[อินเดียประสบปัญหาหลายอย่าง และในช่วงเวลานี้ก็มีโรคระบาดโควิด-19 อีก อย่างไรก็ตาม,ก็ยังมีเรื่องราวที่ทำให้เรานึกถึงความกล้าหาญ,พลังและความดีงามของบรรดาผู้อุทิศตนเพื่อพระเจ้าและเพื่อเพื่อนมนุษย์ที่ชัดเจน อาทิเช่น คณะธรรมทูตแห่งเมตตาธรรมของคุณแม่เทเรซาแห่งกัลกัตตา และยังมีกลุ่มซิสเตอร์อีกกลุ่มหนึ่งที่กำลังทำงานต่อสู้กับการค้ามนุษย์]
จาก NBC:
GUWAHATI, อินเดีย – ซิสเตอร์โรส ไปติ(Sister Rose Paite)ก้าวเข้ามาในสถานีรถไฟหลักของเมืองและส่ายสายตาสแกนฝูงชน เธอมักจะไปที่สถานที่ชุมนุมสาธารณะเช่นนี้,ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจในชีวิตของเธอนั่นคือการช่วยเหลือเด็กๆจากการถูกลักพาตัวของพวกค้ามนุษย์
ในไม่กี่วินาที ซิสเตอร์ไปติก็มองเห็น เธอได้เห็นสถานการณ์ที่เตือนเธอ เด็กสาวอายุประมาณ 15 ปีนั่งข้างชายชราในชุดเสื้อเชิ้ตติดกระดุม ซิสเตอร์ไปติเดินมาหาพวกเขาและเริ่มถามคำถาม
“เธอจะไปที่ไหน? เธอมาพบกับผู้ชายคนนี้ได้อย่างไร?
และคำตอบที่ได้รับจากเด็กผู้หญิงก็ทำให้ซิสเตอร์ไปติมั่นใจ
แม่ชีคาทอลิกเป็นผู้นำในการต่อสู้กับการค้ามนุษย์
เด็กหญิงตอบว่าเธอเพิ่งจะพบกับผู้ชายคนนี้บนรถไฟ ไม่รู้แน่ชัดว่าเธอจะไปที่ไหน
ซิสเตอร์ไปติพูดกับเด็กหญิงประมาณสี่นาทีและได้ให้นามบัตรแก่เธอ ซิสเตอร์ต้องการรู้ว่าเธอจะไปที่ไหน แต่เด็กหญิงปฏิเสธที่จะให้เบอร์โทรศัพท์แก่ซิสเตอร์
ก่อนที่จะเดินจากไป,แม่ชีนิกายโรมันคาทอลิกรูปร่างเล็กนี้ได้เตือนชายคนนี้ แต่เธอบอกว่าเขาไม่สนใจ “เด็กผู้หญิงคนนั้นคงจะต้องอยู่ในสถานการณ์ลำบากแน่ๆ” ซิสเตอร์ไปติกล่าว “เธออ่อนแอมาก”
ซิสเตอร์ไปติเดินจากไปที่อื่นเพื่อทำงานต่อ สถานีรถไฟ Guwahati แออัดมาก และมีเด็กมากมายที่อยู่ในอันตราย
--------------
ซิสเตอร์ไปติไม่ใช่นักรบในสงครามครูเสดเพียงคนเดียว เธอเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายแม่ชีคาทอลิกที่กว้างขวาง แต่ไม่ค่อยมีใครรู้จักที่อุทิศตนเพื่อต่อสู้กับการค้ามนุษย์ทั่วโลก นั่นคือ องค์กร Talitha Kum ซึ่งก่อตั้งขึ้นในกรุงโรมในปี 2009 และปัจจุบันดำเนินการอย่างเงียบๆใน 92 ประเทศ
กลุ่มนี้ประกอบด้วยซิสเตอร์ประมาณ 60,000 คน งานที่พวกเขาทำมักจะเสี่ยงอันตราย เพราะต้องเผชิญหน้ากับพวกนักเลงบนท้องถนนที่มืดมิด,คอยตระเวนไปตามตรอกซอกซอยที่เต็มไปด้วยฝุ่นซึ่งมีซ่อง บรรดาซิสเตอร์ยังทำงานเซฟเฮาส์ในหลายประเทศเพื่อเป็นที่หลบภัยสำหรับผู้หญิงและเด็กผู้หญิงที่หลบหนีจากการถูกลักพาตัว
ซิสเตอร์โรส ไปติ
ซิสเตอร์ไปติกำลังปลอบโยนผู้หญิงคนหนึ่งในสถานีรถไฟ Guwahati ในรัฐอัสสัมของอินเดีย
การค้ามนุษย์มีอยู่ทุกแห่ง
งานของพวกเขาไม่ได้อยู่เฉพาะในท้องถนน องค์กรได้ผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ,ล็อบบี้ให้มีการออกกฏหมายที่แข็งแรงในการต่อสู้กับการค้ามนุษย์
ซิสเตอร์จีน คริสเตนเซน,สมาชิกหนึ่งในบอร์ดอำนวยการของU.S. Catholic Sisters against Human Trafficking กล่าวว่า “ถ้าคุณต้องการให้ประชาชนเข้าใจถึงความเร่งด่วนของปัญหาแล้ว คุณไม่สามารถทำอย่างหยิบโหย่งได้”
ระดับของปัญหานั้นใหญ่มาก ทาง สภาแรงงานโลกประมาณการว่ามีประชาชนราว 25 ล้านคนที่ถูกบังคับใช้แรงงานทั่วโลก และมีประมาณ 5 ล้านคนที่ถูกบังคับให้ค้าประเวณี ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในทวีปเอเซียและแถบแปซิฟิก
“การค้ามนุษย์มีอยู่ที่แห่ง” ซิสเตอร์คริสเตนเซนกล่าว
“ไม่ว่าจะเป็นที่สนามบิน,สถานีรถไฟ,สถานีรถประจำทาง”
ซิสเตอร์เคยถูกทำร้าย
ซิสเตอร์ ลอเรนซ่า มาคิวซิส เดินไปตามถนนที่สกปรกในรัฐกัว สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมทางตะวันตกของอินเดีย
หลายปีก่อน,บริเวณนี้เป็นแหล่งการค้าประเวณี มีกระท่อมที่ตั้งเรียงรายตามชายทะเลซึ่งถูกใช้เป็นซ่อง
ซิสเตอร์เล่าว่า เธอมักไปที่นั่นบ่อยๆเพื่อค้นหาและช่วยเหลือหญิงสาว และเป็นเรื่องที่เสี่ยงมาก
“เราเคยถูกชายคนหนึ่งทำร้ายที่นั่น” ซิสเตอร์กล่าว พร้อมกับชี้นิ้วไปที่บ้านหลังหนึ่ง
ชายคนนี้ใช้มือจับคอของเธอและโยนเธอไปที่พื้น “เราเป็นศัตรูกับสิ่งที่เกิดขึ้นที่นี่” ซิสเตอร์กล่าว
อย่างไรก็ตาม,ซิสเตอร์บอกว่าการทำร้ายนั้นไม่ได้ทำให้เธอหรือซิสเตอร์ในกลุ่มเกรงกลัวแต่อย่างใด
“เราจะกลัวได้อย่างไรกัน” ซิสเตอร์กล่าว “เรามาที่นี่เพื่อจุดประสงค์เฉพาะ,เพื่อทำงานรับใช้ประชาชน”
แล้วซิสเตอร์ก็เดินไปที่บ้านเล็กๆหลังหนึ่งซึ่งมีชายที่เคยทำร้ายเธอกำลังยืนอยู่ที่อ่างน้ำเพื่อล้างมือของเขา
ทั้งสองทักทายกันอย่างดี ซิสเตอร์ถามเขาว่ากำลังทำอะไรและเธอจะพบเขาที่โบสถ์ในวันอาทิตย์ไหม ชายคนนั้นยิ้มและพยักหน้า
ซิสเตอร์พูดกับเขาว่า “ฉันถือว่าคุณเป็นพี่น้องคนหนึ่ง”
ทางรัฐบาลได้ใช้รถบูโดเซอร์มาพังบ้านพักเหล่านั้นเมื่อกลางปี 2000 แต่ผู้หญิงและเด็กหญิงยังคงถูกนำตัวไปค้าประเวณีที่อื่นในกัว
บรรดาซิสเตอร์ที่เป็นสมาชิกทำงานด้วยความจำกัดจากการสนับสนุนจากภายนอก มีบางกลุ่มบางองค์กรที่ให้การสนับสนุนด้านการเงิน
พวกเขายังได้รับการสนับสนุนจากพระสันตปาปาด้วย
พระสันตปาปาฟรังซิสเคยพบปะกับสมาชิกมากกว่า 100 คนขององค์กร Talitha Kum นี้ที่วาติกันเมื่อปีที่แล้ว เพื่อก่อให้เกิดความสนใจในปัญหาและเปิดการรณรงค์สำหรับจัดตั้งกองทุนสนับสนุน พระองค์ตรัสกับพวกเขาว่า “ปัญหาจะได้รับการแก้ไขอย่างดีที่สุด ด้วยการออกไปตามท้องถนน”
ซิสเตอร์ไปติ, อายุ 57 ปีและรอดชีวิตจากการเป็นโรคมะเร็ง,ทำงานนี้มานานนับสิบปี เธอกล่าวว่า “ฉันเป็นเพียงแม่ชีธรรมดาคนหนึ่ง คนตัวเล็กๆ” เธอพูดพลางหัวเราะ
“ฉันทำได้แต่เพียงสิ่งเล็กน้อย เล็กยิ่งกว่าหยดน้ำหนึ่งหยดในมหาสมุทร”
************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น