VATICAN CITY — พระคาร์ดินัล Malcolm Ranjith จะเข้าร่วมในการประชุมที่กรุงโรมในวันเสาร์ที่ 6 ต.ค. ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูความศรัทธาต่อศีลมหาสนิทขึ้นมาใหม่
อาร์คบิชอปแห่งโคลัมโบ, ศรีลังกา ซึ่งเป็นอดีตเลขาฯสภาพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ได้ส่งคำอวยพรของท่านไปยังการประชุมนี้ซึ่งมีหัวข้อว่า “ทุกคนจงคุกเข่าลงน้อมนมัสการพระผู้ทรงฤทธานุภาพและทรงความรักนิรันดรซึ่งประทัยอยู่ในศีลมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์”
ผู้เข้าร่วมคนอื่นๆ ได้แก่ พระคาร์ดินัลเรย์มอนด์ เบิร์ค, ผู้อุปถัมภ์ของคณะ Sovereign Order of Malta และบิชอป Athanasius Schneider ผู้ช่วยของอัสตานา, คาซัคสถานซึ่งจะส่งข้อความผ่านวิดีโอมา
การประชุมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักถึงการที่พระเยซูเจ้าในศีลมหาสนิทควรได้รับการเคารพอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะกระตุ้นให้แสดงออกถึงความเคารพมากขึ้นโดยรับพระกายของพระเยซูคริสต์ด้วยการคุกเข่าและรับศีลในปาก แทนการยืนและรับศีลในมือ
มีผู้คนราว 11,000 คนลงนามในคำร้องที่กล่าวว่าพวกเขาต้องการรับพระเยซูในศีลมหาสนิทด้วยวิธีการ "แบบดั้งเดิม" ซึ่ง "แสดงถึงความศรัทธาสูงสุดที่มีความเหมาะสมมากกว่า"
พวกเขาขอให้สามารถรับศีลมหาสนิทในปากและคุกเข่า และมีการรับประกันว่าการแจกศีลมหาสนิทต้องกระทำโดยพระสงฆ์เท่านั้นไม่ใช่โดยฆราวาส
คำร้องขอนี้ถูกส่งเป็นจดหมายเปิดผนึกถึงเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของพระศาสนจักรโดยขอให้อนุญาติตามคำร้องขอนี้เพราะเป็น “คำร้องขอที่ชอบด้วยกฎระเบียบและเป็นไปตามความประสงค์ของชาวคาทอลิก”
“ศีลมหาสนิทเป็นหัวใจของคริสต์ศาสนา พระศาสนจักรคาทอลิกในทุกวันนี้ประสบกับวิกฤตการณ์และปัญหา ดังนั้นคำถามของพระเยซูเจ้าที่ตรัสว่า: 'เมื่อบุตรแห่งมนุษย์กลับมาจะพบความเชื่อในโลกหรือ?' พระวาจานี้ยิ่งทียิ่งดังมากขึ้น '”
ในบรรดาผู้บรรยายจะมี Msgr Nicola Bux ผู้เป็นนักเทววิทยาและอดีตที่ปรึกษาสภาหลักคำสอนและความเชื่อ ในวันที่ 27 กันยายน ท่านได้แสดงความคิดเห็นต่อผู้ลงทะเบียน Msgr Bux กล่าวว่า "วิกฤตศรัทธาที่เรากำลังประสบนั้นเกิดจากลัทธิฆราวาสนิยมซึ่งสถาบันพระสงฆ์เข้าไปมีส่วนร่วมมากที่สุดตามที่ [นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส] Charles Peguy ได้เขียนไว้
Msgr Bux กล่าวว่าถ้าพระสงฆ์ “เริ่มอนุญาตให้ผู้มีความเชื่อยืนขึ้นเพื่อรับศีลมหาสนิท หรือกำจัดการคุกเข่ารับศีลออกไปจากโบสถ์ นั่นก็หมายความว่าปีศาจได้เข้ามาในพระวิหารแล้ว” ท่านกล่าวว่า “ปีศาจผลักดันพระสงฆ์ให้ลบล้างสิ่งที่เป็นพระบัญญัติเอกออกไป ซึ่งกล่าวว่าจงรักพระเจ้าของเจ้าและรับใช้พระองค์แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น!”
พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 เคยกล่าวไว้ว่า "เหมือนกับปฏิกิริยานิวเคลียร์ได้เกิดขึ้น” เมื่อปังและเหล้าองุ่นถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นพระกายและพระโลหิตที่แท้จริงของพระคริสตเจ้า Msgr Bux อธิบายว่า การเปลี่ยนแปลงสถาพสสารของปังและเหล้าองุ่นทำให้เกิด “กระบวนการเปลี่ยนแปลงสภาพที่เป็นจริงและเป็นกระบวนการที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของโลกทั้งโลก ในที่สุดจะถึงจุดที่พระเจ้าจะทรงอยู่ทั้งครบในผู้รับศีลทั้งหมด”
การคุกเข่าต่อหน้าศีลมหาสนิทจึงเป็น “การแสดงออกถึงความศรัทธามากที่สุด” ที่บุคคลจะสามารถทำได้ต่อหน้า “ความลึกลับในปัจจุบัน” Msgr bux กล่าว “การนมัสการมีจุดศูนย์กลางสำคัญอยู่ที่สิ่งนี้: เพื่อตระหนักว่าพระเจ้าอยู่ที่นี่และเราต้องให้ความสำคัญแก่พระองค์ นั่นคือ ต้องนมัสการพระองค์โดยการคุกเข่าลง ดังที่นักบุญเปโตรได้กระทำในทะเลกาลิลี”
มีหลายกรณีที่พระสงฆ์และบิชอปปฏิเสธที่จะส่งศีลให้กับผู้ที่คุกเข่า หนึ่งในนั้น, เมื่อเร็วๆนี้, คือบิชอปชาวชิลี Celestino Aos ผู้ปฏิเสธที่จะส่งศีลมหาสนิทให้แก่สัตบุรุษอย่างน้อยสองคนที่มารับศีลในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมานี้
ในเรื่องการรับศีลในมือนั้น ผู้จัดคำร้องได้เขียนว่าสังคายนาวาติกันครั้งที่สองไม่เคยแนะนำให้กระทำเลย แต่กลับมีการกล่าวกันว่ามาจากสังคายนานี้ พวกเขายังเน้นว่ามันเป็นเพียงทางเลือกอย่างหนึ่ง แต่ไม่เป็นข้อผูกมัดใดๆ
Msgr Bux กล่าวว่า การรับศีลมหาสนิทในมือนั้นเป็น “ความคิดที่มาจากพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นธรรมเนียม และกลายเป็นกฎไป โดยยกเหตุผลว่าพระเยซูเจ้าในขณะที่อยู่ในกระยาหารมื้อสุดท้าย พระองค์ทรงส่งปังให้แก่บรรดาอัครสาวกในมือของพวกเขา
“แต่ก็มีพระวาจาที่พระเยซูเจ้าตรัสแก่ผู้ทรยศว่า - “คือผู้ที่เราจุ่มปังและยื่นให้แก่เขา” – เป็นการอธิบายถึงการที่ชาวยิวจะใช้มือหยิบอาหารใส่ปาก”
Msgr Bux อธิบายว่า: “สำหรับการยืนรับศีลมหาสนิท, รับในมือ หรือบางครั้งมีบางคนถือออกไปนั้น เป็นเพราะเราอยากจะแสดงให้เห็นว่าเราเป็นผู้ใหญ่แล้วต่อหน้าพระเจ้า แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่, เพราะนักบุญเปโตรเขียนไว้ว่า ทารกแรกเกิดต้องถูกเลี้ยงด้วยนมฝ่ายวิญญาณ นั่นคือศีลมหาสนิท”
การประชุมวันเสาร์จัดโดยกลุ่มฆราวาสเพื่อ “เป็นหนึ่งเดียวกับพระเยซูในศีลมหาสนิทโดยผ่านทางพระมารดามารีย์” จะเกิดขึ้นเวลา 18.00 น. วันที่ 5 ตุลาคมในห้องประชุมของโบสถ์ซานโต้สปิริโตในซาสเซีย, กรุงโรม
***********************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น