วันศุกร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2566

เมื่อเปโตรล้ำเส้น

 
 

ในพระวรสารก่อนวันนี้ เปโตรประกาศว่าพระเยซูคือพระคริสต์ พระบุตรของพระเจ้า และพระเยซูทรงประกาศว่าพระเจ้าทรงเปิดเผยความจริงนี้แก่เปโตร บนพื้นฐานดังกล่าว พระเยซูทรงเปลี่ยนชื่อของเปโตรเป็นกายฟาส(ศิลา)และตั้งเขาให้เป็นหัวหน้าพระศาสนจักรที่พระองค์จะทรงสร้างขึ้นบนศิลานี้ พระองค์ทรงสัญญาว่าจะรักษาพระศาสนจักรนั้น
 
“พระเยซูทรงเริ่มแสดงให้เหล่าสาวกเห็นว่าพระองค์ต้องไปกรุงเยรูซาเล็มและทนทุกข์ทรมานมากมาย…ถูกประหารและ…ได้รับการฟื้นคืนพระชนม์” เปโตร ศิลาแห่งพระศาสนจักรที่เพิ่งแต่งตั้งใหม่ รู้สึกหวาดกลัว เปโตรนำพระองค์แยกออกไป และทูลพระเยซูว่า: “ขอเถิด พระเจ้าข้า เหตุการณ์นี้จะไม่เกิดขึ้นกับพระองค์อย่างแน่นอน!”
 
คำพูดของพระเยซูต่อเปโตรคือ: “เจ้าซาตาน ถอยไปข้างหลังเรา”
 
ทำไมพระเยซูทรงเรียกเปโตรด้วยชื่ออันน่าสะพรึงกลัวนี้ พระเยซูทรงเตือนเปโตรว่า เขาทำตัวกีดขวางทางของพระองค์ที่จะไปกรุงเยรูซาเล็มเพื่อรับทรมานและความตาย พระองค์บอกเปโตรให้พ้นไปจากทางเดินของพระองค์โดยให้ไปอยู่ข้างหลัง แต่พระองค์เตือนเปโตรอย่างรุนแรงโดยเรียกเขาว่า “ซาตาน” เพราะเปโตรทำตัวเหมือนเป็นนายของพระองค์ เขาสั่งพระองค์ไม่ให้ไปกรุงเยรูซาเล็ม เห็นได้ชัดว่าความตั้งใจของเปโตรณ.ที่นี้แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากการล่อลวงของพระเยซูโดยซาตานศัตรูของพระเจ้า ดังที่เราทราบจากสี่สิบวันในถิ่นทุรกันดาร ซาตานตั้งใจที่จะล้มล้างแผนการณ์ของพระเจ้าที่จะช่วยโลกด้วยความถ่อมตัวและการเชื่อฟังของพระบุตรทั้งเนื้อหนังและพระโลหิตของพระองค์ ในพระวรสารของนักบุญมัทธิว เราเห็นซาตาน “พาพระเยซู” ออกไปข้างนอก อันดับแรกไปที่ยอดพระวิหาร (มธ. 4:5) จากนั้นไปที่ “ภูเขาที่สูงมาก” (มธ. 4:8) เพื่อล่อลวงพระเยซูให้ปฏิเสธเส้นทางที่พระเจ้ากำหนดไว้สำหรับพระองค์ในความอ่อนแอของมนุษย์ และด้วยการปฏิเสธตนเองของพระเยซู, พระองค์จะทรงได้รับชัยชนะเหนือทั้งความตายและซาตาน หลังจากการล่อลวงครั้งที่สาม พระเยซูตรัสกับซาตานว่า “ไปให้พ้น!” (มธ 4:10) ทำให้ซาตานหนีไปและไม่กลับมาอีกเลย
 
สังเกตความแตกต่างในการตอบสนองของพระเยซูต่อเปโตร: “ถอยไปข้างหลัง ซาตาน” นี่คือความแตกต่างที่สร้างความแตกต่างทั้งหมด พระเยซูในที่นี้ตรัสถึงเปโตรว่าเป็นซาตานในเชิงเปรียบเทียบ ว่าเป็น “ศัตรู” (ความหมายตามตัวอักษรของ “ซาตาน”) ซึ่งเพราะเขาคิดเหมือนมนุษย์คิด (เราไม่เคยเชื่อว่าความทุกข์เป็นแผนการณ์ของพระเจ้า) จึงกลายเป็นอุปสรรคต่อพระเยซู คำสั่งให้ “ไปข้างหลัง” บ่งบอกว่าปัญหาของเปโตรคือการที่เขาต้องการนำหน้าพระเยซู บางทีเขาอาจคิดว่าการได้รับการแต่งตั้งเป็นประมุขของพระศาสนจักรหมายความว่าเขาสามารถนำแม้แต่พระเยซูได้! การตำหนิอย่างรุนแรงทำให้เขากลับคืนสู่ความเป็นจริง พระเยซูทรงเป็นผู้นำเหล่าสาวกแม้กระทั่ง (และโดยเฉพาะ) เปโตร การกระทำเช่นนี้ทำให้บทบาทของเปโตรในพระศาสนจักรเป็นโมฆะหรือไม่ ไม่เลย. เพราะถ้าใช่ พระเยซูคงจะทรงเพิกถอนอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม นี่แสดงให้เห็นว่าเปโตรยังมีอีกมากที่ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการคิด “เหมือนที่พระเจ้าทรงคิด” เขาและอัครสาวกคนอื่นๆ จะต้องดำเนินชีวิตผ่านการรับความทรมานเพื่อที่จะเข้าใจว่าวิถีของพระเจ้าแตกต่างจากวิถีของมนุษย์อย่างไร เพื่อเป็นการเตรียมตัว พระเยซูตรัสเกี่ยวกับความล้ำลึกแห่งวิถีทางของพระเจ้า
 
“ผู้ใดที่ปรารถนาจะเอาชีวิตรอด ผู้นั้นจะต้องเสียชีวิต แต่ผู้ใดที่ยอมสละชีวิตของตนเพราะเห็นแก่เราและข่าวดี ผู้นั้นจะได้ชีวิตรอด” นี่คือบทเรียนที่อัครสาวกและผู้ติดตามพระเยซูทุกคนจะต้องเรียนรู้ เมื่อเรายึดติดกับชีวิตและความสะดวกสบายในโลกนี้อย่างแน่นหนา เราก็เสี่ยงที่จะสูญเสียชีวิตที่แท้จริงที่พระเจ้าปรารถนาจะประทานแก่เรา เปโตร,ด้วยความรักที่หลงผิด,จึงพูดเช่นนั้น พระเยซูต้องแก้ไขเขาด้วยความรักที่แท้จริง และเรียกเขาให้กลับมาจงรักภักดีต่อแนวทางของพระเจ้า ดังที่อัครสาวกจะได้เรียนรู้ในไม่ช้า เส้นทางสู่พระสิริรุ่งโรจน์สำหรับพระเยซูและสำหรับพวกเรา ไม่สามารถหลีกเลี่ยงไม้กางเขนได้ อย่างไรก็ตาม ความทุกข์ทรมานไม่ใช่จุดสิ้นสุดของเรื่องราวสำหรับผู้ที่อยู่ข้างหลังพระเยซู
 
************************
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น