วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2563

ไม้กางเขนศักดิ์สิทธิ์



พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงสวดภาวนาต่อหน้าพระรูปไม้กางเขนนี้ก่อนที่จะทรงออกจากวาติกันเพื่อทำการแสวงบุญไปยังวัดแม่พระที่อยู่ไม่ห่างไกลนัก
 
พระรูปพระเยซูเจ้าถูกตรึงกางเขนนี้อยู่ที่โบสถ์ Saint Marcellus มีประวัติถึงความอัศจรรย์
 
เวลานี้พระรูปถูกเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่มหาวิหารนักบุญเปโตร เพื่อที่พระสันตะปาปาฟรังซิสจะได้ใช้ในพิธีอวยพรโลก (Urbi et Orbi) ในวันศุกร์ที่ 27 มีนาคม 2020 เพื่อวอนขอให้โรคระบาดหยุดลง

ทำไมจึงต้องใช้ไม้กางเขนนี้?
 
โบสถ์ Saint Marcellus ถูกสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 4 โดยพระสันตะปาปา Marcellus ที่ 1 พระองค์ทรงถูกจักรพรรดิโรมัน Maxentius กดขี่ข่มเหงและถูกทรมานด้วยการให้ทำงานหนักที่ stables of the catabulum (ศูนย์ไปรษณีย์ของรัฐ) จนพระองค์สิ้นพระชนม์จากความเหน็ดเหนื่อย พระศพของพระองค์อยู่ภายในโบสถ์นี้ ดังนั้นโบสถ์นี้จึงได้ชื่อตามพระนามของพระองค์

ไม้กางเขนอยู่ในโบสถ์นี้
 
ระหว่างค่ำคืนของวันที่ 22 ไปจนถึงวันที่ 23 พฤษภาคม 1519 เกิดไฟไหม้โบสถ์ Saint Marcellus อย่างรุนแรงจนเหลือแต่เพียงกองขี้เถ้า ในตอนรุ่งสาง, ประชาชนพากันมาดูภาพอันน่าสลดใจของซากที่มีควันลอยคุกรุ่น ทุกคนต่างรู้สึกเศร้าใจเป็นอย่างมาก แต่เมื่อพวกเขาได้พบว่าไม้กางเขนที่แขวนอยู่เหนือพระท่าน, ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ไม่เสียหายและยังสว่างสไวจากแสงที่มาจากตะเกียงน้ำมันที่อยู่เบื้องใต้กางเขน ตะเกียงเสียรูปไปบ้างจากความร้อนแต่ก็ยังใช้งานได้
 
เมื่อได้เห็นภาพเช่นนี้, ประชาชนต่างพากันร้องตะโกนว่า “อํศจรรย์” ในเวลาต่อมา,มีผู้ศรัทธาได้มารวมกันทุกวันศุกร์เพื่อสวดภาวนาและจุดเทียนที่ใต้กางเขนซึ่งทำด้วยไม้นี้ และทำให้เกิดกลุ่มผู้มีใจศรัทธาต่อไม้กางเขนศักดิ์สิทธิ์นี้ขึ้น มีชื่อกลุ่มว่า “Archconfraternity of the Holy Crucifix in Urbe,”(กลุ่มภารดรภาพแห่งไม้กางเขนศักดิ์สิทธิ์ในอูร์บี) และยังคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้
 
นี่เป็นอัศจรรย์แรก ยังมีอัศจรรย์อื่นเกิดขึ้นอีกในสามปีต่อมา คือในปี 1522 มีโรคระบาดร้ายแรงเกิดขึ้นในกรุงโรม จนผู้คนคิดว่ากรุงโรมจะต้องล่มสลายไปตลอดกาล
 
ในความสิ้นหวัง, นักพรตแห่งคณะผู้รับใช้พระแม่มารีย์(Servants of Mary) ตัดสินใจที่จะแห่ไม้กางเขนศักดิ์สิทธิ์จากโบสถ์ St. Marcellusไปในขบวนแห่เพื่อเป็นการชดเชยใช้โทษบาป และจะแห่แหนไปที่มหาวิหารนักบุญเปโตร เจ้าหน้าที่ของรัฐเกรงว่า ขบวนแห่ไม้กางเขนจะยิ่งทำให้เชื้อโรคติดต่อแพร่กระจายมากยิ่งขึ้น, จึงพยายามขัดขวางการจัดขบวนแห่ของบรรดานักบวชเหล่านี้ แต่ประชาชนไม่เห็นด้วยและฝ่าฝืนคำสั่งห้ามนี้ พระรูปพระเยซูเจ้าถูกตรึงกางเขนจึงถูกแห่แหนไปตามถนนของเมืองพร้อมด้วยเสียงไชโยโห่ร้องของประชาชน
 
การแห่แหนเป็นขบวนดำเนินไปเป็นเวลาหลายวันเพราะต้องการไปให้ถึงสถานที่ทุกแห่งในกรุงโรม ในที่สุด, เมื่อไม้กางเขนกลับมายังโบสถ์เดิม โรคระบาดก็หยุดลงอย่างสิ้นเชิงในทันที กรุงโรมจึงรอดพ้นจากการล่มสลายไปตลอดกาล
 
นับตั้งแต่ปี 1650 เป็นต้นมา, ไม้กางเขนศักดิ์สิทธิ์ก็จะถูกนำไปไว้ที่มหาวิหารนักบุญเปโตรในระหว่างปีศักดิ์สิทธิ์ทุกครั้ง
 
สถานที่แห่งการสวดภาวนา
 
ในระหว่างเทศกาลมหาพรตของปีศักดิ์สิทธิ์ 2000 ไม้กางเขนศักดิ์สิทธิ์ได้ถูกนำมาไว้ที่พระแท่นแห่งการสารภาพบาปในมหาวิหารนักบุญเปโตร ที่เบื้องหน้าพระรูปนี้, พระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ทรงประกอบพิธี “วันแห่งการให้อภัย”
 
พระสันตะปาปาฟรังซิสก็ได้สวดภาวนาที่เบื้องหน้าพระรูปนี้เช่นกันในวันที่ 15 มีนาคม 2020 เพื่อวอนขอให้โคโรน่าไวรัสซึ่งระบาดไปทั่วโลกและทำให้คนเสียชีวิตเป็นจำนวนมากได้สิ้นสุดลง

พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงเดินแสวงบุญมาที่ไม้กางเขนศักดิ์สิทธิ์วอนขอให้โคโรน่าไวรัสหยุดการระบาด







***********************
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น