วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ระนาบที่ 4 ของชีวิต

ที่มา... สารวัดนักบุญโยเซฟ บ้านโป่ง ราชบุรี
 
วิชาเรขาคณิตเป็นองค์ความรู้ของชาวกรีกโบราณเมื่อสามร้อยปีก่อนคริสตกาล ตัวการใหญ่ที่ทําให้เราต้องท่อง เส้นตรงเส้นหนึ่งตั้งอยู่บนเส้นตรงอีกเส้นหนึ่ง มุมประชิดรวมกันเท่ากับสองมุมฉาก ฯลฯ ก็คือ ยูคลิด แห่งอเล็กซานเดรีย บิดาแห่งวิชาเรขาคณิต เรขาคณิตมาจากคํากรีก geometry -- geo แปลว่า โลก, metry หรือ metron แปลว่า การวัด วิชาเรขาคณิตชี้ว่าโลกและจักรวาลมีระนาบสามด้านคือ กว้าง ยาว ลึก สามระนาบนี้ก่อให้เกิดสามมิติของสรรพสิ่ง
 
แต่ผ่านไปสองพันกว่าปี ก็มีนักฟิสิกส์คนหนึ่งชื่อไอน์สไตน์คิดพิเรนทร์อะไรก็ไม่รู้ บอกว่าเรขาคณิตแห่งโลกและ จักรวาลมีมากกว่าสามมิติ มิติที่ 4 คือเวลา สอดแทรกเกี่ยวร้อยสามระนาบแรกนั้นเป็นเนื้อหนึ่งเดียวกัน เรียกว่า Space-time เปรียบเสมือนสายใยผืนผ้าที่บิดไขว้ไปมา มีรูปทรงไม่แน่นอน บางคนจึงเรียกมันเท่ๆว่า fabric of Cosmos ไอน์สไตน์รอดตัวไปเพราะเราสามารถพิสูจน์การดํารงอยู่ของ space-time ได้
 
ในแนวคิดของตะวันออก สามมิติเป็นจํานวนระนาบน้อยที่สุดที่ยังรักษาความสมดุลได้ เราไม่อาจสร้างโต๊ะหรือ เก้าอี้ที่มีขาน้อยกว่าจํานวน 3ขา จีนโบราณนิยมสร้างโต๊ะสามขา เก้าอี้สามขา กระถางสามขา จอกเหล้าสามขา เป็นการออกแบบสไตล์ Minimalism จริงๆ
 
ชีวิตมนุษย์ก็เช่นกัน ชีวิตที่สมดุลต้องมีอย่างน้อยสามระนาบ : ยาว กว้าง และลึก
 
“ยาว” คือเส้นทางเดินของชีวิตจากวันเกิดจนวันตาย จากจุด ก. ไปยังจุต . ค. ง. จนไปถึงจุดที่สิ้นสุดลมหายใจ ในโลกนี้ ยาว เริ่มที่การเกิด การเรียนหนังสือ การทํางาน การสร้างครอบครัว และความตาย นี่คือ ชีวิตเป็นเส้นตรง
 
“กว้าง” คือระยะของทัศนคติของเรา คือการเรียนรู้ว่าชีวิตไม่ได้มีแค่การเดินไปถึงจุดหมาย หรือเดินทางจากวันเกิด ไปถึงวันตาย ชีวิตยังมีด้านของการแสวงหาความรู้อื่น ๆ งานอดิเรก การช่วยเหลือคนอื่น กิจกรรมต่าง ๆ ที่ทําให้เรา ขยายโลกทัศน์ของเรา เราอาจมีวิชาความรู้อย่างเดียวที่ใช้หากินอย่างเดียวไปจนวันตายได้ แต่เพียงเท่านี้ไม่อาจทําให้เป็น ชีวิตที่กว้างพอ นี่คือ ชีวิตเป็นเส้นโค้ง
 
“ลึก” คือการค้นหาคุณค่าบางอย่างที่เสริมจิตวิญญาณเรา บางอย่างที่ทําให้ชีวิตมีความหมาย มีคุณค่า มันอาจนําพาเราไปสู่โลกแห่งสันติสุขทางใจหรือความสงบ ความพอดี ความงาม สมาธิ ปัญญาเชิงลึก นี่คือชีวิตทางดิ่ง
 
สามระนาบ ก่อให้เกิดสามมิติของชีวิต เรียกว่า ชีวิตที่สมดุล มันรวมความต้องการตามธรรมชาติ, จุดหมายของปัจเจก และสันติแห่งชีวิต อย่างไรก็ตาม นี่เป็นการมองโลกและชีวิตแบบสามมิติหรือสามระนาบ แต่หากใช้แว่นขยายส่อง ลึกเข้าไปอีก อาจพบอีกมิติหนึ่งซ่อนอยู่ มิตินี้เชื่อมทั้งสามมิติแห่งชีวิตเข้าเป็นเนื้อหนึ่งเดียวกัน
 
หากเวลาเป็นตัวเชื่อมสามมิติเป็นเนื้อเดียวกันตามโมเดลเรขาคณิตของโลกและจักรวาล มิติที่ 4 ที่ประสานสามระนาบของชีวิตเข้าด้วยกันก็คือ ความเมตตาและความรักสากล เป็นสายใยที่เชื่อมสรรพชีวิตเข้าด้วยกันเป็นเนื้อเดียวกัน เราอาจเรียกมันที่ ๆ ว่า fabric of life - สายใยแห่งชีวิต
 
คําถามคือ เพียงสามมิติหรือสามระนาบ เราก็สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างสบาย ๆ แล้ว ทําไมต้องมีระนาบที่สี่ด้วย? คําตอบคือเพราะเราไม่ใช้สายพันธุ์เดียวในโลกและจักรวาล. และเพราะเรามาทีหลังเขาตั้งนาน! ในระยะเวลาเพียง ไม่กี่พันปีของอารยธรรมมนุษย์ ด้วยวิธีคิดที่มองว่ามนุษย์สําคัญที่สุดและมนุษย์ต้องมาก่อน เราทําลายชีวิตอื่น ๆ รอบตัวเราไปนับไม่ถ้วน เราเปลี่ยนทิศโลกไปในทางที่สร้างความเดือดร้อนต่อชีวิตสายพันธุ์อื่น ๆ ทั้งพืช สัตว์ และแม้กระทั่ง มนุษย์ด้วยกันเอง
 
เราเป็นผู้สร้างระบบทาสขึ้นมาใช้ทั้งต่อคนและสัตว์ ทุกอย่างทําบนข้ออ้างว่าสร้าง “สิ่งที่ดีกว่า” เพื่อชีวิตมนุษย์ และในตอนจบวัน เราก็บอกอย่างภาคภูมิใจว่า เราใช้ชีวิตคุ้ม เราสอนเด็ก ๆ ในโรงเรียนว่า “มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ” เด็ก ๆ ก็ท่องจํามาตลอดว่า “มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ” แต่มันก็อาจเป็นมิจฉาทิฐที่ใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติ เมื่อยึดเอา ผลประโยชน์ของเราเป็นหลัก กรอบความคิดของเราก็อยู่แค่ในสามระนาบนี้เท่านั้น
 
หลายคนอาจมองว่า ไม่ใช่หน้าที่ที่จะต้องปลูกต้นไม้ หรือสนใจความเป็นตายร้ายดีของป่า สัตว์ป่า แม่น้ำ ลําธาร ภูเขา ไม่ใช่เรื่องของเรา การสูญเสียป่าเพื่อสร้างเขื่อนหรือทําไร่ก็เป็นแค่ ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาคุณภาพชีวิต มนุษย์ ไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไร แต่ระบบของโลกและจักรวาลไม่ได้ทํางานโดยที่แต่ละจุดเป็นเอกเทศของมัน ระบบของโลก และจักรวาลทํางานแบบทุกจุดเชื่อมต่อกัน จุดใดจุดหนึ่งพังก็กระทบต่อจุดอื่น เป็น Butterfly Effect การสิ้นสุดของพืช สัตว์บางสายพันธุ์ การทําลายลําคลองสักสายสองสายหรือป่าสักผืน อาจดูห่างไกลตัว แต่ช้าหรือเร็ว ตรงหรืออ้อม มันจะส่งผลกระทบถึงเราจนได้
 
ปราศจากสายใยแห่งความเมตตา เราก็เป็นเพียงเครื่องจักรชิ้นหนึ่งที่เกิดมา กิน อยู่ สืบพันธุ์ ป่วย แล้วตาย ไป ไม่มีความหมายใดต่อโลก ทุก ๆ สายพันธุ์ในโลกเกิดมามีหน้าที่เฉพาะตัวของมัน แมลงผสมเกสร ต้นไม้ให้อาหาร แก่สัตว์ มูลสัตว์เป็นปุ๋ยให้ต้นไม้ ซากศพสัตว์เป็นอาหารให้สิ่งมีชีวิตอื่นๆ แม้แต่แบคทีเรียก็มีหน้าที่ของมัน ไม่มีอะไร สูญเปล่าหรือไร้ประโยชน์ ส่วนสัตว์ประเสริฐอยู่เหนือห่วงโซ่อาหาร อยู่เหนือระบบ และทําลายระบบ ดังนั้นการบอกว่า เรารักโลก จึงอาจเป็นแค่คําพูดสวยหรู หากเรายังใช้ชีวิตเราเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ไม่แยแสชีวิตสายพันธุ์อื่นๆ ตั้งแต่ต้นไม้ พืชพรรณ สัตว์ แบคทีเรีย เมื่อปราศจากความเข้าใจระบบของโลกและจักรวาล เราก็ขาดความเมตตาต่อกัน และเมื่อปราศจากความเมตตาและความรักต่อสรรพสิ่ง เราก็เป็นเพียงความผิดพลาดของการรวมกันของเส้นชีวิตไม่สมบูรณ์ สามเส้น>>>
 
***********************  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น