วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

เราควรสวดภาวนาเพื่อผู้ตายหรือไม่?

 



 
สวดภาวนาเพื่อผู้ตายภายหลังจากที่เขาเสียชีวิตแล้ว
 
Father de Ravignan (1795-1858) ชอบพูดถึงความลึกลับของพระหรรษทานที่ได้รับในเวลาแห่งความตาย ท่านรู้สึกว่าคนบาปจำนวนมากกลับใจในนาทีสุดท้ายและคืนดีกับพระเจ้า มีความลึกลับแห่งพระเมตตาของพระเจ้าที่ซ่อนเร้นและจังหวะแห่งพระหรรษทาน แต่ดวงตาของมนุษย์มองเห็นเพียงจังหวะแห่งพระยุติธรรมเท่านั้น โดยแสงสว่างแวบหนึ่ง,บางครั้งพระเจ้าก็ทรงเปิดเผยพระองค์ต่อดวงวิญญาณที่โชคร้ายที่สุดที่ไม่ได้รู้จักพระองค์ และลมหายใจสุดท้ายอาจเป็นการถอนหายใจเพื่อขอการอภัย พระองค์เท่านั้นที่ทรงได้ยินเสียงนั้นและทรงทราบถึงหัวใจของเขา
 
นายพล เอ็กเซลมันส์ (Marshal Exelmans1775-1852) ซึ่งเสียชีวิตโดยตกจากหลังม้า เขาละเลยการปฏิบัติศาสนกิจ เขาสัญญาว่าจะสารภาพบาปแต่ไม่มีเวลาที่จะทำเช่นนั้น แม้กระนั้น,ในวันที่เขาเสียชีวิต,บุคคลผู้หนึ่งที่คุ้นเคยกับการสื่อสารกับสวรรค์ดูเหมือนจะได้ยินเสียงภายในใจว่า “ใครเล่าจะบอกเล่าถึงพระเมตตาของเราได้? ใครสามารถวัดความลึกของทะเลและคำนวณปริมาณน้ำได้? ใครจะรู้ว่ามากเพียงใดที่วิญญาณบางดวงได้รับการอภัยในขณะที่เขายังอยู่ในความโง่เขลา”
 
เราจะอธิบายช่วงเวลาแห่งพระหรรษทานนี้ได้อย่างไร? จะรู้ได้โดยคุณค่าของวิญญาณที่ถูกซื้อมาโดยพระโลหิตของพระเยซูคริสต์และโดยพระเมตตาที่ไร้ขอบเขตของพระองค์ โดยการทำความดี การทำทาน หรือคำอธิษฐานของคนบาปในเวลาที่ยังมีชีวิต โดยพันธกิจที่มองไม่เห็นของอารักขเทวดาที่พร้อมที่จะช่วยเหลือ และพร้อมเสมอที่จะช่วยวิญญาณที่ท่านดูแลให้ได้รอด โดยคำอธิษฐานภาวนาล่วงหน้าของผู้เที่ยงธรรมบนแผ่นดินและของบรรดานักบุญในสวรรค์ แต่เหนือสิ่งอื่นใด โดยการแทรกแซงช่วยเหลือของพระแม่มารีย์ โดยการสวดภาวนาเพื่อคนบาปหลังจากการตายของพวกเขา แม้ว่าอาจไม่มีสัญญาณของการกลับใจของเขาก็ตาม
 
คริสตชนที่มีความเชื่อ,ความหวัง,และความรัก ต้องนำความทุกข์ของเราในการจากไปของผู้อันเป็นที่รักไปสู่จุดสูงสุดของความดีอันไม่มีขอบเขตของพระผู้ช่วยให้รอดของเรา ไม่มีสิ่งกีดขวางระหว่างวิญญาณและพระหรรษทานของพระเจ้า ดังนั้น เราจึงต้องมีความหวังอยู่เสมอ และทูลวิงวอนพระเจ้าด้วยความถ่อมใจและพากเพียร นักบุญผู้ยิ่งใหญ่และนักปราชญ์ของพระศาสนจักรได้กล่าวถึงประสิทธิภาพอันทรงพลังของการสวดภาวนาเพื่อดวงวิญญาณอันเป็นที่รัก ไม่ว่าพวกเขาจะจบชีวิตลงอย่างไร สักวันหนึ่งเราจะเข้าใจความอัศจรรย์ที่อธิบายไม่ได้ของพระเมตตาของพระเจ้า ซึ่งเราต้องไม่หยุดยั้งที่จะสวดภาวนาเพื่อผู้ตายเสมอด้วยความมั่นใจสูงสุด (de Ponlevoy, Life of Father de Ravignan, บทที่ 10, 21.)
 
เราควรสวดภาวนาเพื่อผู้ตายหรือไม่?
 
นักบุญยอห์น คริสซอสโตม
 
ท่านเป็นอัครสังฆราชที่มีคารมคมคายที่สุดในคอนสแตนติโนเปิลขณะโต้เถียงเพื่อพิสูจน์ว่าเราต้องไม่คร่ำครวญถึงคนตายของเรามากเกินไป แต่ให้ช่วยเหลือพวกเขาด้วยการสวดภาวนาและการทำดีของเรา ผู้ฟังคนหนึ่งขัดจังหวะท่านโดยอุทานขึ้น: “แต่ข้าพเจ้าคร่ำครวญร่ำไห้เพราะการจากไปของบุคคลเป็นที่รักนี้ เพราะเขาตายในบาป” อะไรคือคำตอบของท่านนักบุญ?
 
นี่ไม่ใช่ข้ออ้างที่ไร้สาระหรอกหรือ? เพราะถ้าสิ่งนี้เป็นเหตุที่ทำให้ท่านเสียน้ำตา เหตุใดท่านจึงไม่พยายามมากขึ้นที่จะทำให้เขากลับใจในขณะที่เขามีชีวิตอยู่เล่า? และถ้าเขาตายอย่างคนบาปจริงๆ ท่านไม่ควรชื่นชมยินดีที่เขาไม่สามารถเพิ่มจำนวนบาปของเขาได้อีกหรือ?
 
ท่านต้องไปช่วยเขาเท่าที่ท่านจะทำได้เป็นคนแรก ไม่ใช่ด้วยน้ำตา แต่ด้วยการอธิษฐานภาวนา การวิงวอน การทำทานและการพลีกรรม สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้น แต่เป็นความลึกลับอันศักดิ์สิทธิ์ในการที่เราระลึกถึงคนตาย มันไม่ใช่สิ่งที่ไร้ผลในการที่เราจะเข้าใกล้แท่นบูชาด้วยการสวดภาวนาให้พวกเขา ด้วยการวิงวอนต่อลูกแกะผู้ทรงลบล้างบาปของโลก ด้วยวิธีการเหล่านี้เป็นการปลอบประโลมจิตใจของพวกเขา ถ้าโยบสามารถชำระลูกๆของเขาให้บริสุทธิ์ด้วยการถวายเครื่องบูชาเพื่อพวกเขา พระองค์ผู้ซึ่งเราได้ถวายเพื่อผู้ตาย พระองค์จะมิทรงช่วยพวกเขามากกว่าอีกหรอกหรือ?
 
มันไม่ใช่วิถีของพระเจ้ามิใช่หรือที่จะทำดีกับบางคนโดยไม่สนใจคนอื่น? ดังนั้น ให้เราแสดงตัว ว่ามีความกระตือรือร้นที่จะช่วยผู้เสียชีวิตอันเป็นที่รักของเรา ด้วยการสวดภาวนาอย่างจริงจัง ด้วยความเพียรพยายาม เพื่อพวกเขา โดยทั่วไปพิธีมิสซาเป็นยัญบูชาซึ่งทุกคนอาจได้รับผลประโยชน์ ดังนั้นในพิธีมิสซา,เราสวดภาวนาเพื่อโลกทั้งมวล และเราพูดถึงผู้ตายพร้อมกับบรรดามรณะสักขี,ผู้ฟังสารภาพบาป, และพระสงฆ์ของพระศาสนจักร เพราะเราทุกคนเป็นกายเดียวกัน แม้ว่าอวัยวะบางส่วนจะสำคัญมากกว่าอวัยวะอื่นๆ ก็เป็นไปได้ว่าเราสามารถได้รับพระหรรษทานแห่งการอภัยโทษโดยสมบูรณ์สำหรับผู้ตายของเราโดยผ่านการสวดภาวนาและบุญกุศลแห่งความดีที่มอบถวายเพื่อพวกเขาโดยบรรดามิตรสหายของเขา เหตุใดท่านจึงยังเป็นทุกข์อยู่เช่นนี้เล่า? เหตุใดจึงท้อแท้ คร่ำครวญ จะไม่เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าและได้รับพระหรรษทานอันใหญ่หลวงมากกว่าแก่ผู้ที่สูญเสียไปอย่างนั้นหรือ?
 
(St. John Chrysostom, Homily 41 on 1 Corinthians)
 

บทความนี้มาจากหนังสือ In Heaven We’ll Meet Again: The Saints and Scripture on our Heavenly Reunion ของ Fr. Blot’s
 
ประสบการณ์ของนักบุญเยอร์ทรูด
 
ในการไขแสดงของสวรรค์อันมีชื่อเสียงของนักบุญเยอร์ทรูด (1256-c. 1302) เราพบตัวอย่างที่ยืนยันหลักคำสอนนี้และทำให้เกิดมุมมองใหม่ สตรีผู้หนึ่งได้รับแจ้งถึงการตายของญาติคนหนึ่งของเธอต่อหน้าเยอร์ทรูด สตรีผู้นี้เกรงว่าผู้ตายจะสิ้นใจโดยไม่ได้อยู่ในสถานะพระหรรษทาน เธอได้แสดงให้เห็นถึงความทุกข์ใจอย่างใหญ่หลวง ปฏิกิริยาของเธอต่อเรื่องนี้กระทบจิตใจของเยอร์ทรูดมาก และกระตุ้นให้เยอร์ทรูดสวดภาวนาวิงวอนต่อพระเจ้าเพื่อวิญญาณที่ล่วงลับไปแล้ว
 
เยอร์ทรูดเริ่มต้นโดยกล่าวกับพระเยซูเจ้าว่า “พระองค์ทรงดลใจลูกด้วยความคิดและประทานพระหรรษทานที่จะสวดภาวนาเพื่อวิญญาณนี้ โดยไม่ต้องถูกบังคับให้กระทำโดยความอ่อนโยนหรือความรัก”
 
พระเยซูตรัสตอบว่า “เรามีความยินดีในคำอธิษฐานภาวนาเพื่อผู้ตายที่มาถึงเรา โดยมีความรู้สึกอันเป็นไปตามธรรมชาติพร้อมด้วยความปรารถนาดีที่จะให้เกียรติแก่เขา และเมื่อทั้งสองสิ่งนี้ไปด้วยกันเพื่อทำให้งานแห่งความเมตตาครบถ้วนสมบูรณ์ มันก็สามารถทำให้ได้รับ”
 
หลังจากนั้นเยอร์ทรูดได้สวดภาวนาเพื่อวิญญาณดวงนี้ และเธอได้ทราบถึงสภาพที่น่าเศร้าของเขา เพราะดูเหมือนเธอได้เห็นวิญญาณอยู่ในลักษณะที่น่าหวาดกลัว,เป็นสีดำเหมือนถ่านหิน,และร่างบิดเบี้ยวไปด้วยความเจ็บปวดอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตามไม่มีจิตวิญญาณอื่นใดที่ทรมานเขา แต่เห็นได้ชัดว่าบาปในอดีตของเขาทำหน้าที่เป็นเพชรฆาตซึ่งกระทำต่อเขา
 
“พระเยซูเจ้าข้า” เยอร์ทรูดผู้มีใจเมตตาอุทานขึ้น “พระองค์จะไม่ทรงรับคำอธิษฐานภาวนาของลูกและยกโทษให้ชายผู้นี้หรือ?”
 
“เราจะทำ,เพราะเห็นแก่ความรักของลูก” พระผู้ช่วยให้รอดทรงตอบ “เราไม่เพียงแต่สงสารวิญญาณนี้เท่านั้น แต่ยังสงสารวิญญาณอื่นอีกนับล้านด้วย”
 
“ลูกจะให้เรายกโทษบาปทั้งหมดของเขาและช่วยเขาให้พ้นจากการลงโทษทุกประเภทหรือไม่?”
 
“บางที” นักบุญกล่าว “สิ่งนี้อาจไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดของความยุติธรรมของพระองค์”
 
“มันจะไม่ขัดแย้งกับพระยุติธรรม” พระผู้ช่วยให้รอดของเราตรัส “ถ้าลูกจะทูลขอจากเราด้วยความมั่นใจ เพราะแสงสว่างอันศักดิ์สิทธิ์ของเราซึ่งทะลุทะลวงไปสู่อนาคต,ทำให้เรารู้แล้วว่าลูกจะถวายการสวดภาวนานี้เพื่อเขา เพราะฉะนั้น,เราจึงใส่อุปนิสัยที่ดีไว้ในใจของเขา เพื่อเตรียมเขาให้พร้อมที่จะรับความยินดีแห่งผลของเมตตาจิตของลูก”
 


************************
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น