วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563

วาติกันไม่รับรองการประจักษ์ที่อัมสเตอร์ดัม


 
สันตะสำนักปฏิเสธการประจักษ์ของแม่พระต่อไอด้า เพียร์เดอมาน

 
“การประจักษ์ที่อัมสเตอร์ดัมเป็นเรื่องเท็จ จะต้องไม่มีการแสดงความเคารพนับถือ“แม่พระแห่งปวงชน” และผู้มีความเชื่อจะต้องยุติการโฆษณาชวนเชื่อทั้งหมด” นี่เป็นการประกาศของสภาหลักคำสอนแห่งความเชื่อ ที่ได้ออกจดหมายลงวันที่ 20 ก.ค. 2020 แต่เพิ่งเปิดเผยต่อสาธารณะ หลังจากการโต้เถียงกันหลายสิบปีเกี่ยวกับการประจักษ์ของพระแม่มารีย์ต่อไอด้า เพียร์เดอมาน(Ida Peerdeman) 56 ครั้ง เวลานี้ถูกปฏิเสธอย่างเป็นทางการแล้วจากทางสันตสำนัก
 
ตอนนี้กรณีของเพียร์เดอมาน สิ้นสุดแล้วหรือยัง? หญิงสาวชาวดัตช์แห่งศตวรรษที่ 20 ไอด้า เพียร์เดอมาน ที่อ้างว่าเธอได้รับการประจักษ์จากแม่พระถึง 56 ครั้ง ระหว่างปี 1945 ถึง 1959 และแม่พระประจักษ์มาในฐานะ "แม่พระแห่งนานาชาติ"( Lady of All Nations) การเปิดเผยอันลึกลับนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจนถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2020 และตามคำร้องขอของพระคาร์ดินัล เบชารา บูทรอส ราส(Cardinal Béchara Boutros Raï, Patriarch)พระสังฆราชแห่งอันติโอคแห่งมาโรไนท์, สภาหลักคำสอนแห่งความเชื่อ Congregation for the Doctrine of the Faith (CDF) ซึ่งเดิมเรียกว่า “สันตะสำนักศักดิ์สิทธิ์(Holy Office)” ได้ชี้แจงในจดหมายถึงบรรดาพระสังฆราชถึงจุดยืนของสันตะสำนักเกี่ยวกับนิมิตของไอด้า เพียร์เดอมานดังนี้
 
ถึงแม้ว่าตามคำบอกเล่า, พระแม่มารีย์ประจักษ์แก่ไอด้า เพียร์มาน คล้ายกันหลายประการกับการประจักษ์ของแม่พระต่อคัทรีน ลาบูเร(Catherine Laboure) ในปี 1830 คือมีลูกโลกอยู่ใต้พระบาทของแม่พระ, มีแสงที่ออกมาจากพระหัตถ์พุ่งลงมาเบื้องล่าง แต่อดีตเจ้าหน้าที่สันตะสำนักได้เขียนยืนยันเป็นข้อสังเกตุในปีค. ศ. 1974 ซึ่งกล่าวว่า “มีความเห็นว่าเป็นเรื่องไม่สมควรที่จะมีส่วนในการเผยแพร่ความเคารพนับถือพระนางมารีย์ในฐานะ “แม่พระแห่งปวงชน”(Our Lady of all peoples)

การประจักษ์หลอก 56 ครั้ง?

ตามเรื่องราวที่รายงานโดยไอด้า เพียร์เดอมาน, หญิงสาวชาวดัตช์ที่เกิดเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 1905 ที่เมืองอัลก์มาร์ (เนเธอร์แลนด์) พระแม่มารีย์ประจักษ์แก่เธอเป็นครั้งแรกในวันที่ 13 ตุลาคม 1917 ซึ่งตรงกับวันที่แม่พระประจักษ์ที่ฟาติมาและเกิด”อัศจรรย์แห่งดวงอาทิตย์”. เวลานั้นไอด้า มีอายุ 12 ปีเธอเห็นแม่พระประจักษ์มาในระหว่างเดินทางกลับบ้านที่อัมสเตอร์ดัม เธอเล่าว่าเป็น "สตรีที่สดใสเปล่งประกายแห่งความงามอย่างยิ่ง และเธอรู้ได้ทันทีว่าเป็นพระแม่มารีย์"

การประจักษ์ครั้งต่อมา ซึ่งทำให้เกิดการประจักษ์อีกหลายครั้งตามมานั้น, เกิดในวันที่ 25 มีนาคม 1945 ซึ่งตรงกับวันแม่พระรับสาร, หลังจากนี้เธอได้รับการประจักษ์อีก 56 ครั้ง สิ้นสุดในปี 1959 หลังจากการประจักษ์ไม่กี่ครั้ง, พระแม่มารีย์ทรงบอกพระนามแก่ไอด้า เพียร์เดอมานว่า: “ฉันคือพระนางมารีย์, พระมารดาของมนุษย์ทุกคน” และตรัสว่า "พระบิดาและพระบุตรทรงส่งมาเพื่อช่วยเหลือมนุษยชาติ" เพื่อประกาศการยุติสงคราม และเพื่อเตือนโลกในเรื่องของ "ความเสื่อมถอย, ภัยพิบัติ, และสงคราม" และอันตรายจาก "ภัยพิบัติครั้งที่สามของโลก"

มีการให้คำพยากรณ์มากมายเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางการเมือง, เศรษฐกิจ, และสังคมที่จะเกิดในศตวรรษที่ 20 อาทิเช่น สงครามเย็น, การล่มสลายของสหภาพโซเวียต, สงครามเกาหลี, ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์, ความวุ่นวายทางการเมืองในปาเลสไตน์และตะวันออกกลาง ฯลฯ

ในช่วงต้นปี 1951 พระแม่มารีย์ได้แสดงภาพนิมิตให้ไอด้า เห็นเกี่ยวกับ สังคายนาวาติกันครั้งที่2ซึ่งจะเกิดขึ้นในทศวรรษต่อมา จากนั้นมีการยืนยันถึงความจำเป็นในการปฏิรูปและการเปลี่ยนแปลง, การเปลี่ยนแปลงทางวินัยซึ่งรวมถึงการฝึกอบรมพระสงฆ์และนักบวช พระนางทรงมีความกังวลเป็นพิเศษเกี่ยวกับกรุงโรมและวาติกันที่ตกอยู่ในอันตราย ไอด้าอธิบายถึงนิมิต(ตามที่เธอเรียก) ไว้ดังนี้:

ตอนนี้, ฉันสังเกตเห็นว่าแม่พระทรงวางพระหัตถ์ของพระนางเหนือพระสันตะปาปาและนักบุญเปโตร พระสันตะปาปาทรงประทับนั่งโดยยกนิ้วขึ้น, และเหนือศีรษะของพระองค์มีตัวหน้งสือเขียนว่า "สู้" ฉันเห็นการต่อสู้มากขึ้นเรื่อยๆ ทันใดนั้นฉันเห็นทหารสวมหมวกทรงสูงยืนอยู่ด้านหลังพระสันตะปาปา พวกเขาชูสองนิ้ว นี่อาจเป็นการอ้างอิงถึงลัทธิฟรีเมซอนหรือไม่?

การโต้เถียงและการยอมรับ

ตามธรรมเนียมในพระศาสนจักรคาทอลิก, การตัดสินลักษณะเหนือธรรมชาติของการประจักษ์ขึ้นอยู่กับพระสังฆราชของสังฆมณฑลซึ่งการประจักษ์นั้นได้เกิดขึ้น: ในกรณีนี้การตัเสินอยู่ในอำนาจของ สังฆมณฑลฮาร์เลม - อัมสเตอร์ดัม (Diocese of Haarlem-Amsterdam ) ความยากลำบากในกรณีของเพียร์เดอมาน อยู่ที่บรรดาพระสังฆราชที่สืบต่อกันมาในสังฆมณฑลนี้จะได้ทำการตัดสินกัน
 

บุคคลแรกคือ Mgr Johannes Huibers บิชอปในช่วงเวลาของการประจักษ์, ท่านได้ให้ความเห็นชอบ (nihil obat) ต่อพระนามแม่พระใหม่นี้และบทภาวนาที่เกี่ยวข้องกับการประจักษ์ อย่างไรก็ตามในวันที่ 7 พฤษภาคม 1956 หลังจากได้ตรวจสอบอย่างรอบคอบเกี่ยวกับกรณีการประจักษ์และการเปิดเผยพระนามของ "พระแม่มารีย์แห่งปวงชน" บิชอปคนเดียวกันกลับคำตัดสินของท่าน ท่านบอกว่าท่านพบว่า "ไม่มีหลักฐานของลักษณะเหนือธรรมชาติของการประจักษ์"
 
หลายต่อหลายครั้งในปี 1957, 1972 และ 1974 ทางสันตะสำนัก CDF ยืนยันจุดยืนของบิชอปชาวดัตช์ อย่างไรก็ตามในวันที่ 31 พฤษภาคม 1996 บิชอปเฮนดริก โบเมอร์(Hendrik Bomers) ผู้สืบทอดตำแหน่ง, โดยได้รับอนุญาตจาก CDF , อนุญาติให้ประชาชนเคารพพระนางพรหมจารีย์แห่งปวงชนได้, ขณะนั้นยังไม่มีคำถามเกี่ยวกับลักษณะเหนือธรรมชาติของการประจักษ์,ยังไม่มีการยืนยัน บิชอปย้ำการตัดสินใจของท่านในจดหมายลงวันที่ 3 ธันวาคม 1997
 
วันที่ 31 พฤษภาคม 2002 บิชอปโจเซฟ มาริอานุส ปุนต์(Jozef Marianus Punt) พระสังฆราชคนต่อมา, ได้ประกาศว่าการประจักษ์นั้นมีต้นกำเนิดที่เหนือธรรมชาติ ตั้งแต่นั้นมาก็มีคำถามว่า Bishop Punt มีอำนาจที่จะคว่ำการตัดสินของพระสังฆราชเดิมก่อนท่านหรือไม่? เนื่องจากการตัดสินก่อนหน้านี้ได้รับการยืนยันจาก CDF ในจดหมายที่ไม่ได้ตีพิมพ์ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2005, CDF ขอให้เปลี่ยนบทภาวนาที่เกี่ยวข้องกับการประจักษ์, โดยแทนที่คำว่า "ผู้ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นมารีย์" ด้วยคำว่า "พระนางพรหมจารีย์มารีย์ผู้ทรงบุญ" ผู้สนับสนุนในเรื่องการประจักษ์จึงได้คิดเอาเองว่า CDF ยอมรับการรับรองของ Bishop Punt โดยปริยาย
 
กรณีของเพียร์เดอมานสิ้นสุดแล้วหรือไม่?
 
มีคำถามจากพระคาร์ดินัลชาวเลบานอนซึ่งเป็นอดีตเจ้าหน้าที่สันตะสำนักงานศักดิ์สิทธิ์, ท่านพูดถึงจดหมายที่ลงนามเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคมว่าการตัดสินของพระศาสนจักรยังคงเป็นที่เผยแพร่โดยสังฆมณฑลอัมสเตอร์ดัมเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 ซึ่งกล่าวไว้ว่า – หลังจากการศึกษาอย่างดีแล้ว เห็นว่า ไอด้า เพียร์เดอมาน "ไม่รู้เรื่องลักษณะเหนือธรรมชาติของการประจักษ์เลย" นี่คือเหตุผลที่เราอ่านพบในจดหมายของวาติกันว่า ผู้มีความเชื่อควร"ยุติการโฆษณาชวนเชื่อทั้งหมดเกี่ยวกับการประจักษ์และการเปิดเผยที่อ้างว่าประทานให้โดยแม่พระแห่งปวงชนและขอให้แสดงความเคารพนับถือพระนางพรหมจารีย์มารีย์, ราชินีแห่งจักรวาลในรูปแบบที่พระศาสนจักรรับรองและแนะนำแทน"

*********************
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น