วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ความตายของเฮโรด

 


 
จากหนังสือ Life of Christ, pp. 54, 55 ของผู้แต่ง Farrar เขียนไว้ว่า - “ไม่นานหลังจากการสังหารทารกผู้บริสุทธิ์จากคำสั่งของเขา,เฮโรดก็เสียชีวิต ห้าวันก่อนที่เฮโรดจะเสียชีวิต,เขาได้พยายามฆ่าตัวตายอย่างบ้าคลั่งและได้สั่งประหารบุตรชายของตนเอง, อันติปาแตร์(Antipater)ผู้เป็นบุตรชายคนโต
 
ณ.เตียงมรณะของเฮโรด,แวดล้อมไปด้วยบรรยากาศที่น่าสยองขวัญ มีการยืนยันว่าเขาเสียชีวิตด้วยโรคที่น่ารังเกียจซึ่งแทบจะไม่มีการกล่าวถึงในประวัติศาสตร์, กล่าวไว้แต่เพียงว่าเฮโรดเป็นบุรุษที่โหดเหี้ยมของการกระทำกดขี่ข่มเหงประชาชน บนเตียงแห่งความปวดร้าวในพระราชวังอันโอ่อ่าหรูหราที่เขาสร้างขึ้นเพื่อตัวเอง,ในเมืองเยริโค ร่างกายของเฮโรดเต็มไปด้วยโรคร้ายและจิตใจที่ถูกแผดเผาด้วยความกระหาย, บาดแผลภายนอกพุพองด้วยไฟ  เฮโรด - 'ที่ล้อมรอบด้วยบุคคลต่างๆที่ครุ่นคิดการวางแผน, บุตรชายและทาสที่ปล้นสะดมมา ทุกคนเกลียดชังเขา ทุกคนปรารถนาให้เฮโรดตายไปเสียเพื่อจะได้รับการปลดปล่อยจากการทรมานของเขา แต่นั่นก็น่ากลัวว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของความน่าสะพรึงกลัวที่เลวร้ายยิ่งกว่า, มโนธรรมของเฮโรกถูกทรมานด้วยความทรงจำของความผิดทั้งหลาย,การฆาตกรรมซึ่งเป็นความสยองขวัญที่อยู่รอบตัวเขา, ความรู้สึกหวาดกลัวที่เลวร้าย,ถูกกลืนกินโดยการทุจริตที่เขาก่อขึ้นก่อนวัยอันควร หลุมฝังศพที่ถูกเตรียมไว้เต็มไปด้วยหนอนราวกับว่าถูกพระพิโรธของพระเจ้าลงโทษ หลังจากเจ็ดสิบปีของความชั่วร้ายที่ประสบความสำเร็จ,ชายชราผู้น่าสมเพช,ชายที่ถูกเรียกว่าผู้ยิ่งใหญ่,นอนอยู่บนเตียงด้วยความบ้าคลั่งซึ่งกำลังรอคอยชั่วโมงสุดท้ายของเขา เมื่อเขารู้ว่าจะไม่มีใครหลั่งน้ำตาให้เขา,เขาตัดสินใจว่าคนเหล่านั้นจะต้องหลั่งน้ำตาให้กับตัวเอง เฮโรดจึงออกคำสั่งว่า ครอบครัวที่เป็นหลักของอาณาจักรอิสราเอลและหัวหน้าเผ่าทุกคนต้องมาที่เมืองเยรีโค เมื่อพวกเขามาถึง,ก็ให้กุมขังพวกเขาไว้ในฮิปโปโดรม เฮโรดสั่งซาโลเมน้องสาวของเขาอย่างลับๆว่าในช่วงเวลาที่เขาเสียชีวิต, คนพวกนั้นทั้งหมดที่ถูกกุมขังต้องถูกสังหารหมู่ ดังนั้น,โดยอุบายสังหารหมู่ด้วยความเพ้อเจ้อ,จิตวิญญาณของเฮโรดจึงผ่านพ้นไปในยามค่ำคืน”
 
---------------------
 

พระเจ้าเฮโรดมหาราช (73 - 4 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นกษัตริย์แห่งมณฑลยูเดีย (Iudaea Province) ของจักรวรรดิโรมัน เฮโรดมิได้สืบเชื้อสายมาจากชาวยิว และตอนแรกเป็นเพียงคนรับใช้ กล่าวกันว่าเป็น “ผู้บ้าอำนาจและฆาตกรรมครอบครัวของตนเองและรับบีอีกหลายคน” ยูเดียในรัชสมัยของพระองค์เจริญรุ่งเรืองและมีสิ่งก่อสร้างที่สำคัญเป็นประวัติศาสตร์มากมาย
 
พระเจ้าเฮโรดมหาราชมักจะสับสนกับเฮโรด อันทิปาสที่มาจากราชวงศ์เฮโรเดียน (Herodian dynasty) เดียวกัน [ผู้เป็นประมุขของกาลิลี ระหว่างปีที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช จนถึง ค.ศ. 39 ในช่วงเวลาของนักบุญยอห์น บัพติศมาและพระเยซู] กษัตริย์เฮโรดทรงมีชื่อเสียงในงานสถาปัตยกรรมอันยิ่งใหญ่ในกรุงเยรูซาเลมและบริเวณอื่นๆ ในดินแดนโบราณรวมทั้งการก่อสร้างพระวิหารหลังที่สอง (Second Temple) ในกรุงเยรูซาเลมที่บางครั้งก็เรียกว่าพระวิหารของพระเจ้าเฮโรด พระราชประวัติของพระองค์ได้รับการกล่าวถึงบ้างในงานเขียนของโยเซพุส นักประวัติศาสตร์ชาวโรมัน-ยิวสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 1
 
ในคัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า พระเจ้าเฮโรดมีพระราชโองการให้ประหารเด็กทุกคนในหมู่บ้านเบธเลเฮมเพราะทรงหวาดกลัวว่าเด็กที่เกิดใหม่จะเติบโตขึ้นมาเป็น “พระมหากษัตริย์แห่งชาวยิว” (King of the Jews) และยึดราชบัลลังก์ของพระองค์ ตามคำบอกเล่าของโหราจารย์ตามที่บรรยายในพระวรสารนักบุญมัทธิว
 
ด้วยความช่วยเหลือจากกองทหารโรมัน เฮโรดเอาชนะศัตรูในยูเดียและทวงบัลลังก์คืนมาได้ เขาแก้แค้นผู้ที่เคยต่อต้านตนอย่างโหดเหี้ยม เขากำจัดราชวงศ์ฮัสโมเนียนและเหล่าขุนนางชาวยิวที่สนับสนุนราชวงศ์นี้ รวมทั้งใครก็ตามที่ไม่พอใจจะอยู่ใต้อำนาจผู้ปกครองที่เป็นมิตรกับโรม
 
ในช่วงหลายปี เฮโรดได้สร้างความมั่นคงให้กับอาณาจักรของตนโดยทำให้กรุงเยรูซาเลมกลายเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมกรีก เขาได้ริเริ่มโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น ราชวังหลายหลัง, เมืองท่าซีซาเรีย, และพระวิหารในกรุงเยรูซาเลมที่ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างใหม่ ๆ ที่ใหญ่โตหรูหรา ตลอดช่วงเวลานั้น นโยบายของเฮโรดมุ่งเน้นที่การรักษาความสัมพันธ์กับโรมซึ่งเป็นขุมกำลังของตน
 
อำนาจปกครองของเฮโรดเหนือยูเดียนั้นเป็นอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด นอกจากนี้ เฮโรดยังใช้อำนาจเหนือมหาปุโรหิตด้วย โดยแต่งตั้งผู้ที่ตนพอใจให้ดำรงตำแหน่งนี้
 
ชีวิตส่วนตัวของเฮโรดมีแต่เรื่องวุ่นวาย ในจำนวนมเหสีสิบคนของเฮโรดมีหลายคนที่ต้องการให้บุตรชายของตนสืบบัลลังก์ต่อจากราชบิดา แผนร้ายต่าง ๆ ในราชวังทำให้เฮโรดระแวงสงสัยและทำสิ่งที่เหี้ยมโหด ด้วยความหึงหวง เขาได้สั่งประหารมาเรียมมเหสีคนโปรด และต่อมาสั่งให้รัดคอบุตรชายสองคนของนางเนื่องจากมีคนกล่าวหาว่าคบคิดแผนชั่วต่อต้านตน บันทึกในมัทธิวเกี่ยวกับการสั่งฆ่าเด็กทุกคนในเบทเลเฮมจึงสอดคล้องลงรอยกับเรื่องที่ผู้คนรู้กันดีเกี่ยวกับนิสัยของเฮโรดรวมทั้งความมุ่งมั่นของเขาที่จะกำจัดทุกคนที่สงสัยว่าเป็นศัตรู
 
บางคนบอกว่าเนื่องจากเฮโรดรู้ตัวว่าไม่เป็นที่นิยมชมชอบ เขาจึงตั้งใจจะทำให้คนทั้งชาติโศกเศร้าในการตายของตนแทนที่จะดีใจ เพื่อให้แผนการสำเร็จ เขาได้จับประชาชนระดับผู้นำของยูเดียและสั่งไว้ว่าให้ฆ่าคนเหล่านี้เมื่อมีการประกาศการตายของเขา แต่ก็ไม่ได้มีการปฏิบัติตามคำสั่งนี้
 
เมื่อเฮโรดสิ้นพระชนม์ โรมได้แต่งตั้งอาร์คีลาอุสให้เป็นผู้ปกครองยูเดียต่อจากราชบิดา และแต่งตั้งบุตรชายอีกสองคนของเฮโรดเป็นเจ้าชายหรือเจ้าผู้ครองแคว้นที่ไม่ขึ้นกับโรม คืออันทีพัสเป็นผู้ครองแคว้นแกลิลีและพีเรีย ส่วนฟิลิปเป็นผู้ครองแคว้นอิตูเรียและทราโคนิทิส อาร์คีลาอุสไม่เป็นที่ชื่นชอบของราษฎรและของโรม หลังจากปกครองได้สิบปีโดยไม่มีผลงานที่น่าพอใจ โรมจึงปลดเขาออกจากตำแหน่งและแต่งตั้งผู้ว่าราชการของโรมเองให้ปกครอง ซึ่งก็คือผู้ที่ดำรงตำแหน่งก่อนปอนติอุสปีลาต ในระหว่างนั้น อันทีพัสซึ่งลูกาเรียกสั้นๆ ว่าเฮโรด ยังคงปกครองแคว้นของตนต่อไปเช่นเดียวกับฟิลิป นี่เป็นสถานการณ์ทางการเมืองตอนที่พระเยซูเริ่มทำงานประกาศสั่งสอน—ลูกา 3:1
 

************************ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น