วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2562

วลาดีมีร์ ปูติน เป็นใคร?


เขาเป็นคนเฉลียวฉลาด เป็นนักปกครองที่สุขุมรอบคอบ และนอกจากนั้น, เขายังเป็นคริสตชนอนุรักษ์นิยม เป็นผู้ที่ฟื้นฟูคริสตศาสนารัสเซียออร์โธดอกซ์ให้กลับมารุ่งเรืองในรัสเซียอีกครั้งหนึ่ง
ปูตินกำลังจุดเทียนในโบสถ

ภาพถ่ายบางรูปแสดงให้เห็นเขากำลังสวมเหรียญแม่พระไว้ที่คอ เขามีความศรัทธาต่อแม่พระ(และอาจสวดภาวนาต่อแม่พระด้วย)
ทุกปีในเดือนมกราคม เขาจะไปที่ทะเลสาบเซลิเกอร์ ที่อยู่ใกล้กับอารามนักบุญนิลัส St. Nilus Stolobensky Monastery และจะไปจุ่มตัวในน้ำทะเลที่เย็นยะเยือก เป็นการแสดงความศรัทธาต่อการบังเกิดมาของพระคริสตเจ้า

เขาไม่เพียงแต่ฟื้นฟูคริสตศาสนาในรัสเซียเท่านั้น (ประธานาธิบดีคนก่อนเช่น มิคาอิล กอบาชอฟ ก็ทำด้วยเช่นกัน) เขายังส่งเสริมคริสตศาสนาในทุกวิถีทางด้วย เขาได้ไปเยี่ยมพระสันตะปาปาทุกพระองค์ ตั้งแต่พระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2

สิ่งเหล่านี้เป็นการทำให้พระวาจาของแม่พระที่ตรัสไว้ที่ฟาติมาเป็นจริงว่า – รัสเซีย (ในเวลานั้นที่ไม่เชื่อในพระเจ้า) จะกลับใจมาหาพระเจ้า ถ้าหากพระสันตะปาปา พร้อมด้วยพระสังฆราชทั่วโลกประกอบพิธีถวายประเทศรัสเซียแด่ดวงหทัยนิรมลของแม่พระ
 
และที่เมดจูกอเรจ์ แม่พระตรัสในเดือนตุลาคม 1981 ว่า “ประชาชนรัสเซียจะถวายเกียรติแด่พระเป็นเจ้ามากที่สุด ประเทศทางตะวันตกมีความก้าวหน้ามากในวิทยาการ แต่ปราศจากพระเจ้า พวกเขาคิดว่าตนเป็นพระผู้สร้างเสียเอง”
 
แต่นี่จะเป็นเพียงฉากบังหน้าของปูตินหรือไม่?
ขณะที่มีเรื่องดีๆเกี่ยวกับปูติน ก็มีเรื่องที่ไม่ค่อยดีด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น มีข่าวว่า ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งหนึ่ง, เขาสั่งให้ลอบสังหารผู้สมัครฝ่ายตรงข้าม
 
Clifford G. Gaddy และ Fiona Hill ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับรัสเซียได้เขียนเรื่องราวของปูตินเอาไว้ ว่า
“ในระยะเวลาสั้นๆ สามปีระหว่างปี 1997 ถึงปี 1999 วลาดีมีร์ ปูติน ได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นเร็วมาก, จากตำแหน่งรองหัวหน้าของเจ้าหน้าที่ประธานาธิบดี ขึ้นไปเป็นหัวหน้าสำนักงานความมั่นคงแห่งสหพันธรัฐ [แต่ก่อนคือหน่วยสืบราชการลับ KGB] แล้วเป็นนายกรัฐมนตรี ในที่สุดจึงเป็นประธานาธิบดีของรัสเซีย”
 
“ข้อมูลส่วนบุคคลรวมถึงเหตุการณ์สำคัญในวัยเด็ก, การแต่งงานในปี 1983 กับ Lyudmila ภรรยาของเขา การเกิดของลูกสาวสองคนในปี 1985 และ 1986 และมิตรภาพกับนักการเมืองและนักธุรกิจจากเมืองเลนินการ์ด และเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก เป็นที่น่าสังเกตอย่างมากในการเป็นบุคคลสาธารณะที่มีชื่อเสียง”
 
“เมื่อพูดถึงปูติน, มีข้อมูลน้อยมาก ที่เป็นสิ่งที่ยืนยันได้หรือเชื่อถือได้
 
“ด้วยเหตุนี้ ผู้สังเกตการณ์บางคนกล่าวว่า วลาดิมีร์ ปูตินไม่มีใบหน้า ไม่มีสสารไม่มีวิญญาณ” (Vladimir Putin has no face, no substance, no soul). แกดดี้และฮิลล์อดีตสมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติที่มีความเชี่ยวชาญในรัสเซียกล่าว

“ภาพที่เผยแพร่ออกมาแต่ละอย่างของปูติน มีจุดประสงค์ที่เฉพาะ ทั้งหมดขึ้นอยู่กับข้อเสนอแนะจากการสำรวจความคิดเห็นที่แนะนำทางเครมลิน เพื่อต้องการเข้าถึงและสร้างความนิยมกับบุคคลบางกลุ่มในหมู่ประชากรรัสเซีย ปูตินเองก็ยืนยันในการสัมภาษณ์เกี่ยวกับชีวประวัติว่า ทักษะหลักอย่างหนึ่งของเขาคือการทำให้ผู้คนมองเห็นเขาเป็นสิ่งที่พวกเขาต้องการให้เป็น ซึ่งไม่ใช่เป็นตัวตนที่แท้จริงของเขา การแสดงเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าปูตินเป็นนักแสดงที่มีความสามารถสูง สไตล์การเป็นผู้นำของเขาคล้ายกับลักษณะของมาเฟียมากกว่า”
 
“เขาเป็นใครมาจากไหนไม่ทราบ ซึ่งสามารถปรากฏเป็นใครก็ได้สำหรับทุกคน อันที่จริงในฐานะประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรี, ปูตินได้เปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นสุดยอดศิลปินทางการเมือง“ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทีมประชาสัมพันธ์ของเขาได้ผลักดันภาพลักษณ์ของเขาในหลายๆ ด้านโดยสร้างภาพลักษณ์ของเขาให้เป็นทุกอย่างตั้งแต่นักล่าสัตว์และนักอนุรักษนิยม ไปจนถึงเป็นนักประดาน้ำ, และนักขี่จักรยาน หรือแม้แต่เป็นนักท่องราตรีในไนท์คลับ

“ผู้นำของประเทศอื่นๆ มีชื่อเสียงจากสไตล์การแต่งตัว หรือสไตล์ความรักชาติของพวกเขาเพื่อดึงดูดประชาชนจำนวนมาก – เช่นฟืเดล คาสโตร และ ฮูโก ซาเวส ที่มีภาพลักษณ์ของความเป็นผู้นำทางทหาร การใช้ผ้าพันคอของยัสเซอร์ อาราฟัด และเสื้อคลุมของกัดดาฟี่ที่ทำให้มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ส่วนตัว เป็นต้น
 
“แต่สำหรับ วลาดิมีร์ ปูติน, เขามีความโดดเด่นมากกว่าคนเหล่านั้นทุกคน เขาปรากฏตัวนับครั้งไม่ถ้วนต่อสื่อมวลชนหรือกลุ่มผลประโยชน์พิเศษของรัสเซีย หรือในช่วงวิกฤตขณะที่เกิดเหตุไฟไหม้รอบกรุงมอสโกในปี 2010 เขาก็กลายเป็นนักบินขับเครื่องบินที่ใช้ดับเพลิง [เขายังเป็นนักแข่งรถด้วย]

สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับรัสเซียชาวอเมริกันสองคนซึ่งเป็นอดีตสมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ แต่ความจริงแล้ว ปูติน เป็นอย่างไรกันแน่? เป็นสิ่งที่คงต้องรอดูกันต่อไป

*************************
 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น