เรื่องบริจาคเลือด
ศ.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
............
ข้อเท็จจริงน่ารู้เกี่ยวกับ “การโพสต์ขอเลือดทางอินเตอร์เน็ต”
ผมไม่อยากขัดศรัทธาของผู้ใดนะครับ แต่ในฐานะหมอโรคเลือด ผมขอแบ่งปันข้อคิดเกี่ยวกับ “การโพสต์ขอเลือดทางอินเตอร์เน็ต” ดังนี้นะครับ
1. ธนาคารเลือดมีระบบขอเลือดจากศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เป็นปกติและในยามฉุกเฉินอยู่แล้ว และสามารถยืมระหว่าง รพ ต่างๆ ถ้าเลือดหรือเกล็ดเลือดกลุ่มใดหายาก ศูนย์บริการโลหิตมีข้อมูลผู้บริจาคกลุ่มเลือดหายากในระบบ ถ้าต้องการเลือดเมื่อใดเขาจะติดต่อคนพิเศษที่เลือดตรงหมู่เหล่านี้ให้มาบริจาคล่วงหน้าหรือทันที
2. ผู้บริจาคบริจาควันใด เลือดก็จะต้องถูกตรวจสอบตามมาตรฐานอย่างเข้มข้น เร็วที่สุดก็คือ 48 ชั่วโมง ถ้า "ผ่าน" จึงจะนำไปใช้กับผู้ป่วยได้
3. ผู้บริจาคไม่สามารถระบุตัวผู้ป่วยที่จะนำไปใช้ (แม้ว่าจะรับแจ้งความจำนงว่าบริจาคเพื่อใคร) โดยห้ามให้คนอื่นไม่ได้ ผิ ดกฎเกณฑ์สากล
3.1 ถ้าทำเช่นนั้น จะทำให้เลือดถูกทิ้งมากกว่าใช้ประโยชน์
3.2 เป็นการบริจาคที่ไม่บริสุทธิ์ใจ
3.3 เพิ่มความเสี่ยงแก่ผู้รับ เพราะคนที่ไม่สมควรบริจาคถูกโน้มน้าวให้มาบริจาคด้วยเหตุผลทางสังคม
3.4 เป็นการเพิ่มงานแก่เจ้าหน้าที่ ในยุคปัจจุบัน เราพึงรณรงค์ให้ผู้ที่สามารถบริจาคเลือดได้ มาบริจาคเป็นประจำทุก 3 เดือน เลือดจากผู้บริจาคกลุ่มนี้เป็นเลือดที่มีคุณภาพดี ปัญหาน้อย และมีสิทธิบริจาคเกล็ดเลือดเข้มข้นที่สามารถใช้ได้ทันทีได้อีกด้วย เราไม่ค่อยอยากได้เลือดจากผู้บริจาคที่ "ยอมมา" เพียงเพราะใครบางคนป่วยแล้วขอให้มาช่วย (coerced donation/replacement donation) เพราะตรวจแล้วไม่ผ่านบ่อย อาจเสียทรัพยากรไปโดยเปล่าประโยชนได้
4. การเปิดเผย ชื่อผู้ป่วยและโรคที่เขาเป็นในสื่อสาธารณะ มีความเสี่ยง
* คราวหน้า หากพบเห็นโพสต์ขอเลือดในกลุ่มอินเตอร์เน็ตใด ช่วยกันเผยแพร่ความจริงกันด้วยนะครับ !!!
#ข่าวสารจากองค์กรแพทย์จุฬาฯ
***************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น