วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

จีน vs สหรัฐ



Thomas Friedman นักข่าวของ นสพ. นิวยอร์คไทม์ ได้สร้างความสั่นสะเทือนต่อทำเนียบขาว ด้วยบทความ “เปรียบเทียบช่วงเวลา 7 ปี ของจีนและ 7 ปี ของสหรัฐฯ”

เมื่อผมนั่งชมการแสดงชุดใหญ่ของจีนและเพลิดเพลินไปกับการแสดงต่างๆ ของนักแสดงคณะใหญ่ ผมได้หวนคิดถึงช่วงเวลา 7 ปี ที่ผ่านมาของประเทศจีน และสหรัฐฯ ที่ช่างแตกต่างกันมากมาย

ขณะที่จีนมุ่งมั่นกับโครงการก่อสร้างใหญ่ๆ จำนวนมาก (Infrastruture projects) แต่สหรัฐฯ กลับมุ่งมั่นจัดการกับปัญหาผู้ก่อการร้าย Al-Qaeda

จีนมุ่งสร้างสรรค์สิ่งที่ดี เช่น สนามกีฬา รถไฟใต้ดิน สนามบิน ถนน และสวนสาธารณะ แต่เราสหรัฐฯ กำลังสร้างเครื่องตรวจจับอาวุธ รถหุ้มเกราะ และโดรนสำหรับทำสงคราม

คุณจะเห็นความแตกต่างระหว่าง สนามบินเก่าและสกปรกของเราสหรัฐฯ (dirty old LaGuardia Airport) และสนามบินที่สวยงามและทันสมัยคือสนามบินนานาชาติเซี่ยงไฮ้ (Shanghai international Airport)

เมื่อคุณขับรถในแมนฮัตตัน นิวยอร์ค คุณจะเห็นสิ่งก่อสร้างเก่าทรุดโทรมตลอดสองข้างทาง แต่ถ้าคุณเดินทางในเซี่ยงไฮ้ คุณจะมองเห็นรถไฟฟ้าพลังแม่เหล็กความเร็วสูง (Shanghai’s maglev train) ที่วิ่งด้วยความเร็ว 220 ไมล์ต่อชั่วโมง ซึ่งใช้พลังแม่เหล็กไฟฟ้า ขณะที่รถไฟของเราสหรัฐฯ ยังคงใช้ล้อและรางเหล็กกล้าแบบโบราณ ดังนั้นเมื่อคุณเข้าไปอยู่ในเซี่ยงไฮ้แล้ว เราชาวอเมริกันควรจะย้อนถามตัวเราเองว่า “ระหว่างคนจีน กับ เราคนอเมริกัน ใครกันแน่ คือผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศโลกที่สาม? ”

ผมคิดว่า ในฐานะประเทศสมัยใหม่ จีนยอมรับในเอกราชของแต่ละประเทศและสิทธิมนุษย์ชนของประชาชน แต่ด้วยวัฒนธรรมที่หลากหลายของจีนซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ลักษณะหนึ่งของโมเดลการพัฒนาแบบจีนคือ การพัฒนาประเทศที่มีประชากรจำนวน 1,400 ล้านคน ทำให้ ผลที่เกิดจากการเรียนรู้ ผลจากการสร้างนวัตกรรม ผลจากขนาดของประชากร ส่งผลกระทบต่อประเทศจีนและโลกทั้งหมด หลายบริษัทที่ลงทุนในจีนมีคำขวัญว่าถ้าบริษัทใดประสบความสำเร็จในจีน ก็จะประสบความสำเร็จได้ในระดับโลก

การผงาดขึ้นของจีน เริ่มขยายตัวไปสู่ภาคต่างๆ เช่น การท่องเที่ยว การบิน ภาพยนตร์และทีวี การกีฬา พลังงานใหม่ๆ การศึกษา แฟชั่นยุคใหม่ และรถไฟความเร็วสูง

พวกเราชาวอเมริกันอาจรู้สึกอิจฉา คนที่อยู่ในประเทศเล็กๆ และมีประชากรน้อย แต่ในความเป็นจริง ปัญหาของประเทศเหล่านี้คือ ขาดกำลังในการต้านทานต่อปัญหาวิกฤตการณ์ต่างๆ ในขณะที่ประเทศขนาดใหญ่จะมีกำลังต้านทานปัญหา มีทรัพยากรและโอกาสในการแก้ปัญหาได้มากกว่า

ในกรณีชิลี ซึ่งเป็นประเทศกำลังพัฒนาระดับสูง แต่เมื่อต้องประสบภัยแผ่นดินไหวในปี 2010 ทำให้ GDP ลดลงมากและเศรษฐกิจไม่เติบโตเป็นเวลา 2 ปี ในขณะที่ประเทศจีนพบกับภัยแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่เหวินชวน เฉิงตู แต่เศรษฐกิจของทั้งประเทศไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด

สำหรับประเทศอื่นๆ การพัฒนายกระดับอุตสาหกรรมมักจะดำเนินการด้วยการย้ายอุตสาหกรรมเก่าออกไปยังต่างประเทศ แต่ประเทศจีนซึ่งมีพื้นที่ขนาดใหญ่ มีระดับการพัฒนาที่แตกต่างกันในหลายพื้นที่ สามารถเคลื่อนย้ายอุตสาหกรรมต่างๆ ภายในประเทศ จากเขตชายฝั่งภาคตะวันออกไปยังเขตภาคตะวันตกที่มีการพัฒนาต่ำกว่าได้ ทำให้ยืดอายุอุตสาหกรรมการผลิตของจีนได้ยาวนานกว่าประเทศอื่น

ทุกวันนี้ชาวจีนยึดถือและปฏิบัติตามหลักจริยธรรมของขงจื๊อ ให้ความเคารพต่อผู้เป็นครูบาอาจารย์ ยึดหลักการท่องจำหลักปรัชญาดั้งเดิม คลั่งไคล้ในอักษรภาพและภาพเขียนโบราณ เห็นคุณค่าของพิธีชงน้ำชา บูชาบ้านเมืองโบราณ เห็นคุณค่าวัตถุโบราณ เชื่อถือในคุณค่าของการรักษาสุขภาพแบบจีนและยาจีน ซึ่งแสดงถึงการกลับมาเข้มแข็งของวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีนอีกครั้งหนึ่ง

วัฒนธรรมอาหาร วัฒนธรรมสุขภาพ และรูปแบบการพักผ่อนที่สืบเนื่องจากวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีน ก็แตกต่างจากวัฒนธรรมตะวันตก ภัตตาคารริมถนน (Street restuarants) ทั่วประเทศจีนมีอาหารให้เลือกทานได้ถึง 30-40 เมนู แต่ร้านอาหารอเมริกันส่วนใหญ่มักจะมีเพียงแฮมเบอร์เกอร์และมันฝรั่งทอด (hambergers and potato chips) หรืออย่างมากก็มีแค่ 3-4 เมนู สำหรับภัตตาคารในยุโรปจะมีอาหารให้เลือกมากกว่าของอเมริกันแต่ก็มักจะไม่เกิน 7-8 เมนู

เราชาวตะวันตกบางคนมักจะวิตกว่าชาวจีนไม่มีศาสนา แต่ในความเป็นจริงแล้ว คนที่เคยเรียนประวัติศาสตร์ทุกคนจะทราบว่าความขัดแย้งทางศาสนานำไปสู่สงครามนับครั้งไม่ถ้วน ความขัดแย้งระหว่างความเชื่อต่างนิกายในคริสต์ศาสนา หรือความขัดแย้งระหว่างคริสต์กับมุสลิมที่กินเวลาหลายพันปี ได้นำหายนะมาสู่สังคมมนุษย์ทำให้มีการผลาญชีวิตคนจำนวนมาก ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีความเชื่อในศาสนา

ระบบเศรษฐกิจจีนเป็นระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม (Traditional economics) ไม่ใช่เศรษฐกิจแบบใช้ตลาดนำ (Markets economics) แต่เป็นเศรษฐกิจที่เห็นอกเห็นใจกัน/เศรษฐกิจเพื่อมวลชน (Humanistic economics)

ในประวัติศาสตร์อันยาวนานของจีน พบว่าถ้าผู้นำประเทศไม่สามารถพัฒนาเศรษฐกิจและปรับปรุงความเป็นอยู่ของประชาชนได้ และไม่สามารถจัดการแก้ปัญหาภัยธรรมชาติหลายๆ ครั้ง ประชาชนจะเสื่อมศรัทธาในผู้นำและอาจถูกโค่นล้มโดยประชาชน

ปัจจุบันพรรคการเมืองของจีน คือการพัฒนาทางประวัติศาสตร์ที่ต่อเนื่องโดยสืบทอดวัฒนธรรมของระบบจารีตในการปกครองแบบขงจื๊อ ซึ่งแตกต่างจากระบบพรรคการเมืองในตะวันตก ที่ใช้ระบบการเสนอตัวแทนของกลุ่มผลประโยชน์ที่ต่างกัน เข้าแข่งขันในการเลือกตั้งเพื่อขึ้นสู่อำนาจบริหาร

คนจำนวนมากในประเทศตะวันตกเพียงแต่เห็นด้วยว่า ระบบการแข่งขันเลือกตั้งจากหลายพรรคของตะวันตก เป็นระบบการปกครองที่ถูกกฎหมายแค่นั้น ซึ่งเป็นแนวความคิดที่ตื้นเขินมาก (ไม่มีประสิทธิภาพ แต่?)

ครั้งหนึ่งผมพบกับนักวิชาการอเมริกันท่านหนึ่ง ซึ่งถามผมถึงความชอบธรรมและถูกกฎหมายของระบบการปกครองของจีน แต่ผมถามเขากลับไปว่า ทำไมคุณไม่ลองตั้งคำถามก่อนว่า ระบบการปกครองของอเมริกันบ้านเรามีความชอบธรรมและถูกกฎหมายจริงหรือเปล่า เพราะสหรัฐฯ ยึดดินแดนของอินเดียนแดงเป็นอาณานิคม อพยพเข้ามาอยู่อาศัยแทนและกำจัดชาวอินเดียนแดงออกไป เพื่อตั้งประเทศสหรัฐอเมริกาในขณะนี้ ผมขอให้เขาอธิบายว่าการกระทำของสหรัฐฯ มีความถูกต้องชอบธรรมอย่างไร ในที่สุดเขาก็ตอบว่า มันก็เป็นแค่ประวัติศาสตร์ครั้งหนึ่งเท่านั้น

เราจะตั้งคำถามในเรื่องความถูกต้องชอบธรรม และถูกกฎหมายของระบบการปกครองตะวันตก โดยใช้หลักการ/แนวความคิดในการคัดเลือกและเลือกผู้มีความสามารถ ในประเทศจีนได้หรือไม่ (การสอบจอหงวนบุ๋นและ บู๊)

ประธานาธิบดีบุช จูเนียร์ (คนที่เป็นลูก) บริหารสหรัฐฯ โดยทำให้เกิดเศรษฐกิจตกต่ำในช่วง 8 ปี ที่เป็นผู้นำ และสร้างความหายนะแก่ประเทศอิรัก รวมถึงทำให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินของโลกด้วย

จุดเด่นสำคัญของความถูกต้องชอบธรรมในการมีอำนาจปกครอง ตามประวัติศาสตร์จีน คือประเพณีทางการเมืองในการคัดเลือกผู้มีความรู้ ความสามารถในการบริหารและปกครองประเทศ เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับและความสนับสนุนจากประชาชนจีน

ในวัฒนธรรมทางการเมืองของจีนมีแนวคิด/หลักการ แก้ปัญหาทีละเรื่อง แก้ปัญหาทีละอย่าง (one game at a time) และ มีความสามัคคีรวมพลังทุกฝ่ายเพื่อช่วยกันแก้ปัญหาให้ผู้เดือดร้อน (hardship on one side, support from all sides) ซึ่งประเทศอื่นไม่มีวัฒนธรรมเช่นนี้ ครั้งหนึ่งผมเคยแลกเปลี่ยนความเห็น เรื่องระบบการปกครองของจีนกับนักวิชาการอินเดีย ชาวอินเดียกล่าวว่า ภาพที่เห็นการปกครองของจีนเป็นการรวมศูนย์อำนาจ (Centralized) ในความเป็นจริงการปฏิรูปทุกครั้ง จะมีพลังการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงมาจากท้องถิ่นต่างๆ มีทั้งแง่มุมของการแข่งขันและการช่วยเหลือ/การร่วมมือกัน ดังนั้นระบบของจีนจึงดีกว่าของอินเดีย เพราะมีพลวัต/ยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยน เคลื่อนไหว และมีพลังตลอดเวลา (dynamic)

จีนได้ศึกษาบทเรียนของตะวันตก และได้จัดตั้งระบบการปกครองที่มีอำนาจสูงและทันสมัยขึ้น รวมถึงมีเอกลักษณ์และวัฒนธรรมทางการเมืองของตนเอง ด้วยองค์ประกอบทั้งสองด้านที่จีนนำมาใช้ประโยชน์ได้สำเร็จ ทำให้เรา/ประเทศตะวันตก สามารถนำมาใช้เป็นแบบอย่างในการเอาชนะปัญหาต่างๆ ที่เราเผชิญอยู่ เช่น ปัญหาระบบประชานิยม (Populism) ปัญหาการมองประโยชน์เฉพาะหน้า/มองการณ์สั้นๆ (short-sightness) และ ปัญหาการติดยึดกฎระเบียบกฎหมายต่างๆ (Legalism) ฯลฯ ซึ่งเป็นปัญหาและโรคร้ายที่เกาะกินระบบประชาธิปไตยของตะวันตกในทุกวันนี้ รวมถึงเรื่องปัญหาอื่นๆ ด้วย

ในมุมมองทางการเมือง ชาวตะวันตกจำนวนมากคาดว่า (Take it for granted) ถ้าจีนมีการพัฒนาต่อไปและจำนวนชนชั้นกลางในระบบการปกครองของจีนเพิ่มในสัดส่วนที่สูงขึ้น การเมืองของจีนจะยิ่งทวีความขัดแย้งเพิ่มขึ้น แต่ข้อเท็จจริงในขณะนี้พบว่า กลุ่มชนชั้นกลางในจีนเป็นกลุ่มชนที่เห็นความสำคัญของเสถียรภาพทางการเมืองจีนสูงกว่ากลุ่มชนชั้นอื่นๆ กลุ่มชนชั้นกลางตระหนักดีว่า ระบบประชาธิปไตยของตะวันตกเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความวุ่นวาย ความขัดแย้ง และการจราจล ในหลายประเทศ

ชนชั้นกลางของจีนตระหนักดีว่าความมั่งคั่งร่ำรวย ที่สะสมมาด้วยความยากลำบากในช่วงกว่า 30 ปี ที่ผ่านมา ได้รับการเอื้ออำนวยอย่างมากจากความมั่นคงทางการเมืองที่ต่อเนื่องยาวนานกว่า 30 ปี ของจีน

ผมอาจพูดตรงๆ ได้ว่า ประเทศจีนในขณะนี้ ได้แสดงให้เราชาวตะวันตกเห็นชัดเจนว่า ไม่ควรอธิบายง่ายๆ หรือให้ความหมายตื้นๆ ของคำเหล่านี้ คือ ก้าวหน้า (advanced) ความล้าหลัง (backwardness) ประชาธิปไตย (democracy) ระบบเผด็จการ (autocracy) สิทธิมนุษย์ชนสูง (high human rights) สิทธิมนุษย์ชนต่ำ (low human rights)

คำกล่าวปราศัยข้อหนึ่งของผู้นำจีน “เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามหาศาลสำหรับชาวจีนทุกคน ที่จะมุ่งมั่นจริงจังและทำให้ครอบครัวของท่านเป็นครอบครัวที่รักชาติจีน (It is very worthwhile for every Chinese to take a serious look and have a patriotic family !)”

*******************************


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น