วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ขบวนแห่แม่พระในปารีส





วันที่ 15 ส.ค. 2020 เป็นวันฉลองแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ ที่ปารีสในฝรั่งเศส สังฆมณฑลปารีสได้จัดขบวนแห่แม่พระที่มุ่งสู่อาสนวิหารน็อตเตอร์ดามซึ่งเคยถูกไฟไหม้และบัดนี้ได้ซ่อมเสร็จบางส่วน ขบวนแห่ 'M de Marie' มีขึ้นบนถนนในกรุงปารีส มีชาวปารีสนับพันคนมาร่วมในขบวนแห่นี้ด้วย เป็นภาพที่ไม่ได้เห็นมานานแล้ว ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันโควิด-19 ตามมาตรการสุขอนามัย  การเตรียมการเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน มีขบวนแห่สองขบวนและรถเทียมม้าสองคันบรรทุกรูปปั้นพระแม่มารีย์สองรูป รูปหนึ่งนำมาจากลาซาแล็ตและอีกรูปหนึ่งนำมาจากลูรดส์, ตรงมายังปารีส พระอัครสังฆราชแห่งปารีส Michel Aupetit,ร่วมอยู่ในขบวนแห่ในวันศุกร์ที่ 15 นี้ด้วย ขบวนแห่ 'M de Marie' แบ่งเป็น 30 ตอนซึ่งรวมระยะทาง 2000 ก.ม. ใช้เวลา 107 วัน คุณพ่อ Jeremiah กล่าวว่าท่านได้ร่วมในขบวนโดยความกังวลเรื่องกฏหมาย bioethics laws ที่เพิ่งออกมา(กฏหมายจริยธรรมชีวภาพ) ท่านบอกว่า “ผมมาอยู่ที่นี่เพื่อสวดภาวนาต่อพระแม่มารีย์ เพื่อขอให้พระนางช่วยฝรั่งเศสพ้นจากสิ่งที่ไม่เหมาะสมและเป็นอันตรายต่อมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งที่เป็น bioethical ซึ่งแท้ที่จริงมันเป็นการต่อต้านศีลธรรม ต่อต้านศักดิ์ศรีของมนุษย์ เพราะฉะนั้นเราจึงสวดวอนขอให้แม่พระทรงปกป้องมนุษย์ให้พ้นจากการเบี่ยงเบนที่เป็นอันตรายนี้”
 
-------------------
 
กฏหมายจริยธรรมชีวภาพในฝรั่งเศส
 
จุดเริ่มต้นของการตรากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมชีวภาพในฝรั่งเศสเริ่มจาก กฎหมายการยุติการตั้งครรภ์โดยสมัครใจในปี 1975 โดยหญิงที่ตั้งครรภ์ที่อยู่ในสถานการณ์ลำบากสามารถเรียกร้องการตั้งครรภ์ได้ โดยอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ การอนุญาตทำแท้งส่งผลต่อเกิดคำถามและข้อขัดแย้งในสังคม การทำแท้งเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งสอนของพระเจ้าหรือไม่ การทำแท้งเป็นการฆ่าชีวิตเด็กในท้องหรือไม่ ตัวอ่อนในครรภ์มีสถานะบุคคลที่กฎหมายรับรองหรือไม่ ในขณะเดียวกัน การตั้งท้องโดยไม่เต็มใจและไม่ยุติการตั้งครรภ์จะส่งผลต่อชีวิตมารดาอย่างไร ขอบเขตของสิทธิมารดาต่อร่างกายของตนเองและสิทธิการได้รับการทำแท้งอย่างถูกต้องทางสาธารณสุขและต่อสุขภาพเจริญพันธุ์ จะเห็นได้ว่าการทำแท้งเรื่องเดียวส่งผลต่อคนจำนวนมากในสังคม และไม่สามารถหาคำตอบถูกต้องตามธรรมชาติ หรือมีคำตอบสำเร็จรูปในสังคม และจำเป็นต้องมีการร่วมคิดพิจารณา ดีเบต ก่อนออกมาเป็นกฎหมายบังคับใช้
 
จริยธรรมทางชีวภาพเริ่มขยายขอบเขตมากขึ้นตั้งแต่ทศวรรษที่ 20 สาเหตุจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เช่น การทำแท้ง การคุมกำเนิดด้วยวิธีใหม่ๆ การผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ การผสมเทียม ตลอดจนการ โคลนนิ่งเป็นต้น ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้กระทบต่อความเชื่อของศาสนาและปรัขญา เช่น กรณีการรับเลือดหรืออวัยวะของผู้อื่น จะเป็นการผิดหลักศาสนาอิสลามหรือไม่ การคุมกำเนิดนั้นขัดกับพระประสงค์ของพระเจ้าในศาสนาคาธอลิคหรือไม่ เป็นต้น
 
รัฐสภาได้บัญญัติกฎหมาย la loi du 20 décembre 1988 เพื่อวางกฎการทำการทดลองวิทยาศาสตร์โดยต้องได้รับการยินยอมจากผู้ร่วมทำการทดลองและไม่ใช่เป็นรูปการค้า อย่างไรก็ตามกฎหมายนี้ก็ยังมีช่องว่างให้เกิดคำถามตามมาหลายข้อ และสิ่งที่ส่งผลมากที่สุดคือเหตุการณ์ประสบความสำเร็จในการโคลนนิ่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมครั้งแรกแกะดอลลี่เมื่อปี 1997 การโคลนนิงจากความว่างเปล่าเป็นการท้าทายของมนุษย์ที่พยายามทำตัวเทียบเท่าพระเจ้า และส่งผลต่อประเทศคาธอลิคและศาสนจักรมากแม้แต่คนที่นับถือศาสนาเดียวกันก็มีความเห็นต่างบ้างว่าการโคลนนิงเป็นสิ่งต้องห้าม บ้างว่าการโคลนนิงเป็นสิ่งที่พระเยซูได้ทำเป็นตัวอย่างจากการเสกขนมปังจากความว่างเปล่า
 
และด้วยเทคโนโลยีการช่วยการมีบุตรได้พัฒนามากขึ้น ช่วยทำให้เกิดความหวังแก่คู่รักร่วมเพศในการมีบุตรเป็นของตนเอง หรือคู่ที่มีบุตรยาก เกิดปัญหาซึ่งสัมพันธ์ไปถึงสถาบันครอบครัวและศาสนา
 
เมื่อกฎหมายฉบับเก่าล้าหลังและไม่ทันต่อสภาพการณ์ปัจจุบันในปี 2004 รัฐสภาจึงออกกฎหมายโดยเป็นครั้งแรกที่บรรจุคำว่า จริยธรรมชีวภาพ กฎหมายฉบับนี้มีหลักการคือ ห้ามมีการโดลนนิ่ง ห้ามมีการวิจัยในตัวอ่อน ในสเตมเซลล์ นอกจากการทดลองนี้ถูกกำหนดเวลาชัดเจนไม่เกินห้าปีและต้องได้รับการอนุญาต และมีการสร้างหน่วยทางจริยธรรมทางการแพทย์ และมีการทบทวนกฎหมายจริยธรรมชีวภาพทุกๆห้าปี
 
ตัดตอนบางส่วนมาจาก - ภาคภูมิ แสงกนกกุล: จริยธรรมทางชีวภาพ (Bioethics) ตอนที่ 1

*****************

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น