วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

คำแนะนำสู่ชีวิตศรัทธา 3/9

 


คำแนะนำสู่ชีวิตศรัทธา 
โดยนักบุญฟรังซิส เดอ ซาลส์  
ตอนที่3,บทที่9 
ความอ่อนโยนต่อตัวเราเองเมื่อผิดพลาดไป
 
แนวทางสำคัญประการหนึ่งในการฝึกปฏิบัติความสุภาพอ่อนโยน คือ การเคารพตนเอง,ไม่หงุดหงิดกับตนเองหรือหงุดหงิดในความไม่สมบูรณ์พร้อมของตนหรือความไม่เข้มแข็งฝ่ายจิตอันเป็นเหตุให้เราพลาดพลั้งเมื่อถูกประจญล่อลวง แม้ว่าจะมีเหตุผลที่เราควรจะไม่พอใจและเสียใจกับความผิดพลาดของเรา แต่เราก็ควรป้องกันความรู้สึกขมขื่น,โกรธ,หรือเดือดดาลที่มีต่อความผิดพลาดเหล่านั้น
 
หลายคนรู้สึกโกรธเคืองเพราะว่าเคยชินกับความโกรธเคือง,หรือเดือดดาลเพราะยอมให้ความเดือดดาลบังเกิดขึ้นกับตน เขาจึงเก็บรักษาสถานะแห่งความเคืองใจไว้,ซึ่งได้เพิ่มพูนความชั่วร้ายของอดีต,และเตรียมหนทางสำหรับการหกล้มครั้งใหม่เมื่อสบโอกาสอีกครั้ง ยิ่งไปกว่านั้น,ความโกรธเคืองและความเคืองใจของตนเองนี้ยังไปส่งเสริมความเย่อหยิ่ง,และเพิ่มพูนความรักในตนเอง มันจะไปรบกวนและทำให้กลัดกลุ้มด้วยความไม่สมบูรณ์พร้อมของตนเอง
 
สิ่งที่เราควรทำคือเก็บความไม่พอใจในความผิดของเราไว้อย่างเงียบๆ,ด้วยจิตใจมั่นคงและหนักแน่น ผู้พิพากษาจะตัดสินได้ดีโดยใช้คำพูดที่มีประสิทธิภาพและมีจิตใจสงบนิ่งมากกว่าการที่เขาหุนหันพลันแล่นและมีอารมณ์โกรธ และดังนั้น,เราสามารถลงโทษตนเองได้ดีกว่าด้วยการกลับใจอย่างเงียบๆ,และด้วยจิตใจที่มั่นคง ดีกว่าการสำนึกผิดด้วยอารมณ์ร้อน,ที่ซึ่ง,อันที่จริงแล้ว,ไม่ได้เป็นสัดส่วนตามความหนักของความผิดของเรา,แต่เป็นไปตามความรู้สึกและความโน้มเอียงของเรามากกว่า
 
ดังนั้น,ชายคนหนึ่งที่มุ่งมั่นที่จะปฏิบัติคุณธรรมความบริสุทธิ์เป็นพิเศษจะรู้สึกเดือดดาลเป็นอันมากกับความผิดเล็กๆน้อยๆในเรื่องนี้ของตน ในขณะที่เขามองเห็นว่าการใส่ร้ายอย่างร้ายแรงต่อบางคนที่เขาได้กระทำไปนั้นเป็นเพียงเรื่องน่าหัวเราะ ในทางกลับกัน,ชายอีกคนหนึ่งจะทรมานตัวเองอย่างหนักเพราะได้พูดในสิ่งที่เกินจริงไปเล็กน้อย ในขณะที่เขามองข้ามความผิดร้ายแรงในการทำผิดต่อความบริสุทธิ์และความผิดในเรื่องอื่นๆ ทั้งหมดทั้งปวงนี้,เกิดขึ้นเพียงเพราะมนุษย์ไม่ได้ตัดสินตนเองด้วยเหตุผล แต่อยู่ภายใต้อิทธิพลของอารมณ์ความลุ่มหลง
 
เชื่อข้าพเจ้าเถิด,ท่านที่รัก,การดุด่าอย่างอ่อนโยนของพ่อแม่มีผลต่อลูกมากกว่าการแสดงความโกรธและความรุนแรง ดังนั้น,เมื่อเรารู้สึกในใจเราว่ามีความผิด,ถ้าหากเราปฏิบัติต่อจิตใจของเราด้วยความอ่อนโยน,แทนความรู้สึกโกรธเคือง,และปลุกใจให้ทำการแก้ไข การกลับใจจะดำเนินไปด้วยดีและยาวนานมากกว่าการใช้ความเร่งร้อนและด้วยความโกรธเกรี้ยว
 
ตัวอย่างเช่น:--สมมติว่าข้าพเจ้าพยายามที่จะเอาชนะความพอใจในสิ่งไร้สาระ แต่ข้าพเจ้ากลับตกลงไปในบาปนั้นอย่างชัดเจน -แทนที่จะเอาแต่โทษตัวเองที่ไปทำสิ่งที่น่ารังเกียจและน่าสมเพชนั้น เพราะมันทำลายความตั้งใจของข้าพเจ้า และข้าพเจ้าคิดว่าตนเองไม่เหมาะสมที่จะมองดูสวรรค์,หรือเป็นคนไม่ซื่อสัตย์,ปราศจากความเชื่อ,และอื่นๆ แทนที่จะทำดังนั้น,ข้าพเจ้าควรจัดการกับตัวเองอย่างเงียบๆและด้วยความเป็นทุกข์อย่างแท้จริง "คนที่น่าสงสารเอ๋ย! เจ้าตกลงไปในบ่วงอีกแล้ว! เอาล่ะ,จงลุกขึ้นใหม่,อย่าหกล้มอีก,จงแสวงหาพระเมตตาของพระเจ้า,มีความหวังในพระองค์,วอนขอพระองค์ช่วยอย่าให้หกล้มอีก และเริ่มเดินบนหนทางแห่งความถ่อมตนใหม่อีกครั้ง ต่อจากนี้ไป,เราต้องระมัดระวังจิตใจของตัวเองให้มากขึ้น" วิธีการดังกล่าวจะเป็นวิธีที่แน่นอนที่สุดในการกลับใจอย่างมั่นคงต่อความผิดที่พิเศษของเรา ซึ่งเราควรจะเพิ่มวิธีการภายนอกอย่างอื่นที่เหมาะสมและทำตามคำแนะนำของผู้แนะนำฝ่ายจิตของเรา
 
ถ้าผู้ใดคิดว่าการกระทำที่อ่อนโยนนี้ไม่เพียงพอ,ให้เขาใช้การตำหนิและตักเตือนตนเองอย่างเข้มงวด และทำเช่นนี้เฉพาะเมื่อเขารู้สึกขุ่นเคืองตนเองมากเท่านั้น ในที่สุดเขาก็จะทำทุกอย่างจนรู้สึกวางใจในพระเจ้าด้วยความรักอันอ่อนโยน จงเดินตามรอยเท้าของผู้สำนึกผิดอย่างยิ่งที่ร้องต่อจิตใจที่เป็นทุกข์ของเขาว่า: "จิตใจของข้าฯเอ๋ย ไฉนจึงเป็นทุกข์ยิ่งนักเล่า,ไฉนจึงกระวนกระวายอยู่ในตัวข้าฯเล่า? จงวางใจในพระเจ้าเถิด,เพราะข้าฯจะขอบคุณพระองค์,ผู้ทรงเป็นความช่วยเหลือของข้าพเจ้าและทรงเป็นพระเจ้าของข้าพเจ้า”
 
ดังนั้น,เมื่อท่านหกล้ม,จงยกใจของท่านขึ้นอย่างเงียบๆ,ถ่อมตัวลงอย่างสุดจิตสุดใจต่อพระพักตร์พระเจ้าในความอ่อนแอของท่าน โดยไม่ต้องแปลกใจที่ท่านยังหกล้มลงอีก ไม่มีเหตุให้ท่านต้องประหลาดใจ,เพราะความอ่อนแอคือความอ่อนแอ,หรือความทุพพลภาพย่อมไม่มีความแข็งแรง จงคร่ำครวญอย่างสุดหัวใจที่ท่านได้ทำให้พระเจ้าทรงขุ่นเคืองพระทัย,และเริ่มต้นใหม่เพื่อปลูกฝังพระหรรษทานที่ขาดหายไป,ด้วยความไว้วางใจอย่างสุดซึ้งในพระเมตตาของพระองค์,และด้วยหัวใจที่เข้มแข็งและกล้าหาญมากขึ้น
 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น