, the peacemakers, and those who suffer persecution 
ในกรณีนี้  พระเยซูเจ้าทรงบอกว่า ผู้มีใจยากจน  ผู้มีใจอ่อนโยน  และอื่นๆ นั้นเป็นผู้ที่ศักดิ์สิทธิ์
การแปลพระคัมภีร์พระธรรมใหม่ที่ใช้คำว่า  blessed  ในบทมหาบุญลาภ หรือ ความสุขแท้  จากภาษาอังกฤษซึ่งไม่ได้ระบุถึงการอ่านออกเสียง  จึงทำให้ความหมายของคำนี้ถูกแปลผิด
ในภาษาอังกฤษผู้แปลบางคนได้นำคำว่า ความสุข happy มาแทนที่คำ blessed  กลายเป็น Happy are the poor in spirit แปลว่า “ผู้มีใจยากจนก็เป็นสุข”  พวกเขาแปลคำนี้จากภาษากรีกซึ่งใช้คำว่า makarios  ที่แปลว่า ความสุข happy  แต่การนำคำนี้มาแทนที่คำ blessed บางทีก็ทำให้เกิดปัญหาของความเข้าใจ  เพราะ  ความยากจนในจิตใจนั้น เป็นสิ่งที่ตรงข้ามอย่างมากกับความสุข
คำ makarios  ยังมีความหมายอีกอย่างคือ  fortunate  “โชคลาภ” (หรือบุญลาภ)  ซึ่งน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการใช้คำ happy  และเมื่อนำไปแทนที่ก็จะเป็น “Fortunate are the poor in spirit because theirs is the kingdom of heaven”  “โชคลาภจงมีแก่ผู้มีใจยากจน  เพราะอาณาจักรสวรรค์เป็นของเขา”  ซึ่งทำให้เห็นว่าพระเป็นเจ้าทอดพระเนตรด้วยความเมตตากรุณาต่อผู้ที่ประสบโชคร้าย  และบอกเป็นนัยด้วยว่าความทุกข์สามารถนำเราให้เข้าใกล้พระคริสต์ได้
อย่างไรก็ตาม  เราต้องระลึกว่า  พระเยซูเจ้ามิได้ตรัสเป็นภาษาอังกฤษหรือกรีก  แต่พระองค์ตรัสเป็นภาษาอารามาอิก Aramaic  ดังนั้นคำ makarios  ก็อาจมีคำจำกัดความไม่ตรงกับคำพูดของพระเยซูเจ้าในภาษาอารามาอิกทั้งหมด
ท่านอัครสังฆราช Abuna Chacour  แห่ง เมลไคท์คาทอลิก   ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์ฉบับฮีบรู  พระธรรมใหม่ฉบับกรีก และอารามาอิก  ได้ให้ความเห็นว่า
....เมื่อผมพิจารณาคำพูดของพระเยซูเจ้าในภาษาอารามาอิก  ผมพบว่าคำดั้งเดิมที่พระองค์ใช้คือ ashray  ซึ่งมาจากคำกริยาของ yashar   คำ Ashray มีความหมายว่า “to let yourself on the right way for the right goal, to turn around, repent; to become straight or righteous.”  “ให้ตนเองอยู่ในหนทางที่ถูกต้องเพื่อเป้าหมายที่ถูกต้อง  เพื่อหันกลับ สำนึกผิด  เพื่อให้กลายเป็นคนตรงหรือผู้ชอบธรรม”
ท่านสังฆราชเชื่อว่าพระเยซูเจ้าไม่ได้ส่งเสริมให้เรายอมรับสภาพที่เป็นอยู่เพื่อจะได้รับสิ่งที่ดีในภายหลัง  แทนที่จะเป็นเช่นนั้น  พระองค์เร่งเร้าให้คนยากจนและคนที่ถูกละเมิดสิทธิให้ “ลุกขึ้น” และท้าทายให้เขามาเป็นศิษย์ของพระองค์และทำงานเพื่อสังคมที่ดีกว่าเดิมในชีวิตนี้  ในเวลาเดียวกันพระองค์ให้ความมั่นใจแก่พวกเขาสนับสนุนความพยายามของพวกเขา
      และนี่เป็นตัวอย่างสองประโยคในมหาบุญลาภที่พระสังฆราชเชื่อว่าจะให้ความหมายที่ถูกต้อง
1.            Get up, go ahead, do something, move, you who are hungry and thirsty for justice, for you shall be satisfied. ลุกขึ้น เดินหน้า ทำบางอย่าง เคลื่อนไหว  ผู้ที่หิวกระหายความยุติธรรม  เพราะท่านจะได้รับสิ่งนั้น
2.            Get up, go ahead, move, you peacemakers, for you shall be called children of God    ลุกขึ้น เดินหน้า ทำบางอย่าง เคลื่อนไหว  ผู้สร้างสันติ  เพราะท่านจะได้ชื่อว่าบุตรของพระเจ้า
      ถ้าการแปลของท่านสังฆราชในคำ blessed นี้มีความถูกต้องมากกว่าที่คนอื่นแปลมานานนับศตวรรษ  ก็จำเป็นที่ต้องมีการทบทวนความเข้าใจของเราที่เกี่ยวกับมหาบุญลาภ  โดยถือว่าบทเทศน์ของพระเยซูเจ้าบนภูเขานี้เป็นการเรียกให้เรามีการกระทำตอบสนองต่อความทุกข์ยากลำบากในชีวิตมากกว่าที่จะยอมรับสภาพเหล่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น